ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์

 ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (1)

ฤดูปิดงบ เพื่อยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.50 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ในปีนี้ จะเป็นดัชนีชี้วัดเลขหลายประการ เช่น เศรษฐกิจประเทศไทย อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของธุรกิจแต่ละประเภท (เพื่อเลือกซื้อหุ้นได้ถูกต้อง) ฯลฯ
 
แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนจะเจาะไปที่การเจาะกลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจของ 453 บริษัทเหล่านี้ โดยเฉพาะกรณีของบริษัทในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีอัตราการชำระภาษีสูงต่ำกว่ากันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการบริหารภาษีของแต่ละองค์กรเหล่านั้น เพื่อหาวิธีประหยัดภาษีลงมา
สำหรับกลุ่มธุรกิจแรกที่เราจะคลี่ม่านเข้าไปดูคือ กลุ่ม 18 ธุรกิจการเกษตร ซึ่งมีบริษัท CPF เป็นพี่ใหญ่ (รายได้สูงสุดถึง 137,661 ล้านบาท)
1. เปรียบเทียบข้อมูลการเสียภาษี 20 บริษัทในกลุ่มเกษตร
จากการวิจัยข้อมูลการเสียภาษีของ 20 บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเกษตรของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมียอดขายแตกต่างกันตั้งแต่ร้อยล้าน พันบาท หมื่นล้าน ถึง แสนล้านบาท (CPF) ปรากฏว่าบริษัทเหล่านี้มีอัตราส่วนทางการเงินที่ผกผัน (contrast) กันระหว่าง อัตรากำไรสุทธิ/ยอดขาย หรืออัตราส่วนของภาษี/รายได้ โดยบางบริษัทมีรายได้สูงแต่กำไรสุทธิและภาษีต่ำ บางบริษัทมีรายได้ต่ำแต่กำไรสุทธิและภาษีสูง เป็นต้น (ตาราง)
453 บริษัทใน SET ยอดตามงบการเงินปี 2550 (ล้านบาท)
รายชื่อบริษัทในแต่ละกลุ่ม ชื่อย่อ ภาษีเงินได้ รายได้ กำไร (ขาดทุน) สุทธิ ภาษี/รายได้
การเกษตร 314 257,157 3,542 0.12%
1 สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม UPOIC 55 657 207 8.37%
2 เจริญโภคภัณฑ์อาหาร CPF 49 137,661 1,477 0.04%
3 ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี STA 41 50,313 144 0.08%
4 สุรพล ฟู้ดส์ SSF 40 4,242 188 0.94%
5 ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) TRUBB 29 8,230 28 0.35%
6 ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม UVAN 23 4,505 528 0.51%
7 บางกอกแร้นช์ RANCH 22 5,153 249 0.43%
8 สีพัฒนาผลิตภัณฑ์ LEE 21 3,749 338 0.56%
9 ไทย อกริ ฟู้ดส์ TAF 20 3,196 463 0.63%
10 ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ TLUXE 8 2,223 77 0.36%
11 ห้องเย็นเอเชี่ยน ซีฟู้ด ASIAN 5 7,742 (445) 0.06%
12 ห้องเย็นโชติวัฒน์หาดใหญ่ CHOTI 0.5 3,358 102 0.01%
13 แพ็คฟู้ด PPC 0.1 6,388 (65) 0.00%
14 จีเอฟพีที GFPT - 8,236 282 0.00%
15 ซีเฟรช อินดัสตรี CFRESH - 2,052 14 0.00%
16 เชียงใหม่โฟรเซ่นฟู้ดส์ CM - 1,073 99 0.00%
17 ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม CPI - 4,554 30 0.00%
18 ปทุมไรซ์มิล แอนด์ แกรนารี PRG - 2,006 150 0.00%
19 ซีฮอร์ส SH - 829 (141) 0.00%
20 ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล TRS - 990 (183) 0.00%
จากข้อมูลในตารางข้างต้น วิเคราะห์ (เบื้องต้น) ได้ดังนี้
(1) กลุ่มธุรกิจการเกษตร ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะการขายพืชผลทางการเกษตรและการขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ (เช่น เนื้อ และส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม วัตถุพลอยได้) (ม.81(1)(ก)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร)
แต่กรณีส่งออก จะถือเป็นธุรกรรมที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 0%) ตามหลักปลายทาง (destination principle) กรณีจึงต้องตัดสินใจว่าจะจดแจ้งนำธุรกรรมการขายในประเทศ (NON-VAT) เข้าสู่ระบบ VAT 7% หรือไม่ เพื่อได้สิทธิประโยชน์จากการขอคืนภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องและไม่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามนัยแห่งประเทศ VAT #29 ซึ่งต้องดูจากปัจจัยหลายประการ เช่น จำนวนภาษีซื้อ ความสามารถในการตั้งราคาขายให้ยังคงสภาพการแข่งขันได้ (เพราะต้องบวก VAT 7%) เป็นต้น
