ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ article

 

 
 
                               หมายเหตุ  - รายงานชิ้นนี้มาจากการบรรยายเกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรฐานบัญชีของไทย ตามมาตรฐานการรายงานการเงินสากล  โดย น.ส.แน่งน้อย เจริญทวีทรัพย์ และนางอุณากร พฤติธาดา  ผู้สอบบัญชีอนุญาตและหุ้นส่วนบริษัท   ไพร้ชวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชินูปถัมป์อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงาน และคนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานทางการบัญชี 28 ฉบับ เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆคือ
กลุ่มแรก การปรับปรุงมาตรฐานบัญชีเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งคาดว่าจะปฏิบัติและมีผลบังคับใช้ในปี 2551
กลุ่มที่ 2 เป็นมาตรฐานทางบัญชีใหม่ที่จะนำมาบังคับใช้ในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2552
กลุ่มที่ 3 เป็นมาตรฐานทางบัญชีเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2553
สำหรับการปรับปรุงมาตรฐานทางบัญชีกลุ่มแรก ในต่างประเทศจะมีการบังคับใช้แล้ว แต่จะใหม่สำหรับประเทศไทย ซึ่งบางเรื่องมีการบังคับใช้อยู่แล้ว แต่ปรับปรุงให้ชัดเจนขึ้น คือ การกำหนดให้กิจการจะต้องทำประมาณการ เกี่ยวกับพนักงาน(Employee benefits) เพราะพนักงานจะถือเป็นหนี้สินของกิจการ ซึ่งที่ผ่านมาจะให้ลงบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อมีการเลิกจ้าง แต่ผู้อ่านงบการเงินจะไม่ทราบว่า บริษัทมีภาระเกี่ยวกับพนักงานมากน้อยเพียงใด ดังนั้นมาตรฐานใหม่จะกำหนดให้กิจการ ต้องทำประมาณการอัตราการลาออกของพนักงาน อัตราการเพิ่มของเงินเดือน และจัดกลุ่มพนักงานที่คาดว่าจะอยู่กับบริษัทไปจนจะเกษียณ แล้วคิดเป็นอัตราในแต่ละปี เพื่อตั้งสำรองหนี้สินส่วนที่จะเกิดขึ้น
"การทำประมาณการเกี่ยวกับพนักงานจะทำให้กิจการสะท้อนภาพที่แท้จริงได้มากขึ้น ซึ่งกิจการที่จะมีผลกระทบคือ กิจการที่มีพนักงานจำนวนมาก หรือกิจการที่มีพนักงานอายุต่ำ และจะต้องอยู่กับกิจการไปจนเกษียณ เช่น กิจการโทรคมนาคม"
การปรับเปลี่ยนเรื่องภาษีเงินได้รอตัดจ่าย (Deferred income tax) ซึ่งเป็นภาษีที่จ่ายล่วงหน้า เพราะการคำนวณภาษีระหว่างทางบัญชีและทางสรรพากรไม่ตรงกัน จึงทำให้มีภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า ซึ่งในทางบัญชีจะตัดเป็นรายจ่ายในบัญชีทันที แต่ทางภาษีจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการชำระจริง จึงทำให้มีภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้าในบัญชี  แต่นั่นจะลงในงบดุลเป็นสินทรัพย์ ซึ่งการปรับปรุงวิธีนี้จะเป็นผลดีต่อกิจการ เพราะจะทำให้สินทรัพย์เพิ่มขึ้น จากการลงเป็นภาษีเงินได้รอตัดจ่าย
นอกจากนั้น จะมีการกำหนดที่ชัดเจนในเรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสุทธิ เพราะมาตรฐานบัญชีเดิมไม่ได้ระบุชัดเจนว่า อะไรบ้างที่เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ค่าความนิยม ใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ และมาตรฐานบัญชีการลงเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
กลุ่มที่ 2 จะเป็นมาตรฐานใหม่ ที่ไม่เคยบังคับใช้ในไทย เช่น การลงบันทึกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เพราะที่ผ่านมามีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้แยกกลุ่ม เพราะจะลงเป็นสินทรัพย์เท่านั้น การจ่ายผลตอบแทนเป็นหุ้น เช่น โครงการที่จัดสรรหุ้นให้กับกรรมการและพนักงาน(ESOP) โดยต้องลงราคาในวันที่อนุมัติ ไม่ใช่วันใช้สิทธิ์ มาตรฐานบัญชีธุรกิจประกันภัย จะแยกออกมาต่างหากจากอดีตไม่เคยมีมาตรฐานบัญชี จะเป็นการปฏิบัติตามเกณฑ์การสำรองของกรมการประกันภัยเท่านั้น แต่มาตรฐานใหม่จะมีกรอบที่ชัดเจน โดยเฉพาะการตั้งสำรองความเสียหายที่ต้องจ่าย เพราะธุรกิจประกันภัยควรมองความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น
นอกจากนั้นจะมีมาตรฐานกิจการสำรวจและประเมินค่าแหล่งแร่ ซึ่งจะกระทบไม่กี่บริษัท การจัดกลุ่มสินทรัพย์ที่รอการขาย ให้แยกออกมาให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง และการประเมินค่าปัจจุบันของธุรกิจการเกษตร เช่น มูลค่าต้นไม้ที่สูงขึ้นในแต่ละไตรมาส
