ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 1 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


“ภาษีทรัพย์สิน-ที่ดิน” ยาแก้เหลื่อมล้ำรอวันคลอด
“ภาษีทรัพย์สิน-ที่ดิน” ยาแก้เหลื่อมล้ำรอวันคลอด
เขียนโดย ทีม Thaireform
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2011 เวลา 13:25 น.
SHARE STORE:00digg
 
มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์  ใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนแนวคิดการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นต้นเหตุหนึ่งของความรุนแรงทางการเมือง ที่ “ปะทุ”ขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
 
แนวทางที่สำคัญก็คือการยกร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ....ขึ้นมา เพื่อเก็บภาษีจากคนมีรายได้สูงอย่างเป็นกอบเป็นกำ และจริงจังกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพื่อนำเงินไปพัฒนาประเทศ จุนเจือคนที่อ่อนแอกว่าในสังคม
 
แต่ในมุมมองของนักวิชาการเห็นว่า การปฏิรูปสังคมผ่านภาษีที่ดิน อาจไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายนัก  แม้มีเสียงเรียกร้องจากนักคิด นักต่อสู้  ภาคประชาสังคม หรือนักเศรษฐศาสตร์สายพัฒนา ก็สร้างได้แค่ “แรงฮึด” ให้กับภาครัฐ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่า จะประสบความสำเร็จ
 
เพราะยังมีอุปสรรคและเงื่อนไขอีกมากที่ทุกฝ่ายต้องพิจารณา...
 
 
 
 
 
ภาษีที่ดิน...ลดความต่างทางรายได้
 
นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า มองว่า  ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นตัวช่วยลดความแตกต่างด้านรายได้ แต่คำถามก็คือรัฐบาลพูดได้แต่จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่
 
“ผมเห็นว่าพูดมานานแล้ว หมดไป 2 รัฐบาลก็ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม”
 
เขาระบุว่า อยากเห็นการเดินหน้าจริงๆโดยรัฐบาลผลักดันเป็นกฎหมายเข้าสภาผู้แทนราษฎร แต่หลายครั้งเมื่อนำเข้าสภาฯแล้ว การเมืองก็จะไม่ค่อยลงตัว และรัฐบาลจะมีอายุอยู่ครบหรือไม่  อีกทั้งขั้นตอนทางภาษีก็ต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปีกว่าจะนับหนึ่งในการเก็บภาษี แต่ถ้าร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินไม่ผ่านสภาฯก็ต้องกลับไปวนนับหนึ่งใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปีเช่นเดียวกัน
 
ดังนั้น นักวิชาการจากนิด้า จึงเรียกร้องให้รัฐบาลคิดทางออกในการใช้ระบบภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมไว้หลายแนวทาง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว การจะหวังภาษีที่ดินอย่างเดียวเป็นการคิดที่ไกลตัว มองยาวเกินไป ดังนั้น ขณะนี้ต้องหามาตรการระยะสั้นควบคู่ไปด้วย
 
นายมนตรี ระบุด้วยว่า ปัญหาเฉพาะหน้าของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ขณะนี้ คือมีนโยบายด้านสวัสดิการสังคมออกมามาก แต่เม็ดเงินที่จะนำไปใช้ตามนโยบายค่อนข้างจำกัด เนื่องจากฐานการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยต่ำมาก เพียง 17% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี เมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลกที่สัดส่วนอยู่ที่ 30% ของจีดีพี
 
สมมติว่ามูลค่าจีดีพีไทยอยู่ที่ 10 ล้านล้านบาท ฐานการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาทเท่านั้น  ขณะที่รายจ่ายของประเทศอยู่ที่ 2.07 ล้านล้านบาท
 
ปัญหาก็คือรัฐบาลจะทำอย่างไรกับรายได้ที่ต่ำเช่นนี้ ยิ่งบอกว่าจะเป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาอุดหนุนนโยบายที่ออกมา
 
