ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน 1 article

 

เงินได้พึงประเมิน (1)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

รวมทั้งหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินอย่างดีพอ จึงจะสามารถคำนวณภาษีเงินได้ได้อย่างถูกต้อง เพราะเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทมีข้อกำหนดในการคำนวณภาษีเงินได้ที่แตกต่างกันทั้งในส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้ และในส่วนของค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเงินได้พึงประเมินยังสามารถนำไปใช้กับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย จึงขอนำมาประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉาเงินได้พึงประเมินหมายความว่าอย่างไร ทำไมต้องใช้คำว่า เงินได้พึงประเมิน

วิสัชนา จากบทบัญญัติตามมาตรา 39 ประกอบกับมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรอาจสรุปความหมายของคำว่า เงินได้พึงประเมิน” (ASSESSABLE INCOME) ได้ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นเงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน หรือเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับ (RECEIVED) หรือเสมือนหนึ่งได้รับแล้ว (CONSTRUCTIVE RECEIPT) ในระหว่างปีภาษี ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย หรือจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศก็ตาม

สาเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ว่าเงินได้พึงประเมินก็เนื่องมาแต่เหตุผลดังต่อไปนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน (ASSESSMENT TAX) ซึ่งกำหนดให้ผู้ต้องเสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ยื่นรายการประเมินตนเองว่า มีเงินได้ที่เข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด ผู้ต้องเสียภาษีเกิดภาระภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินความถูกต้องของจำนวนเงินภาษี และการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรของผู้ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น

2.เป็นคำที่แปลตรงตัวหรือทับศัพท์จากคำในภาษาอังกฤษว่า “ASSESSABLE INCOME”

ปุจฉา ช่วยขยายความคำว่า บ่อเกิดเงินได้พึงประเมินให้ชัดเจนด้วย

วิสัชนา บ่อเกิดของเงินได้พึงประเมินเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

1.บ่อเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงาน หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือจากการรับทำงานให้ที่อาจกระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

2.บ่อเกิดจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ ลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์ สิทธิบัตร หรือเงินได้ในส่วนที่เป็นผลได้จากทุน (CAPITAL GAIN)

3.บ่อเกิดจากกิจการที่ได้ ได้แก่ เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การให้บริการ หรือการอื่นใดที่มุ่งประสงค์ในทางการค้าหรือการกำไร

ปุจฉา ในทางภาษีอากรกำหนดรูปแบบของเงินได้พึงประเมินไว้อย่างไร

วิสัชนา ในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดรูปแบบของพึงประเมินไว้ดังต่อไปนี้

1.เงินสด เหรียญกษาปณ์ หรือตราสารที่มีค่าใช้แทนเงิน เช่น ธนาณัติ เช็ค ตั๋วเงิน เป็นต้น

2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น ค่าเช่านาที่ได้รับเป็นข้าวเปลือก รางวัลจากการประกวดแข่งขันหรือชิงโชคที่ได้รับเป็นบ้าน รถยนต์ ทองคำ หรือสินค้า เป็นต้น

3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น การได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ประโยชน์จากการที่นายจ้างเลี้ยงอาหาร ประโยชน์จากการได้ท่องเที่ยวหรือประโยชน์จากการรับประทานอาหารโดยไม่ต้องเสียค่าบริการตามบัตรรางวัล เป็นต้น

4.เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จำนวนเงินภาษีเงินได้ที่กฎหมายให้ถือว่า ผู้มีเงินได้ได้รับเครดิตหรือได้ชำระภาษีเงินได้ไว้แล้วในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวของเงินได้ เนื่องจากผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร) จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องนำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินด้วย และเมื่อคำนวณภาษีได้เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่ได้รับมาหักออก ถ้ายังขาดให้ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนที่ขาด แต่ถ้าเกินให้มีสิทธิขอคืนตามจำนวนที่เหลือนั้น

5.ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าค่าภาษีอากรที่ออกแทนให้ดังกล่าวจะเป็นค่าภาษีอากรประเภทใดก็ตาม

ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใด หรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น (มาตรา 40 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร)