"มาตรฐานการบัญชีใหม่จะถูกเปลี่ยนมาใช้มูลค่ายุติธรรม(Fair value) จากเดิมที่เคยใช้ราคาทุน ซึ่งจะทำให้เห็นผลสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นของสินทรัพย์ที่มี ทำให้บัญชีงบการเงินของแต่ละบริษัท สามารถสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น เนื่องจากจะมีการวัดค่ามูลค่ารายการทางการเงิน ณ ขณะนั้นๆ ซึ่งจะใช้ข้อมูลที่ชัดเจนจากตลาด และมีผู้เชี่ยวชาญในการใช้วิธีการคำนวณดังกล่าวมาคำนวณให้ แต่จากการรับฟังความเห็น มีเสียงบ่นเข้ามากันมากว่า การคิดราคายุติธรรมจะขาดราคากลางอ้างอิงที่เป็นมาตรฐาน เพราะจะทำให้ผู้มาประเมินมองไม่เห็นว่าบางอย่างราคายุติธรรมควรเป็นเท่าใด"
กลุ่มสุดท้าย เป็นมาตรฐานทางบัญชีที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งเป็นการปรับปรุงมาตรฐานบัญชี 4 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูล การปรับโครงสร้างหนี้ และการลงทุนในเครื่องมือทางการใหม่ๆ มารวมกันเหลือ 3 ฉบับคือ IAS 32, IAS 39 และ IFRS 7 ซึ่งทั้ง 3 ฉบับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งบริษัทที่จะมีผลกระทบคือบริษัทที่มีสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงินจำนวนมาก ซึ่งก็คือสถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ รวมถึงบริษัทที่มีการลงทุนในเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ด้วย เพราะตามมาตรฐาน IAS 39 กำหนดให้มีการลงบันทึกตราสารอนุพันธ์และให้ลงราคายุติธรรมด้วย ซึ่งเป็นราคาตลาด
ดังนั้นบริษัทที่มีการใช้เครื่องป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน ทั้งการซื้ออนุพันธ์ สว็อป กรณีป้องกันความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน IAS 39 ด้วย
มาตรฐานการบัญชีใหม่ ภายหลังจากการปรับปรุงและแก้ไขแล้ว จะช่วยให้นักลงทุนต่างประเทศมองตลาดทุนไทย มีความโปร่งใส และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่ต้องการจะเข้ามาลงทุนในไทย เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวมีการใช้กันเป็นสากล และในต่างประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชีย ต่างก็ใช้กันแล้ว เช่นกรณีสหภาพยุโรป เริ่มใช้ปี 2548 แต่เตรียมการมา 5 ปี และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน ก็มีการปรับใช้เกณฑ์มาตรฐานใหม่ในปี 2549 แต่เตรียมการมานานแล้ว
ทั้งนี้ประเทศที่เตรียมจะมีเกณฑ์การใช้มาตรฐานทางบัญชีในเรื่อง IAS 39 ในปี 2553 พร้อมกับไทย คือ เกาหลี ญี่ปุ่น และมาเลเซีย แต่เริ่มต้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทดลองใช้ระบบ AIS 39 กับธนาคารพาณิชย์ในการตั้งสำรองสินทรัพย์ต่างๆ แต่เมื่อประกาศมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในปี 2553 ระบบธนาคารพาณิชย์จะต้องมาทำ มาตรฐานบัญชีของสภาพวิชาชีพบัญชี ซึ่งจะมีความซับซ้อนและเข้มงวดมากขึ้น
ดังนั้น ตราบใดที่ไทยยังต้องค้าขายกับชาวโลก เราจำเป็นต้องปรับมาตรฐานบัญชีให้เป็นมาตรฐานสากล โดยเฉพาะตลาดทุนไทย หากใช้มาตรฐานบัญชีไทยอาจถูกมองแบบมีส่วนลดในราคาหุ้น เพราะเขาไม่เข้าใจมาตรฐานบัญชีของไทย และหากผู้ประกอบการยังไม่พร้อมและไม่มีการปรับตัวตลาดทุนของไทย ก็อาจจะด้อยกว่าประเทศอื่นได้
 
ที่มา : มติชนรายวัน วันที่ 19 ตุลาคม 2550 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



ข่าวบัญชี-Accounting

ผู้ทำบัญชีจะต้องอบรมทุกรอบ 3 ปี 27ชม. article
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า article
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชี จับผิดผู้บริหารขี้โกง article
จ่ายในการดำเนินกิจการ article
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน article
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย article
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี article
จดทะเบียนธุรกิจ เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี article
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง article
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร article
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย article