ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article

 

 

  

   ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา   

 

   ทุกๆ ปี ผู้เขียนมักจะไหว้วานให้ลูกน้องเป็นผู้สรุปยอดรายได้ค่าใช้จ่ายและกรอกแบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90
ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะเห็นว่ายอดภาษีที่ต้องชำระเพิ่มคงไม่สูงนัก เนื่องจากรายได้
ส่วนใหญ่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกือบครบถ้วนแล้ว

   ตกมาในปีนี้ บังเอิญมีเพื่อนฝูงหลายท่านโทรมาขอปรึกษา (ฟรีจ้า)+ ขอคำแนะนำวิธียื่นแบบเสียภาษีให้ถูกๆ (ต่ำๆ) เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ใครๆ ก็ต้องพากันประหยัดทุกทาง

   เชื่อไหมครับ พอพลิกกลับไปดูข้อมูลในแบบภาษีของตนเอง ปรากฏว่าลูกน้องดันคิดพลาด / เข้าใจผิด และเสียภาษีสูงไปหลายสตางค์เลยทำให้ได้ข้อคิดว่า ต่อแต่นี้ ข้าฯ คงต้องดูเองทุกปีเสีย แล้วกระมัง !

  ‘20กฎลดภาษีที่จะแนะนำแก่ท่านผู้อ่าน เป็นการต่อยอดข้อผิดพลาดของตนเองและจากคำแนะนำที่ให้แก่เพื่อน ๆ ซึ่งคงเป็นประโยชน์ต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 ของทุกๆ ท่านได้ดีทีเดียวครับ

  กฎข้อที่ 1 สามี & ภรรยา ควรแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

แฮ่ๆผู้เขียนแนะนำให้สามี & ภรรยาแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีนะครับ มิได้แนะให้แยกทางหรือแยกบ้าน! ท่านผู้อ่านคงจำสูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันได้นะครับนั่นคือ เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท คือ

เงินเดือนค่าจ้างฯ (ม.40(1))

เงินได้จากการรับทำงานให้ค่านายหน้า (ม.40(2))

ค่าสิทธิฯ (ม.40(3))

ดอกเบี้ยเงินปันผลฯ (ม.40 (4))

ค่าเช่าฯ (ม.40 (5))

เงินได้จากวิชาชีพอิสระฯ(ม.40(6))

เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้างฯ (ม.40(7))

เงินได้อื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม 7 ประเภทแรก (ม.40(8))

เงินได้ตามมาตรา40(1)-(2) หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 40% แต่ไม่เกิน60,000บาท เงินได้ตามมาตรา 40 (3) - (4) หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะมิได้เกิดจากน้ำพักน้ำแรง (unearned income)

เงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8) เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ หรือจะหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดจริงก็ได้ ค่าลดหย่อนที่กฎหมายยอมให้หักมีหลายชนิดคือ ค่าลดหย่อนส่วนตัวภรรยาและบุตร ค่าเบี้ยประกันภัย  ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม  เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เป็นต้น

ตัวอย่างแรก ของเรา เป็นกรณีของสามีและภรรยาซึ่งอยู่กินกันมาหลายปีโดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทเงินเดือน (ม.40(1))ซึ่งกฎหมายยอมให้ภรรยานำเงินเดือนของตนไปแยกคำนวณ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากเงินได้ของสามี การแยกยื่นดังกล่าว จะทำให้ภาระภาษีรวมต่ำลงกว่าการนำเงินได้ไปยื่นรวมกันและยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 เพียงฉบับเดียว

ซึ่งพิสูจน์ได้จากตัวอย่าง เช่น นายกรกฎ และนางละอองดาว ทำงานเป็นพนักงานของ
ธนาคารฟิลาโน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเงินเดือน 80,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ การนำเงินเดือนของทั้งคู่ไปรวมกัน จะทำให้เงินได้สุทธิตกอยู่ในช่วง
อัตราภาษี 30% แต่ถ้าต่างคนต่างยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แยกกัน ฐานภาษีของแต่ละคนจะ
ตกอยู่ในช่วงอัตราภาษีเพียง 10%-20% เท่านั้น

(Note : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า 10%-37% ตามแต่ละช่วง (bracket) ของเงินได้สุทธิที่สูงๆ ขึ้นไป) ต้องขอชมเชยผู้ยกร่างกฎหมายข้อนี้ ที่มีช่องออกให้สามีภรรยาสามารถประหยัดภาษีลงมาได้โดยไม่ต้องถึงกับยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนให้ภรรยา จากนั้นก็แกล้งจดทะเบียนหย่ากันหลอกๆเหมือนที่นักการเมืองของประเทศสารขัณฑ์หลายๆ ท่านที่ชอบมุขนี้กันบ่อยๆ!

ตัวอย่าง 2 นายภูชิชย์ และนางนริศรา (ภริยา ซึ่งสมรสกันก่อนปฏิรูป 19 ก.ย.49 (แฮ่ๆ)) ทำงานที่บริษัท แอสเซ็ท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด ได้รับเงินเดือน 40,000 บาท และ 25,000 บาท ตามลำดับ (เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)) ต่างฝ่ายหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 40% ไม่เกินคนละ 60,000 บาท)  ตกเย็น นางนริศรามีรายได้จากการร้องเพลงที่โรงแรมห้าดาวแห่งหนึ่งอีก 50,000 บาทต่อเดือน (ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)นักแสดงสาธารณะ) หักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับ 300,000 บาทแรกในอัตรา 60% ส่วนที่เกินสามแสนหักเหมาได้อีก 40% แต่รวมแล้วจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี)

กรณีที่นายภูชิชย์ นำเงิน เงินเดือนและค่าร้องเพลงของภริยามารวมกับตนแล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกันจะมีเงินได้พึงประเมินทั้งปีรวม
480,000 + 300,000 + 600,000 = 1,380,000
บาท หักค่าใช้จ่ายเหมาตามมาตรา 40 (1) (8) และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวและภริยา 60,000 บาท จะเหลือเงินได้สุทธิ 900,000 บาท ต้องเสียภาษี 120,000 บาท 

แต่ถ้าวางแผนให้นางนริศรานำเงินเดือน 300,000 บาท ไปแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ภริยาจะเสียภาษีเพียง 11,000 บาท ขณะที่พระเอกหนุ่มจะเหลือเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 480,000+600,000 = 1,080,000 บาท คิดเป็นเงินภาษีเพียง 78,000 บาท รวม 2 คน เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระ 89,000 บาท จึงประหยัดกว่าวิธีแรกถึง 31,000 บาททีเดียว

  กฎที่ 2 เลือกเข้าสู่ประเภทเงินได้ที่มีสิทธิหักรายจ่ายสูงๆ

ในเมืองไทย อาชีพนายแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีรายได้สูง คนส่วนใหญ่จึงใฝ่ฝันอยากสอบเอนทรานซ์เข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่งทั่วทุกภาค รวมทั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นของเอกชนก็เปิดสอนวิชาแพทยศาสตร์มาหลายปีแล้ว (แม้แต่ น.ส.ไทยคนปัจจุบันลลนา ก้องธรณินทร์' ก็ยังสนใจเข้าเรียนแพทยศาสตร์ มหิดลเช่นกัน)

เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) หรือ (6) ก็ได้

                       

ตัวอย่าง 3 นายแพทย์พันธ์ศักดิ์ สูตินรีเวชมือหนึ่งแห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท (สมมติ) และมีเงินได้พิเศษจากการทำงานช่วงเย็น ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตกเดือนละประมาณ 200,000 บาท แน่นอนว่าเงินเดือนประจำจากโรงพยาบาลรามาธิบดีถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ส่วนเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน จะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ว่าจ้างกันถ้าตกลงว่าจ้างกันในลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะมีเงินได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงานก็ยังคงถือเป็นเงินได้ประเภทเงินเดือนตามมาตรา 40(1) แต่ถ้าเป็นกรณีที่นายแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานเป็นกรณี ๆ ไป ก็จะถือเป็น เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ม.40(6))ดังนั้นรูปแบบของสัญญาจ้างจะมีผลต่อการเสียภาษีเงินได้ของนายแพทย์

ในกรณีข้างต้นถ้าเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชนถือเป็นประเภท ม.40(1) ก็จะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้อีก เพราะค่าใช้จ่ายเหมาจากโรงพยาบาลศิริราชเกิน 60,000 บาทแล้ว แต่ถ้าตีเป็นเงินได้ประเภท ม.40(6) ก็จะสามารถ หักค่าใช้จ่ายเหมาได้อีกถึง 60% ของเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นผลให้นายแพทย์ท่านนี้สามารถประหยัดภาษีลงมาได้ถึง 432,000 บาท เลยทีเดียว!

อนึ่ง เงินได้แต่ละประเภทอาจถูกวินิจฉัยเข้าเป็นเงินได้ใด ๆ ได้มากกว่า 1 ประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ลักษณะของสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงทาง ธุรกิจ จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการจำแนกประเภทเงินได้ของแต่ละมาตรา จึงอาจวางแผนการเสียภาษีของตนให้ต่ำลงได้

ตัวอย่าง 4 แสดงตัวอย่างการจำแนกประเภทเงินได้ 4 กรณี ดังนี้ครับประเภทกิจการ ทางเลือกในการจำแนกประเภทเงินได้ (เพื่อวางแผนภาษี)

1. นายหน้าค้าที่ดิน เป็นเงินได้ประเภทนายหน้าตัวแทน ตามมาตรา 40(2) กรณีซื้อมาขายไปอสังหาริมทรัพย์ ก็จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)ซึ่งแม้จะ หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่ก็มีภาระภาษีหลายประเภท เช่น ค่าธรรมเนียมโอน 2%  ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% หรือค่าอากรแสตมป์ 0.5% เป็นต้น

2. เงินได้จากการให้เช่าอพาร์ตเมนต์ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)กรณีให้เช่าทรัพย์ตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท กรณีเป็นกิจการทำนองเดียวกับโรงแรม เช่น บังกะโล เกสท์เฮ้าส์ จะถูกจำแนกเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร (เลือกหักเหมา 70% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)

3. การประกอบโรคศิลปะ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)หากมีนิติสัมพันธ์ฉันนายจ้างกับลูกจ้างของโรงพยาบาล เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) เงินได้จากการรับทำงานให้ โดยรับค่าตอบแทนตามผลสำเร็จของงาน เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) กรณีแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานอย่างอิสระ + คนไข้เป็นลูกค้าของแพทย์ (มิใช่ของโรงพยาบาล)(หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)เป็นเงินได้มาตรา 40(8)กรณีเปิดเป็นสถานพยาบาลโดยมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา 75% หรือหักรายจ่ายตามจริงก็ได้)

4. การรับเหมาก่อสร้าง กรณีรับจ้างเฉพาะค่าแรง โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาวัสดุ จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40(2) กรณีผู้รับจ้างรับเหมาทั้งนายแพทย์ส่วนใหญ่มักทำงานประจำโดยรับราชการในโรงพยาบาลของรัฐ และมีเงินได้พิเศษอีกหลายทาง เช่น เปิดคลินิกส่วนตัว หรือทำงานพิเศษตามโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น กรณีนี้จึงอาจเข้าลักษณะ ค่าแรง + วัสดุ + เครื่องมือก่อสร้าง จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (7) ซึ่งมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง หรือเลือกหักเหมา 70% ก็ได้

               ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา (2)

   ในอดีต ใครลองริเอ่ยคำว่าประหยัดภาษี/วางแผนภาษีรับรองว่าท่านจะต้องถูกเหล่าวายุภักษ์ (สรรพากร) น้อยใหญ่รุมสกรัมแน่นอน ด้วยมองว่า เจ้าหมอนี่ กำลังคิดจะหนีภาษีแน่ๆ เลย!

   ครั้นล่วงมาถึงยุค คมช. (เอ๊ย)ยุคโลกาภิวัตน์ ทัศนคติต่อการ วางแผนภาษีเริ่มกระเตื้องขึ้น และเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกันกับในต่างประเทศ
ผู้เขียนเอง ก็เป็นผู้สอนวิชาการบริหารภาษี (Tax Management)หลายสถาบัน เช่น หลักสูตร Ex-MBA (ม.ธรรมศาสตร์), MBA (ม.เกษตรศาสตร์), CEO MBA (ม.หอการค้าไทย) เป็นต้นแปลว่า attitude ดีขึ้น เป็นสากลขึ้น!

