ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 7 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ประเด็นหน้าที่ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล

 ประเด็นหน้าที่ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล

Corporate Income Tax

(ภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร)

 

รายการ

เนื้อหา

บทบัญญัติ

อนุบัญญัติ

1. หลักการของภาษีเงินได้นิติบุคคล

     (CIT Principle)

1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีทางตรง (Direct Tax) 

ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปยังบุคคลอื่นได้

·    ห้ามมิให้นำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ

·    หากยอดภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิขอคืนได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

 

 

มาตรา 65 ตรี (6)

 

มาตรา 63 และ มาตรา 27

 

 

1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรประเมิน (Assessable Tax)

(1) ผู้มีเงินได้หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment) ตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกรมสรรพากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

ม.38 ประกอบ ม.14

ซึ่งตาม ม.15 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2

วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน

ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 37 ทวิ มาใช้บังคับ

 

 

(2) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินจำนวนภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กฎหมาย (Authoritative Assessment)

- เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

 

 

 

มาตรา 71

 

 

1.3  ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บจาก กำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หรือที่เรียกกันว่า กำไรสุทธิทางภาษีอากร(มาตรา 65) ดังนั้น ในกรณีที่ในรอบระยะเวลาบัญชีใด มี ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร”  จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังสามารถนำผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลา บัญชีปีถัดไปได้ไม่เกิน  5  ปี (มาตรา  65 ตรี (12))

- มาตรา 65 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ประกอบด้วย

  (1) กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร

  (2) รอบระยะเวลาบัญชี

  (3)  รายได้ทางภาษีอากร

·  รายได้จากกิจการและ

·  รายได้เนื่องจากกิจการ

- มาตรา  65 ตรี (12)

 

 

1.4  ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชี  และให้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่าย

โดยถือว่า  รายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใด ต้องถือเป็นรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้นๆ และรายจ่ายต้องเป็นรายจ่ายทั้งสิ้นเกี่ยวกับรายได้ หรือเป็นรายจ่ายที่มีความสัมพันธ์กับรายได้ตาม หลักการจับคู่ของรายจ่ายกับรายได้ (Matching Principle)

 

มาตรา 65 

มาตรา 72

และมาตรา 73

 

- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 1/2528 ข้อ 2

กำหนดให้ใช้เกณฑ์สิทธิในคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 1/2528 ข้อ 3 เป็นข้อยกเว้นของเกณฑ์สิทธิ

 

1.5 การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ กำหนดจัดเก็บภาษีเงินได้เป็น  2  ระดับ คือ

     ระดับที่หนึ่ง จัดเก็บจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นในอัตรา   ร้อยละ 30 หรือร้อยละ 10 แล้วแต่กรณี และ

     ระดับที่สอง จัดเก็บจากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข)

มาตรา 65

มาตรา70 ทวิ จำหน่ายเงินกำไร

มาตรา 40(4)(ข) เงินปันผล

 

 

1. 6 หลักการจัดภาษีเงินได้นิติบุคคลแบ่งเป็น

 

 

 

        (1) หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule)

        บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องนำเงินได้จากการดำเนินกิจการทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดจากการประกอบกิจการในประเทศไทยหรือในต่างประเทศมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ตามหลัก World Wide Income (รายได้ที่เกิดขึ้นทั่วโลก)

มาตรา 66

 

 

         (2) หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)

         บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ให้เสียภาษีเงินได้เฉพาะจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในประเทศไทยเท่านั้น  และไม่ต้องนำเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร 

 

มาตรา 66 วรรคสอง

มาตรา 67

และมาตรา 70

- ดูอนุสัญญาภาษีซ้อง ของแต่ละประเทศ

 

 

1.7 หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากร ประกอบด้วย

มาตรา 65 ทวิ

 

 

     (1) เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้

- ม. 65 ทวิ (4) (10) (11) (12) (13) (14)

 

 

     (2) เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย

- ม. 65 ทวิ (1) (2) (9)

 

 

     (3) หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สิน  และหนี้สิน

 

 

 

- ม. 65 ทวิ (3) (5) (6) (7) (8)

 

 

1.8 บทขยายความมาตรา 65 ทวิ (1)

      ในกรณีรายจ่ายต้องห้าม ประกอบด้วย

มาตรา 65 ตรี

 

 

     (1) รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

             - ในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย

             - รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้

             - เข้าลักษณะหลีกเลี่ยงภาษี

             - รายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้

 

