ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 9 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (4)

 ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (4)

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ถือเป็น 1 ในปัจจัย 4 ของมนุษย์ทุกคนทุกชาติ ดังนั้นธุรกิจนี้ จึงต้องอยู่ยงคงกระพันไปตลอดกาล !
 
ประเทศไทยของเราเป็นผู้ผลิต และส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอันดับ 7 ของโลกรองจากสหภาพยุโรป อเมริกา แคนาดา บราซิล จีน
ออสเตรเลีย และเป็นผู้ส่งออกกุ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก ในขณะที่ส่งออกปลาและอาหารทะเลเป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากจีนและนอร์เวย์)
วันนี้ Talk of the town ของประเทศเกษตรกรรม มี 2 เรื่องใหญ่ๆ ซึ่งสวนทางกันคือ ราคาน้ำมันแพงขึ้นมากจนน่ากลัว ดังนั้นพวกเราจึงต้องใช้ทรัพยากรบนดิน (สินค้าเกษตรและอาหาร) ไปสู่การสร้างกลไกราคาผลักดันให้สินค้าเกษตรพุ่งสูงขึ้นไปในสัดส่วนเดียวกับน้ำมัน
ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มมีทิศทางและแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบไปหลากหลาย กระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคทุกเพศ ทุกวัย อาทิ อาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ หรือธุรกิจอาหารฮาลาล ที่ปัจจุบันมีแนวโน้มการเติบโตดีขึ้น เนื่องจากความต้องการของชาวมุสลิมทั่วโลกที่มีถึง 1.9 พันล้านคน คิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรโลก และคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกเป็น 30% ในปี 2568 ทำให้อนาคตของอาหารฮาลาล สดใสมาก และกำลังเป็นที่สนใจของผู้ผลิตอาหารหลายราย
หมายเหตุภาษี (Tax Note From Tax Expert) วันนี้... จะขอเจาะไปดูกลยุทธ์ภาษี&ธุรกิจของกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีทั้งหมด 26 บริษัท โดยจะขอหยิบยกมากล่าวถึงเพียง 1 บริษัท คือ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (MINT) ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2550 สูงสุดในกลุ่มนี้ เป็นเงินภาษีจำนวน 493 ล้านบาท (ตามข้อมูลในงบกำไรขาดทุน) และเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายอาหารหลากหลายประเภท
บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (MINT) เป็นบริษัทที่มียอดเงินเสียภาษีสูงสุดในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เป็นเงิน 493 ล้านบาท โดยมียอดขายรวมปี 2550 เป็นเงิน 14,029 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 2,147 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนภาษีต่อรายได้ เท่ากับ 3.51% (สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มนี้ซึ่งเท่ากับ 1.52%) เกินกว่า 1 เท่าตัว
(1) ธุรกิจหลักของ MINT คือ โรงแรม อาหารและเครื่องดื่ม เป็นหลัก และมีธุรกิจสปากับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วย
สำหรับธุรกิจอาหารเน้นการสร้างแบรนด์และขยายเป็น Franchise เช่น เดอะพิซซ่า สเวนเซ่นส์ แดรี่ควีน และ ซิซซ์เลอร์ เป็นต้น ซึ่งการแตกแบรนด์ออกเป็นหลายประเภทโดยมุ่งลูกค้าเกรดบีขึ้นไป แม้จะจำกัดกลุ่มเป้าหมายแต่ก็เป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงและมีรสนิยมในการบริโภค กรณีนี้กิจการจึงต้องเติบโตและขยายสาขาไปในพื้นที่ชั้นในของเมืองใหญ่และย่านศูนย์การค้าสำคัญให้มาก
ในรอบปี 2550 ธุรกิจอาหาร โรงแรม สปา และอสังหาริมทรัพย์ ล้วนมียอดขายลดลงทั้งตลาดเนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของไทย แต่ในปี 2551 เมื่อมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจต่างเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจในภาพรวมจะดีขึ้น ซึ่งก็ส่งผลดีกับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
รูปแบบการกระจายร้านอาหารเป็นหลายแบรนด์ เจาะตลาดหลาย Segment ต่างสไตล์ นับเป็นอีกหนึ่ง กลยุทธ์ธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะช่วยลดความเสี่ยงและขยายโอกาสทางการตลาดมากขึ้น แต่ในมุมภาษีอากรถือเป็นข้อด้อยหลายประการ เช่น ด้านการจัดซื้อวัตถุดิบ การใช้ทรัพยากรต่างๆ ของบริษัทมีการกระจายออกไปเป็นคนละหน่วยธุรกิจ (หน่วยภาษี) ดังนั้น จึงอาจเกิดรายการค้าระหว่างกันให้เป็นประเด็นทางภาษีได้ง่ายๆ เช่นการซื้อวัตถุดิบร่วมกัน การใช้บุคลากรรวมกัน เป็นต้น
(2) การพัฒนา Franchise นอกจากตัวธุรกิจอาหาร โรงแรมและสปา จะสร้างรายได้และผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ข้อดีของการสร้างแบรนด์ ก็คือ ค่า Royalty fee และ Franchise fee ซึ่งมีมูลค่าการตลาดในตัวของแบรนด์เองอีกด้วย