ข้อเขียนในวันนี้ จะขอนำท่านผู้อ่านเจาะลึกเข้าไปเรียนรู้ถึงกลยุทธ์/กลวิธีประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อจากฉบับก่อน 

  กฎที่ 3 กระจายเงินได้เป็นหลายปีภาษี

บุคคลธรรมดา ใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษี

คำว่าเกณฑ์เงินสด (cash basis) เป็นศัพท์ทางการบัญชี ความหมายก็คือ หน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา (ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินก็ต่อเมื่อได้รับชำระเงินแล้วเท่านั้น (คำว่าเงินได้ที่ได้รับจะครอบคลุมถึง เงินสด เช็ค ธนาณัติ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับ)

ดังนั้น การกระจายจำนวนเงินสดรับออกเป็นหลายปีภาษี ย่อมลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิให้เข้าสู่ช่วงเงินได้ในอัตราก้าวหน้าขั้นถัดๆ ไป(ปัจจุบัน personal income tax rate ของไทยอยู่ที่ 10 - 37%)

ตัวอย่าง 1 ‘หาญ บรรยงอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ทำสัญญารับเหมาช่วงงานก่อสร้างถนนวงแหวนจากบริษัท กูมาไก กูขี้เกียจทำเอง จำกัด กำหนดเวลาก่อสร้าง 2 ปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง 30 ตุลาคม 2549 มูลค่างาน 200 ล้านบาท กำหนดแบ่งจ่ายเงินเป็น 5 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 ในวันลงนามในสัญญาว่าจ้าง จ่ายเงินล่วงหน้า (advance payment) 10% เป็นเงิน 20 ล้านบาท งวดที่ 2 - 5 จ่ายงวดละ 25% เป็นเงิน 50 ล้านบาท ทุก 6 เดือน กรณีเช่นนี้หาญ บรรยงย่อมสามารถประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะแบ่งแยกเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากรออกเป็น 3 ปีภาษี คือ ปี 2547 = 20 ล้านบาท ปี 2548 = 90 ล้านบาท และปี 2549 อีก = 90 ล้านบาท ซึ่งย่อมดีกว่าการกระจุกตัวเงินไว้ในรอบปีภาษีใดมากๆ จนต้องเสียภาษี  เงินได้ใน rate สูงๆ

ตัวอย่าง 2 ‘ก๊วยเจ๋งเซียนขายรถยนต์มือทองสมองเพชร ในปี 2549 ทำสถิติยอดขายรถยนต์นำเข้า สุดหรู เบนทรีราคาคันละ 30 ล้านบาท 100 คัน จนเป้าทะลุและแตกกระจุย เป็นที่งุนงงแก่บริษัทผู้ผลิตในประเทศอังกฤษ จนไม่เชื่อสายตาว่า จริงหรือหว่า ที่เมืองไทยกำลังถูกพิษเศรษฐกิจจนบอบช้ำสาหัส ดั่งที่สื่อตะวันตกประโคมโหมข่าว(แฮ่ๆ)รางวัลความเก่งของ ก๊วยเจ๋งคือ ปรับเงินเดือน 2 ปี 4 ขั้น + ถ้วยเกียรติยศรูป คทาเพชรชูหัวแม่โป้ง’ + โบนัส 10 เดือน (กำหนดจ่าย 31 ธ.ค. 2549)  ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2549 ‘ก๊วยเจ๋งจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดมารวมคำนวณยื่นแบบ คือ เงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท รวม 1.2 ล้านบาท + ถ้วยรางวัล + โบนัส 1 ล้านบาท ลำพังการยื่น ภ.ง.ด.91 เฉพาะตัวเงินเดือนอย่างเดียว ก๊วยเจ๋งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมาณ 173,000 บาท

การนำโบนัส มารวมคำนวณภาษีในปี 2549 เข้าอีก ก็จะทำให้อัตราภาษีสำหรับโบนัส
ตกในช่วง 30% เป็นเงินอีก 300,000 บาท เชียว

กรณีเช่นนี้ หาก ก๊วยเจ๋ง ขออนุญาตลาพักร้อนในช่วงปีใหม่แล้วกลับมารับเงินโบนัส 1 ล้านบาท ในเดือนมกราคม 2550 กรณีนี้ก็จะสามารถแยกเงินโบนัสไปถือเป็นเงินได้ของปีภาษี 2550 ได้ตามเกณฑ์เงินสดจ้า!

   กฎที่ 4 ตั้งตัวแทนเชิด

 หรือสงครามตัวแทนเมื่อคืนนี้ ผู้เขียนได้นั่งตรวจข้อสอบของนักศึกษา X-MBA รุ่น 20 ในวิชาการวางแผนภาษี (บธ.625) ซึ่งคำถามในข้อ 1 ถามถึงความหมายของคำว่า การวางแผนภาษีและขอให้นักศึกษายกตัวอย่างสัก 1 กรณี ปรากฏว่ามีลูกศิษย์หัวกะทิ 2 ท่าน ยกตัวอย่างดังนี้ครับ

ตัวอย่าง 3 ในช่วงปีใหม่ 2550 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้จัดรายการฉลองครบรอบก่อตั้งมา 65 ปี Mid Night Sales ข้าพเจ้าได้ไปชอปปิ้งพร้อมกับ "ก๊วยเจ๋งเพื่อนซึ่งทำธุรกิจโรงงานส่งออกเสื้อผ้าซึ่งมียอดขายปีละกว่า 200 ล้านบาท ระหว่างที่พวกเราเข้าไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้าน The Terrace ภรรยาของเพื่อนนามอึ้งย้งพร้อมลูกๆ 4 คน  ได้ขอแยกตัวไปชอปปิ้งต่อจนหมดเงินไปร่วม 500,000 บาท และได้รับคูปองชิงโชคมา 1,000 ใบ โดยรางวัลใหญ่สุด คือ รถยนต์ Benz 500 SEL ราคา 15 ล้านบาท (ว้าว !)

ข้าพเจ้าได้ใช้วิชาวางแผนภาษีซึ่งร่ำเรียนมากับอาจารย์จนได้รับเกรด A แนะนำให้ อึ้งย้ง เขียนชื่อของลูกชายและลูกสาวในคูปองชิงโชคจนก๊วยเจ๋งสงสัย ถามว่า เป็นเคล็ดลับจากสวรรค์หรืออย่างไรข้าพเจ้าจึงยืดอกตอบอย่างผึ่งผายไปว่า หากโชคดี เกิดถูกรางวัลที่ 1 แล้วไซร้ ผู้โชคดี (หรือโชคร้ายหว่า !) จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 5%(รางวัลในการประกวด แข่งขัน หรือชิงโชค) และสิ้นปีจะต้องนำมูลค่ารถยนต์ไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 กับเงินได้อื่นด้วย (ถ้ามี) ซึ่งกรณีของก๊วยเจ๋งนั้นรายได้สูงปรี๊ดจนติดเพดานจนต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 37% อยู่แล้วนอกจากนั้น ยังต้องถูกห้างเซ็นทรัล เรียกเก็บ VAT อีก 7% ของมูลค่ารถยนต์ 15 ล้านบาทอีกด้วย ดังนั้น การผลักเงินรางวัลไปสู่ลูก ย่อมประหยัดภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 ของตน เพราะลูกเป็นผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเริ่มตั้งต้นเสีย ภาษีในอัตราก้าวหน้าจาก 10 - 37% ตามลำดับ ซึ่งประหยัดกว่าการถือรถยนต์เป็นเงินได้ของบิดา

ตัวอย่าง 4 ข้าพเจ้า จิวแป๊ะทงเป็นพนักงานในระดับสุดยอดบริหารได้รับเงินเดือนประจำรวมประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี และบังเอิญผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ก็ดีมากๆ ซะด้วย จึงจ่ายโบนัสแก่ข้าพเจ้าอีก 2 ล้านบาท ข้าพเจ้าไตร่ตรองดูแล้ว พบว่าลำพังรายได้จากเงินเดือนก็โดนภาษีถึง อัตราเพดานสูงสุด คือ 37% แล้ว หากนำโบนัสมาถมเข้าไปอีกตัวโบนัส 2 ล้านบาท ก็ต้องโดนภาษี 37% จากเงินทั้งก้อน ซึ่งโหดร้ายเกินไป  อย่ากระนั้นเลย ด้วยความเสียดาย

ข้าพเจ้าจึงเข้าไปอ้อนวอนให้พี่สะใภ้ ซึ่งไม่ได้ทำงานอะไร ให้เป็นผู้มารับเงินก้อนดังกล่าวแทนโดยถือเป็นรายได้ค่าที่ปรึกษาในฐานะครูบาอาจารย์ ได้เน้นย้ำว่าในการตอบข้อสอบวิชาการวางแผนภาษี จะต้องตั้งบนหลักการของการหลีกบ่วงภาษี (tax avoidance) มิใช่การฉ้อฉลทางภาษี (tax evasion) ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายกรณีตามตัวอย่าง 3 ยังพอกล้อมแกล้มให้คะแนนไป แต่ในตัวอย่าง 4 ยังคิดไม่ตกว่าจะให้ศูนย์หรือให้คะแนนติดลบ! เพราะในทางปฏิบัติจะต้องโดนเหล่านายตรวจของสรรพากรเช็คบิลแน่ๆ เลย!

ประเด็นการตั้งตัวแทนเชิดนั้น ในประวัติศาสตร์ของกรมสรรพากร ก็ได้เคยบันทึกรายชื่อผู้กล้าเหล่านั้น เป็นคดีความถึงชั้นศาล และมีคำพิพากษาฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้หลายคดีว่า ให้เจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ที่แท้จริง

ตัวอย่างเช่น

๐ คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2533 กรมสรรพากรโจทก์ นายมนูญ เนาวคุณ จำเลย เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าโดยยึดตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดิน ซึ่งในกรณีนี้จำเลยเป็นเพียงกระเป๋ารถเมล์ ซึ่งลงชื่อสั่งซื้อและสั่งขายที่ดินดังกล่าวภายในวันเดียวกันโดยปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายของตน ลักษณะของจำเลยจึงเป็นเพียงตัวแทน มิใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง กรณีนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานฯ ตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากร

๐ มารดาเป็นผู้ประกอบกิจการโรงแรม ได้ยกรายได้ทั้งหมดของโรงแรมแก่บุตร มารดาย่อมกระทำได้ ตามนัยมาตรา 521 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ภาระการเสียภาษี ยังคงตกอยู่แก่มารดาเพราะมิได้โอนชื่อในทะเบียนที่ดินและอาคารโรงแรมให้แก่บุตร(หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/13626 ลงวันที่ 4 กันยายน 2532)

   กฎที่ 5 คน(เคย)รวย ควรยื่นแบบอย่างไร?

 คน (เคย)รวย ในอดีตนั้น ในวันนี้ได้กลายเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อมๆ กันเกร่อไปหมด (จะเรียกเป็นพวกกิจการ SMEs ก็ย่อมได้) ธุรกิจท็อปฮิตคงเป็นร้านขายอาหาร รองๆ ลงไปได้แก่ ร้านขายน้ำดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต ซื้อมาขายไป สินค้าชีวจิต เปิดท้ายรถขายเสื้อผ้า เป็นต้นกรณีเหล่านี้จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8)แทบทั้งนั้น เงินได้ประเภทนี้ กฎหมายเปิดช่องให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักตามจ่ายจริง (ต้องมีบิลมาสำแดง)หรือจะเลือกหักเหมาประมาณ 70% (ร้านอาหาร) ถึง 80% (ซื้อมาขายไป) ก็ได้

ตัวอย่าง 5 ‘คุณทรายดารานำจากภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกิดติดใจอาชีพเปิดท้ายรถเพื่อขายของ ซึ่งมีรายรับก่อนหักรายจ่าย 100,000 บาทต่อเดือนถ้ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเลือกขอหักค่าใช้จ่ายจริงอันได้แก่ต้นทุนซื้อของ ค่าเช่า ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 90% ของรายรับจะเหลือเงินได้สุทธิเพียง (100,000 x 12) - 90% = 120,000 บาท(หักลดหย่อน ส่วนตัวได้อีก 30,000 บาท) จึงไม่ต้องเสียภาษี (เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)

ต่อมาถ้าโชคไม่ดีเกิดโดนตรวจภาษีย้อนหลัง รายจ่ายที่กรอกไว้ 90% จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที เพราะไม่มีบิลมาสำแดง ทำให้เงินได้สุทธิจากการตรวจสอบจะกลายเป็น 1,170,000 บาท ต้องเสียภาษีถึง 191,000 บาท และโดนเบี้ยปรับอีก 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนไม่คุ้มเลย

วิธีลดความเสี่ยงก็คือ ให้เลือกขอหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 80% แม้จะมีภาษีต้องเสียตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 110,000 บาท ซึ่งสูงกว่าวิธีแรก แต่ทางเลือกที่สองนี้ เป็นวิธียื่นแบบที่ปลอดภัยไร้กังวลชั่วนิรันดร์จ้า

 

             ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา (3)


ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ ทุกคนต้องหาวิธีประหยัดสตางค์กันทั้งนั้น โดยเฉพาะสำหรับ ค่าภาษีอากรซึ่งแม้จะมีภาษีบอกว่า “Nothing is inevitable, but death tax (ไม่มีอะไรแน่นอนเท่ากับความตายและภาษี!) ก็ตาม แต่กฎหมายภาษีของทุกประเทศ ก็มีช่องว่าง (tax loopholes) ให้ประชาชนเลือกวิธีชำระภาษีที่ต่ำสุดได้ (โดยถูกกฎหมาย)

ข้อเขียนในวันนี้จะนำเสนอกลยุทธ์ประหยัดภาษีบุคคลธรรมดาตอนที่ 3 (สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการค้นข้อมูลของ 2 ตอนแรก กรุณาClick ไปได้ที่ www.tax-thai.com นะครับ

   กฎที่ 6 การแตกหน่วยภาษี 

 - โดยจัดตั้งคณะบุคคลการตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นหลักการพื้นฐานที่สุด และได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ผู้เสียภาษีที่มีอันจะกินทั้งหลายเพราะมีรายได้แยะ จึงต้องการลดฐานภาษี มิให้ก้าวล่วงเข้าสู่ช่วงเงินได้ที่สูง ๆ ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)

อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 แห่ง ปพพ. ได้แบ่งประเภทของห้างหุ้นส่วนออกเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต้องจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์) สำหรับ คณะบุคคล (การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกันดังกล่าว) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตาม ปพพ. แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ

  ตัวอย่างเช่น

๐ นาย ก. และ นาย ข. ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโดยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันและร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินเพื่อขาย ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อกรมที่ดินเพื่อขอแยกโฉนดเป็นแปลงย่อย 12 แปลง โดยแบ่งกันถือครองคนละ 6 แปลง สำหรับการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น บุคคลใดมีชื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นผู้โอนแก่ลูกค้า

กรมสรรพากรวินิจฉัยว่า กรณีถือเป็นการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งกรมที่ดินได้รับชำระไว้ในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคนยอมให้นำมาถือเป็นเครดิตภาษีของห้างหุ้นส่วนได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/1287 ลงวันที่ 23มกราคม 2539)

๐ การฝากเงินโดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า นาย ก. หรือ นาย ข.เข้าลักษณะเป็น คณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล กรณีจึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในนามของคณะบุคคล (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/7229 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534)

ข้อดีของการจัดตั้งหน่วยภาษี แบบคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญมีชัดเจน 2 ประการ คือ

(1) เป็นการแตกหน่วยภาษี เพื่อลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเราเป็นอัตราก้าวหน้า 10%-37% กล่าวคือ เงินได้ของบุคคลใดยิ่งสูง ก็จะยิ่งถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเหมือนขั้นบันได

(2) ส่วนแบ่งกำไร ที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งได้มีการชำระภาษีเงินได้มาแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ต้องนำมาเสียภาษี เงินได้ซ้ำซ้อนอีก (มาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร)

ตัวอย่าง 1 ‘โก๊ะตี๋ทารกแคระ (แฮ่ ๆ อายุเลยวัยเบญจเพส + เกณฑ์ทหารแล้วด้วย แต่ยังแสดงเป็นเด็กอย่างน่าอิจฉา!) มีรายได้จากการเดินสายโชว์เดี่ยวตามคอฟฟี่ช้อปต่าง ๆ ประมาณ 200,000 บาท ต่อเดือน (สมมติ) หรือ ปีละ 2.4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประเภทนักแสดงสาธารณะ (ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ได้ร้อยละ 60
ส่วนเกิน 300,000 บาท หักได้อีกร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท) เป็นเงินภาษีต่อปีประมาณ 371,000 บาท

ในงานฉลองตรุษจีนปี 2550 ที่เยาวราช (สมมติว่า)โก๊ะตี๋ + เอ็ดดี้ ผีน่ารัก’ (สมมติว่าทั้งคู่ยังดูดดื่มกันอยู่) ได้ร่วมกันตั้งคณะบุคคล เพื่อรับงานแสดง 3 คืน 1 ล้านบาทถ้วน กรณีเช่นนี้ หากนำเงินได้ไปรวมกับฐานรายได้เดิมของโก๊ะตี๋ เงินได้ก้อนใหม่ 1 ล้านบาทนี้ ก็จะต้องถูกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 30% เป็นเงิน 300,000 บาท แต่การแยกเงินได้ออกมารับงานในนามคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหน่วยภาษีใหม่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ โดยคำนวณตามสูตร

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

กรณีจึงเสียภาษีในนามคณะบุคคลเพียง 38,000 บาท ประหยัดภาษีลง
ได้ = 300,000 - 38,000 บาท เป็นเงิน 262,000 บาท ทีเดียว !

ตัวอย่าง 2 ‘กรกฎพระเอกหนุ่ม (ใหญ่) ในภาพยนตร์โทรทัศน์ ละอองดาวได้นั่งฟังตัวอย่างการประหยัดภาษีของโก๊ะตี๋ เกิดติดอกติดใจอยากจะประหยัดภาษีเงินได้ของตนเช่นกัน เพราะรายได้ของตัวเองก็ป๊อปปูล่าร์ไม่แพ้ใครในสยามประเทศ อาทิเช่น นายแบบโฆษณา นักร้อง นักแสดง และพรีเซ็นเตอร์สินค้าหลายยี่ห้อ ฯ ล ฯ ครั้น กรกฎจะหันไปจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับนางเอกดังๆ ก็เกรงจะตกเป็นข่าว อย่ากระนั้นเลย จึงหันไปคว้าเอาชื่อลูกสาววัย 3 ขวบ ของพี่สาวนาม แองเจิลมาร่วมตั้ง คณะบุคคลกรกฎ - แองเจิล เอ็นเทอร์เทนเม้นท์เพื่อแตกฐานรายได้ของตนลงมาดีกว่า

แฮ่ๆ กรณีของกรกฎมีช่องโหว่ และพิรุธให้สรรพากรโจมตีได้แยะเพราะไม่สมเหตุสมผลที่ทารกวัย 3 ขวบจะมาร่วมธุรกิจกันจริง จึงมองได้เป็น นิติกรรมอำพราง เช่นเดียวกันกับกรณีการถ่ายโอนหุ้นแก่คนขับรถและคนรับใช้ของใครบางคนนั่นแหละ! นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า ในโลกของความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมิได้ง่ายดายดังเช่นบทแสดงในโลกมายา ดอกนะ

   กฎที่ 7 เลือกวิธีเสียภาษี ณ ที่จ่าย เป็น Final tax

หลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ เรื่องของประเภทเงินได้ที่กฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิเลือกแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่นๆ อันได้แก่ (1) ภริยานำเงินเดือน (มาตรา 40 (1)) ของตนแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากสามี (2) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียภาษีเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3)เงินปันผล (มาตรา 40(4)(ข)) ซึ่งเลือกวิธีเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ (4) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก / จากการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร อาจเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพียงไม่เกิน 20% ของเงินได้ (5) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มาซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (พ.ร.ฏ. # 247 พ.ศ. 2534) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกับเงินได้ประเภทอื่น (6) ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 10% ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณในการ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนปลายปี

(7) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (capital gain) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ซึ่งผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำมารวมกับเงินได้อื่นก็ได้

(8) เงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ผู้เสียภาษีอาจเลือกวิธีเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำมารวมในการยื่นแบบตอนปลายปี แต่ต้องแสดงรายการในใบแนบพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ตัวอย่าง 3 ปี 2544 คณะบุคคล ขวัญ - เรียมเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% (ถูกเป็นบ้า !) ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของยอดดอกเบี้ย 25,000 บาท =3,750 บาท

สิ้นปี 2549 หากคณะบุคคล ดังกล่าวไม่มีเงินได้ประเภทอื่น กรณีก็จะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ 30,000 บาท (มาตรา 56)

หมายเหตุ

แฮ่ๆ Case นี้ทำท่าจะ happy ending แต่บังเอิญ กรมสรรพากรไม่ยอมรับคณะบุคคลระหว่างสามี + ภริยา กรณีจึงจบลงด้วยความเศร้า เคล้าน้ำตาคล้ายดั่งละคร แผลเก่า’ + เพลง แสนแสบเพราะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวไปรวมยื่นแบบในนามของเจ้าขวัญ (สามี) !

อย่างไรก็ตาม กรณีของคนรวยซึ่งมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น การตัดสินใจเลือกเสียภาษีวิธีใดให้พิจารณาว่าภาระภาษีจากการเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ว่าจะสูงกว่า / ต่ำกว่า ภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งเก็บคงที่ในอัตรา 15% (ดูตาราง)

  ทางเลือก ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ภาษีจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 การตัดสินใจ

ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% 

1.  50,000    7,500   - เลือกยื่น ภ.ง.ด.90 ซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายได้ทั้งหมด
2. 100,000   15,000   -
เหมือนข้อ 1
3. 500,000   75,000    34,000
เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90และได้คืนภาษี 41,000 บาท
4. 1
ล้านบาท  150,000   128,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 22,000 บาท
5. 1.17
ล้านบาท175,500   173,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 2,500 บาท
6. 5
ล้านบาท  750,000 1,387,800 เลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

บทความโดย: อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ amornsak@tax-thai.com

ที่มา : www.tax-thai.com

 

   ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา   

 

   ทุกๆ ปี ผู้เขียนมักจะไหว้วานให้ลูกน้องเป็นผู้สรุปยอดรายได้ค่าใช้จ่ายและกรอกแบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90
ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะเห็นว่ายอดภาษีที่ต้องชำระเพิ่มคงไม่สูงนัก เนื่องจากรายได้
ส่วนใหญ่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกือบครบถ้วนแล้ว

   ตกมาในปีนี้ บังเอิญมีเพื่อนฝูงหลายท่านโทรมาขอปรึกษา (ฟรีจ้า)+ ขอคำแนะนำวิธียื่นแบบเสียภาษีให้ถูกๆ (ต่ำๆ) เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ใครๆ ก็ต้องพากันประหยัดทุกทาง

   เชื่อไหมครับ พอพลิกกลับไปดูข้อมูลในแบบภาษีของตนเอง ปรากฏว่าลูกน้องดันคิดพลาด / เข้าใจผิด และเสียภาษีสูงไปหลายสตางค์เลยทำให้ได้ข้อคิดว่า ต่อแต่นี้ ข้าฯ คงต้องดูเองทุกปีเสีย แล้วกระมัง !

  ‘20กฎลดภาษีที่จะแนะนำแก่ท่านผู้อ่าน เป็นการต่อยอดข้อผิดพลาดของตนเองและจากคำแนะนำที่ให้แก่เพื่อน ๆ ซึ่งคงเป็นประโยชน์ต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 ของทุกๆ ท่านได้ดีทีเดียวครับ

  กฎข้อที่ 1 สามี & ภรรยา ควรแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

แฮ่ๆผู้เขียนแนะนำให้สามี & ภรรยาแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีนะครับ มิได้แนะให้แยกทางหรือแยกบ้าน! ท่านผู้อ่านคงจำสูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันได้นะครับนั่นคือ เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท คือ

เงินเดือนค่าจ้างฯ (ม.40(1))

เงินได้จากการรับทำงานให้ค่านายหน้า (ม.40(2))

ค่าสิทธิฯ (ม.40(3))

ดอกเบี้ยเงินปันผลฯ (ม.40 (4))

ค่าเช่าฯ (ม.40 (5))

เงินได้จากวิชาชีพอิสระฯ(ม.40(6))

เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้างฯ (ม.40(7))

เงินได้อื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม 7 ประเภทแรก (ม.40(8))

เงินได้ตามมาตรา40(1)-(2) หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 40% แต่ไม่เกิน60,000บาท เงินได้ตามมาตรา 40 (3) - (4) หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะมิได้เกิดจากน้ำพักน้ำแรง (unearned income)

เงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8) เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ หรือจะหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดจริงก็ได้ ค่าลดหย่อนที่กฎหมายยอมให้หักมีหลายชนิดคือ ค่าลดหย่อนส่วนตัวภรรยาและบุตร ค่าเบี้ยประกันภัย  ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม  เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เป็นต้น

ตัวอย่างแรก ของเรา เป็นกรณีของสามีและภรรยาซึ่งอยู่กินกันมาหลายปีโดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทเงินเดือน (ม.40(1))ซึ่งกฎหมายยอมให้ภรรยานำเงินเดือนของตนไปแยกคำนวณ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากเงินได้ของสามี การแยกยื่นดังกล่าว จะทำให้ภาระภาษีรวมต่ำลงกว่าการนำเงินได้ไปยื่นรวมกันและยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 เพียงฉบับเดียว

ซึ่งพิสูจน์ได้จากตัวอย่าง เช่น นายกรกฎ และนางละอองดาว ทำงานเป็นพนักงานของ
ธนาคารฟิลาโน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเงินเดือน 80,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ การนำเงินเดือนของทั้งคู่ไปรวมกัน จะทำให้เงินได้สุทธิตกอยู่ในช่วง
อัตราภาษี 30% แต่ถ้าต่างคนต่างยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แยกกัน ฐานภาษีของแต่ละคนจะ
ตกอยู่ในช่วงอัตราภาษีเพียง 10%-20% เท่านั้น

(Note : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า 10%-37% ตามแต่ละช่วง (bracket) ของเงินได้สุทธิที่สูงๆ ขึ้นไป) ต้องขอชมเชยผู้ยกร่างกฎหมายข้อนี้ ที่มีช่องออกให้สามีภรรยาสามารถประหยัดภาษีลงมาได้โดยไม่ต้องถึงกับยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนให้ภรรยา จากนั้นก็แกล้งจดทะเบียนหย่ากันหลอกๆเหมือนที่นักการเมืองของประเทศสารขัณฑ์หลายๆ ท่านที่ชอบมุขนี้กันบ่อยๆ!