- ม.65 ตรี (1)(2)(3)(5)(6 ทวิ)(7)(12)

- ม.65 ตรี (13)(14)

- ม.65 ตรี (9)

- ม.65 ตรี (10)(11)(16)

 

 

     (2) รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย

- ม.65 ตรี (2) (4) (6) (6ทวิ) (8) (9) (12) (15) (17) (18) (19) (20)

 

 

      (3) รายจ่ายที่กฎหมายยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้

มาตรา 3

- พรฎ. (ฉบับที่ 437)  ค่าอบรมพนักงาน

- พรฎ. (ฉบับที่ 297) ค่าจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา

- พรฎ.(ฉบับที่ 420) ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา

- พรฎ. (ฉบับที่ 428)

     (1) ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาของเอกชนหรือของทางราชการบางกรณี

    (2) เงินบริจาคให้แก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนคุ้มครองเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี

 

 

 

- พรฎ. (ฉบับที่ 436) ค่าใช้จ่ายในทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน เพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม

- พรฎ.(ฉบับที่ 499)

   (1) กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงาน

   (2) เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่งหรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการให้แก่คนพิการ

-รายจ่ายค่าขนส่งภายในประเทศ ค่าไฟฟ้า และค่าประปาจำนวน 100% ของรายจ่ายดังกล่าว สำหรับผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนในเขต 3

-  รายจ่ายในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบไฟฟ้า ถนน ระบบสาธารณูปโภคอื่น จำนวน 25% ของรายจ่ายดังกล่าว สำหรับผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุน

ในเขต 3

- ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 ตรี (12)

 

 

1.9  หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

 

 

        (1) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง

มาตรา 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาตรา 5 กรมสรรพากร

 

 

        (2) กรมที่ดิน สำหรับภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10

มาตรา 52 กรมที่ดิน ประกอบ มาตรา 69 ตรี

 

2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

    (CIT Payers)

ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็น

คำนิยาม มาตรา 39

ขยายความ ส่วน 3 หมวด ลักษณะ 2

 

 

2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

       (1) บริษัททั่วไป

       (2) บริษัทจดทะเบียน

       (3) ห้างหุ้นส่วนจำกัด

       (4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

มาตรา 66 วรรคแรก

 

 

2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ จะเสีย CIT ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อ

 

 

 

        (1) กระทำกิจการในไทยแห่งเดียวโดยเฉพาะ

มาตรา 66 วรรคแรก

 

 

        (2) กระทำกิจการในที่อื่นรวมทั้งในประเทศไทย

มาตรา 66 วรรคสอง

 

 

        (3) กระทำกิจการในที่อื่นรวมทั้งในประเทไทย เฉพาะที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ

มาตรา 67

 

 

        (4) กระทำกิจการในไทยผ่าน ลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ (Agent)

 

มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก

 

 

         (5) มิได้กระทำกิจการในไทยแต่ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในไทย

(ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย : ภาษีเสร็จเด็ดขาด Final tax)

มาตรา 70

(ดูประเภทเงินได้ตาม มาตรา 40 ประกอบ)

 

 

2.3 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

บทบัญญัติการเสีย CIT ในประเทศไทยเช่นเดียวกับ 2.2

 

 

2.4  กิจการที่ดำเนินงานเป็นทางการค้า/หากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลาต่างประเทศ/นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

มาตรา 66

มาตรา 67

มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก

มาตรา 70

 

 

2.5  กิจการร่วมค้า Joint Venture

มาตรา 39

ปพพ. มาตรา 1012

 

 

2.6  มูลนิธิ/ สมาคมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เว้นแต่องค์การสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7)(ข)

บัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2) (จ)

พรฎ. (ฉบับที่ 250)

- กรณีที่กฎหมายกำหนดถือเป็น

  การขาย (Deemed Sale)

 

2.7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ

    บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง หรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น

    ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น

    (1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ

    (2) เป็นของผ่านแดน

    (3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร

    (4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร

มาตรา 70 ตรี

ดู PIT มาตรา 40 ทวิ ประกอบ

 

3. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

     (CIT Computation)

3.1  ฐานกำไรสุทธิทางภาษีอากร

    (Taxable Net Profit)

      กำไรสุทธิคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี 

มาตรา 65 เกณฑ์สิทธิ/รอบระยะเวลาบัญชี

มาตรา 66 ฐานกำไรสุทธิ

มาตรา 67 ให้ใช้บัญชีอัตราภาษีเงินได้

มาตรา 72 การเลิกกิจการ

มาตรา 73 การควบเข้ากัน

 