เงินได้พึงประเมิน (1)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

รวมทั้งหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินอย่างดีพอ จึงจะสามารถคำนวณภาษีเงินได้ได้อย่างถูกต้อง เพราะเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทมีข้อกำหนดในการคำนวณภาษีเงินได้ที่แตกต่างกันทั้งในส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้ และในส่วนของค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเงินได้พึงประเมินยังสามารถนำไปใช้กับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย จึงขอนำมาประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉาเงินได้พึงประเมินหมายความว่าอย่างไร ทำไมต้องใช้คำว่า เงินได้พึงประเมิน

วิสัชนา จากบทบัญญัติตามมาตรา 39 ประกอบกับมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรอาจสรุปความหมายของคำว่า เงินได้พึงประเมิน” (ASSESSABLE INCOME) ได้ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นเงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน หรือเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับ (RECEIVED) หรือเสมือนหนึ่งได้รับแล้ว (CONSTRUCTIVE RECEIPT) ในระหว่างปีภาษี ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย หรือจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศก็ตาม

สาเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ว่าเงินได้พึงประเมินก็เนื่องมาแต่เหตุผลดังต่อไปนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน (ASSESSMENT TAX) ซึ่งกำหนดให้ผู้ต้องเสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ยื่นรายการประเมินตนเองว่า มีเงินได้ที่เข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด ผู้ต้องเสียภาษีเกิดภาระภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินความถูกต้องของจำนวนเงินภาษี และการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรของผู้ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น

2.เป็นคำที่แปลตรงตัวหรือทับศัพท์จากคำในภาษาอังกฤษว่า “ASSESSABLE INCOME”

ปุจฉา ช่วยขยายความคำว่า บ่อเกิดเงินได้พึงประเมินให้ชัดเจนด้วย

วิสัชนา บ่อเกิดของเงินได้พึงประเมินเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

1.บ่อเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงาน หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือจากการรับทำงานให้ที่อาจกระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

2.บ่อเกิดจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ ลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์ สิทธิบัตร หรือเงินได้ในส่วนที่เป็นผลได้จากทุน (CAPITAL GAIN)

3.บ่อเกิดจากกิจการที่ได้ ได้แก่ เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การให้บริการ หรือการอื่นใดที่มุ่งประสงค์ในทางการค้าหรือการกำไร

ปุจฉา ในทางภาษีอากรกำหนดรูปแบบของเงินได้พึงประเมินไว้อย่างไร

วิสัชนา ในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดรูปแบบของพึงประเมินไว้ดังต่อไปนี้

1.เงินสด เหรียญกษาปณ์ หรือตราสารที่มีค่าใช้แทนเงิน เช่น ธนาณัติ เช็ค ตั๋วเงิน เป็นต้น

2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น ค่าเช่านาที่ได้รับเป็นข้าวเปลือก รางวัลจากการประกวดแข่งขันหรือชิงโชคที่ได้รับเป็นบ้าน รถยนต์ ทองคำ หรือสินค้า เป็นต้น

3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น การได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ประโยชน์จากการที่นายจ้างเลี้ยงอาหาร ประโยชน์จากการได้ท่องเที่ยวหรือประโยชน์จากการรับประทานอาหารโดยไม่ต้องเสียค่าบริการตามบัตรรางวัล เป็นต้น

4.เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จำนวนเงินภาษีเงินได้ที่กฎหมายให้ถือว่า ผู้มีเงินได้ได้รับเครดิตหรือได้ชำระภาษีเงินได้ไว้แล้วในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวของเงินได้ เนื่องจากผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร) จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องนำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินด้วย และเมื่อคำนวณภาษีได้เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่ได้รับมาหักออก ถ้ายังขาดให้ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนที่ขาด แต่ถ้าเกินให้มีสิทธิขอคืนตามจำนวนที่เหลือนั้น

5.ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าค่าภาษีอากรที่ออกแทนให้ดังกล่าวจะเป็นค่าภาษีอากรประเภทใดก็ตาม

ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใด หรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น (มาตรา 40 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร)

