1. หลักการของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(PIT Principle)
|
1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีทางตรง
· ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นผู้รับภาระภาษีไว้เอง ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่นได้
· ผู้มีเงินได้ที่หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ให้นำหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมาใช้โดยอนุโลม เป็นผลให้ผู้มีเงินได้ไม่สามารถถือค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณเงินได้สุทธิได้
|
- มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 45
มาตรา 46
- ประกอบ ม.65 ตรี (6) ห้ามนำ
ภาษีเงินได้เป็นรายจ่าย
|
ค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักตาม
มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 8ทวิ แห่ง
พรฎ. (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ประกอบ มาตรา 65 ตรี (6)
|
|
1.2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีอากรประเมิน
(1) การประเมินตนเอง หมายถึง ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องประเมินความถูกต้องและครบถ้วนในการยื่นแบบแสดงรายการและการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรตามที่กฎหมายกำหนด
(2) เจ้าพนักงานประเมิน หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 ให้ดำเนินการประเมินความถูกต้องทั้งในจำนวนภาษี และหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
|
ม.38 ประกอบ ม.14
ซึ่งตาม ม.15 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2
“วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน”
ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 37 ทวิ มาใช้บังคับ
|
|
|
1.3 เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บจาก“เงินได้พึงประเมิน” เป็นรายปีภาษีที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีที่มีเงินได้ ประกอบด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน รวมถึง เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
|
มาตรา 39
" ปีภาษี " หมายความว่า " ปีประดิทิน "
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2484
|
|
|
1.4 หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
· หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)
หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
(1) หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
(2) กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
(3) กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
(4) ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
· หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule)
หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
(1) หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
(2) กิจการที่ทำในต่างประเทศหรือ
(3) ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
และเข้าเงื่อนไข ครบทั้ง 2 ข้อ คือ
(1) ผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย
|
มาตรา 41 ประกอบมาตรา 40
มาตรา 41วรรคแรก
ตามมาตรา 41 วรรคสองและสาม
|
|
|
1.5 จัดเก็บตามหลักความสามารถในการเสียภาษี (Ability to Pay) โดยจัดเก็บเป็นอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate)
- กรณีบริษัทมีการจ่ายเงินปันผล
กำไร 100xRate30% èจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม 70% x Rate 10%
รวมภาษีที่ต้องชำระ 30% + 7% = 37%
เท่ากับ Rate สูงสุดของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- การที่บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้ใน Rate 5% ถือว่าเป็นการเก็บภาษีตามหลักความสามารถ ถ้าส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้ถึง Rate 37 %
|
มาตรา 48 (1)
ประกอบกับบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (1)
|
|
|
1.6 จัดเก็บจากความมั่งคั่ง (Wealth)
สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ให้เสียในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน
|
มาตรา 48 (2)
|
|
|
1.7 จัดเก็บจากหน่วยภาษีที่ย่อยหรือเล็กที่สุด
หมายถึง เมื่อได้จัดเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดาหรือหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 41 อันถือได้ว่าเป็นหน่วยภาษีที่เล็กที่สุดษีแล้ว ดังนั้น หากมีการแบ่งเงินหรือกกำไรหลังจากที่ได้เสียภาษีแล้ว ผู้รับก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก
|
มาตรา 42 (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
มาตรา 42 (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
มาตรา 42 (16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ
|
|
|
1.8 หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บ
(1) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
(2) กรมที่ดิน สำหรับภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10
|
มาตรา 4 รัฐมนตรีว่าการระทรวงการคลัง
มาตรา 5 กรมสรรพากร
มาตรา 52 กรมที่ดิน ประกอบ มาตรา 69 ตรี
|
|
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(PIT Payers)
|
ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษี ประกอบด้วย2.1 บุคคลธรรมดา
(1) ผู้ใดเป็นผู้มีเงินได้ ผู้นั้นเป็นผู้ยื่นรายการ
|
มาตรา 41
|
|
|
· กรณีมีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ประเภทเดียว
- ไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท
- มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย ต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 100,000 บาท
· กรณีมีเงินได้ประเภทอื่นรวมกับเงินได้ตามมาตรา 40
- ไม่มีคู่สมรส ต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
- มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย ต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
|
มาตรา 56 วรรคแรก
|
|
|
(2) กรณีความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างยื่นรายการตาม (1)
|
มาตรา 56 วรรคแรก
|
|
|
(3) กรณีความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษีและมีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นรายการตาม (1)
|
มาตรา 56 วรรคแรก
|
|
|
(4) กรณีผู้มีเงินได้มีคู่สมรส ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี
|
มาตรา 57 ตรี และ
|
|
|
ภริยาจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) โดย มิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี ก็ได้
|
มาตรา 57 เบญจ
|
|
|
(5) กรณีผู้มีเงินได้ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีได้โดยตนเอง ต้องมีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้มีเงินได้ได้แก่
· ผู้เยาว์ โดยผู้แทนโดยชอบธรรม
· ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยผู้อนุบาล
· ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยผู้พิทักษ์
· ผู้อยู่ในต่างประเทศ โดยผู้จัดการอันก่อให้เกิดเงินได้
· ผู้ที่ตั้งตัวแทนจัดการทรัพย์สิน โดยตัวแทน
|
มาตรา 57
และ มาตรา 62
|
|
|
2.2 ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
|
|
|
|
ให้ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีแทนผู้มีเงินได้ในกรณีต่อไปนี้
|
มาตรา 57 ทวิ วรรคแรก
|
|
|
2.3 กองมรดกที่ยังไม่แบ่งมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
|
|
|
|
ปีถัดจากที่เจ้ามรดกตาย ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่ง ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ยื่นรายการและเสียภาษีในชื่อกองมรดกของผู้ตาย
|
มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง
|
|
|
2.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
|
|
|
|
ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการและเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลนั้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก
|
มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 6
