ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article

 

 

 

การแตกหน่วยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล

  การตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นหลักการพื้นฐานที่สุด และได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ผู้เสียภาษีที่มีอันจะกินทั้งหลาย เพราะมีรายได้แยะ จึงต้องการลดฐานภาษี มิให้ก้าวล่วงเข้าสู่ช่วงเงินได้ที่สูงๆ

ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 แห่ง ปพพ. ได้แบ่งประเภทของห้างหุ้นส่วนออกเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต้องจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์)

สำหรับ คณะบุคคล (การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกันดังกล่าว) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตาม ปพพ. แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ

ตัวอย่างเช่น

 นาย ก. และ นาย ข. ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโดยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกัน และร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินเพื่อขาย ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อกรมที่ดินเพื่อขอแยกโฉนดเป็นแปลงย่อย 12 แปลง โดยแบ่งกันถือครองคนละ 6 แปลง สำหรับการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น บุคคลใดมีชื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นผู้โอนแก่ลูกค้า กรมสรรพากรวินิจฉัยว่า กรณีนี้ถือเป็นการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งกรมที่ดินได้รับชำระไว้ในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคนยอมให้นำมาถือเป็นเครดิตภาษีของห้างหุ้นส่วนได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/1287 ลงวันที่ 23 มกราคม 2539)

 การฝากเงินโดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่านาย ก. หรือ นาย ข.เข้าลักษณะเป็น คณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล กรณีจึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในนามของคณะบุคคล (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/7229 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534)

ข้อดีของการจัดตั้งหน่วยภาษี แบบคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีชัดเจน 2 ประการ คือ

(1) เป็นการแตกหน่วยภาษี เพื่อลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเราเป็นอัตราก้าวหน้า 10% - 37% กล่าวคือ เงินได้ของบุคคลใดยิ่งสูง ก็จะยิ่งถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเหมือนขั้นบันได

(2) ส่วนแบ่งกำไร ที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งได้มีการชำระภาษีเงินได้มาแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ต้องนำมาเสียภาษี เงินได้ซ้ำซ้อนอีก (มาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร)

ตัวอย่าง 1โก๊ะตี๋ทารกแคระ (แฮ่ ๆ อายุเลยวัยเบญจเพส + เกณฑ์ทหารแล้วด้วย แต่ยังแสดงเป็นเด็กอย่างน่าอิจฉา!) มีรายได้จากการเดินสายโชว์เดี่ยวตามคอฟฟี่ช้อปต่าง ๆ ประมาณ 200,000 บาท ต่อเดือน (สมมติ) หรือ ปีละ 2.4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประเภทนักแสดงสาธารณะ (ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ได้ร้อยละ 60 ส่วนเกิน 300,000 บาท หักได้อีกร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท) เป็นเงินภาษีต่อปีประมาณ 371,000 บาท

ในงานฉลองตรุษจีนปี 2550 ที่เยาวราช (สมมติว่า)โก๊ะตี๋ + เอ็ดดี้ ผีน่ารัก’ (สมมติว่าทั้งคู่ยังดูดดื่มกันอยู่) ได้ร่วมกันตั้งคณะบุคคล เพื่อรับงานแสดง 3 คืน 1 ล้านบาทถ้วน กรณีเช่นนี้ หากนำเงินได้ไปรวมกับฐานรายได้เดิมของโก๊ะตี๋ เงินได้ก้อนใหม่ 1 ล้านบาทนี้ ก็จะต้องถูกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 30% เป็นเงิน 300,000 บาท แต่การแยกเงินได้ออกมารับงานในนามคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหน่วยภาษีใหม่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ โดยคำนวณตามสูตร

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

กรณีจึงเสียภาษีในนามคณะบุคคลเพียง 38,000 บาท ประหยัดภาษีลงได้ = 300,000 - 38,000 บาท เป็นเงิน 262,000 บาท ทีเดียว !