ตัวอย่าง 2 นายภูชิชย์ และนางนริศรา (ภริยา ซึ่งสมรสกันก่อนปฏิรูป 19 ก.ย.49 (แฮ่ๆ)) ทำงานที่บริษัท แอสเซ็ท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด ได้รับเงินเดือน 40,000 บาท และ 25,000 บาท ตามลำดับ (เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)) ต่างฝ่ายหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 40% ไม่เกินคนละ 60,000 บาท)  ตกเย็น นางนริศรามีรายได้จากการร้องเพลงที่โรงแรมห้าดาวแห่งหนึ่งอีก 50,000 บาทต่อเดือน (ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)นักแสดงสาธารณะ) หักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับ 300,000 บาทแรกในอัตรา 60% ส่วนที่เกินสามแสนหักเหมาได้อีก 40% แต่รวมแล้วจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี)

กรณีที่นายภูชิชย์ นำเงิน เงินเดือนและค่าร้องเพลงของภริยามารวมกับตนแล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกันจะมีเงินได้พึงประเมินทั้งปีรวม
480,000 + 300,000 + 600,000 = 1,380,000
บาท หักค่าใช้จ่ายเหมาตามมาตรา 40 (1) (8) และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวและภริยา 60,000 บาท จะเหลือเงินได้สุทธิ 900,000 บาท ต้องเสียภาษี 120,000 บาท 

แต่ถ้าวางแผนให้นางนริศรานำเงินเดือน 300,000 บาท ไปแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ภริยาจะเสียภาษีเพียง 11,000 บาท ขณะที่พระเอกหนุ่มจะเหลือเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 480,000+600,000 = 1,080,000 บาท คิดเป็นเงินภาษีเพียง 78,000 บาท รวม 2 คน เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระ 89,000 บาท จึงประหยัดกว่าวิธีแรกถึง 31,000 บาททีเดียว

  กฎที่ 2 เลือกเข้าสู่ประเภทเงินได้ที่มีสิทธิหักรายจ่ายสูงๆ

ในเมืองไทย อาชีพนายแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีรายได้สูง คนส่วนใหญ่จึงใฝ่ฝันอยากสอบเอนทรานซ์เข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่งทั่วทุกภาค รวมทั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นของเอกชนก็เปิดสอนวิชาแพทยศาสตร์มาหลายปีแล้ว (แม้แต่ น.ส.ไทยคนปัจจุบันลลนา ก้องธรณินทร์' ก็ยังสนใจเข้าเรียนแพทยศาสตร์ มหิดลเช่นกัน)

เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) หรือ (6) ก็ได้

                       

ตัวอย่าง 3 นายแพทย์พันธ์ศักดิ์ สูตินรีเวชมือหนึ่งแห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท (สมมติ) และมีเงินได้พิเศษจากการทำงานช่วงเย็น ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตกเดือนละประมาณ 200,000 บาท แน่นอนว่าเงินเดือนประจำจากโรงพยาบาลรามาธิบดีถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ส่วนเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน จะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ว่าจ้างกันถ้าตกลงว่าจ้างกันในลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะมีเงินได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงานก็ยังคงถือเป็นเงินได้ประเภทเงินเดือนตามมาตรา 40(1) แต่ถ้าเป็นกรณีที่นายแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานเป็นกรณี ๆ ไป ก็จะถือเป็น เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ม.40(6))ดังนั้นรูปแบบของสัญญาจ้างจะมีผลต่อการเสียภาษีเงินได้ของนายแพทย์

ในกรณีข้างต้นถ้าเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชนถือเป็นประเภท ม.40(1) ก็จะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้อีก เพราะค่าใช้จ่ายเหมาจากโรงพยาบาลศิริราชเกิน 60,000 บาทแล้ว แต่ถ้าตีเป็นเงินได้ประเภท ม.40(6) ก็จะสามารถ หักค่าใช้จ่ายเหมาได้อีกถึง 60% ของเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นผลให้นายแพทย์ท่านนี้สามารถประหยัดภาษีลงมาได้ถึง 432,000 บาท เลยทีเดียว!

อนึ่ง เงินได้แต่ละประเภทอาจถูกวินิจฉัยเข้าเป็นเงินได้ใด ๆ ได้มากกว่า 1 ประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ลักษณะของสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงทาง ธุรกิจ จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการจำแนกประเภทเงินได้ของแต่ละมาตรา จึงอาจวางแผนการเสียภาษีของตนให้ต่ำลงได้

ตัวอย่าง 4 แสดงตัวอย่างการจำแนกประเภทเงินได้ 4 กรณี ดังนี้ครับประเภทกิจการ ทางเลือกในการจำแนกประเภทเงินได้ (เพื่อวางแผนภาษี)

1. นายหน้าค้าที่ดิน เป็นเงินได้ประเภทนายหน้าตัวแทน ตามมาตรา 40(2) กรณีซื้อมาขายไปอสังหาริมทรัพย์ ก็จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)ซึ่งแม้จะ หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่ก็มีภาระภาษีหลายประเภท เช่น ค่าธรรมเนียมโอน 2%  ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% หรือค่าอากรแสตมป์ 0.5% เป็นต้น

2. เงินได้จากการให้เช่าอพาร์ตเมนต์ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)กรณีให้เช่าทรัพย์ตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท กรณีเป็นกิจการทำนองเดียวกับโรงแรม เช่น บังกะโล เกสท์เฮ้าส์ จะถูกจำแนกเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร (เลือกหักเหมา 70% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)

3. การประกอบโรคศิลปะ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)หากมีนิติสัมพันธ์ฉันนายจ้างกับลูกจ้างของโรงพยาบาล เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) เงินได้จากการรับทำงานให้ โดยรับค่าตอบแทนตามผลสำเร็จของงาน เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) กรณีแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานอย่างอิสระ + คนไข้เป็นลูกค้าของแพทย์ (มิใช่ของโรงพยาบาล)(หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)เป็นเงินได้มาตรา 40(8)กรณีเปิดเป็นสถานพยาบาลโดยมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา 75% หรือหักรายจ่ายตามจริงก็ได้)

4. การรับเหมาก่อสร้าง กรณีรับจ้างเฉพาะค่าแรง โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาวัสดุ จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40(2) กรณีผู้รับจ้างรับเหมาทั้งนายแพทย์ส่วนใหญ่มักทำงานประจำโดยรับราชการในโรงพยาบาลของรัฐ และมีเงินได้พิเศษอีกหลายทาง เช่น เปิดคลินิกส่วนตัว หรือทำงานพิเศษตามโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น กรณีนี้จึงอาจเข้าลักษณะ ค่าแรง + วัสดุ + เครื่องมือก่อสร้าง จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (7) ซึ่งมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง หรือเลือกหักเหมา 70% ก็ได้

               ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา (2)

   ในอดีต ใครลองริเอ่ยคำว่าประหยัดภาษี/วางแผนภาษีรับรองว่าท่านจะต้องถูกเหล่าวายุภักษ์ (สรรพากร) น้อยใหญ่รุมสกรัมแน่นอน ด้วยมองว่า เจ้าหมอนี่ กำลังคิดจะหนีภาษีแน่ๆ เลย!

   ครั้นล่วงมาถึงยุค คมช. (เอ๊ย)ยุคโลกาภิวัตน์ ทัศนคติต่อการ วางแผนภาษีเริ่มกระเตื้องขึ้น และเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกันกับในต่างประเทศ
ผู้เขียนเอง ก็เป็นผู้สอนวิชาการบริหารภาษี (Tax Management)หลายสถาบัน เช่น หลักสูตร Ex-MBA (ม.ธรรมศาสตร์), MBA (ม.เกษตรศาสตร์), CEO MBA (ม.หอการค้าไทย) เป็นต้นแปลว่า attitude ดีขึ้น เป็นสากลขึ้น!

ข้อเขียนในวันนี้ จะขอนำท่านผู้อ่านเจาะลึกเข้าไปเรียนรู้ถึงกลยุทธ์/กลวิธีประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อจากฉบับก่อน 

  กฎที่ 3 กระจายเงินได้เป็นหลายปีภาษี

บุคคลธรรมดา ใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษี

คำว่าเกณฑ์เงินสด (cash basis) เป็นศัพท์ทางการบัญชี ความหมายก็คือ หน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา (ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินก็ต่อเมื่อได้รับชำระเงินแล้วเท่านั้น (คำว่าเงินได้ที่ได้รับจะครอบคลุมถึง เงินสด เช็ค ธนาณัติ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับ)

ดังนั้น การกระจายจำนวนเงินสดรับออกเป็นหลายปีภาษี ย่อมลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิให้เข้าสู่ช่วงเงินได้ในอัตราก้าวหน้าขั้นถัดๆ ไป(ปัจจุบัน personal income tax rate ของไทยอยู่ที่ 10 - 37%)

ตัวอย่าง 1 ‘หาญ บรรยงอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ทำสัญญารับเหมาช่วงงานก่อสร้างถนนวงแหวนจากบริษัท กูมาไก กูขี้เกียจทำเอง จำกัด กำหนดเวลาก่อสร้าง 2 ปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง 30 ตุลาคม 2549 มูลค่างาน 200 ล้านบาท กำหนดแบ่งจ่ายเงินเป็น 5 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 ในวันลงนามในสัญญาว่าจ้าง จ่ายเงินล่วงหน้า (advance payment) 10% เป็นเงิน 20 ล้านบาท งวดที่ 2 - 5 จ่ายงวดละ 25% เป็นเงิน 50 ล้านบาท ทุก 6 เดือน กรณีเช่นนี้หาญ บรรยงย่อมสามารถประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะแบ่งแยกเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากรออกเป็น 3 ปีภาษี คือ ปี 2547 = 20 ล้านบาท ปี 2548 = 90 ล้านบาท และปี 2549 อีก = 90 ล้านบาท ซึ่งย่อมดีกว่าการกระจุกตัวเงินไว้ในรอบปีภาษีใดมากๆ จนต้องเสียภาษี  เงินได้ใน rate สูงๆ

ตัวอย่าง 2 ‘ก๊วยเจ๋งเซียนขายรถยนต์มือทองสมองเพชร ในปี 2549 ทำสถิติยอดขายรถยนต์นำเข้า สุดหรู เบนทรีราคาคันละ 30 ล้านบาท 100 คัน จนเป้าทะลุและแตกกระจุย เป็นที่งุนงงแก่บริษัทผู้ผลิตในประเทศอังกฤษ จนไม่เชื่อสายตาว่า จริงหรือหว่า ที่เมืองไทยกำลังถูกพิษเศรษฐกิจจนบอบช้ำสาหัส ดั่งที่สื่อตะวันตกประโคมโหมข่าว(แฮ่ๆ)รางวัลความเก่งของ ก๊วยเจ๋งคือ ปรับเงินเดือน 2 ปี 4 ขั้น + ถ้วยเกียรติยศรูป คทาเพชรชูหัวแม่โป้ง’ + โบนัส 10 เดือน (กำหนดจ่าย 31 ธ.ค. 2549)  ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2549 ‘ก๊วยเจ๋งจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดมารวมคำนวณยื่นแบบ คือ เงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท รวม 1.2 ล้านบาท + ถ้วยรางวัล + โบนัส 1 ล้านบาท ลำพังการยื่น ภ.ง.ด.91 เฉพาะตัวเงินเดือนอย่างเดียว ก๊วยเจ๋งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมาณ 173,000 บาท

การนำโบนัส มารวมคำนวณภาษีในปี 2549 เข้าอีก ก็จะทำให้อัตราภาษีสำหรับโบนัส
ตกในช่วง 30% เป็นเงินอีก 300,000 บาท เชียว

กรณีเช่นนี้ หาก ก๊วยเจ๋ง ขออนุญาตลาพักร้อนในช่วงปีใหม่แล้วกลับมารับเงินโบนัส 1 ล้านบาท ในเดือนมกราคม 2550 กรณีนี้ก็จะสามารถแยกเงินโบนัสไปถือเป็นเงินได้ของปีภาษี 2550 ได้ตามเกณฑ์เงินสดจ้า!

   กฎที่ 4 ตั้งตัวแทนเชิด

 หรือสงครามตัวแทนเมื่อคืนนี้ ผู้เขียนได้นั่งตรวจข้อสอบของนักศึกษา X-MBA รุ่น 20 ในวิชาการวางแผนภาษี (บธ.625) ซึ่งคำถามในข้อ 1 ถามถึงความหมายของคำว่า การวางแผนภาษีและขอให้นักศึกษายกตัวอย่างสัก 1 กรณี ปรากฏว่ามีลูกศิษย์หัวกะทิ 2 ท่าน ยกตัวอย่างดังนี้ครับ

ตัวอย่าง 3 ในช่วงปีใหม่ 2550 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้จัดรายการฉลองครบรอบก่อตั้งมา 65 ปี Mid Night Sales ข้าพเจ้าได้ไปชอปปิ้งพร้อมกับ "ก๊วยเจ๋งเพื่อนซึ่งทำธุรกิจโรงงานส่งออกเสื้อผ้าซึ่งมียอดขายปีละกว่า 200 ล้านบาท ระหว่างที่พวกเราเข้าไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้าน The Terrace ภรรยาของเพื่อนนามอึ้งย้งพร้อมลูกๆ 4 คน  ได้ขอแยกตัวไปชอปปิ้งต่อจนหมดเงินไปร่วม 500,000 บาท และได้รับคูปองชิงโชคมา 1,000 ใบ โดยรางวัลใหญ่สุด คือ รถยนต์ Benz 500 SEL ราคา 15 ล้านบาท (ว้าว !)

