ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 2 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน 13 article

 

เงินได้พึงประเมิน (13)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

ขอนำประเด็นการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีอย่างไรบ้าง

วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีดังนี้

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะซึ่งผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น (มาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร)

อย่างไรก็ตาม เงินได้ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะเหมาจ่ายในอัตราไม่เกินค่าพาหนะหรือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ก็ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 59/2538

2. ค่าพาหนะ และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันได้แก่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (มาตรา 42 (2) แห่งประมวลรัษฎากร)

3. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ (มาตรา 42 (7) แห่งประมวลรัษฎากร)

4. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด (มาตรา 42 (12) แห่งประมวลรัษฎากร)

5. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (8))

6. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (9))

เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินได้ที่เป็นค่าอาหารทำการนอกเวลา (overtime) มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้เฉพาะกรณีที่ทางราชการเป็นผู้จ่ายเงินได้เท่านั้น สำหรับเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจก็ดี หรือนายจ้างที่เป็นภาคเอกชนก็ดี จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีแต่อย่างใด

7. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (12))

8. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการต่างประเทศ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (13))

9. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก

(1) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย

(2) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (16))

10. เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าว และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคมยุโรป (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (31))

11. เงินได้ที่ผู้ว่าการ ผู้ว่าการสำรอง กรรมการ กรรมการสำรอง พนักงาน ลูกจ้าง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานของธนาคารพัฒนาเอเชียได้รับจากธนาคารดังกล่าว (พระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ. 2509)

12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (55))

13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น แต่ไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (66))

 

เงินได้พึงประเมิน (13)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

ขอนำประเด็นการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีอย่างไรบ้าง

วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีดังนี้

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะซึ่งผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น (มาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร)

อย่างไรก็ตาม เงินได้ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะเหมาจ่ายในอัตราไม่เกินค่าพาหนะหรือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ก็ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 59/2538

2. ค่าพาหนะ และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันได้แก่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (มาตรา 42 (2) แห่งประมวลรัษฎากร)

3. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ (มาตรา 42 (7) แห่งประมวลรัษฎากร)

4. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด (มาตรา 42 (12) แห่งประมวลรัษฎากร)

5. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (8))

6. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (9))

เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินได้ที่เป็นค่าอาหารทำการนอกเวลา (overtime) มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้เฉพาะกรณีที่ทางราชการเป็นผู้จ่ายเงินได้เท่านั้น สำหรับเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจก็ดี หรือนายจ้างที่เป็นภาคเอกชนก็ดี จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีแต่อย่างใด

7. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (12))

8. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการต่างประเทศ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (13))

9. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก

(1) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย

(2) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (16))

10. เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าว และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคมยุโรป (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (31))

11. เงินได้ที่ผู้ว่าการ ผู้ว่าการสำรอง กรรมการ กรรมการสำรอง พนักงาน ลูกจ้าง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานของธนาคารพัฒนาเอเชียได้รับจากธนาคารดังกล่าว (พระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ. 2509)

12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (55))

13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น แต่ไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (66))

 

เงินได้พึงประเมิน (13)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน

ขอนำประเด็นการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีอย่างไรบ้าง

วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีดังนี้

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะซึ่งผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น (มาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร)

อย่างไรก็ตาม เงินได้ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะเหมาจ่ายในอัตราไม่เกินค่าพาหนะหรือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ก็ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 59/2538

2. ค่าพาหนะ และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันได้แก่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (มาตรา 42 (2) แห่งประมวลรัษฎากร)

3. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ (มาตรา 42 (7) แห่งประมวลรัษฎากร)

4. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด (มาตรา 42 (12) แห่งประมวลรัษฎากร)

5. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (8))

6. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (9))

เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินได้ที่เป็นค่าอาหารทำการนอกเวลา (overtime) มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้เฉพาะกรณีที่ทางราชการเป็นผู้จ่ายเงินได้เท่านั้น สำหรับเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจก็ดี หรือนายจ้างที่เป็นภาคเอกชนก็ดี จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีแต่อย่างใด

7. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (12))

8. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการต่างประเทศ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (13))

9. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก

(1) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย

(2) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (16))

10. เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าว และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคมยุโรป (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (31))

11. เงินได้ที่ผู้ว่าการ ผู้ว่าการสำรอง กรรมการ กรรมการสำรอง พนักงาน ลูกจ้าง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานของธนาคารพัฒนาเอเชียได้รับจากธนาคารดังกล่าว (พระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ. 2509)

12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (55))

13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น แต่ไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (66))

 

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article