1. หลักการของกฎหมาย
อากรแสตมป์
(SD Principle)
|
1.1 อากรแสตมป์มุ่งจัดเก็บจากการกระทำตราสารทางกฎหมายธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันกำหนดให้มีตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนทั้งสิ้น 28 ลักษณะ ตามที่ปรากฏในช่อง “ลักษณะตราสาร” ของบัญชีอากรแสตมป์ โดยต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น
"กระทำ" เมื่อใช้เกี่ยวกับตราสาร หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
|
มาตรา 104
มาตรา 103
|
|
|
1.2 ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีอากรแสตมป์และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114
|
มาตรา 118
|
|
|
1.3 ห้ามมิให้เจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลลงนามรับรู้ ยอมให้ทำ หรือบันทึกไว้ ซึ่งตราสารดังต่อไปนี้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีอากรแสตมป์และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114
· ตราสารซึ่งเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลต้องลงนามหรือรับรู้
· ตราสารซึ่งต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาล
· ตราสารซึ่งต้องให้เจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลลงบันทึก
|
มาตรา 119
|
|
|
1.4 อากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน จึงไม่ต้องนำบทบัญญัติตามหมวด 2 ว่าด้วยวิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ตั้งแต่มาตรา 14 ถึงมาตรา 37 ทวิ มาใช้บังคับ
กรณีผู้ถูกเรียกเก็บเงินอากรและเงินเพิ่มอากรจะอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจอากรแสตมป์ก็ได้ โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามมาตรา 28 ถึงมาตรา 34 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
|
มาตรา 115
และมาตรา 123 ตรี
|
|
2. ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์และผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์
|
2.1 ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ ได้แก่
(1) ผู้ที่ถูกกำหนดไว้ในช่อง ”ผู้ที่ต้องเสียอากร”ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(2) กรณีตราสารที่ต้องเสียอากรได้ทำขึ้นนอกประเทศไทยให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทยต้องเสียอากร โดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น ถ้าไม่ปฏิบัติตามนี้ให้ถือว่าเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์
(3) ผู้ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ ได้แก่รัฐบาล เจ้าพนักงานผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่ บุคคลผู้กระทำการในนามของรัฐบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย วัดวาอาราม และองค์การศาสนาใด ๆ ในราชอาณาจักรซึ่งเป็นนิติบุคคล แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้ใช้แก่องค์การของรัฐบาลที่ใช้ทุนหรือทุนหมุนเวียนเพื่อประกอบการพาณิชย์ หรือการพาณิชย์ซึ่งองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดทำ
|
มาตรา 107
มาตรา 111
มาตรา 121
|
|
|
2.2 ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ ได้แก่ ผู้ที่ถูกกำหนดไว้ในช่อง ”ผู้ที่ต้องขีดฆ่าอากรแสตมป์”ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ถ้าผู้มีหน้าที่ขีดฆ่าเขียนหนังสือไม่เป็น จะให้ผู้อื่นเขียนวันเดือนปีแทนก็ได้
ถ้าผู้มีหน้าที่ขีดฆ่าไม่ยอมขีดฆ่า หรือไม่มีตัวอยู่ที่จะทำการขีดฆ่าได้ ให้ผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ขีดฆ่าแทนได้
|
มาตรา 107
|
|
|
2.3 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์
|
|
|
|
(1) การกระทำตราสารหลายลักษณะ
ถ้าทำตราสารหลายลักษณะตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ บนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่น เช่าและกู้ยืมเงินรวมกันไว้ หรือทำตราสารลักษณะเดียวกันหลายเรื่องบนกระดาษแผ่นเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกัน เช่น ขายของสิ่งหนึ่งให้แก่คนหนึ่ง และขายอีกสิ่งหนึ่งให้แก่อีกคนหนึ่ง ซึ่งตามสภาพควรจะแยกกัน ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ให้ครบทุกลักษณะหรือทุกเรื่อง โดยปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นรายตราสารแยกไว้ให้ปรากฏว่าตราสารใดอยู่ที่ใด และแสตมป์ดวงใดสำหรับตราสารลักษณะหรือเรื่องใด
|
มาตรา 108
|
|
|
(2) การเสียอากรแสตมป์ในตราสาร ที่เกิดขึ้นโดยมีหนังสือโต้ตอบกัน
สัญญาใดเป็นตราสารซึ่งเกิดขึ้นโดยมีหนังสือโต้ตอบกันและมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าหนังสือฉบับหนึ่งฉบับใดที่จำเป็นในการทำให้เกิดสัญญานั้นขึ้นได้ปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่าแสตมป์แล้วให้ถือว่าสัญญานั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว
|
มาตรา 110
|
|
|
(3) การเสียอากรสำหรับคู่ฉบับหรือคู่ฉีกตราสาร
คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารใด แม้จะได้ปิดแสตมป์สำหรับคู่ฉบับหรือคู่ฉีกนั้นตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้แล้วก็ดี ถ้ามิได้นำตราสารต้นฉบับหรือพยานหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจว่าตราสารต้นฉบับนั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว มิให้ถือว่าคู่ฉบับหรือคู่ฉีกนั้นได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรสำหรับตราสารต้นฉบับและขีดฆ่าแล้ว