นอกจากนั้นในระบบภาษีเงินได้ (direct tax) ประมวลรัษฎากร (ฉบับปัจจุบัน) ได้ยกเว้นเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ชาวนาเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงการเกษตร ปศุสัตว์ และประมงแต่อย่างใด ดังนั้นกรณีของ 20 บริษัทข้างต้นซึ่งจดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 30% ของกำไรสุทธิ เว้นแต่ในบางช่วงที่มีการลดอัตราภาษีแก่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เหลือ 25% (SET) และ 20% (MAI) เช่น พรฎ.#467 และมาตรการลดภาษีตามมติครม.เมื่อ 4 มีนาคม 2551 ซึ่งขยายเวลาการจดแจ้งเข้าตลาดจากปี 2550 เป็น 2551 โดยต้องจดทะเบียนแล้วเสร็จในปี 2552 จึงจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 3 ปี เป็นต้น
(2) ในกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งประเทศไทยมีพันธะจากการเข้าเป็นภาคี WTO ในปี พ.ศ. 2537 โดยต้องลดอากรขาเข้าทุกประเภทเหลือ 0% ประกอบกับการทำสัญญา FTA กับประเทศต่าง ๆ โดยต้องลดอากรขาเข้าสำหรับสินค้าต่าง ๆ ลงมาในแต่ละช่วงเวลาตามข้อตกลง FTA แต่ละฉบับนั้น ก็ส่งผลกระทบทั้งทางด้านบวกและด้านลบต่อธุรกิจการเกษตรของไทย ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่แข็งแรงและไม่แข็งแรงปะปนกัน ตัวอย่างเช่น FTA ไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 นั้น ได้เจรจาให้ลดภาษีช้าที่สุดถึง 20 ปีให้แก่ผลิตภัณฑ์นมและปศุสัตว์ เป็นต้น
FTA ไทย-จีน ได้มีการปรับลดอากรขาเข้าเหลือ 0% สำหรับสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ ตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ 07-08 จำนวน 116 รายการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 (Early Harvest) ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรของไทยหลายภาคส่วน เพราะไม่สามารถเข้าแข่งขันกับผัก/ผลไม้จากจีนได้ เป็นต้น
(3) UPOIC (บริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม) มีรายได้เพียง 657 ล้นบาท แต่มีกำไรสุทธิสูงมากถึง 207 ล้านบาท และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลถึง 55 ล้านบาท เปรียบเทียบกับ CPF (บริษัทเจิรญโภคภัณฑ์อาหาร) ซึ่งมีรายได้สูงลิ่วถึง 137,661 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1,477 ล้านบาท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 49 ล้านบาท (ใกล้เคียงกับภาษีของ UPOIC)
วิเคราะห์จากงบการเงินปี 2550 พบว่า UPOIC มีกำไรสุทธิสูงถึง 30% เป็นเพราะมีต้นทุนขายต่ำ (50%) และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่ำ (เพียง 10%) โดยเป็นธุรกิจผลิตน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม มีบริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่
- บริษัทได้สิทธิสัมปทานใช้ประโยชน์ที่ดินป่าสงวนในการปลูกต้นปาล์ม ซึ่งมีอายุการให้ผลผลิต 25 ปีและมีการลงทุนในอาคารสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งตัดค่าเสื่อมราคาถึง 20 ปี กรณีจึงมีส่วนในการกระจายการตัดรายจ่าย (ค่าเสื่อมราคา) ออกไปยาวนาน ซึ่งมีข้อดีต่องบการเงินทางธุรกิจ (ดูสวยเพราะกำไรดี) แต่อาจเป็นข้อด้อยทางภาษี ทำให้ต้องจ่ายภาษีเร็ว (จากมาตราลดภาษีบริษัทใน SET เพียง 3-5 ปี) และเสียภาษีในอัตราสูง (30%) ในระยะยาว
- บริษัทมีระบบการค้ากับบริษัทในเครือ โดยขายสินค้าตามราคาที่ระบุในสัญญาขายล่วงหน้าหรือราคาตลาด นอกจากนั้นยังมีการจ่ายค่าเช่าในอัตราคงที่ปีละ 21 ล้านบาท และจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างกันในอัตรา MLR01.5% ต่อปี กรณีจึงมีส่วนสำคัญต่อผลประกอบการในเชิงบวกเพราะสามารถควบคุมรายได้/รายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ตั้งไว้ได้โดยง่าย แต่ข้อที่พึงต้องระมัดระวังก็คือการมีรายการค้าระหว่างกัน (related parties transactions) มักเป็นประเด็นภาษี (tax issues) ให้เกิดข้อโต้แย้งกับเจ้าพนักงานสรรพากรอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนภาษีให้ถูกต้องเหมาะสมกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของทางราชการ เช่น คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.113/2545 (transfer pricing) เป็นต้น
(4) CPF (บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดในกลุ่มการเกษตร ปัจจุบันถือเป็นบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporation) ไปแล้ว โดยกระจายการลงทุนไปยังประเทศต่าง ๆ มากมาย ทั้งจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อังกฤษ อเมริกา