นักวิชาการจากนิด้า ยกตัวอย่างประเทศที่เป็นต้นแบบของรัฐสวัสดิการอย่างสวีเดน มีฐานรายได้ภาษีอยู่ที่ 50% ของจีดีพี หากประเทศไทยทำได้อย่างนี้ หรือเก็บได้ในสัดส่วนเท่านี้ ก็จะมีงบประมาณมาพัฒนาประเทศถึงปีละ 5 ล้านล้านบาท
 
“ความจริงแล้วผมมองว่า สถานะของประเทศไทย รัฐบาลกลางควรจะมีรายได้ประมาณ 3 ล้านล้านบาทต่อปีมาพัฒนาประเทศ จะช่วยให้รัฐบาลไม่ต้องกู้เงินมากเกินไปจนเป็นภาระของลูกหลานในวันข้างหน้า”
 
ดังนั้น การคิดนโยบายและที่มาของรายได้ในการขับเคลื่อนของรัฐบาลต้องคิดทั้งระบบ ถ้าอยากดูแลประชาชน แต่ไม่มีเงิน สุดท้ายก็ต้องเป็นหนี้
 
“คำถามก็คือ คนที่จะมาชำระหนี้เป็นใครก็คือพวกเรานั่นเอง ดังนั้น จึงต้องสร้างกลไกดูแลประชาชน ที่ไม่เป็นภาระต่ออนาคตด้วย”นายมนตรีระบุ
 
อย่างรัฐบาลนี้มีข่าวว่าจะออกพันธบัตรอายุ 50 ปี หมายความว่าจะกู้ยืมเงินชาตินี้แล้วคืนชาติหน้า เท่ากับฝากภาระในอนาคต ลูกหลานเราก็เดือดร้อน ต้องทำงานใช้หนี้ซึ่งไม่เป็นธรรมเลย
 
นอกจากนั้น เมื่อรัฐบาลเก็บรายได้เข้ามามากแล้ว ก็ต้องสร้างรูปธรรมให้ประชาชนเห็นด้วยว่าเงินนั้นเอาไปใช้เป็นประโยชน์อย่างไร เช่น ที่สวีเดน รัฐบาลจะมีการสนับสนุนการศึกษาจนถึงระดับสูง คนเกษียณอายุจะมีบ้านอยู่ของตัวเอง ขณะที่ของไทยคนจะไม่ค่อยอยากเสียภาษีเพราะไม่รู้ว่าจะได้กลับคืนมาอย่างไรบ้าง หรือบางประเทศคนหลบเลี่ยงภาษี รัฐบาลก็ใช้วิธีเก็บภาษีต่ำๆ ทำให้คนกล้าที่จะเข้ามาสู่ระบบมากขึ้น
 
อย่างประเทศบนเกาะเล็กๆในทะเลแคริเบี้ยน ไม่เก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้ทุกประเทศในโลกเข้ามาตั้งสำนักงาน  เป็นการใช้ระบบภาษีจูงใจให้คนเข้ามาทำธุรกิจ  ส่งผลให้คนมีงานทำ  ประชาชนมีรายได้ต่อหัวที่ดีขึ้น เช่น เกาะบริติชเวอร์จิ้น ประชาชนมีรายได้ต่อหัว 3.4 หมื่นดอลลาร์ต่อปี มากกว่าสิงคโปร์ที่มี 2 หมื่นดอลลาร์ต่อปี ส่วนของประเทศไทยมีแค่ 4 พันดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น
 
ส่วนมาตรการภาษีเพื่อดึงต่างประเทศเข้ามาลงทุน เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากปัจจุบันที่ประเทศไทยเก็บสูงถึง 30% ซึ่งสูงกว่าเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ดังนั้น ถ้ารัฐบาลลดตรงนี้ได้จะทำให้บรรยากาศลงทุนดีขึ้น มีต่างชาติเข้ามาทำงาน เศรษฐกิจไทยก็ดีขึ้น ฐานรายได้ของรัฐบาลก็จะสูงขึ้น คนไทยโดยรวมมีรายได้ จะยิ่งช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศไปในตัว
 