ตัวอย่าง 2กรกฎพระเอกหนุ่ม (ใหญ่) ในภาพยนตร์โทรทัศน์ ละอองดาวได้นั่งฟังตัวอย่างการประหยัดภาษีของโก๊ะตี๋ เกิดติดอกติดใจ อยากจะประหยัดภาษีเงินได้ของตนเช่นกัน เพราะรายได้ของตัวเองก็ป๊อปปูล่าร์ไม่แพ้ใครในสยามประเทศ อาทิเช่น นายแบบโฆษณา นักร้อง นักแสดง และพรีเซ็นเตอร์สินค้าหลายยี่ห้อ ฯลฯ

ครั้น กรกฎจะหันไปจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับนางเอกดังๆ ก็เกรงจะตกเป็นข่าว อย่ากระนั้นเลย จึงหันไปคว้าเอาชื่อลูกสาววัย 3 ขวบ ของพี่สาวนาม แองเจิลมาร่วมตั้ง คณะบุคคลกรกฎ - แองเจิล เอ็นเทอร์เทนเม้นท์เพื่อแตกฐานรายได้ของตนลงมาดีกว่า

แฮ่ๆ กรณีของ กรกฎมีช่องโหว่ และพิรุธให้สรรพากรโจมตีได้แยะ เพราะไม่สมเหตุสมผลที่ทารกวัย 3 ขวบจะมาร่วมธุรกิจกันจริง จึงมองได้เป็น นิติกรรมอำพรางเช่นเดียวกันกับกรณีการถ่ายโอนหุ้นแก่คนขับรถและคนรับใช้ของใครบางคนนั่นแหละ!

นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่าในโลกของความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมิได้ง่ายดายดังเช่นบทแสดงในโลกมายา ดอกนะ

กฎที่ 7 เลือกวิธีเสียภาษี ณ ที่จ่าย เป็น Final tax

หลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ เรื่องของประเภทเงินได้ที่กฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิเลือกแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่นๆ อันได้แก่ (1) ภริยานำเงินเดือน (มาตรา 40 (1)) ของตนแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากสามี (2) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียภาษีเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3) เงินปันผล (มาตรา 40 (4) (ข)) ซึ่งเลือกวิธีเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ (4) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก / จากการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร อาจเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพียงไม่เกิน 20% ของเงินได้ (5) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มาซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด

ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (พ.ร.ฏ. # 247 พ.ศ. 2534) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกับเงินได้ประเภทอื่น (6) ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 10% ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนปลายปี (7) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (capital gain) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ซึ่งผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำมารวมกับเงินได้อื่นก็ได้ (8) เงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ผู้เสียภาษีอาจเลือกวิธีเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำมารวมในการยื่นแบบตอนปลายปี แต่ต้องแสดงรายการในใบแนบพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ตัวอย่าง 3 ปี 2544 คณะบุคคล ขวัญ - เรียมเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% (ถูกเป็นบ้า !) ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของยอดดอกเบี้ย 25,000 บาท = 3,750 บาท

สิ้นปี 2549 หากคณะบุคคล ดังกล่าวไม่มีเงินได้ประเภทอื่น กรณีก็จะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ 30,000 บาท (มาตรา 56)

หมายเหตุ

แฮ่ๆ Case นี้ทำท่าจะ happy ending แต่บังเอิญ กรมสรรพากรไม่ยอมรับคณะบุคคลระหว่างสามี + ภริยา กรณีจึงจบลงด้วยความเศร้า เคล้าน้ำตาคล้ายดั่งละคร แผลเก่า’ + เพลง แสนแสบเพราะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวไปรวมยื่นแบบในนามของเจ้าขวัญ (สามี) !

อย่างไรก็ตาม กรณีของคนรวยซึ่งมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น การตัดสินใจเลือกเสียภาษีวิธีใดให้พิจารณาว่าภาระภาษีจากการเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ว่าจะสูงกว่า / ต่ำกว่า ภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเก็บคงที่ในอัตรา 15% (ดูตาราง)

ทางเลือก ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ภาษีจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 การตัดสินใจ

1. 50,000 7,500 - เลือกยื่น ภ.ง.ด.90 ซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายได้ทั้งหมด

2. 100,000 15,000 - เหมือนข้อ 1

3. 500,000 75,000 34,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 41,000 บาท

4. 1 ล้านบาท 150,000 128,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 22,000 บาท

5. 1.17 ล้านบาท 175,500 173,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 2,500 บาท

6. 5 ล้านบาท 750,000 1,387,800 เลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

   คณะบุคคล...อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม

 พฤติการณ์ของการหลีกเลี่ยงภาษี หรือฉ้อโกงภาษี โดยการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ

ที่มา : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ กรุงเทพธุรกิจ 16-3-50    




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article