ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การวางแผนภาษี 5 วิธี article

 

การวางแผนภาษี 5 วิธี

                                                 

เมื่อคณะรัฐบาลสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน ประกาศลดอัตราขั้นสูง ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 50% เหลือ 37% ในปี 2535 คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าได้รับการลดหย่อนภาษี เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็มีส่วนถูก แต่อัตราเงินเฟ้อ ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนทั่วไปมีกำลังซื้อลดลง ดังนั้นจำนวนเงินที่ต้องจ่าย เป็นภาษีจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อรถยนต์เบนซ์ อี 220 มาคันหนึ่ง ในราคาประมาณ 3.5 ล้านบาท ขณะที่ราคา CIF landed cost ที่ยังไม่รวมภาษีคือ หนึ่งล้านบาท หมายความว่า คุณต้องหาเงิน 5.5 ล้านบาท เสียภาษี 37% เหลือ 3.5 ล้านบาท เพื่อมาซื้อรถราคาหนึ่งล้านบาท ทางการเก็บภาษีคุณถึง 550% หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทุก 100 บาท ที่คุณหาได้ จะมีค่าที่แท้จริงเพียง 18.18 บาท เท่านั้น

                   

ดังนั้นผู้มีรายได้สูงทุกคน ควรพิจารณาภาระ ในการจ่ายภาษีเงินได้อย่างถี่ถ้วน นักบริหารหลายรายภูมิใจ เมื่อประหยัดภาษีนิติบุคคล ให้กับบริษัท แต่เขาจะมี ความสุขมากกว่า หากลดภาษีให้กับตัวเอง ต่อไปนี้เป็นการวางแผนภาษี ที่น่าพิจารณา

1.รายได้ที่ยกเว้นภาษี

มีรายได้บางประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ซึ่งดูได้จาก ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ที่สำคัญ ได้แก่ กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีโอกาสทำกำไร จากหุ้น พอๆ กับการขาดทุน ซึ่งถ้าเขาขาดทุน ก็ไม่สามารถ นำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในทางภาษีเช่นกัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะทำกำไร มีทางเลือกหนึ่ง คือ การลงทุนในกองทุน เพื่อรอรับผลได้ในรูป ของการเพิ่มราคา ของหน่วยลงทุน ซึ่งการขายหน่วยในตลาด โดยได้กำไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี

ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ที่ออกก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 ก็ได้รับ การยกเว้นภาษี เช่นกัน แต่พันธบัตรเหล่านี้ ก็ครบอายุการไถ่ถอนไปหมดแล้ว ดังนั้น การหารายได้ ที่ยกเว้นภาษี จากพันธบัตรรัฐบาลจึงยาก

2.รายได้ที่ได้รับการลดอัตราภาษี

แม้ว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเริ่มต้นที่ 5% เมื่อคุณมีรายได้เกิน 50,000 บาท และเพิ่มเป็น 37% เมื่อเกิน 4 ล้านบาท แต่ก็มีรายได้ 2 ประเภท ที่รัฐบาลลดหย่อนภาษีได้

(1) ปันผลเสียภาษีเพียง 10% นอกจากนี้ ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มที่เสียภาษีไม่ถึง 37% คุณก็ขอเครดิตภาษี 3/7 จากเงินปันผล และใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก 10% มาชดเชย การเสียภาษีเงินได้ของคุณได้อีก ในกรณีนี้ ถ้าคุณยื่นแบบขอคืนเงินภาษี ก็จะได้รับเงินคืน มากพอสมควร แต่วิธีขอเครดิต และขอคืนภาษีนี้ จะใช้ไม่ได้ผล เมื่อคุณเสียภาษีถึงอัตรา 37%


(2) ดอกเบี้ย ซึ่งได้เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% แล้วเงินส่วนที่เหลือ (balance) ก็เป็นรายได้ ที่ไม่ต้องเสียภาษี การขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อคุณ มีรายได้ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี หากปราศ จากการลดหย่อนอัตราภาษีในกรณีเช่นนี้แล้ว ผู้มีฐานะมั่งคั่ง จะต้องจ่ายภาษี มากจากรายได้ดอกเบี้ย
ในสหรัฐ ดอกเบี้ยพันธบัตรเทศบาล (Municipal Bond) ก็ไม่ต้องเสียภาษี จึงได้รับความนิยมมาก เพราะชาวอเมริกัน ต้องจ่ายภาษี ตามอัตราปกติ จากรายได้ดอกเบี้ย ถ้าคุณต้องจ่ายภาษีที่ 37% และได้รับดอกเบี้ย ที่ยกเว้นภาษีรายได้ เช่นที่ 8% ก็หมายความว่า คุณมีผลตอบแทน ก่อนหักภาษีเท่ากับ ประมาณ 12.7% (โดยคำนวณจากเอา 8 ตั้งแล้วหารด้วย 63%)

