ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article

 

 

10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50

 

ผู้ใดยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ไปแล้ว ไม่เคยถูกสรรพากรสะกิด นับว่าโชคดียิ่งกว่าถูกหวย ส่วนผู้ที่โชคไม่ดี มักจะถูกเทียบเชิญ (หมายเรียก) ให้ส่งบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งมักจะลงเอยด้วยการถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม ไม่มากก็น้อย


บางคนอยู่ดีไม่ว่าดี ดันไปยื่นคำร้องขอคืนภาษี กลุ่มนี้เทียบได้กับการไปแงะอ้อยจากปากของช้างผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร ท่านผู้อ่านคงหลับตานึกภาพออกกระมัง!


จากสถิติของการตรวจสอบภาษีอากรพบว่า ไม่มีบริษัทใดในประเทศไทย ยื่นเสียภาษีอย่างถูกต้องบริสุทธิ์ผุดผ่อง โดยไม่มีข้อผิดพลาดเลย ไม่ว่าบริษัทนั้นจะมีขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ จนกระทั่งยักษ์ใหญ่ก็ตามที ทั้งนี้เพราะสาเหตุหลายประการ อาทิ ความซับซ้อนของตัวบทกฎหมาย และความไม่สมบูรณ์ของระบบบัญชีและเอกสารในระบบธุรกิจของบ้านเรา ทำให้กิจการที่ดีก็พลอยขาดเอกสารบางส่วนไปด้วย เป็นต้น


อีกเพียง 2 เดือนก็จะเป็นเส้นตายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกครั้งหนึ่ง ผู้เขียนจึงขอมอบคาถาสัก 10 ข้อพอสังเขปเพื่อเป็นอุทาหรณ์ และข้อควรระวังก่อนยื่นแบบ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ได้บ้างตามสมควร

1. ให้กรอกแบบ ภ.ง.ด.50 ตามคำแนะนำท้ายแบบ

ข้อผิดพลาดที่ตรวจพบเนืองๆ มีหลายลักษณะ อาทิ กรอกรายได้ที่ต้องเสียภาษี กับรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีสลับช่องกัน จึงเป็นเหตุให้ถูกออกหมายเรียกก็มี บางรายไม่ใช้แบบติดสติ๊กเกอร์ที่สรรพากรส่งให้ แต่กลับกรอกชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีด้วยมือและผิดพลาด จึงถูกวิเคราะห์ว่ามิได้ยื่นแบบเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ค้นไม่พบ เป็นต้น

2. งบการเงิน (งบดุล งบกำไรขาดทุน) ควรเปิดเผยข้อมูลเท่าที่จำเป็น

บางรายแสดงรายละเอียดของรายการบัญชีมากเกินไป จึงเปิดช่องให้ถูกวิเคราะห์พบความผิดพลาดได้ง่าย วิธีที่ดีที่สุดคือเปิดเผยข้อมูลเพียงเท่าที่ ก.บช. กำหนดบังคับไว้เข้าทำนองพูดน้อยผิดน้อย พูดมากก็ต้องผิดมากเป็นธรรมดา

3. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่ควรมีการสารภาพบาป

ตัวอย่างของบริษัทรายหนึ่งเปิดเผยว่า ได้มีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเริ่มแต่ปี 2537 เป็นเวลา 5 ปีจากการตรวจสอบ ภ.ง.ด.54 ไม่ปรากฏว่าบริษัทได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 ในอัตรา 15% ของค่าดอกเบี้ยจ่าย แต่อย่างใด!

4. ให้พยายามหลีกเลี่ยงการขอคืนภาษี

ในบรรดาเหล่าผู้กล้าที่อาจหาญเข้าไปอุ้มลูกเสือ ล้วนเสียชีวิตภายในถ้ำมานับไม่ถ้วน...ดังนั้น ถ้าบัญชีของท่านไม่ดีและถูกต้องจริงๆ แล้วไซร้ ผู้เขียนขอเตือนว่า อย่าดีกว่า!