เงินได้พึงประเมิน (1)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

รวมทั้งหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินอย่างดีพอ จึงจะสามารถคำนวณภาษีเงินได้ได้อย่างถูกต้อง เพราะเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทมีข้อกำหนดในการคำนวณภาษีเงินได้ที่แตกต่างกันทั้งในส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้ และในส่วนของค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเงินได้พึงประเมินยังสามารถนำไปใช้กับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย จึงขอนำมาประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉาเงินได้พึงประเมินหมายความว่าอย่างไร ทำไมต้องใช้คำว่า เงินได้พึงประเมิน

วิสัชนา จากบทบัญญัติตามมาตรา 39 ประกอบกับมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรอาจสรุปความหมายของคำว่า เงินได้พึงประเมิน” (ASSESSABLE INCOME) ได้ดังนี้

เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นเงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน หรือเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับ (RECEIVED) หรือเสมือนหนึ่งได้รับแล้ว (CONSTRUCTIVE RECEIPT) ในระหว่างปีภาษี ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย หรือจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศก็ตาม

สาเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ว่าเงินได้พึงประเมินก็เนื่องมาแต่เหตุผลดังต่อไปนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน (ASSESSMENT TAX) ซึ่งกำหนดให้ผู้ต้องเสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ยื่นรายการประเมินตนเองว่า มีเงินได้ที่เข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด ผู้ต้องเสียภาษีเกิดภาระภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินความถูกต้องของจำนวนเงินภาษี และการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรของผู้ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น

2.เป็นคำที่แปลตรงตัวหรือทับศัพท์จากคำในภาษาอังกฤษว่า “ASSESSABLE INCOME”

ปุจฉา ช่วยขยายความคำว่า บ่อเกิดเงินได้พึงประเมินให้ชัดเจนด้วย

วิสัชนา บ่อเกิดของเงินได้พึงประเมินเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

1.บ่อเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงาน หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือจากการรับทำงานให้ที่อาจกระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

2.บ่อเกิดจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ ลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์ สิทธิบัตร หรือเงินได้ในส่วนที่เป็นผลได้จากทุน (CAPITAL GAIN)

3.บ่อเกิดจากกิจการที่ได้ ได้แก่ เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การให้บริการ หรือการอื่นใดที่มุ่งประสงค์ในทางการค้าหรือการกำไร

ปุจฉา ในทางภาษีอากรกำหนดรูปแบบของเงินได้พึงประเมินไว้อย่างไร

วิสัชนา ในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดรูปแบบของพึงประเมินไว้ดังต่อไปนี้

1.เงินสด เหรียญกษาปณ์ หรือตราสารที่มีค่าใช้แทนเงิน เช่น ธนาณัติ เช็ค ตั๋วเงิน เป็นต้น

2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น ค่าเช่านาที่ได้รับเป็นข้าวเปลือก รางวัลจากการประกวดแข่งขันหรือชิงโชคที่ได้รับเป็นบ้าน รถยนต์ ทองคำ หรือสินค้า เป็นต้น

3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น การได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ประโยชน์จากการที่นายจ้างเลี้ยงอาหาร ประโยชน์จากการได้ท่องเที่ยวหรือประโยชน์จากการรับประทานอาหารโดยไม่ต้องเสียค่าบริการตามบัตรรางวัล เป็นต้น

4.เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จำนวนเงินภาษีเงินได้ที่กฎหมายให้ถือว่า ผู้มีเงินได้ได้รับเครดิตหรือได้ชำระภาษีเงินได้ไว้แล้วในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวของเงินได้ เนื่องจากผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร) จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องนำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินด้วย และเมื่อคำนวณภาษีได้เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่ได้รับมาหักออก ถ้ายังขาดให้ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนที่ขาด แต่ถ้าเกินให้มีสิทธิขอคืนตามจำนวนที่เหลือนั้น

5.ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าค่าภาษีอากรที่ออกแทนให้ดังกล่าวจะเป็นค่าภาษีอากรประเภทใดก็ตาม

ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใด หรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น (มาตรา 40 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร)

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article