ข้าพเจ้าได้ใช้วิชาวางแผนภาษีซึ่งร่ำเรียนมากับอาจารย์จนได้รับเกรด A แนะนำให้ อึ้งย้ง เขียนชื่อของลูกชายและลูกสาวในคูปองชิงโชคจนก๊วยเจ๋งสงสัย ถามว่า เป็นเคล็ดลับจากสวรรค์หรืออย่างไรข้าพเจ้าจึงยืดอกตอบอย่างผึ่งผายไปว่า หากโชคดี เกิดถูกรางวัลที่ 1 แล้วไซร้ ผู้โชคดี (หรือโชคร้ายหว่า !) จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 5%(รางวัลในการประกวด แข่งขัน หรือชิงโชค) และสิ้นปีจะต้องนำมูลค่ารถยนต์ไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 กับเงินได้อื่นด้วย (ถ้ามี) ซึ่งกรณีของก๊วยเจ๋งนั้นรายได้สูงปรี๊ดจนติดเพดานจนต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 37% อยู่แล้วนอกจากนั้น ยังต้องถูกห้างเซ็นทรัล เรียกเก็บ VAT อีก 7% ของมูลค่ารถยนต์ 15 ล้านบาทอีกด้วย ดังนั้น การผลักเงินรางวัลไปสู่ลูก ย่อมประหยัดภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 ของตน เพราะลูกเป็นผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเริ่มตั้งต้นเสีย ภาษีในอัตราก้าวหน้าจาก 10 - 37% ตามลำดับ ซึ่งประหยัดกว่าการถือรถยนต์เป็นเงินได้ของบิดา

ตัวอย่าง 4 ข้าพเจ้า จิวแป๊ะทงเป็นพนักงานในระดับสุดยอดบริหารได้รับเงินเดือนประจำรวมประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี และบังเอิญผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ก็ดีมากๆ ซะด้วย จึงจ่ายโบนัสแก่ข้าพเจ้าอีก 2 ล้านบาท ข้าพเจ้าไตร่ตรองดูแล้ว พบว่าลำพังรายได้จากเงินเดือนก็โดนภาษีถึง อัตราเพดานสูงสุด คือ 37% แล้ว หากนำโบนัสมาถมเข้าไปอีกตัวโบนัส 2 ล้านบาท ก็ต้องโดนภาษี 37% จากเงินทั้งก้อน ซึ่งโหดร้ายเกินไป  อย่ากระนั้นเลย ด้วยความเสียดาย

ข้าพเจ้าจึงเข้าไปอ้อนวอนให้พี่สะใภ้ ซึ่งไม่ได้ทำงานอะไร ให้เป็นผู้มารับเงินก้อนดังกล่าวแทนโดยถือเป็นรายได้ค่าที่ปรึกษาในฐานะครูบาอาจารย์ ได้เน้นย้ำว่าในการตอบข้อสอบวิชาการวางแผนภาษี จะต้องตั้งบนหลักการของการหลีกบ่วงภาษี (tax avoidance) มิใช่การฉ้อฉลทางภาษี (tax evasion) ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายกรณีตามตัวอย่าง 3 ยังพอกล้อมแกล้มให้คะแนนไป แต่ในตัวอย่าง 4 ยังคิดไม่ตกว่าจะให้ศูนย์หรือให้คะแนนติดลบ! เพราะในทางปฏิบัติจะต้องโดนเหล่านายตรวจของสรรพากรเช็คบิลแน่ๆ เลย!

ประเด็นการตั้งตัวแทนเชิดนั้น ในประวัติศาสตร์ของกรมสรรพากร ก็ได้เคยบันทึกรายชื่อผู้กล้าเหล่านั้น เป็นคดีความถึงชั้นศาล และมีคำพิพากษาฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้หลายคดีว่า ให้เจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ที่แท้จริง

ตัวอย่างเช่น

๐ คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2533 กรมสรรพากรโจทก์ นายมนูญ เนาวคุณ จำเลย เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าโดยยึดตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดิน ซึ่งในกรณีนี้จำเลยเป็นเพียงกระเป๋ารถเมล์ ซึ่งลงชื่อสั่งซื้อและสั่งขายที่ดินดังกล่าวภายในวันเดียวกันโดยปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายของตน ลักษณะของจำเลยจึงเป็นเพียงตัวแทน มิใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง กรณีนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานฯ ตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากร

๐ มารดาเป็นผู้ประกอบกิจการโรงแรม ได้ยกรายได้ทั้งหมดของโรงแรมแก่บุตร มารดาย่อมกระทำได้ ตามนัยมาตรา 521 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ภาระการเสียภาษี ยังคงตกอยู่แก่มารดาเพราะมิได้โอนชื่อในทะเบียนที่ดินและอาคารโรงแรมให้แก่บุตร(หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/13626 ลงวันที่ 4 กันยายน 2532)

   กฎที่ 5 คน(เคย)รวย ควรยื่นแบบอย่างไร?

 คน (เคย)รวย ในอดีตนั้น ในวันนี้ได้กลายเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อมๆ กันเกร่อไปหมด (จะเรียกเป็นพวกกิจการ SMEs ก็ย่อมได้) ธุรกิจท็อปฮิตคงเป็นร้านขายอาหาร รองๆ ลงไปได้แก่ ร้านขายน้ำดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต ซื้อมาขายไป สินค้าชีวจิต เปิดท้ายรถขายเสื้อผ้า เป็นต้นกรณีเหล่านี้จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8)แทบทั้งนั้น เงินได้ประเภทนี้ กฎหมายเปิดช่องให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักตามจ่ายจริง (ต้องมีบิลมาสำแดง)หรือจะเลือกหักเหมาประมาณ 70% (ร้านอาหาร) ถึง 80% (ซื้อมาขายไป) ก็ได้

ตัวอย่าง 5 ‘คุณทรายดารานำจากภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกิดติดใจอาชีพเปิดท้ายรถเพื่อขายของ ซึ่งมีรายรับก่อนหักรายจ่าย 100,000 บาทต่อเดือนถ้ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเลือกขอหักค่าใช้จ่ายจริงอันได้แก่ต้นทุนซื้อของ ค่าเช่า ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 90% ของรายรับจะเหลือเงินได้สุทธิเพียง (100,000 x 12) - 90% = 120,000 บาท(หักลดหย่อน ส่วนตัวได้อีก 30,000 บาท) จึงไม่ต้องเสียภาษี (เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)

ต่อมาถ้าโชคไม่ดีเกิดโดนตรวจภาษีย้อนหลัง รายจ่ายที่กรอกไว้ 90% จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที เพราะไม่มีบิลมาสำแดง ทำให้เงินได้สุทธิจากการตรวจสอบจะกลายเป็น 1,170,000 บาท ต้องเสียภาษีถึง 191,000 บาท และโดนเบี้ยปรับอีก 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนไม่คุ้มเลย

วิธีลดความเสี่ยงก็คือ ให้เลือกขอหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 80% แม้จะมีภาษีต้องเสียตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 110,000 บาท ซึ่งสูงกว่าวิธีแรก แต่ทางเลือกที่สองนี้ เป็นวิธียื่นแบบที่ปลอดภัยไร้กังวลชั่วนิรันดร์จ้า

 

             ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา (3)


ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ ทุกคนต้องหาวิธีประหยัดสตางค์กันทั้งนั้น โดยเฉพาะสำหรับ ค่าภาษีอากรซึ่งแม้จะมีภาษีบอกว่า “Nothing is inevitable, but death tax (ไม่มีอะไรแน่นอนเท่ากับความตายและภาษี!) ก็ตาม แต่กฎหมายภาษีของทุกประเทศ ก็มีช่องว่าง (tax loopholes) ให้ประชาชนเลือกวิธีชำระภาษีที่ต่ำสุดได้ (โดยถูกกฎหมาย)

ข้อเขียนในวันนี้จะนำเสนอกลยุทธ์ประหยัดภาษีบุคคลธรรมดาตอนที่ 3 (สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการค้นข้อมูลของ 2 ตอนแรก กรุณาClick ไปได้ที่ www.tax-thai.com นะครับ

   กฎที่ 6 การแตกหน่วยภาษี 

 - โดยจัดตั้งคณะบุคคลการตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นหลักการพื้นฐานที่สุด และได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ผู้เสียภาษีที่มีอันจะกินทั้งหลายเพราะมีรายได้แยะ จึงต้องการลดฐานภาษี มิให้ก้าวล่วงเข้าสู่ช่วงเงินได้ที่สูง ๆ ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)

อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 แห่ง ปพพ. ได้แบ่งประเภทของห้างหุ้นส่วนออกเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต้องจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์) สำหรับ คณะบุคคล (การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกันดังกล่าว) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตาม ปพพ. แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ

  ตัวอย่างเช่น

๐ นาย ก. และ นาย ข. ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโดยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันและร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินเพื่อขาย ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อกรมที่ดินเพื่อขอแยกโฉนดเป็นแปลงย่อย 12 แปลง โดยแบ่งกันถือครองคนละ 6 แปลง สำหรับการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น บุคคลใดมีชื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นผู้โอนแก่ลูกค้า

กรมสรรพากรวินิจฉัยว่า กรณีถือเป็นการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งกรมที่ดินได้รับชำระไว้ในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคนยอมให้นำมาถือเป็นเครดิตภาษีของห้างหุ้นส่วนได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/1287 ลงวันที่ 23มกราคม 2539)

๐ การฝากเงินโดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า นาย ก. หรือ นาย ข.เข้าลักษณะเป็น คณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล กรณีจึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในนามของคณะบุคคล (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/7229 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534)

ข้อดีของการจัดตั้งหน่วยภาษี แบบคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญมีชัดเจน 2 ประการ คือ

(1) เป็นการแตกหน่วยภาษี เพื่อลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเราเป็นอัตราก้าวหน้า 10%-37% กล่าวคือ เงินได้ของบุคคลใดยิ่งสูง ก็จะยิ่งถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเหมือนขั้นบันได

(2) ส่วนแบ่งกำไร ที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งได้มีการชำระภาษีเงินได้มาแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ต้องนำมาเสียภาษี เงินได้ซ้ำซ้อนอีก (มาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร)

ตัวอย่าง 1 ‘โก๊ะตี๋ทารกแคระ (แฮ่ ๆ อายุเลยวัยเบญจเพส + เกณฑ์ทหารแล้วด้วย แต่ยังแสดงเป็นเด็กอย่างน่าอิจฉา!) มีรายได้จากการเดินสายโชว์เดี่ยวตามคอฟฟี่ช้อปต่าง ๆ ประมาณ 200,000 บาท ต่อเดือน (สมมติ) หรือ ปีละ 2.4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประเภทนักแสดงสาธารณะ (ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ได้ร้อยละ 60
ส่วนเกิน 300,000 บาท หักได้อีกร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท) เป็นเงินภาษีต่อปีประมาณ 371,000 บาท

ในงานฉลองตรุษจีนปี 2550 ที่เยาวราช (สมมติว่า)โก๊ะตี๋ + เอ็ดดี้ ผีน่ารัก’ (สมมติว่าทั้งคู่ยังดูดดื่มกันอยู่) ได้ร่วมกันตั้งคณะบุคคล เพื่อรับงานแสดง 3 คืน 1 ล้านบาทถ้วน กรณีเช่นนี้ หากนำเงินได้ไปรวมกับฐานรายได้เดิมของโก๊ะตี๋ เงินได้ก้อนใหม่ 1 ล้านบาทนี้ ก็จะต้องถูกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 30% เป็นเงิน 300,000 บาท แต่การแยกเงินได้ออกมารับงานในนามคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหน่วยภาษีใหม่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ โดยคำนวณตามสูตร

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

กรณีจึงเสียภาษีในนามคณะบุคคลเพียง 38,000 บาท ประหยัดภาษีลง
ได้ = 300,000 - 38,000 บาท เป็นเงิน 262,000 บาท ทีเดียว !

