ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 2 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน 3 article

 

เงินได้พึงประเมิน (3)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

ขอนำประเด็นเงินได้พึงประเมินมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย กับแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่กำหนดเป็นหลักแหล่งเงินได้ และหลักถิ่นที่อยู่อย่างไร

วิสัชนา อาจสังเกตได้ว่า การจัดเก็บภาษีเงินได้จากแหล่งเงินได้ต่างๆ ตามประมวลรัษฎากรดังกล่าว พิจารณาได้ว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ (SOURCE RULE) และสำหรับการจัดเก็บภาษีจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีตาม หลักถิ่นที่อยู่ (RESIDENT RULE)

โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย และแหล่งเงินได้ในต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร ในนานาอารยประเทศก็ได้กำหนดหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ในลักษณะเดียวกับประเทศไทย จึงก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ของประเทศไทย กับการจัดเก็บภาษีเงินได้ตามหลักถิ่นที่อยู่ หรือหลักสัญชาติของประเทศอื่น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของกระแสเงินทุนและทรัพยากรระหว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงได้ทำความตกลงกันเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างกัน (DOUBLE TAXATION AGREEMENT: DTA) ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้ทำอนุสัญญาหรือความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆ กว่า 50 ประเทศ อาทิ สวีเดน เบลเยียม โปแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ แคนาดา อินเดีย ฟินแลนด์ ออสเตรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย ฮังการี เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง

ปุจฉา กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้อย่างไร

วิสัชนา กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 7/2528 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2528 กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวดังนี้

1.กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นำค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก และเพื่อความสะดวกในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว นายจ้างซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน หรือลูกจ้างอาจใช้ตารางการคำนวณภาษีเงินได้ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก

2.กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งไว้แล้ว ให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว ถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีนั้นลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง

3.ให้นำความในข้อ 1 และข้อ 2 ไปใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ทุกประเภท

4.กรณีนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้ สำหรับเงินได้ประเภทใน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใดๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตามให้ถือว่า เงินค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นเงินได้ของประเภทและของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้ อาจทำให้ผู้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย

ปุจฉา จะสังเคราะห์ประเภทเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภทตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เป็นไปตามบ่อเกิดเงินได้เงินได้พึงประเมินได้หรือไม่

วิสัชนา อาจสังเคราะห์ประเภทเงินได้พึงประเมินตามบ่อเกิดแห่งเงินได้พึงประเมินได้ดังนี้

1.เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และเงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้

2.เงินได้เนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงินได้ประเภทที่ 3 ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ซึ่งมีลักษณะเป็นเงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญา (INTELLECTUAL PROPERTIES) และเงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งล้วนแต่เป็นผลได้จากทุน (CAPITAL GAIN)

3.เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำ ได้แก่ เงินได้ประเภทที่ 5 เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน เป็นต้น เงินได้ประเภทที่ 6 เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ และเงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article