ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน 2 article

 

 

 

เงินได้พึงประเมิน (2)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

ขอนำประเด็นเงินได้พึงประเมินมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา โดยทั่วไปมีการกำหนดหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ไว้อย่างไร

วิสัชนา ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลมี โดยทั่วไปรัฐบาลของประเทศต่างๆ มีหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยอาศัยอำนาจในการจัดเก็บภาษีดังนี้

1. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) กรณีบุคคลมีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นย่อมมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลนั้น

2. หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) กรณีบุคคลมีถิ่นที่อยู่เป็นการถาวรหรือเป็นการประจำในประเทศใด (ซึ่งส่วนมากกำหนดให้อยู่ในประเทศนั้นถึง 180 วันในปีภาษี) ประเทศนั้นย่อมมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลนั้น ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศหรือแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ

3. หลักสัญชาติ (Nationality Rule) กรณีบุคคลถือสัญชาติของประเทศใด ประเทศนั้นย่อมมีอำนาจโดยชอบธรรมที่จะจัดเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลนั้น เช่นเดียวกับหลักถิ่นที่อยู่

ปุจฉา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร จำแนกแหล่งเงินได้พึงประเมิน ไว้อย่างไร

วิสัชนา มาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร จำแนกแหล่งเงินได้ไว้ดังนี้

1. แหล่งเงินได้ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)

ผู้มีเงินได้ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทยดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศก็ตาม

(1) เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้ปฏิบัติหน้าที่งานที่ทำอันก่อให้เกิดเงินได้นั้นในประเทศไทย อาทิ

(ก) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

(ข) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงาน

(ค) เงินปีที่พระบรมวงศานุวงศ์ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายจากทางราชการ

(2) เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้ประกอบกิจการ หรือมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเงินได้ในประเทศไทย อาทิ

(ก) เงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน

(ข) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ

(ค) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

(ง) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นใด เช่น ค่าแสดงของนักแสดงสาธารณะ รางวัลจากประกวดแข่งขันหรือชิงโชค

(3) เงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้ที่เป็นลูกจ้างและมีหน้าที่งานอันก่อให้เกิดเงินได้ในต่างประเทศ (ซึ่งโดยทั่วไปถือเป็นเงินได้จากแหล่งเงินได้ในต่าง ประเทศ) แต่หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศนั้นเป็นไปเพื่อกิจการของนายจ้างที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะ อาทิ ข้าราชการประจำสถานทูตไทยในต่างประเทศ พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่งานในต่างประเทศ เช่น ทำสัญญา ฝึกอบรม ศึกษาและดูงาน เป็นต้น เป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เพื่อกิจการของบริษัทนายจ้างที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะ

(4) เงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้ (ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม) มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย และทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดเงินได้ อาทิ

(ก) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น

(ข) ดอกเบี้ย เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ผลประโยชน์ที่ได้จากการเพิ่มทุน ลดทุน เลิกกิจการหรือควบกิจการ

(ค) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน

2. แหล่งเงินได้ในต่างประเทศ (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ จะมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรก็ต่อเมื่อครบเงื่อนไขหรือองค์ประกอบดังต่อไปนี้

(1) ผู้มีเงินได้ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย โดยจะอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา แต่รวมเวลาที่อยู่ในประเทศไทยทั้งหมดถึง 180 วันในปีภาษี (ซึ่งอาจพิจารณาได้จากหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มีเงินได้)

(2) เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 อันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ ดังนี้

(ก) เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ ได้แก่ กรณีที่ผู้มีเงินได้ปฏิบัติหน้าที่งานที่ทำอันก่อให้เกิดเงินได้ในต่างประเทศ และการปฏิบัติหน้าที่งานนั้นเป็นไปเพื่อกิจการของนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ

(ข) เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำในต่างประเทศ

(ค) เงินได้เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ

(3) ผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้อันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทย โดยนำเข้ามาภายในปีภาษีเดียวกันกับปีที่เกิดเงินได้นั้น

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article