|
มาตรา 110
|
|
|
(4) การใช้สิทธิไล่เบี้ยค่าอากรกรณีตั๋วเงิน
ถ้าตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงินมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนอากรและขีดฆ่า และใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้
|
มาตรา 112
|
|
3. วิธีการคำนวณอากรแสตมป์
|
· ให้นำรายการที่ปรากฏในช่อง “ค่าอากรแสตมป์” ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์ มาคำนวณตามมูลค่าแห่งตราสาร เว้นแต่กรณีอัตราอากรแสตมป์กำหนดเป็นอัตราคงที่
|
บัญชีอากรแสตมป์
|
|
|
ลักษณะแห่งตราสาร
|
ค่าอากรแสตมป์
|
|
|
1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า
|
1 บาท
|
|
|
2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใดๆ เป็นผู้ออก
คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสาร แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
|
1 บาท
|
|
|
3. เช่าซื้อทรัพย์สิน
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งราคาทั้งหมด
|
1 บาท
|
|
|
4. จ้างทำของ
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
|
1 บาท
|
|
|
5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี
ค่าอากรตามลักษณะแห่งตราสารนี้เมื่อคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท
|
1 บาท
|
|
|
6. กรมธรรม์ประกันภัย
(ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย
ทุก 250 บาท หรือเศษของ 250 บาท แห่งเบี้ยประกันภัย
(ข) กรมธรรม์ประกันชีวิต
ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย
(ค) กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ
ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกัน
(ง) กรมธรรม์เงินปี
ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งต้นทุนเงินปีนั้น หรือถ้าไม่ปรากฏต้นทุนให้คิดทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่ง 33 1/3 เท่าของรายได้ประจำปี
(จ) กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง
(ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
|
1 บาท
1 บาท
1 บาท
1 บาท
1 บาท
กึ่งอัตราซึ่งเรียกสำหรับกรมธรรม์เดิม
|
ประกาศคณะปฎิวัติ (ฉบับที่ 155) ใช้บังคับ 7 มิ.ย.2515 เป็นตันไป ข้อ 7 กำหนดให้ค่าอากรแสตมป์สำหรับตราสารกรมธรรม์ประกันชีวิต ถ้ามีจำนวนสูงกว่า 20 บาท ให้ลดเหลือ 20 บาท
|
|
7. ใบมอบอำนาจ คือ ใบตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปลักษณะตราสารสัญญา รวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ
(ก) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว
(ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว
(ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ
|
10 บาท
30 บาท
30 บาท
|
|
|
8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
(ก) มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว
(ข) มอบฉันทะสำหรับการประชุมกว่าครั้งเดียว”
|
20 บาท
100 บาท
|
|
|
9. (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ
(2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋ว สัญญาใช้เงิน ฉบับละ
|
3 บาท
3 บาท
|
|
|
10. บิลออฟเลดิง
|
2 บาท
|
|
|
|
5 บาท
1 บาท
|
|
|
12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค ฉบับละ
|
3 บาท
|
|
|
|
5 บาท
|
|
|
14. เลตเตอร์ออฟเครดิต
(ก) ออกในประเทศ
- เงินต่ำกว่า 10,000 บาท
- เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป
(ข) ออกในต่างประเทศและให้ชำระเงินในประเทศไทยคราวละ
|
20 บาท
30 บาท
20 บาท
|
|
|
15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง
(ก) ออกในประเทศ ฉบับละ
(ข) ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ
|
3 บาท
3 บาท
|
|
|
16. ใบรับของ ซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงาน หรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง ฉบับละ
|
1 บาท
|
|
|
17. ค้ำประกัน
(ก) สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้
(ข) สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท
(ค) สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป
|
10 บาท
1 บาท
5 บาท
10 บาท
|
|
|
18. จำนำ
จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
ถ้าการจำนำมิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้
|
1 บาท
1 บาท
|
|
|
19. ใบรับของคลังสินค้า
|
1 บาท
|
|
|
20. คำสั่งให้ส่งมอบของ คือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฏในตราสารนั้น
|
1 บาท
|
|
|
21. ตัวแทน
(ก) มอบอำนาจเฉพาะกาล
(ข) มอบอำนาจทั่วไป
|
10 บาท
30 บาท
|
|
|
22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
(ก) ในกรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือ
เศษของ 1,000 บาท
(ข) ในกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา
|
1 บาท
10 บาท
|
|
|
23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
คือ ตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับต้นฉบับ หรือต้นสัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้อย่างเดียวกับต้นฉบับ
(ก) ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท
(ข) ถ้าเกิน 5 บาท
|
1 บาท
5 บาท
|
|
|
24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
|
200 บาท
|
|
|
25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน
|
200 บาท
|
|
|
26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน
|
50 บาท
|
|
|
27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
(ก) หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
(ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
|
100 บาท
50 บาท
|
|
|
28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้
(ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
(ข) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
(ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ
ถ้าใบรับตาม (ก)(ข) หรือ (ค) มีจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปทุก 200 บาทหรือเศษของ 200 บาท
|
1 บาท
|
-ประกาศอธิบดี เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21)
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 27/2537
|
|
29. (ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป)
|
|
|
|
30. (ยกเลิกโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 ใช้บังคับ 1 ก.พ. 2529 เป็นต้นไป)
|
|
|
4. วิธีการเสียอากรแสตมป์
|
ในปัจจุบันวิธีการเสียอากรแสตมป์มีเพียง 2 วิธี คือ กรณีแสตมป์ปิดทับตราสาร และกรณีชำระเป็นตัวเงิน
4.1 กรณีแสตมป์ปิดทับตราสาร
โดยทั่วไปตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ทุกลักษณะต้องเสียอากรแสตมป์โดยวิธีปิดทับ โดยผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ต้องปิดอากรแสตมป์ทับตราสาร ก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว เว้นแต่ตราสารในลักษณะที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินแทนการปิดทับ
การ “ขีดฆ่า” หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลง วัน เดือน ปีที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ในกรณีแสตมป์ดุนได้เขียนบนตราสารหรือยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน ให้แสตมป์ปรากฏอยู่ในด้านหน้าของตราสารนั้น
|
มาตรา 103
"ปิดแสตมป์บริบูรณ์" หมายความว่า
(1) ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษ ก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ
(2) ในกรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือ
(3) ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียตามบทบัญญัติในหมวดนี้ หรือตามระเบียบซึ่งอธิบดีจะได้กำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
|
|
4.2 กรณีชำระเป็นตัวเงิน
|
|
|
|
4.2.1 ตราสารที่ต้องเสียอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์บริบูรณ์ ได้แก่
(1) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย สำหรับตราสารตามลักษณะแห่งตราสาร 28. (ข)
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21)
|
|
(2) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน เฉพาะที่ธนาคารประกอบกิจการในราชอาณาจักรเป็นผู้สั่งจ่ายตามลักษณะแห่งตราสาร 9. (1) และใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ยตามลักษณะแห่งตราสาร 13.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22)
|
|
(3) เช็คที่ออกในราชอาณาจักรตามลักษณะแห่งตราสาร 12
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22)
|
|
(4) เช็คสำหรับผู้เดินทางที่ออกหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร ตามลักษณะแห่งตราสาร 15.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22)
|
|
(5) ใบรับสำหรับการขายฝาก หรือโอนกรรมสิทธิ์ล้อเลื่อนหรือรถซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อนหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
เฉพาะที่มีการออกใบรับในวันรับจดทะเบียนหรือก่อนวันรับจดทะเบียนไม่เกินสิบห้าวัน และยังไม่ได้เสียอากรโดยการปิดแสตมป์อากรในใบรับดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเป็นตราสารลักษณะ 28. (ค)
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 29)
|
|
(6) ตราสารตั๋วสัญญาใช้เงินเฉพาะที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้ออกตั๋ว ตามลักษณะแห่งตราสาร 9. (2)
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 33)
|
|
(7) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ เฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่า และเช่าอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 1.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(8) เช่าซื้อทรัพย์สิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 3. เฉพาะที่นิติบุคคลหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ให้เช่าซื้อทรัพย์สินนั้น
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(9) จ้างทำของเฉพาะที่รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 4.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(10) กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 5.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(11) กรมธรรม์ประกันภัย ตามลักษณะแห่งตราสาร 6.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(12) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วสัญญา ใช้เงิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 9. (2)
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(13) เลตเตอร์ออฟเครดิต ตามลักษณะแห่งตราสาร 14.