3.รายได้ที่หักรายจ่ายได้สูง

ประมวลรัษฎากร จำแนกเงินได้บุคคลธรรมดา ออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งคุณสามารถ เลือกว่าจะทำรายได้ ประเภทไหน และหาเงินอย่างไร แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการมีรายได้ ประเภทเงินเดือน และค่าจ้างในฐานะ พนักงานลูกจ้าง เพราะมาตรการหักภาษีเหมา 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี เป็นผลเสีย ต่อตัวคุณเอง ถ้าคุณมีอาชีพให้บริการ ก็ลองผันแปรตัวเอง ไปอยู่ในกลุ่มผู้มีวิชาชีพอิสระ คือ แพทย์ วิศวกร นักบัญชี สถาปนิก ทนายความ และปราณีตศิลปกรรม ข้อสำคัญ จงอยู่ให้ห่างจากกลุ่มพนักงานที่รับเงินเดือนประจำ

ลองดูตัวอย่างของวิศวกร คนหนึ่ง ถ้าเขามีรายได้ 400,000 บาทต่อเดือน หรือ 4.8 ล้านบาทต่อปี หากรับเงินเดือน เป็นพนักงานประจำ เขาจะได้รับค่าลดหย่อนเพียง 60,000 บาทต่อปี ดังนั้น เขาจะเสียภาษีทั้งสิ้น 1.3 ล้านบาท หรือราว 110,000 บาทต่อเดือน ทำให้เขาเหลือเงินเดือน ที่แท้จริงเพียง 290,000 บาท
แต่ถ้าเขาเปลี่ยนสถานะตัวเอง ไปเป็นที่ปรึกษาวิศวกรรม เขาจะหักรายจ่ายเหมา 30%

โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นสูง เท่ากับได้หักเพิ่มเป็น 1.44 ล้านบาท ทำให้เขาเสียภาษีเงินได้เพียง 841,500 บาท ซึ่งหมายความว่าลดภาษีไป 458,500 บาทต่อปี หรือเท่ากับ 38,200 บาทต่อเดือน ข้อได้เปรียบของวิธีนี้ก็คือ คุณจะประหยัดภาษีได้ทุกเดือน ตราบเท่าที่ยังทำงานอยู่ ไม่ใช่ประหยัดแค่เดือนเดียว

4.การหักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงแทนการเหมา

ถ้าคุณเป็นวิศวกร และยังไม่พอใจ กับการลดหย่อนเหมา 30% คุณก็หักค่าใช้จ่าย ตามความเป็นจริง แทนการหักแบบเหมา กล่าวคือ เพิ่มรายจ่ายให้มากๆ แล้วคุณก็ จะได้รับการลดหย่อน มากขึ้น

เช่น คุณอาจลงทุนซื้อคอนโดมิเนียมสำนักงาน โดยตั้งบริษัท ซึ่งการจ่ายดอกเบี้ย ที่จ่ายให้ธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นเท่าใด ก็จะได้รับการลดหย่อนภาษี ซึ่งเมื่อเทียบกับ การซื้อบ้านซึ่ง ทางการอนุญาต ให้คุณหักได้ปีละ 50,000 บาท

นอกจากนี้ คุณยังสามารถ หักค่าเสื่อมราคาคอนโดมิเนียม อุปกรณ์สำนักงาน และเฟอร์นิเจอร์ พร้อมกับ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งค่าบำรุงรักษา เพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ แล้วคุณยังมีความสุข กับคอนโด ที่อาจมีราคาเพิ่มขึ้น หากตั้งอยู่ในทำเลที่ดี

ยิ่งไปกว่านั้น คุณสามารถเช่า หรือซื้อรถยนต์สวยๆ สักคัน และหักค่าใช้จ่าย ภาระดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา ไม่เกินคันละ 1 ล้านบาท ค่าประกันภัย และค่าน้ำมัน เป็นค่าใช้จ่าย ของบริษัท ซึ่งรายการเช่นนี้ ช่วยให้คุณจ่ายภาษีลดลงอีก แต่คุณต้องขยัน เก็บใบเสร็จรับเงิน ทำบัญชี และเก็บตัวเลขต่างๆ เอาไว้ให้ดี เพื่อใช้เป็นหลักฐาน ในการหัก ค่าใช้จ่าย ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้ศิลปะ การจัดเก็บเอกสาร และบัญชี แต่ถ้าคุณ ทำไม่ได้ ก็จ้างคนอื่น มาทำให้จะปลอดภัยกว่า