 

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยทั่วไป

Rate CIT = 30% ของกำไรสุทธิ

ประกอบด้วย

- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกินกว่า 5 ล้านบาท

- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

 

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

 

 

- กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

- กิจการร่วมค้า

 

 

 

 

(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินกว่า 5 ล้านบาท

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

พรฎ.(ฉบับที่ 471) ใช้บังคับสำหรับ

รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

 

Rate CIT:

ช่วงกำไรสุทธิ

อัตราร้อยละ

1 -     150,000

ยกเว้น

150,001 -  1,000,000

15

1,000,001 -  3,000,000

25

ส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท

30

 

 

 

 

 

(3) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนวันที่ 6 กันยายน 2544

Rate CIT (เฉพาะ SET) = 25% ของกำไรสุทธิ

เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน  300 ล้าน บาท

เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 6 กันยายน 2544

 

 

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

มาตรา 3 แห่ง พรฎ. (ฉบับที่ 387

 

(4) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่  6 กันยายน 2544 และจดทะเบียนภายในวันที่    31 ธันวาคม 2548

Rate CIT:

- กรณี MAI 20% ของกำไรสุทธิ

- กรณี SET 25% ของกำไรสุทธิ

เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทที่มีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548)

 

 

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

มาตรา 4 แห่ง พรฎ. (ฉบับที่ 387) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 421)

 

 

(5) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Rate CIT:

- กรณี MAI 20% ของกำไรสุทธิ

- กรณี SET 25% ของกำไรสุทธิ

เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทที่นั้นมีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552)

 

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

พรฎ. (ฉบับที่ 467) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 474)

 

 

(6) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนวันที่ 7 สิงหาคม 2551 ไม่เคยได้รับสิทธิตาม พรฎ. (ฉบับที่ 467) และ พรฎ. (ฉบับที่ 460)

 

 

มาตรา 67

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

 

 

Rate CIT:

- กรณี MAI

กำไร

อัตราภาษี

0 – 20 ล้านบาท

20%

เกิน 20 ล้านบาท

30%

- กรณี SET

กำไร

อัตราภาษี

0 – 300 ล้านบาท

25%

เกิน 300 ล้านบาท

30%

เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

 

 

 

 

(7) กิจการวิเทศธนกิจ

Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

 

พรฎ. (ฉบับที่ 454)

 

(8) กิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

 

พรฎ. (ฉบับที่ 405)

 

(9) กิจการนำเข้าและส่งออกที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง

Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

พรฎ. (ฉบับที่ 426)

 

(10) กิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

และ มาตรา 3(1)

- พรฎ. (ฉบับที่ 466)

ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2550 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2552 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

- พรฎ. (ฉบับที่ 492)

ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

 

 

(11) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการ BOI อาจได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3– 8 ปี (Tax Holiday) แล้วแต่กิจการนั้นตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนใด

(เขต 1 – 3)

      สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในเขต 3 อาจได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

 

 

ดู พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน ประกอบ

 

3.2  ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ  (Gross Income)

 

 

 

(1)  กิจการขนส่งระหว่างประเทศ

Rate CIT:

·  3% ของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารจากประเทศไทย

·  3% ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใด ที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทย 

 

มาตรา 66 วรรคสอง

มาตรา 67 (1) (2)

 

 

(2) อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน

Rate CIT = 5 % ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

มาตรา 71 (1) (3)

กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด

- ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

- ไม่ได้ทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือบัญชีอื่นใด ในรอบระยะเวลาบัญชีใด หรือจัดทำไม่ครบ 

-ไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน

 

 

 

 

(3) กรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีได้

Rate CIT = 5 % ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี

มาตรา 66 วรรคสอง

มาตรา 76 ทวิ วรรคสอง

เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ รวมทั้งกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย รัฐบาลต่างประเทศ  องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่กระทำกิจการทั้งในประเทศอื่นๆ และในประเทศไทยหรือมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย

 

 

 

(4) มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณะกุศล

Rate CIT:

· 10% ของรายได้ที่มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

·  2% ของรายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

บัญชีอัตราภาษีเงินได้

พรฎ. (ฉบับที่ 250)

 

3.3  การหักภาษี ไว้ ณ ที่จ่ายแบบเสร็จเด็ดขาด  (Final  Tax)