อเมริกาเคยประกาศเมื่อ 10 ปีก่อนว่าจะส่งเสริม SMEs ของตนให้เติบโตด้วยการสร้างแบรนด์และขยายธุรกิจแบบ Franchise ซึ่งเป็นในทำนองเดียวกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์ธุรกิจและภาษีให้เหมาะสมจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดทางการค้าและมีภาระภาษีต่ำ
ประเด็นที่ต้องตั้งคำถามและหาตำตอบก็คือ จุดเด่นและจุดขายของแบรนด์คืออะไร ระบบการบริหาร Franchise ควรเป็นอย่างไร แบ่งผลประโยชน์ระหว่าง Franchiser และ Franchisee อย่างไร วิธีขยายธุรกิจจะเป็นในรูปแบบการขยายสาขาเองหรือขาย Franchise ซึ่งในมุมภาษีอากร (ระหว่างประเทศ) ก็มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอยู่หลายปัจจัย เช่น head license ควรตั้งอยู่ประเทศใด (เพราะอัตราภาษีของแต่ละประเทศต่างกัน) ค่า Royalty fee ควรจะเป็นเท่าใด การขายวัตถุดิบ (อาหาร) จะมีผังเครือข่ายอย่างไร ราคาเท่าใด และจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดจาก Revenue Tax และ FTA ได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น
ซึ่งถ้าบริหารจัดการหน่วยภาษี (tax unit) ให้สมดุลลงตัว นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อด้านธุรกิจแล้ว ยังสามารถประหยัดเม็ดเงินภาษีลงมาได้ด้วย
(3) MINT มีนโยบายการเข้าซื้อกิจการ (take over) เพื่อขยายการเติบโตโดยเน้นที่ธุรกิจโรงแรมและอาหารเป็นหลักนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ธุรกิจที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งและเสริมศักยภาพให้ภาพรวมของธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการเข้าไปเปลี่ยนแบรนด์และต่อยอดจากฐานเดิม ทำเลเดิม ซึ่งมีศักยภาพและลูกค้าเดิมอยู่แล้ว
วิธีการ take over ทำได้หลายรูปแบบ เช่น การซื้อหุ้น (Share acquisition) การซื้อทรัพย์สิน (Asset Acquisition) ซึ่งวิธีหลังมักเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะไม่ต้องเสี่ยงต่อภาระผูกพันที่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อไว้ (โดยที่เราอาจไม่ทราบ) ซึ่งแม้วิธีซื้อทรัพย์สินหรือซื้อแผนก จะมีภาระภาษีสูงกว่าวิธีแรกก็ตาม อนึ่งจากมาตรการลดภาษีตามมติครม.เมื่อ 4 มีนาคม 2551 ได้มีการลดภาษีธุรกิจเฉพาะเหลือ 0.11% และลดค่าธรรมเนียมการโอน/จดจำนองเหลือ 0.01% ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น จะมีส่วนช่วยเร่งให้ ‘การควบโอนกิจการ’ ต้องตัดสินใจเร็วขึ้น
(4) ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการบริหารการขยายสาขาและขยายธุรกิจด้านอื่น เช่น กรณีได้พื้นที่หรือที่ดินเกินขนาดที่ต้องการ หรือ กรณีถือเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงแรม
ปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งได้หันมาเพิ่ม Business unit ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับธุรกิจหลัก (ปกติ) ของตน เช่น กลุ่มซี.พี. (เริ่มจากธุรกิจเกษตรครบวงจร มาเป็นธุรกิจการสื่อสารแล้วขยายเข้าสู่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตามลำดับ) กลุ่ม CPN (เซ็นทรัลพัฒนาฯ) ก็แตกตัวมาจากการขยายสาขาของกิจการห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เป็นต้น วิธีการดังกล่าวนอกจากจะทำให้สามารถขยายสาขาได้เร็ว ในทำเลที่ต้องการและในราคาถูกแล้ว business unit (การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์) นี้ ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างกำไรมหาศาลและยังเพิ่มช่องทางการทำธุรกิจและอาจได้ Strategic partnerใหม่ๆ ที่ช่วยเสริมการเติบโตต่อไปใน business unit อื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย
กล่าวในมุมภาษีอากร กรณีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แต่ละลักษณะจะมีภาระภาษีต่างกัน เช่น การสร้างแล้วขาย จะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนสร้างให้เช่า ถือเป็น NON-VAT และไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ นอกจากนั้นกรณีการรับหรือจ่ายมัดจำเป็นเงินก้อน ก็สามารถวางแผนประหยัดภาษีเงินได้โดยการกระจายการรับรู้รายได้ รายจ่าย ตามจำนวนปี แห่งอายุการเช่า เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถประหยัดเม็ดเงินภาษีหรือเสียภาษีช้าลงได้นั่นเอง
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 



ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์

ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (6)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (5)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (3)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (2)