|
|
|
2.5 ผู้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
|
|
|
|
ผู้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา ตัวการ ตัวแทน นายจ้างหรือลูกจ้างโดยมิใช่เพื่อขาย ให้ ถือว่า การที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นเงินได้พึงประเมินในปีที่ส่งไปนั้น
ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ ผู้ส่งเข้าในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร
|
มาตรา 40 ทวิ
|
|
|
2.6 กรณีโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้บุคคลอื่นโดยไม่มีค่าตอบแทน
ถือว่าผู้โอนเป็นผู้มีเงินได้
|
มาตรา 41 ทวิ
|
|
|
2.7 กรณีผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญใด และหนังสือสำคัญนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีจากผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้ (หลักรูปแบบสำคัญกว่าเนื้อหา)
|
มาตรา 61
|
|
3. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Computation)
- ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Base)
(1) เงินได้สุทธิ
(2) เงินได้พึงประเมิน
|
· กรณี 1 คำนวณจากเงินได้สุทธิ
(1) เงินได้พึงประเมิน
รูปแบบของเงินได้พึงประเมิน (ตามมาตรา 39) ประกอบ
o เงินสด เหรียญกษาปณ์ หรือ ตราสารที่มีค่าใช้แทนเงิน เช่น ธนาณัติ เช็ค ตั๋วเงิน การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร เป็นต้น
o ทรัพย์สินที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
o ประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น การได้อยู่บ้านพัก เบี้ยเลี้ยงเดินทาง เป็นต้น
o ประโยชน์ที่ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าได้รับเงินได้ ได้แก่
¨ เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
¨ ค่าภาษีอากรที่ผู้อื่นออกให้
- ออกให้ในปีภาษีใดให้ถือเป็นเงินได้ปีภาษีนั้น
ตามมาตรา 40 วรรคท้าย
หลักการเกิดขึ้นของเงินได้พึงประเมิน (ตามมาตรา 41)
o เงินได้พึงประเมินต้องเกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ หรือกิจการที่ทำ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน จึงจะรับรู้เป็นเงินได้พึงประเมิน
o เงินได้พึงประเมินที่ได้รับนั้น ไม่ว่าผู้มีเงินได้จะได้รับมาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือโดยผิดกฎหมายก็ตาม ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากเงินได้ดังกล่าวเสมอ เช่น เงินได้จากการขายสินค้าที่ปลอม เงินได้จากการค้า ยาเสพติด เงินได้จากการเล่นการพนันที่ผิดกฎหมาย หรือ เงินได้จากการกระทำผิดกฎหมายใดๆ เป็นต้น
|
มาตรา 48 (1)
มาตรา 39 มาตรา 41
มาตรา 40 (1) (2)
มาตรา 40 (3)
มาตรา 40 (4)
|
- คำวินิจฉัยฯ ที่ 37/2551 เครดิตภาษีเงินปันผลกิจการปิโตรเลียม
- ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องขยายเวลาชำระภาษีสำหรับ ผู้ที่ต้องออกจากราชการโดยไม่มีความผิด
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528 เงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้อื่นออกแทนให้
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 23/2533 มูลค่าของการอยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 56/2538 Sport Club
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 119/2545 เครดิตเงินปันผล
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 122/2545 รายจ่ายเพื่อการศึกษาและฝึกอบรมลูกจ้าง
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545 ตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 120/2545 ถ่ายทำหนังต่างประเทศในประเทศไทย
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 124/2546 ชิปปิ้ง
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ข้อ 2(30) ผลต่างราคาไถ่ถอนกับราคาซื้อตั๋วเงิน
- คำวินิจฉัยฯ ที่ 30/2538 ผลต่าราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ข้อ 2(23) ขายหุ้นในตลาด
|
|
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
|
เงินได้เนื่องจาก
|
(1)
|
เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
|
หน้าที่งาน
|
(2)
|
เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้
|
หน้าที่งาน
|
(3)
|
ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์
|
ทรัพย์สิน
|
(4)
|
เงินได้ประเภทดอกเบี้ย และ
เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร
|
ทรัพย์สิน
|
(5)
|
เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินและสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
|
กิจการที่ทำ
|
(6)
|
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
|
กิจการที่ทำ
|
(7)
|
เงินได้จากการรับเหมา
|
กิจการที่ทำ
|
(8)
|
เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7)
|
กิจการที่ทำ
|
|
มาตรา 40 (5)
มาตรา 40 (6)
มาตรา 40 (7)
มาตรา 40 (8)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 11) ม.5 (1) (ก)-(จ) การให้เช่าทรัพย์สิน
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 1/2526 การคำนวณค่าโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 90/2542 ข้อ1 สาระสำคัญของการเช่า-ส่งมอบการครอบครอง
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 102/2544 นักแสดงสาธารณะ
|
|
(2) หัก เงินได้ที่ได้รับยกเว้นบางส่วน
|
มาตรา 42 (17)
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(35) เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในอัตราไม่เกินร้อยละ15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่เกินสี่แสนเก้าหมื่นบาท
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(43) เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ ไม่เกินห้าแสนบาท
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(51) ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกินสามแสนบาท
|
|
|
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(54) เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(55) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (RMF) ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ ไม่เกินห้าแสนบาท
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (66) เ งินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (LTF) ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(72) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาท
|
|
(3) หัก ค่าใช้จ่าย
- เป็นการเหมา (ตามอัตรา % ของเงินได้)
- ตามความจำเป็นและสมควร
(ค่าใช้จ่ายจริง = เกณฑ์สิทธิ มาตรา 65 ทวิ ดู พรฎ.(ฉบับที่ 11))
|
มาตรา 42ทวิ
มาตรา 42ตรี
มาตรา 43-44-45-46
มาตรา 48 (4)
|
- พรฎ.(ฉบับที่ 11) ม.5-6-7-8-8ทวิ
- ประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)
เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน
- ฎีกาที่ 6220/2549 การเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของภริยาที่มี 40(1)(2)
|
|
· เงินได้พึงประเมินประเภทที่กำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้เพียงอย่างเดียว
|
มาตรา 40(1) และ (2)
|
40% ของเงินได้พึงประเมิน แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท
|
มาตรา 40(3)
เฉพาะค่าลิขสิทธิ์
|
40% ของเงินได้พึงประเมิน แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท
|
มาตรา 40(5)
เฉพาะเงินได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินหรือเงินได้จากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
|
20% ของเงินได้พึงประเมิน
|
|
|
|
|
· เงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ
|
มาตรา 40(3) เฉพาะที่มิใช่ค่าลิขสิทธิ์
|
มาตรา 40(4) ทุกกรณี
|
มาตรา 40(8) เฉพาะประเภทที่ไม่มีบทบัญญัติให้หักค่าใช้จ่าย
|
|
|
|
|
· เงินได้พึงประเมินประเภทที่ให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ โดยจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือจะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรก็ได้
|
มาตรา 40(5) เฉพาะกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า
- บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ
- ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม
- ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม
- ยานพาหนะ
- ทรัพย์สินอย่างอื่น
|
30%
20%
15%
30%
10%
|
มาตรา 40(6)
- การประกอบโรคศิลปะ
-วิชาชีพอิสระนอกจากการประกอบโรคศิลปะ
|
60%
30%
|
มาตรา 40(7)
|
70%
|
มาตรา 40(8) จำนวน 43 รายการ
|
ดู ม.8 แห่ง พรฎ.
(ฉบับที่ 11)
|
|
|
|
|
· เงินได้พึงประเมินประเภทที่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้เพียงอย่างเดียว
|
มาตรา 40(8) เฉพาะไม่มีบทบัญญัติให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร
|
|
|
|
|
(4) หัก ค่าลดหย่อนอื่นๆ และการยกเว้นเงินได้ที่มีผลเสมือนเป็น
ค่าลดหย่อน
|
มาตรา 47
|
|
|
- ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
|
มาตรา 47(1)(ก)
|
|
|
- สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
|
มาตรา 47(1)(ข)
|
|
|
- บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
คนละ 15,000 บาท
|
มาตรา 47(1)(ค)
|
|
|
- ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร คนละ 2,000 บาท
|
มาตรา 47(1)(ฉ)
|
|
|
- เบี้ยประกันชีวิต ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป และได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
|
มาตรา 47(1)(ง)
|
กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (61) เบี้ยชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไปและการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
|
|
- เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
|
มาตรา 47(1)(ช)
|
กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(35) เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในอัตราไม่เกินร้อยละ15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ไม่เกินสี่แสนเก้าหมื่นบาท
|
|
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน10,000 บาท อาคารดังกล่าวให้หมายความรวมถึงอาคารพร้อมที่ดินด้วย
|
มาตรา 47(1)(ซ)
|
กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2(53) เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ตามจำนวนที่จ่ายจริงในส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท
|
|
- เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง
|
มาตรา 47(1)(ฌ)
|
|
|
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละสามหมื่นบาทโดยบุคคลดังกล่าวต้องมีอายุหกสิบปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ (รายได้เพียงพอแก่การยังชีพ = เงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาทขึ้นไป) และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้
|
มาตรา 47(1)(ญ)
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) )
|
|
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (คนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพ) คนละหกหมื่นบาท
|
มาตรา 47(1)(ฎ)
|
|
|
(5) หัก การยกเว้นค่าบริจาคสนับสนุนการศึกษา: จ่าย 1 ได้ 2
|
|
- พรฎ.(ฉบับที่ 420)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
|
|
(6) หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
|
มาตรา 47 (7) (ข)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 274)
- ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วย PIT และ VAT
- (ฉบับที่ 2)
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (68) เงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1)(2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เท่าจำนวนเงินที่ได้บริจาคเพื่อการกีฬา ให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการกีฬา คณะกรรมการกีฬาจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมกีฬาในจังหวัด สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน หรือสมาคมกีฬาสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47(7) ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลด หย่อนดังกล่าว
|
|
(7) เงินได้สุทธิ
(8) หัก ยกเว้นเงินได้สุทธิ (150,000 บาทแรก)
(9) เงินได้สุทธิที่เป็นฐานในการคำนวณภาษี
|
มาตรา 3 (1)
|
- พรฎ.(ฉบับที่ 470)
|
- อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Rate)
|
· เงินได้สุทธิ x Rate อัตราก้าวหน้า
ช่วงเงินได้
|
อัตราภาษี
|
1-150,000
|
ยกเว้น
|
150,001-500,001
|
10%
|
500,001- 1,000,000
|
20%
|
1,000,001- 4,000,000
|
30%
|
เกินกว่า 4,000,000 บาท
|
37%
|
|
มาตรา 48 (1)
|
- พรฎ.(ฉบับที่ 470) ยกเว้นเงินได้ตามมาตรา 48 (1) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
- หมายเหตุ เฉพาะ มาตรา 48 (1) เท่านั้น ที่ได้สิทธิตาม พรฎ.(ฉบับที่ 470) เพราะต้องคำนวณผ่านการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
è มาตรา 48 (4) อสังหาริมทรัพย์ มาตรา 48 (5) เงินได้เพราะเหตุออกจากงาน จึงไม่ได้สิทธิตาม พรฎ.(ฉบับที่ 470) เพราะไม่ได้คำนวณผ่านการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
|
|
· กรณี 2 คำนวณจากเงินได้พึงประเมิน ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) - (8) ที่มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป x 0.5%
(ยกเว้นให้เฉพาะผู้ที่เสียภาษีไม่เกินห้าพันบาทในปีภาษีนั้น
ตั้งแต่ปีภาษี 2552 เป็นต้นไป)
|
มาตรา 48 (2)
|
- พรฎ.(ฉบับที่ 480) ยกเว้นภาษีเงินได้ที่ต้องเสียตามมาตรา 48(2) ที่ต้องเสียไม่เกินห้าพันบาทในปีภาษีนั้น
- พรฎ.(ฉบับที่ 492) เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 164) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้ของเขตพัฒนาพิเศษฯ
|
- จำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Amount)
|
ให้เปรียบเทียบจำนวนตามมาตรา 48 (1) และ (2) และชำระตามจำนวนที่มากกว่า
|
|
- พรฎ (ฉบับที่ 10) ม.5 ยกเว้นเศษของบาท
|
|
· กรณี 3 คำนวณภาษีเงินได้กรณีขาย อสังหาริมทรัพย์
(1) อันเป็นมรดก หรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา อันเป็นมรดกหรือไม่มุ่งค้า
หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 50 ของเงินได้
(2) ที่ได้มาโดยทางอื่นนอกจาก (1) หักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง
ปีที่ถือครอง
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8 ขึ้นไป
|
%
|
92
|
84
|
77
|
71
|
65
|
60
|
55
|
50
|
|
มาตรา 48 (4)
|
- พรฎ (ฉบับที่ 165) ให้หักค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ถือครอง
- พรฎ (ฉบับที่ 376) เลือกเสียภาษีตาม มาตรา 48 (1)(2)
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.61/2539 การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาฯ
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.100/2543 การเสีย PIT และ SD กรณีขาย โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ
|
|
· กรณี 4 คำนวณภาษีเงินได้กรณีออกจากงาน
|
มาตรา 48 (5)
|
- ประกาศอธิบดีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
|
4. วิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
4.1 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย (Withholding Tax: WT)
|
|
|
(PIT Payment)
|
(1) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย
|
มาตรา 50 และมาตรา 3 เตรส
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522) การหักภาษี ณ ที่จ่ายตาม มาตรา 3 เตรส
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 16/2530 การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ้างงานระหว่างปี
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 กรณีจ่ายเงินได้ ตามมาตรา 40(1)
|
|
(2) หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
· กรณีตาม มาตรา 3 เตรส ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
· กรณีตามมาตรา 50(1) ให้ออกภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดจากปีภาษี หรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายออกจากงานในระหว่างปีภาษี