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย  แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังต่อไปนี้

 

 

มาตรา 70

 

 

ประเภทเงินได้

อัตราภาษี

ม. 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่มิใช่ ม. 40 (4)(ข)

15%

ม. 40 (4)(ข)

10%

 

 

 

 

 

3.4  การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (ภายหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิแล้ว)

ให้เสียภาษีเงินได้ในอัตรา 10 % ของเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นดังกล่าวที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย

 

มาตรา 70 ทวิ

 

4. วิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

4.1 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย

 

 

    (CIT Payment)

    4.1.1 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

 

 

 

           (1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ของเงินได้ ในทุกคราวที่จ่ายเงินได้ 

มาตรา 69 ทวิ

- ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร

 

 

           (2) ให้ผู้จ่ายเงินได้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นผู้หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ของราคาขาย ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 

มาตรา 69 ตรี

- ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร

 

 

            (3) ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส

มาตรา 3 เตรส

- ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร

 

ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528

 

            (4) ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นผู้หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้

ณ ที่จ่าย 

มาตรา 70

- เป็น Final Tax ไม่ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร

 

 

    4.1.2 การนำส่งและการยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก

            ณ ที่จ่าย

            

มาตรา 52 มาตรา 53 และมาตรา 59

 

 

- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ  ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

 

 

           (1) ภ.ง.ด.53 สำหรับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ หรือมาตรา 3 เตรส

- นำส่งและยื่นรายการ ภายใน เจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

 

 

           (2) ภ.ง.ด.54 สำหรับการนำส่งภาษีตามมาตรา 70 และ มาตรา 70 ทวิ

- นำส่งและยื่นรายการ ภายใน เจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

 

 

 

 

           (3) ให้นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 69 ตรี

ต่อเจ้าพนักงานผู้รับจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินที่ทำการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม โดยไม่ต้องใช้แบบแสดงรายการ ทั้งนี้ โดยนำส่งพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/10 วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด

 

 

 

 

     4.1.3 ในการหักภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ไม่มีข้อกำหนด

ผู้จ่ายเงินได้ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ

ที่จ่าย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติผู้จ่ายเงินได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยใช้แบบหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามมาตรา 50 ทวิ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) โดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีและเป็นหลักฐานการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นเครดิตในการขอคืนของผู้ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย

 

 

 

 

    4.1.4 ความรับผิดในจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของ   ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ในฐานะลูกหนี้ร่วม พร้อมทั้ง    เงินเพิ่ม และระวางโทษปรับทางอาญา

 

 

 

มาตรา 54

มาตรา 27

มาตรา 35

 

 

 

4.2 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยผู้ต้องเสียภาษียื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment)

มาตรา 17

มาตรา 38

 

 

    4.2.1 การยื่นรายการเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

มาตรา 67 ทวิ

 

 

            (1) เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ

มาตรา 66 ฐานกำไรสุทธิ

 

 

            (2) ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมชำระภาษี ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

                  ภาษีเงินได้ที่ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.50)

มาตรา 67 ทวิ

 

 

มาตรา 68

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

 

            (3) วิธีการคำนวณและชำระภาษี มี 2 วิธี คือ

                 วิธีที่ 1 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากที่กล่าวใน วิธีที่ 2 ให้คำนวณและชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

                 วิธีที่ 2  สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี

 

 

มาตรา 67 ทวิ (1)

 

 

 

มาตรา 67 ทวิ (2)

 

 

     4.2.2 การยื่นรายการเงินได้นิติบุคคลประจำ

             รอบระยะเวลาบัญชี

มาตรา 68 มาตรา 68 ทวิ และมาตรา 69 

 

 

            (1) ยื่นแบบแสดงรายการดังต่อไปนี้ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

มาตรา 68

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16)

 

                - แบบ ภ.ง.ด.50 ใช้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง

เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

 

                - แบบ ภ.ง.ด.52 ใช้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งดำเนินกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ

มาตรา 66 วรรคสอง

มาตรา 67

 

 

                - แบบ ภ.ง.ด.55 ใช้สำหรับมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เว้นแต่องค์การสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7)(ข)

 

 

 

           (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65

                เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ ให้ทำบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายเกี่ยวกับค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดอันต้องเสียภาษีแทนบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชี

มาตรา 68 วรรคแรก

 

 

มาตรา 68 วรรคสอง

 