5. ไม่ควรยื่นแบบเพิ่มเติมบ่อยๆ

เพื่อนคนหนึ่งของผู้เขียนเป็นผู้สอบบัญชี จึงเป็นคนละเอียดละออได้แนะนำให้ลูกค้ารายหนึ่งยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมเดือนละ 3-4 ฉบับอยู่เป็นนิจ ทั้งๆ ที่เป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กๆน้อยๆ (ขอคืนภาษีบ้าง ชำระเพิ่มเติมบ้าง) ก็เลยถูกสรรพากรเรียกตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่มบ่อยๆ และถูกประเมินภาษี จนแทบหมดกำลังใจทำการค้า! เลยได้ข้อสรุปว่า การยื่นแบบถี่ๆ เช่นนี้ เสมือนมีนางกวักชั้นดีอยู่ในบ้าน (ไว้กวักเรียกสรรพากร) นั่นเอง!

6. อัตรากำไรขั้นต้นต่ำไปมักจะถูกเพ่งเล็ง

ในการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อคัดเลือกรายมาทำการออกหมายเรียกจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาเสมอคืออัตรากำไรขั้นต้นโดยจะเทียบเคียงกับอัตรากำไรปีก่อนๆ ของบริษัทเอง และ/หรือเทียบเคียงกับธุรกิจประเภทเดียวกัน

7. ‘เงินสดคงเหลือมากเกินไป บ่งว่าทำบัญชี 2 ชุด

ตามระบบการควบคุมภายใน (internal control) ที่ดี กิจการควรรับจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร โดยมี เงินสดย่อย’ (petty cash) ไว้ใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ดังนั้น งบการเงินของบริษัทใดแสดงเงินสดคงเหลือในมือมากๆ จึงเป็นเครื่องชี้ว่าไม่สุจริต เว้นแต่บางกิจการที่ค้าขายด้วยเงินสด เช่น กิจการร้านอาหาร และร้านค้าปลีก เช่น 7-ELEVEN ฯลฯ ก็พอรับฟังได้

8. บัญชีเจ้าหนี้เงินยืมกรรมการบ่งว่าอาจหลบรายได้

แหล่งที่มาของเงิน (source of fund) ของบริษัทมี 3 แหล่งใหญ่ๆ คือได้มาจากการกู้ยืม การลงทุน/เพิ่มทุนของผู้ถือหุ้น และกำไร (รายได้ท่วมรายจ่าย)


หลายบริษัทรับเงินค่าขายสินค้า แต่ลงบัญชีเป็นเงินกู้ยืมจากกรรมการ บางรายแจ้งว่ากู้มา โดยมีเศษ ทศนิยมก็มี เช่น 310,401.33 บาท เป็นต้น ซึ่งเมื่อไต่สวนแล้ว ล้วนเป็นการแจ้งเท็จ จึงต้องถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม 30% ของยอดเงินดังกล่าว พร้อมเบี้ยปรับ 1 เท่าและเงินเพิ่มอีก 1.5%

9. การแจ้งเลิก แจ้งย้าย ก็มักจะถูกตรวจสอบ

เป็นธรรมเนียมของสรรพากรมาแต่โบราณกาล กรณีมีผู้มาแจ้งขอเลิกกิจการหรือขอย้ายข้ามเขต ก็มักจะต้องถูกสรรพากรท้องที่เดิม ทำการตรวจสอบภาษี นัยว่าเป็นการเคลียบัญชีกันก่อนจะจาก แต่บางคนบอกว่าเป็นการเสียเงินเพื่อเซ่นเจ้าที่เจ้าทางเพื่อความเป็นศิริมงคล!

10. ประเด็นที่มีกฎหมายลูกต้องถูกตรวจสอบเสมอ

กรณีดังกล่าวได้แก่ ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน (พ.ร.ฎ. # 145) ค่ารับรอง (กฎกระทรวง # 143) หนี้สูญ (กฎกระทรวง #186) เป็นต้น เพราะหลักเกณฑ์ตามกฎหมายลูก จะแตกต่างจากหลักการบัญชี จึงมักปฏิบัติผิดพลาดกันอยู่เสมอๆเรียกว่าจิ้มไปตรงไหน ก็มักจะได้ภาษีเพิ่มเป็นนิจ

การเสียเวลาสอบทานข้อมูลเสียแต่ต้น ก่อนจะยื่นแบบ จะช่วยให้ท่านสบายใจได้ว่าอย่างน้อยก็ไม่มีข้อผิดพลาดใหญ่ๆ ให้ช้ำใจในภายหลังเพราะความช้ำใจจากความแตกแยกในสังคมทุกวันนี้ ก็หนักหนาสากรรจ์อยู่แล้ว อย่าให้ต้องช้ำซ้ำสองเพราะ สรรพากรอีกเลย สาธุ!

บทความโดย : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์  Tax & Business Magazine




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article