ต้องยอมรับในวิสัยทัศน์ของ CPF ในการวางยุทธศาสตร์ธุรกิจการเกษตรและปศุสัตว์ครบวงจร เพราะอาหารถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ทุกคนต้องบริโภคไปตลอดชีวิต ในขณะที่พื้นที่เกษตรกรรมที่เหมาะสมมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จากภัยธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน (global warming) และการตัดไม้ทำลายป่าของมนุษย์ จนฤดูกาลของโลกเริ่มแปรปรวน (โลกป่วย) ดังนั้น หากมองไปในอนาคตอันไกลโพ้น ผู้เขียนเชื่อว่าธุรกิจการเกษตรจะเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยราคาพืชพันธุ์ธัญญาหารจะแพงขึ้น เกษตรกรจะร่ำรวยขึ้น รัฐบาลทุกประเทศจะให้ความใส่ใจอุ้มชูและมีสารพัดมาตรการขึ้นมาสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกร (ทำนองเดียวกับเกษตรกรของจีน ญี่ปุ่น และอเมริกาในปัจจุบัน)
วันนี้ ประเทศไทยเราได้เกิดกระแส 'ข้าวสารแพง' เพราะมี demand สูงในตลาดส่งออก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้ดีเฉพาะในภูมิภาค/ภูมิอากาศแถบอาเซียนเท่านั้น แนวโน้มนี้เป็นสัญญาณแจ้งเตือนในหลายแง่มุมดังกล่าวข้างต้น และบ่งชี้ถึงอำนาจต่อรองของสินค้าเกษตรกับ 'ราคาน้ำมัน’ (แพง) ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะต้องมีพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกมาใช้อย่างแน่นอน แต่สำหรับพืชพันธุ์ธัญญาหารคงหาสิ่งทดแทนได้ยาก ทำนอง 'อด (ใช้) น้ำมัน ชีวิตเจ้าคงไม่วายชีวาวาส แต่อดอาหารเพียงแค่ 7 วัน ชีวิตเจ้าต้องดับสูญแน่นอน!'
สำหรับแง่มุมภาษี & ธุรกิจ จากงบการเงินปี 2550 ของ CPF อ่านถึงกลยุทธ์ได้ดังนี้ครับ
- มองจากงบการเงินรวมของ CPF ปี 2549-2550 พบว่ายอดขายค่อนข้างคงที่ คือประมาณ 130,000 ล้านบาท แต่ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ชำระในปี 2549-2550 ลดลงจาก 300 ล้านบาทเหลือ 50 ล้านบาท เกิดจากค่า 'ดอกเบี้ยจ่าย' ที่เพิ่มสูงขึ้นราว 400 ล้านบาท ตามนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน การออกหุ้นกู้ การทำทรัสต์รีซีทส์
ในเรื่องของแหล่งที่มาของเงินทุน (source of fund) ซึ่งมีอยู่ 3 แหล่งคือ กู้ยืม เพิ่มทุน และกำไรสะสม นั้น ถือเป็นวิธีบริหารจัดการทางการเงินที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการและภาระภาษี อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง CPF เลือกวิธีกู้ยืม ซึ่งถ้าเปลี่ยนเป็นการเพิ่มทุน โดยระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ กรณีก็จะส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิสูงขึ้น แต่มีข้อด้อยต่อราคาหุ้นและสัดส่วนความเป็นเจ้าของ
- กล่าวสำหรับผลประกอบการของ CPF ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้/ควบคุมยากมาเกี่ยวข้องหลายตัว เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ โรคพืช โรคสัตว์ ราคาอาหารสัตว์ ยา เป็นต้น จริงอยู่แม้กรณีของไข้หวัดนกจะแก้ด้วยวิธีเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มปิด
แต่ทุกครั้งที่เกิดโรคระบาดก็มักส่งผลทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคเสมอไป ซึ่ง CPF ได้วางกลยุทธ์ระยะยาวในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกหลายประการเช่น การทำธุรกิจการเกษตรและปศุสัตว์ครบวงจร (สามารถลดต้นทุนประกอบการและควบคุมคุณภาพได้เต็มที่) การกระจายสินค้าพืชผักหลายประเภทและปศุสัตว์หลายชนิด (นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา ก็ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการตลาดไปในตัว)
การกระจายการลงทุนและแหล่งผลิตออกไปในหลายประเทศ จะได้ประโยชน์มากมายทั้งทางธุรกิจและภาษี เช่น ลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกตามแต่ละสภาพอากาศ เพิ่มการกระจายตลาด ลดความเสี่ยงจากความผันผวนทางการเมือง ได้ประโยชน์จาก FTA ของแต่ละประเทศ และอาจลดภาระภาษีทางตรงและทางอ้อมจากความเหลื่อมล้ำของอัตราภาษีศุลกากรและภาษีเงินได้นิติบุคคล ตัวอย่างเช่น กรณีของการลงทุนประกอบการในจีน ซึ่งมีเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายแห่งในเสิ่นเจิ้น เซี่ยงไฮ้ ฯลฯ นั้น สามารถลดภาระภาษีได้อย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 


ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (6)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (5)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (4)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (3)
ผ่า...กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ 453 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (2)
หน้า 1/1
1
[Go to top]