· กรณีตามมาตรา 50(2) (3) หรือ (4) ให้ออกในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
|
มาตรา 50 ทวิ
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 62 ) เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
|
|
(3) เจ้าพนักงานประเมินส่งหนังสือแจ้งความให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้พึงประเมินหรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่อง เพื่อตรวจสอบการ WT และ ผู้ได้รับหนังสือแจ้งความต้องปฏิบัติตามภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งความ
|
มาตรา 51
|
|
|
(4) การนำส่ง WT พร้อมทั้งยื่นรายการ (ภ.ง.ด. 1 ภ.ง.ด.2 และ ภ.ง.ด.3) ภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
|
มาตรา 52 และมาตรา 59
|
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่ง WT
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 28) แบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 106) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบ แสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา
|
|
|
|
- ประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 111) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบ แสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2)
|
|
(5) การนำส่ง WT โดยการเบิกหักผลักส่งไว้ในฎีกา
|
มาตรา 53
|
|
|
(6) ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป
|
มาตรา 54 (ดูมาตรา 27)
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 91/2542 ความรับผิดเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70
- กค 0811/14663 ลว. 24 ตุลาคม 2540
- กค 0811/00527 ลว. 20 มกราคม 2542
|
|
(7) การหักภาษี ณ ที่จ่ายไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิที่เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกเก็บโดยวิธีอื่น
|
มาตรา 55
|
|
|
(8) การยื่นรายการสรุปการจ่ายเงินได้พึงประเมินและหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ยื่น ภ.ง.ด.1 ก ภายในเดือนกุมภาพันธ์
ยื่น ภ.ง.ด.2 ก ภายในเดือนมกราคม
(ยื่น ภ.ง.ด.3 ก ภายในเดือนมกราคม เฉพาะผู้จ่ายเงินได้ที่เป็น
ภาคราชการ)
|
มาตรา 58
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 19) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแสดงรายการหรือแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 61) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2)
|
|
(9) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ได้หัก และนำส่งไว้แล้ว ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษี
|
มาตรา 60
|
|
|
(10) การขอคืน WT ทั้งกรณี WT ตามมาตรา 50 และ 3 เตรส ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป
|
มาตรา 63
|
|
|
4.2 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยยื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment)
|
มาตรา 17 ประกอบมาตรา 38
|
|
|
(1) การยื่นรายการภาษีเงินได้ล่วงหน้า (ภ.ง.ด.93)
ได้แก่ ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถ้ามีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป
|
มาตรา 52 ทวิ
|
- ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 เรื่อง ผู้มีเงินได้ จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการให้ครบถ้วน
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 1/2526 เรื่องการคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์ เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก)
|
|
(2) การยื่นรายการภาษีเงินได้ครึ่งปีภาษี (ภ.ง.ด.94) ภายในเดือนกันยายนของทุกปี
ได้แก่ ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) หรือ (8) ไม่ว่าจะมี
เงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน
|
มาตรา 56 ทวิ
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 108 ) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
|
(3) การยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปี ภายในเดือนมีนาคมของทุก ปี
· ภ.ง.ด.90 ผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้หลายประเภท หรือผู้มีเงินได้ประเภทเดียวแต่มิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)
· ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1)
· ภ.ง.ด.92 สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) ที่ยื่นแบบแสดงรายการด้วยข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
· ภ.ง.ด.95 สำหรับคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
|
มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ มาตรา 57 ตรี มาตรา 57 เบญจ
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 405) กรณี ภ.ง.ด.95
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการตัวแทน ประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 28) เรื่องกำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 104) เรื่อง กำหนดการยื่นแบบแสดง รายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 24/2536 กรณีภาษี เงินได้ของสำนักงานหรือหน่วยงานกองทุนที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นโดยกระทรวง ทบวง กรม
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 108 ) เรื่องกำหนดการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 วันที่ 12 กันยายน 2545 กรณีสามีภริยาอยู่ร่วมตลอดปีภาษีประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ตรีกำหนดให้เงินได้ของภริยาเป็นของสามี สามีมีหน้าที่ยื่นรายการและ กรณีภริยามีเงินได้ 40(1) มาตรา 57 เบญจ ให้ภริยาสามารถแยกยื่นเสียภาษีต่างหากได้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 80
|
|
4.3 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ (Authoritative Assessment)
|
|
|
|
(1) อำนาจประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
|
มาตรา 18 ทวิ และมาตรา 60 ทวิ
|
|
|
(2) อำนาจประเมินความถูกต้องของภาษีที่ได้ยื่นรายการ
|
มาตรา 18
|
|
|
(3) อำนาจในการออกหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้ยื่นรายการภาษีเงินได้ ภายใน 2 ปีเว้นแต่มีเหตุให้ขยายเวลาการออกหมายเกินได้แต่ไม่เกิน 5 ปี
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามหลักฐานที่ปรากฏ
- ผู้ต้องเสียภาษีให้ความร่วมมือด้วยดี
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง
- ผู้ต้องเสียภาษีไม่ให้ความร่วมมือ
· กรณียื่นแบบแสดงรายการ เบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ขาด
|
มาตรา 19
ดูมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 ประกอบ
มาตรา 20
มาตรา 21
มาตรา 22 ประกอบ มาตรา 27 ทวิ
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ
|
|
(4) อำนาจในการออกหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการภาษีเงินได้ ภายใน 10 ปี
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามความที่ทราบ
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง
· กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ เบี้ยปรับ 2 เท่า ของภาษีที่ ต้องเสีย
|
มาตรา 23
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
มาตรา 24
มาตรา 25
มาตรา 26 ประกอบ มาตรา 27 ทวิ
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ
|
|
(5) อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนด “เงินได้สุทธิ” โดยพิจารณาจาก
·เงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้
·รายจ่ายของผู้มีเงินได้
·ฐานะความเป็นอยู่
·พฤติการณ์ของผู้มีเงินได้
· สถิติเงินได้ของผู้มีเงินได้เอง หรือของผู้อื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกับของผู้มีเงินได้
|
มาตรา 49
|
|
|
(6) อำนาจในการประเมินเบี้ยปรับ
· กรณี 1 เท่า
ในการประเมินตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
|
มาตรา 22
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 92/2542 เรื่อง การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
|
|
· กรณี 2 เท่า
เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้ ในการประเมิน ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25 ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
|
มาตรา 26
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 92/2542 เรื่อง การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26
มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง การชำระภาษี
เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
|
|
(7) อำนาจในการประเมิน เงินเพิ่ม
· ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
|
มาตรา 27
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง การชำระภาษี
เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 117/2545 เรื่อง การนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 27 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 มาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่ง หรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ
|
|
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม เป็นเงินภาษี (เพื่อการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้าง) อำนาจการลดเบี้ยปรับ ดู ท.ป. 81/2542
|
มาตรา 27 ทวิ
|
- ทป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ
|
|
(8) กำหนดเวลาในการชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน ภายใน 30 วันนับแต่วันทีได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
|
มาตรา 18 ตรี
|
|
|
(9) อำนาจตรวจสอบการขอคืนภาษีอากร
|
มาตรา 27 จัตวา
|
|
|
4.4 การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทนผู้ค้าบุหรี่ โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
|
มาตรา 48 ทวิ
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 134 ให้โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เสียแทนผู้ขายทุกทอด
|
|
4.5 การเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Final Tax)
|
|
|
|
(1) เงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ก) และ (ช)
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจัดเก็บร้อยละ 15 สำหรับ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศ ประเภทเงินฝากประจำ
|
มาตรา 48 (3)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 290) มาตรา 3 ลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(3)(ก) และมาตรา 50(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ประเภทเงินฝากประจำ
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยที่ 21 ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไรของบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ตั้งตามกฎหมายไทยไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
|
|
(2) เงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ข)
- ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจัดเก็บร้อยละ 10 สำหรับ เงินปันผล
|
|
|
|
(3) เงินได้ตามมาตรา 40 (8) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไร
- การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามจำนวนปีที่ถือครอง กรณีขาย อสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่จะพิสูจน์ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น
|
มาตรา 48 (4)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 165) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 48 (4)(ข) และมาตรา 50 (5)(ข)
|
|
(4) เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน (ใบแนบ ภ.ง.ด.90 และ 91)
|
มาตรา 48 (5)
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณ์ วิธีการและเงื่อนไขการคำนวณภาษีเงินได้ 40(1)และ(2) ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48 (5) และ มาตรา 50 (1)
|
|
(5) กรณีภริยาแยกคำนวณและเสียภาษีต่างหากจากสามี เฉพาะกรณีเงินได้ตามมาตรา 40 (1)
|
มาตรา 57 เบญจ
|
|
|
(6) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมฯ ที่ยอมให้ WT 10%
|
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 262) มาตรา 3 ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) ในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
|
|
(7) รางวัลสลากการกุศลงวดพิเศษ ที่ยอมให้ WT 1%
|
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 10) มาตรา 5 จตุทศ สำหรับเงินรางวัลสลากการกุศลงวดพิเศษซึ่งยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ของรางวัล โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
|
|
(8) พนักงานชาวต่างประเทศของ ROH ที่ยอมให้ WT 15% และทำงานเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่เกิน 4 ปี ไม่ว่าในระหว่างนั้นจะได้เดินทางออกจากประเทศไทยเป็นครั้งคราวหรือไม่ก็ตาม
|
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 405) มาตรา 5 ให้คนต่างด้าวซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมิน เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้น มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่คนต่างด้าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
|
5.การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Exemption)
|
5.1 การตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อลดอัตราหรือยกเว้น
|
มาตรา 3
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 10)
- พรฎ. (ฉบับที่ 18) DTA
- พรฎ. (ฉบับที่ 40) เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนจากสหกรณ์
- พรฎ. (ฉบับที่ 10) มาตรา 5
เศษของบาทจากการคำนวณ ภาษี
|
|
5.2 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
|
|
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (1)
|
(1) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด
|
มาตรา 42 (12)
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง 126 ข้อ 2
(64) บำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(73) เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสินได้รับ
(79) เงินได้ที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยได้รับ
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2)
ประเภทสวัสดิการ
|
(2) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะ ในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
|
มาตรา 42 (1)
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.59/2538
ข้อ 1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ลูกจ้างหรือผู้มีหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศเป็นครั้งคราว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเข้าลักษณะดังนี้
(1) ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
(2) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าว เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น โดยไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์
(3) ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงตาม (2) และบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็น
|
|
|
|
ค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เพียงเฉพาะในส่วนที่ไม่เกินอัตราตาม (2)
ข้อ 2 การเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วแต่กรณีด้วย
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545
ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะซึ่งนักแสดง ภาพยนตร์ต่างประเทศได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น นักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศย่อมได้รับยกเว้นภาษี เงินได้สำหรับค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะดังกล่าวตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
(3) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
|
มาตรา 42 (2)
|
|
|
(4) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
|
มาตรา 42 (3)
|
|
|
