ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article

 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ ๖๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป นอกจากจะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คูณด้วยอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้) ผู้มีเงินได้จะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ หากมีจำนวนภาษีที่ต้องเสียมากกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร และมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร

คำชี้แจงกรมสรรพากร
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร
-----------------------------------------------
 
                         ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘๐) พ.ศ. ๒๕๕๒ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้มีภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้นจำนวนไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทในปีภาษีนั้น แต่ผู้มีเงินได้ยังคงมีหน้าที่ในการคำนวณและเสียภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป เพื่อให้การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครั้งนี้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงในสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
 
                         ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่ ๖๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป นอกจากจะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คูณด้วยอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้) ผู้มีเงินได้จะต้องคำนวณภาษีตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย โดยนำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๒) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว คูณด้วยอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ หากมีจำนวนภาษีที่ต้องเสียมากกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร และมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับภาษีที่ต้องเสียตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่าง
                              (๑) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
                              ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ก. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น ๘๐๐,๐๐๐ บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินได้พึงประเมิน
๘๐๐,๐๐๐
บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ ๘๐
๖๔๐,๐๐๐ 
บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้
๓๐,๐๐๐ 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ
๑๓๐,๐๐๐ 
บาท
หัก เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)
๑๕๐,๐๐๐ 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี
บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ ๑๐)
บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
๘๐๐,๐๐๐ 
บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน
๔,๐๐๐
บาท
                              ดังนั้น ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ก. ได้รับยกเว้นภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด
                              (๒) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท และมากกว่าภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
                              ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ข. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
๑,๐๐๐,๐๐๐
บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ ๘๐
๘๐๐,๐๐๐ 
บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้
๓๐,๐๐๐ 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ
๑๗๐,๐๐๐ 
บาท
หัก เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)
๑๕๐,๐๐๐ 
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี
๒๐,๐๐๐
บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ ๑๐)
๒,๐๐๐ 
บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
๑,๐๐๐,๐๐๐
บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน
๕,๐๐๐ 
บาท
                              ดังนั้น ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ข. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน ๒,๐๐๐ บาท
                              (๓) กรณีภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนทั้งสิ้นเกิน ๕,๐๐๐ บาท และมากกว่าภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร
                              ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ค. เป็นผู้มีเงินได้จากการขายของ ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา ๔๐ (๘) แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษี ๒๕๕๒ จำนวนทั้งสิ้น ๑,๑๐๐,๐๐๐ บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร  
เงินได้พึงประเมิน
๑,๑๐๐,๐๐๐ 
บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ ๘๐
๘๘๐,๐๐๐
บาท
หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้
๓๐,๐๐๐
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิ
๑๙๐,๐๐๐
บาท
หัก เงินได้สุทธิ ๑๕๐,๐๐๐ บาทแรก (ได้รับยกเว้นภาษี)
๑๕๐,๐๐๐
บาท
คงเหลือเงินได้สุทธิที่ต้องคำนวณภาษี
๔๐,๐๐๐
บาท
มีภาษีต้องเสียจำนวน (ในอัตราร้อยละ ๑๐)
๔,๐๐๐
บาท
การคำนวณตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร
 
เงินได้พึงประเมิน
๑,๑๐๐,๐๐๐
บาท
คูณอัตราภาษีร้อยละ ๐.๕ คิดเป็นภาษีที่ต้องเสียจำนวน
๕,๕๐๐
บาท
                         ดังนั้น ในปีภาษี ๒๕๕๒ นาย ค. ต้องเสียภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร จำนวน ๕,๕๐๐ บาท
                         จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
 
กรมสรรพากร
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒
 
สำนักกฎหมาย
โทร. 0-2272-8287-8




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article