ตัวอย่าง 2 ‘กรกฎพระเอกหนุ่ม (ใหญ่) ในภาพยนตร์โทรทัศน์ ละอองดาวได้นั่งฟังตัวอย่างการประหยัดภาษีของโก๊ะตี๋ เกิดติดอกติดใจอยากจะประหยัดภาษีเงินได้ของตนเช่นกัน เพราะรายได้ของตัวเองก็ป๊อปปูล่าร์ไม่แพ้ใครในสยามประเทศ อาทิเช่น นายแบบโฆษณา นักร้อง นักแสดง และพรีเซ็นเตอร์สินค้าหลายยี่ห้อ ฯ ล ฯ ครั้น กรกฎจะหันไปจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับนางเอกดังๆ ก็เกรงจะตกเป็นข่าว อย่ากระนั้นเลย จึงหันไปคว้าเอาชื่อลูกสาววัย 3 ขวบ ของพี่สาวนาม แองเจิลมาร่วมตั้ง คณะบุคคลกรกฎ - แองเจิล เอ็นเทอร์เทนเม้นท์เพื่อแตกฐานรายได้ของตนลงมาดีกว่า

แฮ่ๆ กรณีของกรกฎมีช่องโหว่ และพิรุธให้สรรพากรโจมตีได้แยะเพราะไม่สมเหตุสมผลที่ทารกวัย 3 ขวบจะมาร่วมธุรกิจกันจริง จึงมองได้เป็น นิติกรรมอำพราง เช่นเดียวกันกับกรณีการถ่ายโอนหุ้นแก่คนขับรถและคนรับใช้ของใครบางคนนั่นแหละ! นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า ในโลกของความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมิได้ง่ายดายดังเช่นบทแสดงในโลกมายา ดอกนะ

   กฎที่ 7 เลือกวิธีเสียภาษี ณ ที่จ่าย เป็น Final tax

หลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ เรื่องของประเภทเงินได้ที่กฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิเลือกแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่นๆ อันได้แก่ (1) ภริยานำเงินเดือน (มาตรา 40 (1)) ของตนแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากสามี (2) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียภาษีเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3)เงินปันผล (มาตรา 40(4)(ข)) ซึ่งเลือกวิธีเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ (4) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก / จากการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร อาจเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพียงไม่เกิน 20% ของเงินได้ (5) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มาซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (พ.ร.ฏ. # 247 พ.ศ. 2534) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกับเงินได้ประเภทอื่น (6) ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 10% ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณในการ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนปลายปี

(7) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (capital gain) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ซึ่งผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำมารวมกับเงินได้อื่นก็ได้

(8) เงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ผู้เสียภาษีอาจเลือกวิธีเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำมารวมในการยื่นแบบตอนปลายปี แต่ต้องแสดงรายการในใบแนบพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ตัวอย่าง 3 ปี 2544 คณะบุคคล ขวัญ - เรียมเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% (ถูกเป็นบ้า !) ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของยอดดอกเบี้ย 25,000 บาท =3,750 บาท

สิ้นปี 2549 หากคณะบุคคล ดังกล่าวไม่มีเงินได้ประเภทอื่น กรณีก็จะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ 30,000 บาท (มาตรา 56)

หมายเหตุ

แฮ่ๆ Case นี้ทำท่าจะ happy ending แต่บังเอิญ กรมสรรพากรไม่ยอมรับคณะบุคคลระหว่างสามี + ภริยา กรณีจึงจบลงด้วยความเศร้า เคล้าน้ำตาคล้ายดั่งละคร แผลเก่า’ + เพลง แสนแสบเพราะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวไปรวมยื่นแบบในนามของเจ้าขวัญ (สามี) !

อย่างไรก็ตาม กรณีของคนรวยซึ่งมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น การตัดสินใจเลือกเสียภาษีวิธีใดให้พิจารณาว่าภาระภาษีจากการเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ว่าจะสูงกว่า / ต่ำกว่า ภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งเก็บคงที่ในอัตรา 15% (ดูตาราง)

  ทางเลือก ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ภาษีจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 การตัดสินใจ

ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% 

1.  50,000    7,500   - เลือกยื่น ภ.ง.ด.90 ซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายได้ทั้งหมด
2. 100,000   15,000   -
เหมือนข้อ 1
3. 500,000   75,000    34,000
เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90และได้คืนภาษี 41,000 บาท
4. 1
ล้านบาท  150,000   128,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 22,000 บาท
5. 1.17
ล้านบาท175,500   173,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 2,500 บาท
6. 5
ล้านบาท  750,000 1,387,800 เลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

บทความโดย: อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ amornsak@tax-thai.com

ที่มา : www.tax-thai.com

 

   ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา   

 

   ทุกๆ ปี ผู้เขียนมักจะไหว้วานให้ลูกน้องเป็นผู้สรุปยอดรายได้ค่าใช้จ่ายและกรอกแบบยื่นแบบ ภ.ง.ด.90
ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะเห็นว่ายอดภาษีที่ต้องชำระเพิ่มคงไม่สูงนัก เนื่องจากรายได้
ส่วนใหญ่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้เกือบครบถ้วนแล้ว

   ตกมาในปีนี้ บังเอิญมีเพื่อนฝูงหลายท่านโทรมาขอปรึกษา (ฟรีจ้า)+ ขอคำแนะนำวิธียื่นแบบเสียภาษีให้ถูกๆ (ต่ำๆ) เพราะปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ใครๆ ก็ต้องพากันประหยัดทุกทาง

   เชื่อไหมครับ พอพลิกกลับไปดูข้อมูลในแบบภาษีของตนเอง ปรากฏว่าลูกน้องดันคิดพลาด / เข้าใจผิด และเสียภาษีสูงไปหลายสตางค์เลยทำให้ได้ข้อคิดว่า ต่อแต่นี้ ข้าฯ คงต้องดูเองทุกปีเสีย แล้วกระมัง !

  ‘20กฎลดภาษีที่จะแนะนำแก่ท่านผู้อ่าน เป็นการต่อยอดข้อผิดพลาดของตนเองและจากคำแนะนำที่ให้แก่เพื่อน ๆ ซึ่งคงเป็นประโยชน์ต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,91 ของทุกๆ ท่านได้ดีทีเดียวครับ

  กฎข้อที่ 1 สามี & ภรรยา ควรแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91

แฮ่ๆผู้เขียนแนะนำให้สามี & ภรรยาแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีนะครับ มิได้แนะให้แยกทางหรือแยกบ้าน! ท่านผู้อ่านคงจำสูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันได้นะครับนั่นคือ เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท คือ

เงินเดือนค่าจ้างฯ (ม.40(1))

เงินได้จากการรับทำงานให้ค่านายหน้า (ม.40(2))

ค่าสิทธิฯ (ม.40(3))

ดอกเบี้ยเงินปันผลฯ (ม.40 (4))

ค่าเช่าฯ (ม.40 (5))

เงินได้จากวิชาชีพอิสระฯ(ม.40(6))

เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้างฯ (ม.40(7))

เงินได้อื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม 7 ประเภทแรก (ม.40(8))

เงินได้ตามมาตรา40(1)-(2) หักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตรา 40% แต่ไม่เกิน60,000บาท เงินได้ตามมาตรา 40 (3) - (4) หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะมิได้เกิดจากน้ำพักน้ำแรง (unearned income)

เงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8) เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาก็ได้ หรือจะหักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดจริงก็ได้ ค่าลดหย่อนที่กฎหมายยอมให้หักมีหลายชนิดคือ ค่าลดหย่อนส่วนตัวภรรยาและบุตร ค่าเบี้ยประกันภัย  ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม  เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล เป็นต้น

ตัวอย่างแรก ของเรา เป็นกรณีของสามีและภรรยาซึ่งอยู่กินกันมาหลายปีโดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทเงินเดือน (ม.40(1))ซึ่งกฎหมายยอมให้ภรรยานำเงินเดือนของตนไปแยกคำนวณ และยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากเงินได้ของสามี การแยกยื่นดังกล่าว จะทำให้ภาระภาษีรวมต่ำลงกว่าการนำเงินได้ไปยื่นรวมกันและยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 เพียงฉบับเดียว

ซึ่งพิสูจน์ได้จากตัวอย่าง เช่น นายกรกฎ และนางละอองดาว ทำงานเป็นพนักงานของ
ธนาคารฟิลาโน (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเงินเดือน 80,000 บาท และ 40,000 บาท ตามลำดับ การนำเงินเดือนของทั้งคู่ไปรวมกัน จะทำให้เงินได้สุทธิตกอยู่ในช่วง
อัตราภาษี 30% แต่ถ้าต่างคนต่างยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แยกกัน ฐานภาษีของแต่ละคนจะ
ตกอยู่ในช่วงอัตราภาษีเพียง 10%-20% เท่านั้น

(Note : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยจัดเก็บในอัตราก้าวหน้า 10%-37% ตามแต่ละช่วง (bracket) ของเงินได้สุทธิที่สูงๆ ขึ้นไป) ต้องขอชมเชยผู้ยกร่างกฎหมายข้อนี้ ที่มีช่องออกให้สามีภรรยาสามารถประหยัดภาษีลงมาได้โดยไม่ต้องถึงกับยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนให้ภรรยา จากนั้นก็แกล้งจดทะเบียนหย่ากันหลอกๆเหมือนที่นักการเมืองของประเทศสารขัณฑ์หลายๆ ท่านที่ชอบมุขนี้กันบ่อยๆ!

ตัวอย่าง 2 นายภูชิชย์ และนางนริศรา (ภริยา ซึ่งสมรสกันก่อนปฏิรูป 19 ก.ย.49 (แฮ่ๆ)) ทำงานที่บริษัท แอสเซ็ท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด ได้รับเงินเดือน 40,000 บาท และ 25,000 บาท ตามลำดับ (เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)) ต่างฝ่ายหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 40% ไม่เกินคนละ 60,000 บาท)  ตกเย็น นางนริศรามีรายได้จากการร้องเพลงที่โรงแรมห้าดาวแห่งหนึ่งอีก 50,000 บาทต่อเดือน (ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)นักแสดงสาธารณะ) หักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับ 300,000 บาทแรกในอัตรา 60% ส่วนที่เกินสามแสนหักเหมาได้อีก 40% แต่รวมแล้วจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 600,000 บาทต่อปี)

กรณีที่นายภูชิชย์ นำเงิน เงินเดือนและค่าร้องเพลงของภริยามารวมกับตนแล้วยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกันจะมีเงินได้พึงประเมินทั้งปีรวม
480,000 + 300,000 + 600,000 = 1,380,000
บาท หักค่าใช้จ่ายเหมาตามมาตรา 40 (1) (8) และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวและภริยา 60,000 บาท จะเหลือเงินได้สุทธิ 900,000 บาท ต้องเสียภาษี 120,000 บาท 

แต่ถ้าวางแผนให้นางนริศรานำเงินเดือน 300,000 บาท ไปแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ภริยาจะเสียภาษีเพียง 11,000 บาท ขณะที่พระเอกหนุ่มจะเหลือเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 480,000+600,000 = 1,080,000 บาท คิดเป็นเงินภาษีเพียง 78,000 บาท รวม 2 คน เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระ 89,000 บาท จึงประหยัดกว่าวิธีแรกถึง 31,000 บาททีเดียว

  กฎที่ 2 เลือกเข้าสู่ประเภทเงินได้ที่มีสิทธิหักรายจ่ายสูงๆ

ในเมืองไทย อาชีพนายแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีรายได้สูง คนส่วนใหญ่จึงใฝ่ฝันอยากสอบเอนทรานซ์เข้าเรียนคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ หลายแห่งทั่วทุกภาค รวมทั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นของเอกชนก็เปิดสอนวิชาแพทยศาสตร์มาหลายปีแล้ว (แม้แต่ น.ส.ไทยคนปัจจุบันลลนา ก้องธรณินทร์' ก็ยังสนใจเข้าเรียนแพทยศาสตร์ มหิดลเช่นกัน)

เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) หรือ (6) ก็ได้

                       

ตัวอย่าง 3 นายแพทย์พันธ์ศักดิ์ สูตินรีเวชมือหนึ่งแห่งโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท (สมมติ) และมีเงินได้พิเศษจากการทำงานช่วงเย็น ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตกเดือนละประมาณ 200,000 บาท แน่นอนว่าเงินเดือนประจำจากโรงพยาบาลรามาธิบดีถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ส่วนเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน จะเป็นเงินได้ประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ว่าจ้างกันถ้าตกลงว่าจ้างกันในลักษณะเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง แม้จะมีเงินได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลงานก็ยังคงถือเป็นเงินได้ประเภทเงินเดือนตามมาตรา 40(1) แต่ถ้าเป็นกรณีที่นายแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานเป็นกรณี ๆ ไป ก็จะถือเป็น เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ม.40(6))ดังนั้นรูปแบบของสัญญาจ้างจะมีผลต่อการเสียภาษีเงินได้ของนายแพทย์

ในกรณีข้างต้นถ้าเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชนถือเป็นประเภท ม.40(1) ก็จะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้อีก เพราะค่าใช้จ่ายเหมาจากโรงพยาบาลศิริราชเกิน 60,000 บาทแล้ว แต่ถ้าตีเป็นเงินได้ประเภท ม.40(6) ก็จะสามารถ หักค่าใช้จ่ายเหมาได้อีกถึง 60% ของเงินได้จากโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นผลให้นายแพทย์ท่านนี้สามารถประหยัดภาษีลงมาได้ถึง 432,000 บาท เลยทีเดียว!