(5) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่า นายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
|
มาตรา 42 (4)
|
|
|
(6) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
|
มาตรา 42 (5)
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง 126 ข้อ 2
(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ
(ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
(ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
|
|
|
|
(9) เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดารหรือเงินยังชีพ ที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ ผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
|
|
|
|
(34) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างใน จำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี
“เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก
“เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ
|
|
|
|
(6) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้านหรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตรเงินค่าเบี้ยกันดาร เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา
|
|
|
|
(8) เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เท่าที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (2)
|
(7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
|
มาตรา 42 (7)
|
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ก)
|
(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้
(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก
(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
|
มาตรา 42 (8)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 301)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(1) ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศ
(2) ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ในประเทศ
ดอกเบี้ยเงินฝากตามวรรคหนึ่งต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากัน แต่ไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกแสนบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 55)
ข้อ 2 “ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ที่ไม่ใช้เช็คในการถอนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านระบบการหักหรือโอนเงินจากบัญชีดังกล่าวไปยังบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากอื่นใด และมีจำนวนดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น”
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 64)
ข้อ 1 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้ต้องเปิดบัญชีเงินฝากขึ้นใหม่โดยเฉพาะแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และต้องมีบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้เพียงบัญชีเดียว
ข้อ 2 การฝากเงินดังกล่าวจะต้องเป็นการฝากภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน จะขาดการฝาก หรือฝากไม่ครบตามวงเงินที่กำหนด หรือฝากล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดทุกกรณีรวมกันเกินสองเดือนไม่ได้
|
|
(9) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ
|
มาตรา 42 (19)
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 161
ดอกเบี้ยที่จะให้แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรให้คิดดังต่อไปนี้
(1) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่
(ก) วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ ถ้าผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย หรือ
(ข) วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ถ้าผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ไม่ว่าจะชำระพร้อมกับการยื่นหรือไม่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร
“(3) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินหรือตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระสำหรับสินค้าที่นำเข้าในราชอาณาจักร ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันชำระภาษีอากร
การคิดดอกเบี้ยตามวรรคหนึ่ง ให้คิดจนถึงวันที่ลงในหนังสือแจ้งคำสั่งในเงินแต่สำหรับการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมศุลกากรเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร ให้คิดจนถึงวันที่อนุมัติให้คืน
|
|
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ท.ป.64/2539
มอบอำนาจให้สรรพากรพื้นที่ สรรพากรจังหวัด และสรรพากรจังหวัด(สาขา)สั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ตามมาตรา 4 ทศ
|
|
|
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(21) เงินได้ดังต่อไปนี้
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตรหรือดอกเบี้ยหุ้นกู้
(ข) ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน
(ค) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ทั้งนี้ เฉพาะพันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และผู้มีเงินได้นั้นมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
|
|
|
|
(22) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
|
|
|
|
(38) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินสองหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น
|
|
|
|
(69) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลา การฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้น ไม่เกินสามหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
|
|
|
|
(46) ดอกเบี้ยพันธบัตรออมสิน รุ่นพันธบัตรเงินฝากช่วยชาติ
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ข)
|
|
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(37) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจะต้องมิได้ประกอบกิจการอื่นนอกจาก กิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ช)
|
(10) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
|
มาตรา 42 (23)
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(32) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
|
เงินได้ตามมาตรา 40 (8)
|
(11) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล
|
มาตรา 42 (6)
|
|
|
(12) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ
|
มาตรา 42 (9)
|
|
|
(13) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
|
มาตรา 42 (10)
|
|
|
(14) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกระทำความผิด
|
มาตรา 42 (11)
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(2) เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล
(10) รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษีอากร
|
|
|
|
(15) เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงการคลังได้อนุญาตให้เบิกจ่ายได้
(27) เงินได้สำหรับรางวัลสลากการกุศลสร้างตึกสยามมินทร์ ซึ่งออกเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2531 และเงินได้จากการขายหรือส่วนลดจากการซื้อสลากการกุศลสร้างตึกสยามมินทร์
(48) รางวัลบัตรออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
|
|
(15) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์
|
มาตรา 42 (13)
|
|
|
(16) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
|
มาตรา 42 (14)
|
|
|
(17) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง
|
มาตรา 42 (15)
|
|
|
(18) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ
|
มาตรา 42 (16)
|
|
|
(19) รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย
|
มาตรา 42 (18)
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(60) ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้ สำหรับสลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป
|
|
(20) เงินได้ของกองทุนรวม
|
มาตรา 42 (24)
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545