 

           (3) ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนบุคคลยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว แล้วแต่กรณี

 

มาตรา 69

ประกอบ มาตรา 3 สัตต

 

 

4.3 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ (Authoritative Assessment)

 

 

 

     (1) อำนาจประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ 

มาตรา 18 ทวิ และมาตรา 60 ทวิ

 

 

     (2) อำนาจประเมินความถูกต้องของภาษีที่ได้ยื่นรายการ

มาตรา 18

 

 

   (3) อำนาจในการออกหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภายใน 2 ปีเว้นแต่มีเหตุให้ขยายเวลาการออกหมายเกินได้แต่ไม่เกิน 5 ปี

มาตรา 19

ดูมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 ประกอบ

 

 

 

 

 

·            อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามหลักฐานที่ปรากฏ

 - ผู้ต้องเสียภาษีให้ความร่วมมือด้วยดี

·            อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง    

ผู้ต้องเสียภาษีไม่ให้ความร่วมมือ

·  กรณียื่นแบบแสดงรายการ เบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ขาด

 

มาตรา 20

 

มาตรา 21

 

มาตรา 22 ประกอบ มาตรา 27 ทวิ

 

 

 

 

- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ

 

 

 

   (4) อำนาจในการออกหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการภาษีเงินได้ ภายใน 10 ปี

· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามความที่ทราบ

· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง

· กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ เบี้ยปรับ 2 เท่า ของภาษีที่ ต้องเสีย

 

มาตรา 23

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/30

มาตรา 24

มาตรา 25

มาตรา 26 ประกอบ มาตรา 27 ทวิ

 

 

 

 

- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ

 

  (5) อำนาจในการประเมินเบี้ยปรับ (Penalty)

·  กรณี 1 เท่า

ในการประเมินตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก

 

 

 

มาตรา 22

 

 

 

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง  หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง  มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ

-  คำสั่งกรมสรรพากร  ที่ ป. 92/2542 เรื่อง  การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ

 

 

 

-  คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง  การชำระภาษี  เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน

 

 

·  กรณี 2 เท่า

      เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้ ในการประเมิน ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25 ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก  2 เท่าของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

มาตรา 26

-  คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542  เรื่อง  หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง  มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ

-  คำสั่งกรมสรรพากร  ที่ ป. 92/2542  เรื่อง  การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ

-  คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง  การชำระภาษี

เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน

 

 

   (6) อำนาจในการประเมิน เงินเพิ่ม

·  ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

 

 

มาตรา 27

 

 

-  คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง            

การชำระภาษีเงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 117/2545 เรื่อง การนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 27 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 มาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร

      กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่ง หรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ

 

·     กรณีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51

- ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ต้องชำระขาดแล้วแต่กรณี

- ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ต้องชำระขาดแล้วแต่กรณี

 

มาตรา 67 ตรี

 

 

      เบี้ยปรับเงินเพิ่ม เป็นเงินภาษี (เพื่อการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้าง) อำนาจการลดเบี้ยปรับ ดู ท.ป. 81/2542

 

มาตรา 27 ทวิ

- ทป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ

 

     (7) อำนาจประเมินกรณีพิเศษ

·     อำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่าย    ใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า  ในกรณีที่ ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ หรือไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน

มาตรา 71

 

 

 

 

 

 

 

 

·     อำนาจประเมินภาษีที่ขาดตามอัตราภาษีในมาตรา 67 และอาจสั่งให้ผู้ต้องเสียภาษีเสียเงินเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีที่ขาดก็ได้  ในกรณีที่มิได้ลงรายการ หรือลงรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงตามความจริงในบัญชีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ เป็นเหตุให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง

 

 

 

 

 

 

 

·     อำนาจสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือสั่งให้จัดบุคคลมาปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดี ณ สำนักงานของเจ้าพนักงานประเมิน ให้เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วก็ได้

 

 

มาตรา 72

 

 

·     อำนาจประเมินเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระกรณีไม่แจ้งเลิกกิจการภายใน 15 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก

 

 

 

 

   (8) กำหนดเวลาในการชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน ภายใน 30 วันนับแต่วันทีได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน

 

มาตรา 18 ตรี

 

 

4.4 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนผู้ค้ายาสูบ

     โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง

·  ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังเสียแทนให้ ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษีในการคำนวณภาษี

·  อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังเสียแทนให้ คือ

o   ร้อยละ 12.5 ของกำไรของผู้ค้าส่งไม่ว่าทอดใด และ

o   ร้อยละ 10 ของกำไรของผู้ค้าปลีก

·  ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนให้ สำหรับสินค้าที่ขายใน  แต่ละเดือนประดิทิน โดยยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมชำระภาษีเงินได้ที่กองคลัง กรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

 

 

 

มาตรา 65 จัตวา

กฎกระทรวง ฉบับที่ 158 โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังต้องเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอด

 

 

4.5 การเลือกเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินรางวัลสลากการกุศลงวดพิเศษ ซึ่งยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ของรางวัล โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

 

 

มาตรา 5 จตุทศ (1) แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)

5.การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

(CIT Exemption)

5.1  การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร

 

 

 

(1) สำหรับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า กรณีจ่ายให้

·  บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ถือเงินปันผลเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้

·  บริษัทจดทะเบียน ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้มารวมคำนวณเป็นรายได้

·  บริษัทจำกัดซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด

ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

 

มาตรา 65 ทวิ (10)

ข้อระวัง  ผู้รับเงินปันผลต้องถือหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ถึง 3 เดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือต้องไม่ได้โอนหุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นไปก่อน 3 เดือนนับแต่วันที่มีเงินได้

 

 

 

(2) สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

 

มาตรา 3

ม.5 ทวิ แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)

 

(3) สำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ยกเว้นแก่

·  บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จำนวนกึ่งหนึ่ง

·  บริษัทจดทะเบียน สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้ทั้งจำนวน

 

มาตรา 3

พรฎ. (ฉบับที่ 263)

 

(4) สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน หรือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกิจการฝึกอบรม In-house Training

 

มาตรา 3 (1)

ม.3 และ ม.4 แห่ง พรฏ.(ฉบับที่ 284)

 

 (5) สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

 

 

ม.5 อัฏฐารส แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)

 

5.2 การยกเว้นโดยการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น

 

 

 

(1) รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา (R&D)

 

พรฏ. (ฉบับที่ 297)

 

(2) รายจ่ายในการฝึกอบรม Public Training & In house Training และการฝึกอาชีพ

 

พรฏ. (ฉบับที่ 437)

 

(3) รายจ่ายสนับสนุนการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ

 

พรฏ.(ฉบับที่ 420) และ (ฉบับที่ 428)

 

(4) รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานเพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของค่าใช้จ่ายนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท

 

 

พรฏ.(ฉบับที่ 438)

 

(5) รายจ่ายกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงาน

 

 

พรฎ.(ฉบับที่ 499)

 

(6) รายจ่ายกรณีเจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่งหรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการให้แก่คนพิการ

 

 

พรฎ.(ฉบับที่ 499)

 

(7) รายจ่ายบางประเภทตามกฎหมาย BOI

 

 

 

§   ค่าขนส่งในราชอาณาจักร

 

ม. 35 (3)  พรบ.ส่งเสริมการลงทุน

 

§   การติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

 

 

ม. 35 (4) พรบ.ส่งเสริมการลงทุน

 

5.3 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการบางประเภท

 

 

 

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

มาตรา 70 วรรคสอง

มาตรา 3

ม. 5 สัตต ม.5 อัฎฐ  ม. 5 เอกาทศ

แห่งพรฎ (ฉบับที่10)

 

(2) กิจการฝึกอบรม In-House training

 

พรฎ (บับที่ 284)

 

 

(3) กิจการโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้แก่ บริษัทหรือห้างฯ นิติบุคคล และมูลนิธิหรือสมาคม

 

พรฎ.(ฉบับที่ 428)

 ม.5 นว. แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)

 

(4) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนกิจการ

 

ม.5 สัตต  แห่งพรฎ.(ฉบับที่ 10)

 

(5) กิจการที่ได้การส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

 

พรบ.ส่งเสริมการลงทุน

 

(6) สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทน ซึ่งได้รับจากบริษัทประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากธรณีพิบัติเมื่อ 26 ธ.ค. 2547

 

พรฎ.(ฉบับที่ 443)

 

(7) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์

 

พรฎ. (บับที่ 441)

 

5.4 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีอื่น

มาตรา 3

พรฎ. (ฉบับที่ 10) มาตรา 5  เศษของบาทจากการคำนวณภาษี

6.การขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล

   (CIT Refund)