อนึ่ง เงินได้แต่ละประเภทอาจถูกวินิจฉัยเข้าเป็นเงินได้ใด ๆ ได้มากกว่า 1 ประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ลักษณะของสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงทาง ธุรกิจ จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของการจำแนกประเภทเงินได้ของแต่ละมาตรา จึงอาจวางแผนการเสียภาษีของตนให้ต่ำลงได้

ตัวอย่าง 4 แสดงตัวอย่างการจำแนกประเภทเงินได้ 4 กรณี ดังนี้ครับประเภทกิจการ ทางเลือกในการจำแนกประเภทเงินได้ (เพื่อวางแผนภาษี)

1. นายหน้าค้าที่ดิน เป็นเงินได้ประเภทนายหน้าตัวแทน ตามมาตรา 40(2) กรณีซื้อมาขายไปอสังหาริมทรัพย์ ก็จะถูกจัดเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)ซึ่งแม้จะ หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า แต่ก็มีภาระภาษีหลายประเภท เช่น ค่าธรรมเนียมโอน 2%  ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% หรือค่าอากรแสตมป์ 0.5% เป็นต้น

2. เงินได้จากการให้เช่าอพาร์ตเมนต์ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)กรณีให้เช่าทรัพย์ตามมาตรา 537 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท กรณีเป็นกิจการทำนองเดียวกับโรงแรม เช่น บังกะโล เกสท์เฮ้าส์ จะถูกจำแนกเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร (เลือกหักเหมา 70% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)

3. การประกอบโรคศิลปะ เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)หากมีนิติสัมพันธ์ฉันนายจ้างกับลูกจ้างของโรงพยาบาล เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) เงินได้จากการรับทำงานให้ โดยรับค่าตอบแทนตามผลสำเร็จของงาน เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) กรณีแพทย์เป็นผู้กำหนดค่ารักษาพยาบาลตามความยากง่ายของงานอย่างอิสระ + คนไข้เป็นลูกค้าของแพทย์ (มิใช่ของโรงพยาบาล)(หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 60% หรือหักรายจ่ายจริงก็ได้)เป็นเงินได้มาตรา 40(8)กรณีเปิดเป็นสถานพยาบาลโดยมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา 75% หรือหักรายจ่ายตามจริงก็ได้)

4. การรับเหมาก่อสร้าง กรณีรับจ้างเฉพาะค่าแรง โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาวัสดุ จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40(2) กรณีผู้รับจ้างรับเหมาทั้งนายแพทย์ส่วนใหญ่มักทำงานประจำโดยรับราชการในโรงพยาบาลของรัฐ และมีเงินได้พิเศษอีกหลายทาง เช่น เปิดคลินิกส่วนตัว หรือทำงานพิเศษตามโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น กรณีนี้จึงอาจเข้าลักษณะ ค่าแรง + วัสดุ + เครื่องมือก่อสร้าง จะถือเป็นเงินได้มาตรา 40 (7) ซึ่งมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายจริง หรือเลือกหักเหมา 70% ก็ได้

               ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา (2)

   ในอดีต ใครลองริเอ่ยคำว่าประหยัดภาษี/วางแผนภาษีรับรองว่าท่านจะต้องถูกเหล่าวายุภักษ์ (สรรพากร) น้อยใหญ่รุมสกรัมแน่นอน ด้วยมองว่า เจ้าหมอนี่ กำลังคิดจะหนีภาษีแน่ๆ เลย!

   ครั้นล่วงมาถึงยุค คมช. (เอ๊ย)ยุคโลกาภิวัตน์ ทัศนคติต่อการ วางแผนภาษีเริ่มกระเตื้องขึ้น และเป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกันกับในต่างประเทศ
ผู้เขียนเอง ก็เป็นผู้สอนวิชาการบริหารภาษี (Tax Management)หลายสถาบัน เช่น หลักสูตร Ex-MBA (ม.ธรรมศาสตร์), MBA (ม.เกษตรศาสตร์), CEO MBA (ม.หอการค้าไทย) เป็นต้นแปลว่า attitude ดีขึ้น เป็นสากลขึ้น!

ข้อเขียนในวันนี้ จะขอนำท่านผู้อ่านเจาะลึกเข้าไปเรียนรู้ถึงกลยุทธ์/กลวิธีประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต่อจากฉบับก่อน 

  กฎที่ 3 กระจายเงินได้เป็นหลายปีภาษี

บุคคลธรรมดา ใช้เกณฑ์เงินสดในการเสียภาษี

คำว่าเกณฑ์เงินสด (cash basis) เป็นศัพท์ทางการบัญชี ความหมายก็คือ หน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดา (ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินก็ต่อเมื่อได้รับชำระเงินแล้วเท่านั้น (คำว่าเงินได้ที่ได้รับจะครอบคลุมถึง เงินสด เช็ค ธนาณัติ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับ)

ดังนั้น การกระจายจำนวนเงินสดรับออกเป็นหลายปีภาษี ย่อมลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิให้เข้าสู่ช่วงเงินได้ในอัตราก้าวหน้าขั้นถัดๆ ไป(ปัจจุบัน personal income tax rate ของไทยอยู่ที่ 10 - 37%)

ตัวอย่าง 1 ‘หาญ บรรยงอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ทำสัญญารับเหมาช่วงงานก่อสร้างถนนวงแหวนจากบริษัท กูมาไก กูขี้เกียจทำเอง จำกัด กำหนดเวลาก่อสร้าง 2 ปี นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ถึง 30 ตุลาคม 2549 มูลค่างาน 200 ล้านบาท กำหนดแบ่งจ่ายเงินเป็น 5 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 ในวันลงนามในสัญญาว่าจ้าง จ่ายเงินล่วงหน้า (advance payment) 10% เป็นเงิน 20 ล้านบาท งวดที่ 2 - 5 จ่ายงวดละ 25% เป็นเงิน 50 ล้านบาท ทุก 6 เดือน กรณีเช่นนี้หาญ บรรยงย่อมสามารถประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะแบ่งแยกเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากรออกเป็น 3 ปีภาษี คือ ปี 2547 = 20 ล้านบาท ปี 2548 = 90 ล้านบาท และปี 2549 อีก = 90 ล้านบาท ซึ่งย่อมดีกว่าการกระจุกตัวเงินไว้ในรอบปีภาษีใดมากๆ จนต้องเสียภาษี  เงินได้ใน rate สูงๆ

ตัวอย่าง 2 ‘ก๊วยเจ๋งเซียนขายรถยนต์มือทองสมองเพชร ในปี 2549 ทำสถิติยอดขายรถยนต์นำเข้า สุดหรู เบนทรีราคาคันละ 30 ล้านบาท 100 คัน จนเป้าทะลุและแตกกระจุย เป็นที่งุนงงแก่บริษัทผู้ผลิตในประเทศอังกฤษ จนไม่เชื่อสายตาว่า จริงหรือหว่า ที่เมืองไทยกำลังถูกพิษเศรษฐกิจจนบอบช้ำสาหัส ดั่งที่สื่อตะวันตกประโคมโหมข่าว(แฮ่ๆ)รางวัลความเก่งของ ก๊วยเจ๋งคือ ปรับเงินเดือน 2 ปี 4 ขั้น + ถ้วยเกียรติยศรูป คทาเพชรชูหัวแม่โป้ง’ + โบนัส 10 เดือน (กำหนดจ่าย 31 ธ.ค. 2549)  ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ปี 2549 ‘ก๊วยเจ๋งจะต้องนำเงินได้ทั้งหมดมารวมคำนวณยื่นแบบ คือ เงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท รวม 1.2 ล้านบาท + ถ้วยรางวัล + โบนัส 1 ล้านบาท ลำพังการยื่น ภ.ง.ด.91 เฉพาะตัวเงินเดือนอย่างเดียว ก๊วยเจ๋งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมาณ 173,000 บาท

การนำโบนัส มารวมคำนวณภาษีในปี 2549 เข้าอีก ก็จะทำให้อัตราภาษีสำหรับโบนัส
ตกในช่วง 30% เป็นเงินอีก 300,000 บาท เชียว

กรณีเช่นนี้ หาก ก๊วยเจ๋ง ขออนุญาตลาพักร้อนในช่วงปีใหม่แล้วกลับมารับเงินโบนัส 1 ล้านบาท ในเดือนมกราคม 2550 กรณีนี้ก็จะสามารถแยกเงินโบนัสไปถือเป็นเงินได้ของปีภาษี 2550 ได้ตามเกณฑ์เงินสดจ้า!

   กฎที่ 4 ตั้งตัวแทนเชิด

 หรือสงครามตัวแทนเมื่อคืนนี้ ผู้เขียนได้นั่งตรวจข้อสอบของนักศึกษา X-MBA รุ่น 20 ในวิชาการวางแผนภาษี (บธ.625) ซึ่งคำถามในข้อ 1 ถามถึงความหมายของคำว่า การวางแผนภาษีและขอให้นักศึกษายกตัวอย่างสัก 1 กรณี ปรากฏว่ามีลูกศิษย์หัวกะทิ 2 ท่าน ยกตัวอย่างดังนี้ครับ

ตัวอย่าง 3 ในช่วงปีใหม่ 2550 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้จัดรายการฉลองครบรอบก่อตั้งมา 65 ปี Mid Night Sales ข้าพเจ้าได้ไปชอปปิ้งพร้อมกับ "ก๊วยเจ๋งเพื่อนซึ่งทำธุรกิจโรงงานส่งออกเสื้อผ้าซึ่งมียอดขายปีละกว่า 200 ล้านบาท ระหว่างที่พวกเราเข้าไปรับประทานอาหารเย็นที่ร้าน The Terrace ภรรยาของเพื่อนนามอึ้งย้งพร้อมลูกๆ 4 คน  ได้ขอแยกตัวไปชอปปิ้งต่อจนหมดเงินไปร่วม 500,000 บาท และได้รับคูปองชิงโชคมา 1,000 ใบ โดยรางวัลใหญ่สุด คือ รถยนต์ Benz 500 SEL ราคา 15 ล้านบาท (ว้าว !)

ข้าพเจ้าได้ใช้วิชาวางแผนภาษีซึ่งร่ำเรียนมากับอาจารย์จนได้รับเกรด A แนะนำให้ อึ้งย้ง เขียนชื่อของลูกชายและลูกสาวในคูปองชิงโชคจนก๊วยเจ๋งสงสัย ถามว่า เป็นเคล็ดลับจากสวรรค์หรืออย่างไรข้าพเจ้าจึงยืดอกตอบอย่างผึ่งผายไปว่า หากโชคดี เกิดถูกรางวัลที่ 1 แล้วไซร้ ผู้โชคดี (หรือโชคร้ายหว่า !) จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 5%(รางวัลในการประกวด แข่งขัน หรือชิงโชค) และสิ้นปีจะต้องนำมูลค่ารถยนต์ไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 กับเงินได้อื่นด้วย (ถ้ามี) ซึ่งกรณีของก๊วยเจ๋งนั้นรายได้สูงปรี๊ดจนติดเพดานจนต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 37% อยู่แล้วนอกจากนั้น ยังต้องถูกห้างเซ็นทรัล เรียกเก็บ VAT อีก 7% ของมูลค่ารถยนต์ 15 ล้านบาทอีกด้วย ดังนั้น การผลักเงินรางวัลไปสู่ลูก ย่อมประหยัดภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.90 ของตน เพราะลูกเป็นผู้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเริ่มตั้งต้นเสีย ภาษีในอัตราก้าวหน้าจาก 10 - 37% ตามลำดับ ซึ่งประหยัดกว่าการถือรถยนต์เป็นเงินได้ของบิดา

ตัวอย่าง 4 ข้าพเจ้า จิวแป๊ะทงเป็นพนักงานในระดับสุดยอดบริหารได้รับเงินเดือนประจำรวมประมาณ 5 ล้านบาทต่อปี และบังเอิญผลประกอบการของบริษัทในปีนี้ก็ดีมากๆ ซะด้วย จึงจ่ายโบนัสแก่ข้าพเจ้าอีก 2 ล้านบาท ข้าพเจ้าไตร่ตรองดูแล้ว พบว่าลำพังรายได้จากเงินเดือนก็โดนภาษีถึง อัตราเพดานสูงสุด คือ 37% แล้ว หากนำโบนัสมาถมเข้าไปอีกตัวโบนัส 2 ล้านบาท ก็ต้องโดนภาษี 37% จากเงินทั้งก้อน ซึ่งโหดร้ายเกินไป  อย่ากระนั้นเลย ด้วยความเสียดาย

ข้าพเจ้าจึงเข้าไปอ้อนวอนให้พี่สะใภ้ ซึ่งไม่ได้ทำงานอะไร ให้เป็นผู้มารับเงินก้อนดังกล่าวแทนโดยถือเป็นรายได้ค่าที่ปรึกษาในฐานะครูบาอาจารย์ ได้เน้นย้ำว่าในการตอบข้อสอบวิชาการวางแผนภาษี จะต้องตั้งบนหลักการของการหลีกบ่วงภาษี (tax avoidance) มิใช่การฉ้อฉลทางภาษี (tax evasion) ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายกรณีตามตัวอย่าง 3 ยังพอกล้อมแกล้มให้คะแนนไป แต่ในตัวอย่าง 4 ยังคิดไม่ตกว่าจะให้ศูนย์หรือให้คะแนนติดลบ! เพราะในทางปฏิบัติจะต้องโดนเหล่านายตรวจของสรรพากรเช็คบิลแน่ๆ เลย!

ประเด็นการตั้งตัวแทนเชิดนั้น ในประวัติศาสตร์ของกรมสรรพากร ก็ได้เคยบันทึกรายชื่อผู้กล้าเหล่านั้น เป็นคดีความถึงชั้นศาล และมีคำพิพากษาฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้หลายคดีว่า ให้เจ้าพนักงานจัดเก็บภาษีจากผู้มีเงินได้ที่แท้จริง

ตัวอย่างเช่น

๐ คำพิพากษาฎีกาที่ 599/2533 กรมสรรพากรโจทก์ นายมนูญ เนาวคุณ จำเลย เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าโดยยึดตามหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดิน ซึ่งในกรณีนี้จำเลยเป็นเพียงกระเป๋ารถเมล์ ซึ่งลงชื่อสั่งซื้อและสั่งขายที่ดินดังกล่าวภายในวันเดียวกันโดยปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายของตน ลักษณะของจำเลยจึงเป็นเพียงตัวแทน มิใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง กรณีนี้จึงไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานฯ ตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลรัษฎากร

๐ มารดาเป็นผู้ประกอบกิจการโรงแรม ได้ยกรายได้ทั้งหมดของโรงแรมแก่บุตร มารดาย่อมกระทำได้ ตามนัยมาตรา 521 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ภาระการเสียภาษี ยังคงตกอยู่แก่มารดาเพราะมิได้โอนชื่อในทะเบียนที่ดินและอาคารโรงแรมให้แก่บุตร(หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/13626 ลงวันที่ 4 กันยายน 2532)

   กฎที่ 5 คน(เคย)รวย ควรยื่นแบบอย่างไร?