 
 
สภาที่ปรึกษาฯหนุนเก็บภาษีทรัพย์สิน กระจายรายได้
 
อีกด้าน เรื่องนโยบายภาษีเพื่อการกระจายรายได้เพื่อคนไทยนั้น  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ว่าจ้าง ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิจัยหัวข้อ “นโยบายและมาตรการการคลังเพื่อความเป็นธรรมในการกระจายรายได้”
 
ผลวิจัยระบุว่า การออกแบบระบบภาษีอากรที่ดี และการเลือกใช้ภาษีอย่างเหมาะสม จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแก้ปัญหาต่างๆในระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ของคนในสังคม และการกระจายการแบกรับภาระต้นทุนในการแก้ปัญผลกระทบภายนอกที่เกิดขึ้นในสังคม
 
อย่างไรก็ดี การออกแบบภาษีจะต้องมีการพิจารณาว่า จะมีการปรับโครงสร้างภาษีอย่างไรให้เหมาะสม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าภาระภาษีของประชาชนจะต้องเพิ่มสูงขึ้นเสมอไป ภาระภาษีบางชนิดอาจจะเพิ่มขึ้น แต่ภาระภาษีบางชนิดอาจลดลงได้
 
มาตรการภาษีที่สำคัญที่นักวิจัยเสนอว่าจะช่วยสนับสนุนการกระจายรายได้ อาทิ ภาษีทรัพย์สิน หมายถึงการจัดเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดินและโรงเรือน หุ้น และหลักทรัพย์ทางการเงิน ฯลฯ
 
ภาษีชนิดนี้เป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการกระจายรายได้ เพราะเป็นการจัดเก็บกับคนรวยหรือครัวเรือนที่มีทรัพย์สิน ในขณะที่คนจนจะได้รับการยกเว้นภาษี
 
โดยครัวเรือนที่ถูกจัดเก็บภาษี ถือว่าได้รับประโยชน์จากการผลิตสินค้าและบริการสาธารณะจากรัฐ เช่น การให้บริการป้องกันประเทศ การดูแลรักษาความสงบสุขภายในประเทศ เป็นต้น ซึ่งครัวเรือนที่มีรายได้มาก ย่อมมีกำลังจ่าย มากกว่าครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
 
กรณีของกระทรวงการคลังมีการยกร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ....ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ขณะเดียวกันก็หวังจะขยายฐานรายได้เพิ่ม หวังรัฐบาลเพิ่มสวัสดิการให้แก่ประชาชน ซึ่งสร้างภาระงบประมาณในอนาคตมากขึ้น
 
เบื้องต้น อัตราภาษีที่ดินตามพ.ร.บ.ดังกล่าว  กำหนดไว้ว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี ซึ่งในที่นี้ ฐานภาษี หมายถึงราคาประเมินทรัพย์สินทั้งหมด ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์ เก็บ 0.1% ของฐานภาษี
 
ด้านอัตราภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ในการประกอบเกษตรกรรมไม่เกิน 0.5% ของฐานภาษี แต่เบื้องต้นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีแนวคิดที่จะผ่อนปรนหรือยกเว้น การเก็บภาษีให้เกษตรกรที่มีรายได้น้อย เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาการโจมตีทางการเมืองขึ้น
 
อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ใช่ว่าจะผ่านสภาผู้แทนราษฎรได้ง่ายๆ เพราะหลายรัฐบาลรวมทั้งหลังสุดสมัยที่นายทนง พิทยะ เป็นรมว.คลังก็มีความพยายามที่จะเสนอกฎหมายลักษณะนี้เข้ามา แต่ก็ถูกตีตกหรือไม่ก็ถูกตัดตอนก่อนเข้าสภาฯทุกครั้ง ขณะนี้จึงไม่มีใครเชื่อมั่นว่า ประชาธิปัตย์จะจริงใจกับการออกกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ หรือเป็นแค่การสร้างวาทกรรมผ่านนโยบายที่สวยหรูเท่านั้น
 
ผลการศึกษาของสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจฯ  พบว่า ถ้าคำนวณรายได้จากภาษีที่ดินกันแบบสุดโต่งคือ นำที่ดินทั่วประเทศ ซึ่งไม่รวมพื้นที่ป่าและแหล่งน้ำมาจัดเก็บภาษีในอัตรา 0.01% รัฐจะมีรายรับภาษีถึง 20,349 ล้านบาท
 
ถ้าเก็บภาษีในอัตรา 0.3% แบบเต็มพื้นที่เช่นเดียวกับ รัฐจะมีรายรับภาษีพุ่งไปถึง  610,486 ล้านบาท  แต่ในข้อเท็จจริงก็คือรัฐบาลไม่สามารถเก็บภาษีที่ดินได้เต็มพื้นที่ เนื่องจากมีข้อยกเว้นพื้นที่บางประเภทเอาไว้ สมมติฐานต่อมาก็คือ ถ้ารัฐเก็บภาษีที่ดินได้ประมาณ 50% ของพื้นที่ทั้งหมด คิดที่อัตราต่ำสุดคือ 0.01% รัฐก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 10,174 ล้านบาท  แต่หากเก็บอัตราที่สูงขึ้นเป็น 0.3% รายได้ก็จะผันแปรขึ้นเป็น 305,243 ล้านบาท
 
รายรับจากภาษีที่มีการจัดเก็บได้เหล่านี้ จะสามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมได้มาก
 
ขณะที่ท้องถิ่นก็จะมีรายได้นำไปพัฒนาตนเอง เนื่องจากตามร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินนี้ เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้เอง ซึ่งจะเป็นตัววัดประสิทธิภาพในการจัดเก็บและการบริหารงบประมาณของท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
 
ไม่เพียงเท่านั้น กฎหมายใหม่จะช่วยปิดจุดอ่อนของพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินเดิม ที่ออกมาตั้งแต่พ.ศ.2475 หลังจากรัฐเก็บภาษีโรงเรือน ที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่  ได้เพียง 12,557.3 ในปี 2547
 
ซึ่งผลการวิจัย พบว่า ปัญหาสำคัญที่ทำให้เก็บได้น้อย เนื่องจากภาษีโรงเรือนคำนวณบนฐานรายได้ เช่น ค่าเช่าที่เจ้าของทรัพย์สินได้รับเป็นรายปี ซึ่งบางครั้งมีการหลบเลี่ยงไม่ได้แจ้งตัวเลขที่แท้จริง รวมถึงยังเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดการรั่วหลได้ง่าย
 
นอกจากนั้น ยังมีการยกเว้นภาษีสำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเอง ไม่ได้ให้เช่าหรือทำเป็นสถานประกอบการที่มีรายได้ จุดนี้ยิ่งทำให้ฐานภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันค่อนข้างแคบ
 
โดยข้อเท็จจริงแล้วข้อมูลทางวิชาการเห็นว่า รัฐไม่ควรมีการยกเว้นภาษีให้กับบ้านและที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยอีกต่อไป เพราะส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้มีรายได้สูง แต่หากต้องการสร้างความเป็นธรรมให้สังคมที่ยังอ่อนแอ ก็ควรมีข้อยกเว้นเฉพาะสิ่งปลูกสร้างและที่ดินที่มีมูลค่าต่ำ ซึ่งก็คือคนยากจนนั่นเอง
ที่มา 
http://www.thaireform.in.th



ภาษีที่ดิน,ภาษีทรัพย์สิน-วางแผนภาษีที่ดินก่อนขายบ้าน

ยินดีต้อนรับภาษีทรัพย์สิน เครื่องมือกระจายรายได้ ระวังวาระซ่อนเร้น-หมกเม็ด
กรณ์ สั่งลุยภาษีทรัพย์สิน