กรณีบุคคลธรรมดาได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 ซึ่งเงินได้ของกองทุนรวมดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(24) ผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรไม่ได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากผู้ได้รับเงินส่วนแบ่งของกำไรเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ ก็ไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) และ (2)
|
กรณีจากการขาย
|
|
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(67) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มี เงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีปฏิทิน แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยก เว้นภาษีเงินได้ ตาม (66)
|
|
|
|
(65) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
|
|
|
|
(1) เงินได้จากกิจการของโรงเรียนราษฎร์ซึ่งได้ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทำของหรือการให้บริการอื่นใดที่โรงเรียนราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน
|
|
|
|
(23) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร
|
|
|
|
(19) เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอดตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
|
|
(63) เงินได้จากการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทย เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้าเกษตร
|
|
|
|
(75) เงินได้จากการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งกระทำในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เฉพาะกรณีที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป”
|
|
|
|
(78) เงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
|
กรณีการขายหรือโอนอสังหาริมทรัพย์
|
|
|
(17) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น
|
|
|
|
(18) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมด้วย
|
|
|
|
(26) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา
|
|
|
|
(28) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
|
|
|
|
(29) เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน
|
|
|
|
(49) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ทำให้วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิดมีที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่
|
|
|
|
(71) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่สภากาชาดไทย
|
กรณีควบเข้ากัน
|
|
|
(42) ผลประโยชน์ที่ได้จากการควบเข้ากันของธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และหรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
|
|
(50) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือ บริษัทจำกัด ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
|
เงินได้ตามมาตรา
40 (1) - (8)
|
(21) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
|
มาตรา 42 (24)
|
อาศัยอำนาจตามมาตรา 42 (17)
ออกกฎกระทรวง 126 ข้อ 2
(76) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัท ประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มี เงินได้ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ
|
|
|
|
(74) เงินได้ที่คณะกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยได้รับเพื่อ ประโยชน์ของโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547เป็นต้นไป
|
เงินได้ที่ได้ยกเว้นตามกฎกระทรวง
|
(22) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง
|
มาตรา 42 (17)
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 126
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 201
กำหนดให้เงินค่าตอบแทนที่ได้รับจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17)
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 219
กำหนดให้เงินค่าตอบแทนที่ได้รับเนื่องมาจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ในโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 42(17)
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 241
ยกเว้นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
(ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน
(ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
|
|
|
|
เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้มีเงินได้ใช้เป็น ที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น
การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือ นับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้มีเงินได้ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ ทั้งนี้ ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 254
กำหนดให้เงินได้ดังต่อไปนี้เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
(1) เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล ตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาล พ.ศ. 2547
(2) เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามมาตรการของรัฐบาลในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ พ.ศ. 2548
|
|
|
|
(3) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เมื่อออกจากราชการตาม (1) หรือ (2)
|
|
5.3 ภาษีเงินได้ที่เจ้าพนักงานประเมินแล้วมีจำนวนต่ำกว่า 5 บาท
|
มาตรา 48 วรรคสอง
|
|
|
5.4 การยกเว้นเศษของบาทในการคำนวณภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
- ตามมาตรา 5 แห่ง พรฎ. (ฉบับที่ 10)
|
|
5.5 การยกเว้นตามกฎหมายพิเศษ
- พรบ. ส่งเสริมการลงทุน (พ.ศ.2520)
|
|
|
6. การขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Refund)
|
6.1 ขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายของปีภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย (ม.3 เตรส , ม.50)
|
มาตรา 63
|
|
หมายเหตุ: ไม่ได้ใช้อายุความตาม ปพพ. ม.193/31 (อายุความ 10 ปี)เนื่องจาก มีการกำหนดอายุความเป็นกฎหมายพิเศษไว้แล้ว
|
6.2 ขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากรณีอื่นนอกจากกรณี 6.1
อาทิ ภาษีเงินได้ที่ชำระตามหนังสือแจ้งการประเมิน ภาษีเงินได้ที่ชำระไว้เกินตามแบบแสดงรายการ:
ขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่
· วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี (กรณียื่นรายการภายในกำหนด)
· วันที่ได้ยื่นรายการ (กรณียื่นรายการพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือได้ยื่นรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป)
· วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ
· วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด
|
มาตรา 27 ตรี
|
|
7. หน้าที่อื่นในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Other PIT Functions)
|
7.1 การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
· อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี
· ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความใน มาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
|
มาตรา 3 เอกาทศ
มาตรา 3 ทวาทศ
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
|
|
7.2 การจัดทำบัญชีพิเศษ
· การยื่นรายการ ให้ยื่นภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วย ภาษีอากรต่าง ๆ และตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
ถ้าอธิบดีต้องการรายงานประจำปี หรือบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ ประกอบแบบแสดงรายการใด ก็ให้สั่งเรียกได้ กับให้อธิบดีมีอำนาจสั่งผู้ต้องเสียภาษีอากรให้มีสมุดบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการในสมุดบัญชีนั้นได้ เพื่อสะดวกแก่การคำนวณเงินภาษีอากรที่ต้องเสียตามลักษณะนี้ เมื่ออธิบดีมีคำสั่งตามที่ว่ามานี้ ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรต้องปฏิบัติตาม
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