6.1 ขอคืนภายใน  3  ปีนับแต่วันสุดท้ายของปีภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย (ม.3 เตรส , ม.50)

 

มาตรา 63

 

หมายเหตุ: ไม่ใช้อายุความตาม ปพพ. ม.193/31 (อายุความ 10 ปี) เนื่องจาก

ได้กำหนดอายุความเป็นกฎหมายพิเศษไว้แล้ว

6.2 ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีอื่นนอกจากกรณี 6.1 อาทิ ภาษีเงินได้ที่ชำระตามหนังสือแจ้งการประเมิน  ภาษีเงินได้ที่ชำระไว้เกินตามแบบแสดงรายการ:

    ขอคืนภายใน  3 ปี นับแต่

·  วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี (กรณียื่นรายการภายในกำหนด)

·  วันที่ได้ยื่นรายการ (กรณียื่นรายการพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือได้ยื่นรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดี

มาตรา 27 ตรี

 

 

ขยายหรือเลื่อนออกไป)

·  วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ

วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด

 

 

7.หน้าที่อื่นในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล (Other CIT Functions)

7.1 การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

·    เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี

          การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

·    ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท

มาตรา 3 เอกาทศ

 

 

 

 

 

 

มาตรา 3 ทวาทศ

 

 

 

 

-  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง    กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และ

ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร

 

 

7.2 การจัดทำบัญชีพิเศษ และการแจ้งข้อความตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

·    การยื่นรายการ ให้ยื่นภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยภาษีอากรต่าง ๆ และตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด

           ถ้าอธิบดีต้องการรายงานประจำปี หรือบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ ประกอบแบบแสดงรายการใด ก็ให้สั่งเรียกได้ กับให้อธิบดีมีอำนาจสั่งผู้ต้องเสียภาษีอากรให้มีสมุดบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการในสมุดบัญชีนั้นได้ เพื่อสะดวกแก่การคำนวณเงินภาษีอากรที่ต้องเสียตามลักษณะนี้ เมื่ออธิบดีมีคำสั่งตามที่ว่ามานี้ ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรต้องปฏิบัติตาม

          เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

1) ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลเป็นการทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2) ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรจัดทำบัญชีงบดุล หรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใด ๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด

 

 

มาตรา 17

 

 

 

 

 

 

 

 

มาตรา 17 (1)

 

 

มาตรา 17 (2)

 

 

 

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ

-  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนมีบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร

-  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดให้ผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์มีบัญชีพิเศษ

-  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่องกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีมีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2546

-  ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 61) แจ้งข้อความเกี่ยวกับเงินได้ของบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผล

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 126) ให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

 

7.3 หน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งบัญชีรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ

มาตรา68 ทวิ  มาตรา69 และ มาตรา17

 

 

7.4 หน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ เช่น การแปลเอกสาร การให้ความร่วมมือตอบข้อซักถาม เป็นต้น

มาตรา 3

มาตรา 19 และมาตรา 23

 

8.การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีเงินได้

   นิติบุคคล (CIT Settlement)

8.1 การอุทธรณ์ให้ใช้แบบ ภ.ส.6

มาตรา 28

 

 

 

8.2 กำหนดเวลาอุทธรณ์

    (1) การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตา 30 ภายใน 30  วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน

    (2) อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

มาตรา 30

 

 

8.3 การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ยังคงเร่งรัดมาตรา 12 ได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี

มาตรา 31

 

 

8.4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน เรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานมาแสดง แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันส่งหมาย

 

มาตรา 32

 

 

8.5 ผู้อุทธรณ์หมดสิทธิ์อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งตามมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

 

มาตรา 33

 

 

8.6 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์

มาตรา 34

 

 

9.บทกำหนดโทษทางภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT Punishment)

·    ระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

    - กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ,ไม่ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้เพื่อการตรวจสอบการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

·    ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท        

      - กรณีทำลาย ย้าย ซ่อนเร้น หรือ โอนทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปให้แก่บุคคลอื่น

·    ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ        

     - ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก

·    ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท

     - หลีกเลี่ยงภาษีโดยแจ้งความเท็จ ฉ้อโกง หรือ อุบาย

·    ระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ       

    - กรณีไม่ยื่นรายการโดยเจตนา

มาตรา 35

 

 

 

มาตรา 35 ทวิ

 

 

มาตรา 36

 

 

มาตรา 37

 

 

มาตรา 37 ทวิ