5.กระจายรายได้

กฎหมายไทย จำแนกรายได้ส่วนบุคคลเป็น 8 ประเภท ดังนั้นคุณสามารถหารายได้ ได้มากกว่า 1 ประเภท ในแต่ละปี ลองดูตัวอย่าง ของกุมารแพทย์รายหนึ่ง ซึ่งปกติทำงาน อยู่ในโรงพยาบาลตอนกลางวัน โดยรับเงินเดือนประจำ ในช่วงเวลาเย็น เขาไปเปิดคลินิกส่วนตัว และมีรายได้เพิ่มอีกในฐานะเป็นแพทย์ ที่มีวิชาชีพอิสระ ถ้าเขาเปิดร้านขาย ของชำเพื่อขายขนมและ ของเล่นให้ลูกค้า และคนไข้ เขาก็จะมีรายได้ จากการค้าเข้ามาอีกด้วย กุมารแพทย์บางราย ทำงานหนัก และมีรายได้มาก แต่ไม่ค่อยมีเวลาใช้จ่ายเงิน ดังนั้น เงินออม ของพวกเขา จึงเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งถึงจุด ที่สามารถซื้อบ้าน และให้เช่าเพื่อรับเงิน ค่าเช่า

รวมทั้งยังสามารถ ลงทุนหากำไร ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ ผลคือ กุมารแพทย์รายนี้ มีรายได้ถึง 4-5 ประเภท เขาอาจจ่ายภาษีที่ 5% สำหรับเงินเดือน ที่รับจากโรงพยาบาลเสียภาษีที่ 20% สำหรับรายได้จากคลินิก 30% สำหรับรายได้ จากการค้า และ 37% สำหรับรายได้จากค่าเช่าบ้าน ถ้าเขามีการวางแผนลดภาษี ก็อาจจะทำได้ดังนี้

(1) หาเพื่อนมาคนหนึ่งแล้วจัดตั้งคณะบุคคล โดยให้เพื่อนถือหุ้นเล็กน้อย ในร้านขายของชำ ซึ่งภาษีเงินได้จากการค้าขายจะจ่ายโดยคณะบุคคลนี้ ซึ่งเริ่มเสียภาษีในอัตราต่ำที่ 5% ตามอัตราภาษีบุคคลธรรมดา และส่วนแบ่งกำไร ที่แพทย์ได้รับ จากคณะบุคคลยังได้สิทธิ ยกเว้นภาษีอีกด้วย

(2) ใส่ชื่อของลูกในโฉนดที่ดิน ของบ้าน เพื่อให้ค่าเช่า ตกเป็นรายได้ ของเด็ก เพราะเขาไม่มีรายได้อื่น จึงอยู่ในกลุ่มที่เสียภาษีต่ำสุด และเด็กยังสามารถ หักลดหย่อนภาษีได้อีก 30,000 บาท แทนที่จะจดทะเบียนบ้านในชื่อตัวเอง และขอลดหย่อนภาษีผู้มีบุตร ซึ่งจะได้เพียงปีละ 15,000 บาท

หากเขาอยากมีชื่อเป็น เจ้าของบ้านต่อไปโดยไม่ใส่ชื่อลูกในโฉนด กุมารแพทย์ผู้นี้ สามารถจดทะเบียนสิทธิเก็บกิน ของบ้านให้แก่ลูกของเขา ดังนั้น ค่าเช่าบ้านจะเป็นรายได้ ของเด็ก ขณะที่เขายัง เป็นเจ้าของบ้าน สิทธิเก็บกินในทรัพย์สิน สามารถจดทะเบียน ได้ตั้งแต่ 1-30 ปี หรือตลอดอายุของเด็กผู้ทรงสิทธิประโยชน์ของวิธีการนี้คือ กุมารแพทย์ผู้นี้ ยังคงเป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งจะขายบ้านเมื่อใดก็ได้ เพราะถ้าเขาให้ลูกผู้เยาว์ เป็นเจ้าของในโฉนด การซื้อขาย ต้องได้รับอนุมัติ จากศาลครอบครัวก่อน ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก

ยังมีวิธีการอีกมาก ที่จะประหยัดเงินภาษี ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญภาษี เขาสามารถแนะนำ เกี่ยวกับวิธีประหยัดภาษี อย่างถูกกฎหมาย คล้ายกับการซื้อซอฟต์แวร์ ทุกคนจ่ายเงิน 200 บาท ซื้อกฎหมายได้ 1 เล่ม แต่หัวใจสำคัญ อยู่ที่วิธีการนำกฎหมาย มาปรับใช้ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

นี่คือสิ่งที่บิล เกตส์ แห่ง Microsoft สร้างความร่ำรวย หลายพันล้านดอลลาร์ ให้กับตนเอง

โดย ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร  23-9-2545 ที่มา : http://www.nationejobs.com   

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article