1)ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลเป็นการทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2)ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรจัดทำบัญชีงบดุล หรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใด ๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 17
มาตรา 17 (1)
มาตรา 17 (2)
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนมีบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดให้ผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์มีบัญชีพิเศษ
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่องกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีมีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2546
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 61) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
· การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายประจำวันเฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT
|
มาตรา 17 (1)
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 123) เรื่อง กำหนดให้ผู้ยื่นรายการแจ้งข้อความตามมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่161) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
|
|
7.3 การออกใบรับ และใบส่งของ
· ในกรณีต่อไปนี้ ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชำระราคา ในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม
(1) การรับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 และการรับเงินหรือรับชำระราคาจากการกระทำกิจการของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งพันบาทไม่ได้
(2) การรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีอื่นซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้
ถ้าการรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีเดียวกันมีจำนวนเกินกว่าที่อธิบดีกำหนด ตาม (1) หรือ (2) แต่มีเงื่อนไขให้รับเงินหรือรับชำระราคาในภายหลังเป็นหลายงวด ให้ออกใบรับทุกคราวในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคานั้น
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความแสดงว่าได้รับเงินหรือรับชำระราคาแล้ว จะถือเอาใบกำกับภาษีนั้นเป็นใบรับที่ต้องออกตามมาตรานี้ก็ได้
มาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายแสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลที่ยังมิได้ใช้
|
มาตรา 105
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 34) เรื่อง กำหนดจำนวนเงินหรือราคาที่ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อผู้รับเงินหรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับ
|
|
· ในการออกใบรับ ให้ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 (1) หรือ ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 (2) เฉพาะผู้ซึ่งกระทำเป็นปกติธุระ ทำต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ และเก็บต้นขั้วหรือสำเนาใบรับดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ออกใบรับ
ถ้าปรากฏว่าการรับเงินหรือรับชำระราคาที่ต้องทำต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ ไม่มีต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ ให้สันนิษฐานว่าไม่ได้ออกใบรับ
ใบรับและต้นขั้ว หรือสำเนาใบรับตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิค และอักษรไทยให้ปรากฏข้อความต่อไปนี้
(1) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
(2) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
(3) เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
(4) วันเดือนปีที่ออกใบรับ
(5) จำนวนเงินที่รับ
(6) ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า เฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป
ในกรณีผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้ขายส่ง ขายสินค้าให้แก่ผู้ซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้น ให้แสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบรับที่ต้องออกตามวรรคหนึ่งด้วยทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือรับชำระราคา ข้อความในใบรับเช่นว่านี้ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
|
มาตรา 105 ทวิ
|
- กฎกระทรวงฉบับที่ 141 (พ.ศ. 2521)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23) เรื่อง กำหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณี
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 51/2537 เรื่อง การออกใบกำกับภาษีและใบรับ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการด้วยเช็ค
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 121/2545 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
|
|
· ในการขายสินค้าให้ผู้ประกอบการตามหมวด 4 ที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง เมื่อมีการขายสินค้าให้ออกใบส่งของให้แก่ผู้ซื้อ และให้ทำสำเนาเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี นับแต่วันที่ออกใบส่งของ
ใบส่งของและสำเนาข้างต้น อย่างน้อยต้องมีตัวเลขและอักษรไทย ให้ปรากฏข้อความต่อไปนี้
(1) ชื่อ หรือยี่ห้อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
(2) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้ซื้อ
(3) เลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) และของใบส่งของ
(4) วันเดือนปี ที่ออกใบส่งของ
(5) ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาของสินค้าที่ขาย
ตัวเลขไทยนั้นจะใช้เลขอารบิคแทนก็ได้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความแสดงว่าได้ส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว จะถือเอาใบกำกับภาษีนั้นเป็นใบส่งของที่ต้องออกตามมาตรานี้ก็ได้
|
มาตรา 105 จัตวา
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23) เรื่อง กำหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณี
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 121/2545 เรื่อง การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
|
|
7.4 การให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ รวมถึงการพิสูจน์พยานหลักฐานและข้อเท็จจริง
|
|
|
8. การขจัดข้อโต้แย้งทาง
|
การอุทธรณ์
|
|
|
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
8.1 การอุทธรณ์ให้ใช้แบบ ภ.ส.6
|
มาตรา 28
|
|
(PIT Settlement)
|
8.2 กำหนดเวลาอุทธรณ์
(1) การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา 30 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
(2) อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
|
มาตรา 30
|
|
|
8.3 การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ยังคงเร่งรัดมาตรา 12 ได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
|
มาตรา 31
|
|
|
8.4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน เรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานมาแสดง แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันส่งหมาย
|
มาตรา 32
|
|
|
8.5 ผู้อุทธรณ์หมดสิทธิ์อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งตามมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
|
มาตรา 33
|
|
|
8.6 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์
|
มาตรา 34
|
|
9. บทกำหนดโทษทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT Punishment)
|
· ระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ,ไม่ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้เพื่อการตรวจสอบการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
· ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
- กรณีทำลาย ย้าย ซ่อนเร้น หรือ โอนทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปให้แก่บุคคลอื่น
· ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก
· ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
- หลีกเลี่ยงภาษีโดยแจ้งความเท็จ ฉ้อโกง หรือ อุบาย
· ระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
- กรณีไม่ยื่นรายการโดยเจตนา
|
มาตรา 35
มาตรา 35 ทวิ
มาตรา 36
มาตรา 37
มาตรา 37 ทวิ
|
|