 คน (เคย)รวย ในอดีตนั้น ในวันนี้ได้กลายเป็นเจ้าของกิจการขนาดย่อมๆ กันเกร่อไปหมด (จะเรียกเป็นพวกกิจการ SMEs ก็ย่อมได้) ธุรกิจท็อปฮิตคงเป็นร้านขายอาหาร รองๆ ลงไปได้แก่ ร้านขายน้ำดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต ซื้อมาขายไป สินค้าชีวจิต เปิดท้ายรถขายเสื้อผ้า เป็นต้นกรณีเหล่านี้จึงจัดเป็นเงินได้ประเภท 40(8)แทบทั้งนั้น เงินได้ประเภทนี้ กฎหมายเปิดช่องให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ หักตามจ่ายจริง (ต้องมีบิลมาสำแดง)หรือจะเลือกหักเหมาประมาณ 70% (ร้านอาหาร) ถึง 80% (ซื้อมาขายไป) ก็ได้

ตัวอย่าง 5 ‘คุณทรายดารานำจากภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกิดติดใจอาชีพเปิดท้ายรถเพื่อขายของ ซึ่งมีรายรับก่อนหักรายจ่าย 100,000 บาทต่อเดือนถ้ายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยเลือกขอหักค่าใช้จ่ายจริงอันได้แก่ต้นทุนซื้อของ ค่าเช่า ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 90% ของรายรับจะเหลือเงินได้สุทธิเพียง (100,000 x 12) - 90% = 120,000 บาท(หักลดหย่อน ส่วนตัวได้อีก 30,000 บาท) จึงไม่ต้องเสียภาษี (เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรกได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)

ต่อมาถ้าโชคไม่ดีเกิดโดนตรวจภาษีย้อนหลัง รายจ่ายที่กรอกไว้ 90% จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทันที เพราะไม่มีบิลมาสำแดง ทำให้เงินได้สุทธิจากการตรวจสอบจะกลายเป็น 1,170,000 บาท ต้องเสียภาษีถึง 191,000 บาท และโดนเบี้ยปรับอีก 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนไม่คุ้มเลย

วิธีลดความเสี่ยงก็คือ ให้เลือกขอหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 80% แม้จะมีภาษีต้องเสียตามแบบ ภ.ง.ด.90 เป็นเงิน 110,000 บาท ซึ่งสูงกว่าวิธีแรก แต่ทางเลือกที่สองนี้ เป็นวิธียื่นแบบที่ปลอดภัยไร้กังวลชั่วนิรันดร์จ้า

 

             ‘20 กฎลดภาษีบุคคลธรรมดา (3)


ในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ ทุกคนต้องหาวิธีประหยัดสตางค์กันทั้งนั้น โดยเฉพาะสำหรับ ค่าภาษีอากรซึ่งแม้จะมีภาษีบอกว่า “Nothing is inevitable, but death tax (ไม่มีอะไรแน่นอนเท่ากับความตายและภาษี!) ก็ตาม แต่กฎหมายภาษีของทุกประเทศ ก็มีช่องว่าง (tax loopholes) ให้ประชาชนเลือกวิธีชำระภาษีที่ต่ำสุดได้ (โดยถูกกฎหมาย)

ข้อเขียนในวันนี้จะนำเสนอกลยุทธ์ประหยัดภาษีบุคคลธรรมดาตอนที่ 3 (สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการค้นข้อมูลของ 2 ตอนแรก กรุณาClick ไปได้ที่ www.tax-thai.com นะครับ

   กฎที่ 6 การแตกหน่วยภาษี 

 - โดยจัดตั้งคณะบุคคลการตั้งคณะบุคคล/ห้างหุ้นส่วนสามัญ เป็นหลักการพื้นฐานที่สุด และได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดในหมู่ผู้เสียภาษีที่มีอันจะกินทั้งหลายเพราะมีรายได้แยะ จึงต้องการลดฐานภาษี มิให้ก้าวล่วงเข้าสู่ช่วงเงินได้ที่สูง ๆ ตาม มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.)

อันสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น

มาตรา 1013 แห่ง ปพพ. ได้แบ่งประเภทของห้างหุ้นส่วนออกเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต้องจดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์) สำหรับ คณะบุคคล (การร่วมกันทำกิจการของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์แบ่งเป็นผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่กระทำร่วมกันดังกล่าว) นั้นไม่มีสถานภาพบุคคลตาม ปพพ. แต่ในบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร ถือให้เป็นหน่วยภาษีที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญ

  ตัวอย่างเช่น

๐ นาย ก. และ นาย ข. ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโดยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันและร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินเพื่อขาย ต่อมาได้ยื่นคำร้องต่อกรมที่ดินเพื่อขอแยกโฉนดเป็นแปลงย่อย 12 แปลง โดยแบ่งกันถือครองคนละ 6 แปลง สำหรับการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น บุคคลใดมีชื่อถือครองกรรมสิทธิ์ ก็จะเป็นผู้โอนแก่ลูกค้า

กรมสรรพากรวินิจฉัยว่า กรณีถือเป็นการประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะต้องกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ สำหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งกรมที่ดินได้รับชำระไว้ในนามบุคคลธรรมดาแต่ละคนยอมให้นำมาถือเป็นเครดิตภาษีของห้างหุ้นส่วนได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/1287 ลงวันที่ 23มกราคม 2539)

๐ การฝากเงินโดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า นาย ก. หรือ นาย ข.เข้าลักษณะเป็น คณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล กรณีจึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ในนามของคณะบุคคล (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/7229 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534)

ข้อดีของการจัดตั้งหน่วยภาษี แบบคณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญมีชัดเจน 2 ประการ คือ

(1) เป็นการแตกหน่วยภาษี เพื่อลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเราเป็นอัตราก้าวหน้า 10%-37% กล่าวคือ เงินได้ของบุคคลใดยิ่งสูง ก็จะยิ่งถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเหมือนขั้นบันได

(2) ส่วนแบ่งกำไร ที่ได้รับจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งได้มีการชำระภาษีเงินได้มาแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วน ไม่ต้องนำมาเสียภาษี เงินได้ซ้ำซ้อนอีก (มาตรา 42 (14) แห่งประมวลรัษฎากร)

ตัวอย่าง 1 ‘โก๊ะตี๋ทารกแคระ (แฮ่ ๆ อายุเลยวัยเบญจเพส + เกณฑ์ทหารแล้วด้วย แต่ยังแสดงเป็นเด็กอย่างน่าอิจฉา!) มีรายได้จากการเดินสายโชว์เดี่ยวตามคอฟฟี่ช้อปต่าง ๆ ประมาณ 200,000 บาท ต่อเดือน (สมมติ) หรือ ปีละ 2.4 ล้านบาทต่อปี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 40 (8) ประเภทนักแสดงสาธารณะ (ซึ่งหักค่าใช้จ่ายเหมาสำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ได้ร้อยละ 60
ส่วนเกิน 300,000 บาท หักได้อีกร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท) เป็นเงินภาษีต่อปีประมาณ 371,000 บาท

ในงานฉลองตรุษจีนปี 2550 ที่เยาวราช (สมมติว่า)โก๊ะตี๋ + เอ็ดดี้ ผีน่ารัก’ (สมมติว่าทั้งคู่ยังดูดดื่มกันอยู่) ได้ร่วมกันตั้งคณะบุคคล เพื่อรับงานแสดง 3 คืน 1 ล้านบาทถ้วน กรณีเช่นนี้ หากนำเงินได้ไปรวมกับฐานรายได้เดิมของโก๊ะตี๋ เงินได้ก้อนใหม่ 1 ล้านบาทนี้ ก็จะต้องถูกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 30% เป็นเงิน 300,000 บาท แต่การแยกเงินได้ออกมารับงานในนามคณะบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหน่วยภาษีใหม่จะเริ่มนับหนึ่งใหม่ โดยคำนวณตามสูตร

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

กรณีจึงเสียภาษีในนามคณะบุคคลเพียง 38,000 บาท ประหยัดภาษีลง
ได้ = 300,000 - 38,000 บาท เป็นเงิน 262,000 บาท ทีเดียว !

ตัวอย่าง 2 ‘กรกฎพระเอกหนุ่ม (ใหญ่) ในภาพยนตร์โทรทัศน์ ละอองดาวได้นั่งฟังตัวอย่างการประหยัดภาษีของโก๊ะตี๋ เกิดติดอกติดใจอยากจะประหยัดภาษีเงินได้ของตนเช่นกัน เพราะรายได้ของตัวเองก็ป๊อปปูล่าร์ไม่แพ้ใครในสยามประเทศ อาทิเช่น นายแบบโฆษณา นักร้อง นักแสดง และพรีเซ็นเตอร์สินค้าหลายยี่ห้อ ฯ ล ฯ ครั้น กรกฎจะหันไปจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับนางเอกดังๆ ก็เกรงจะตกเป็นข่าว อย่ากระนั้นเลย จึงหันไปคว้าเอาชื่อลูกสาววัย 3 ขวบ ของพี่สาวนาม แองเจิลมาร่วมตั้ง คณะบุคคลกรกฎ - แองเจิล เอ็นเทอร์เทนเม้นท์เพื่อแตกฐานรายได้ของตนลงมาดีกว่า

แฮ่ๆ กรณีของกรกฎมีช่องโหว่ และพิรุธให้สรรพากรโจมตีได้แยะเพราะไม่สมเหตุสมผลที่ทารกวัย 3 ขวบจะมาร่วมธุรกิจกันจริง จึงมองได้เป็น นิติกรรมอำพราง เช่นเดียวกันกับกรณีการถ่ายโอนหุ้นแก่คนขับรถและคนรับใช้ของใครบางคนนั่นแหละ! นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า ในโลกของความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างมิได้ง่ายดายดังเช่นบทแสดงในโลกมายา ดอกนะ

   กฎที่ 7 เลือกวิธีเสียภาษี ณ ที่จ่าย เป็น Final tax

หลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็คือ เรื่องของประเภทเงินได้ที่กฎหมายเปิดช่องให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิเลือกแยกคำนวณต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่นๆ อันได้แก่ (1) ภริยานำเงินเดือน (มาตรา 40 (1)) ของตนแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ต่างหากจากสามี (2) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียภาษีเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3)เงินปันผล (มาตรา 40(4)(ข)) ซึ่งเลือกวิธีเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ (4) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก / จากการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร อาจเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ เพียงไม่เกิน 20% ของเงินได้ (5) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มาซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน (พ.ร.ฏ. # 247 พ.ศ. 2534) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 รวมกับเงินได้ประเภทอื่น (6) ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา 10% ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณในการ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ตอนปลายปี

(7) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (capital gain) ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ซึ่งผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำมารวมกับเงินได้อื่นก็ได้

(8) เงินได้ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานและได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ผู้เสียภาษีอาจเลือกวิธีเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำมารวมในการยื่นแบบตอนปลายปี แต่ต้องแสดงรายการในใบแนบพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี

ตัวอย่าง 3 ปี 2544 คณะบุคคล ขวัญ - เรียมเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน วงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% (ถูกเป็นบ้า !) ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 15% ของยอดดอกเบี้ย 25,000 บาท =3,750 บาท

สิ้นปี 2549 หากคณะบุคคล ดังกล่าวไม่มีเงินได้ประเภทอื่น กรณีก็จะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพราะมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด คือ 30,000 บาท (มาตรา 56)

หมายเหตุ

แฮ่ๆ Case นี้ทำท่าจะ happy ending แต่บังเอิญ กรมสรรพากรไม่ยอมรับคณะบุคคลระหว่างสามี + ภริยา กรณีจึงจบลงด้วยความเศร้า เคล้าน้ำตาคล้ายดั่งละคร แผลเก่า’ + เพลง แสนแสบเพราะต้องนำรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวไปรวมยื่นแบบในนามของเจ้าขวัญ (สามี) !

อย่างไรก็ตาม กรณีของคนรวยซึ่งมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น การตัดสินใจเลือกเสียภาษีวิธีใดให้พิจารณาว่าภาระภาษีจากการเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ว่าจะสูงกว่า / ต่ำกว่า ภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายซึ่งเก็บคงที่ในอัตรา 15% (ดูตาราง)

  ทางเลือก ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% ภาษีจากการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 การตัดสินใจ

ดอกเบี้ยรับ (บาท) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 15% 

1.  50,000    7,500   - เลือกยื่น ภ.ง.ด.90 ซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายได้ทั้งหมด
2. 100,000   15,000   -
เหมือนข้อ 1
3. 500,000   75,000    34,000
เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90และได้คืนภาษี 41,000 บาท
4. 1
ล้านบาท  150,000   128,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 22,000 บาท
5. 1.17
ล้านบาท175,500   173,000 เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และได้คืนภาษี 2,500 บาท
6. 5
ล้านบาท  750,000 1,387,800 เลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

บทความโดย: อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ amornsak@tax-thai.com

ที่มา : www.tax-thai.com

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article