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(14) ใบรับของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 16. เฉพาะกิจการรับขนส่งทางอากาศที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(15) ค้ำประกัน ตามลักษณะแห่งตราสาร 17. เฉพาะที่สถาบันการเงิน แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัยเป็นคู่สัญญา
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(16) คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 23. เฉพาะที่ต้นฉบับแห่งตราสารนั้น ต้องชำระอากรแสตมป์เป็น ตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(17) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ ยานพาหนะ ทั้งนี้ เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ ตามลักษณะแห่งตราสาร 28. (ค) เฉพาะที่นิติบุคคลเป็นผู้ขาย และผู้ให้เช่าซื้อยานพาหนะนั้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงยานพาหนะที่ใช้แล้ว
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
(18) ใบรับสำหรับการขายเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.(ค)
|
|
|
|
(19) ใบรับเงินสำหรับการรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
|
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ 489/2503
|
|
4.2.2 เว้นแต่การนำส่งอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย และใบรับสำหรับการขายฝาก หรือโอนกรรมสิทธิ์ล้อเลื่อนหรือรถซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อนหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก และใบรับเงินสำหรับการรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์นำเงินค่าอากรที่ต้องไปยื่นขอชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ ณ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา โดยใช้แบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และให้ชำระเดือนละ 2 งวด คือ
(1) งวดแรก ค่าอากรที่ต้องชำระหรือได้รับเป็นตัวเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นำไปยื่นชำระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
(2) งวดที่สอง ค่าอากรที่ต้องชำระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นำไปยื่นชำระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 22)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 33)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
|
|
4.2.3 การนำส่งอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับตราสารดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรและคำสั่งกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง
· ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใดๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
· ใบรับสำหรับการขายฝาก หรือโอนกรรมสิทธิ์ล้อเลื่อนหรือรถซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อนหรือกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และกฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก
· ใบรับเงินสำหรับการรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 21)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 29)
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ 489/2503
|
|
4.2.4 วิธีเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรดังบัญญัติไว้ในมาตรา 113 หรือมาตรา 114 ให้เสียโดยวิธีชำระเป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับเงินและสลักหลังตราสาร หรือทำหลักฐานขึ้นในกรณีไม่มีตราสาร ทั้งนี้ เพื่อแสดงการรับเงินอากรและเงินเพิ่มอากรถ้ามี ตลอดทั้งชื่อและตำบลที่อยู่ของผู้เสียเงิน แล้วลงชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่และวันเดือนปีไว้เป็นสำคัญ
ตราสารหรือหลักฐานตามความในมาตรา 116 ที่มีผู้เสียอากร หรือเสียอากรและเงินเพิ่มอากรถ้ามี ตามความในมาตรา 113 หรือมาตรา 114 แล้ว ให้ถือว่าเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ส่วนเงินเพิ่มอากรที่เรียกเก็บให้ถือเป็นเงินอากร
|
มาตรา 116
มาตรา 117
|
|
|
4.3 อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจ
|
|
|
|
4.3.1 “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
“นายตรวจ” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง
(1) ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญดังต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ นายตรวจอากรแสตมป์ตามความในมาตรา 103
(ก) สังกัดกรมสรรพากร นอกจากที่ระบุใน (ข)(ค) และ (ง) ในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(ข) สังกัดสำนักงานสรรพากรภาค ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรภาคนั้น
(ค) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น
(ง) สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
(2) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ตามมาตรา 103 เฉพาะกรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
|
|
- ประกาศกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 54)
- ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 11)
|
|
4.3.2 อำนาจในการตรวจปฏิบัติการปิดอากรแสตมป์ และอำนาจในการออกหมายเรียก
เมื่อมีเหตุสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจมีอำนาจเข้าไปในสถานการค้า หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาที่เปิดทำการของสถานการค้าหรือสถานที่นั้น เพื่อทำการตรวจสอบตราสารว่า ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามความในมาตรา 104 หรือไม่ หรือทำการตรวจสอบเพื่อทราบว่าได้ออกใบรับตามความในมาตรา 105 มาตรา 106 หรือทำหรือเก็บต้นขั้วสำเนาใบรับตามความในมาตรา 105 ทวิ หรือทำ หรือเก็บบันทึกตามความในมาตรา 105 ตรี หรือไม่ กับมีอำนาจเรียกและยึดตราสาร หรือเอกสาร และออกหมายเรียกตัวผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ทรงตราสาร หรือผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสาร และพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาไต่สวนได้
|
มาตรา 123
|
|
|
4.3.3 อำนาจกำหนดจำนวนเงินที่แสดงไว้ในใบรับ
ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำนวนเงินที่แสดงไว้ในใบรับตามลักษณะแห่งตราสาร 28. (ข) และ (ค) ต่ำไป พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินที่แสดงไว้ในใบรับนั้นตามจำนวนเงินที่สมควรได้รับตามปกติ และให้ผู้ออกใบรับมีหน้าที่เสียค่าอากรจากจำนวนเงินที่กำหนดนั้น ซึ่งผู้ออกใบรับถูกกำหนดจำนวนเงินดังกล่าวจะอุทธรณ์การกำหนดจำนวนเงินนั้นก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
|
มาตรา 123 ตรี
|
|
|
4.3.4 อำนาจสั่งให้เสียเงินเพิ่มอากรแสตมป์
(1) ตราสารใดมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์ชอบที่จะยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอเสียอากรได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตราสารแล้ว ให้อนุมัติให้เสียอากรภายในบังคับแห่งบทบัญญัติต่อไปนี้
(ก) ถ้าตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์นั้นเป็นตราสารที่กระทำขึ้นในประเทศไทย เมื่อผู้ขอเสียอากรได้ยื่นตราสารนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเสียอากรภายใน 15 วันนับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ก็ให้อนุมัติให้เสียเพียงอากรตามอัตราในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(ข) ถ้ากรณีเป็นอย่างอื่น ก็ให้อนุมัติให้เสียอากรและให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากร ดังต่อไปนี้อีกด้วย
1) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นเวลาไม่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น 2 เท่าจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 4 บาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ เป็นเวลาพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มอากรเป็น 5 เท่าจำนวนอากร หรือเป็นเงิน 10 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
|
มาตรา 113
|
|
|
(2) โดยการตรวจสอบตามความในมาตรา 123 ก็ดี โดยการกล่าวหาแจ้งความของบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือมิใช่ก็ดี ถ้าปรากฏว่า
(ก) มิได้มีการออกใบรับในกรณีที่ต้องออกใบรับตามความในมาตรา 105 หรือมาตรา 106 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน 6 เท่าของเงินอากร หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
(ข) ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ โดย
1) มิได้ปิดแสตมป์เลย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน 6 เท่าของเงินอากรที่ต้องเสีย หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2) ปิดแสตมป์น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอีกเป็นจำนวน 6 เท่าของเงินอากรที่ขาด หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
3) ในกรณีอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงินเพิ่มอากร เป็นจำนวน 1 เท่า ของเงินอากรที่ต้องเสีย หรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
|
มาตรา 114
|
|
|
4.3.5 ในการตรวจสอบการเสียอากรแสตมป์ เมื่อปรากฏว่ามีเงินอากรและเงินเพิ่มอากรที่ต้องเรียกเก็บเพิ่มเติมตามมาตรา 113 และ มาตรา 114 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดการเรียกเก็บจากผู้มีหน้าที่เสียอากรก่อน ถ้าไม่ได้เงินจากผู้มีหน้าที่เสียอากร จึงให้จัดการเรียกเก็บจากผู้ทรงตราสาร หรือผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารนั้น ทั้งนี้ ผู้ถูกเรียกเก็บเงินอากรและเงินเพิ่มอากรจะอุทธรณ์คำสั่งก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามมาตรา 28 ถึงมาตรา 34 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
|
มาตรา 115
|
|
|
4.3.6 กรณีที่ผู้ใดได้เสียอากรหรือค่าเพิ่มอากรโดยมิใช่เป็นผู้มีหน้าที่เสีย ผู้นั้นมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรซึ่งตนได้เสียไปจากบุคคลผู้มีหน้าที่เสียได้
|
มาตรา 120
|
|
5. การยกเว้นอากรแสตมป์
|
5.1 ยกเว้นการจัดเก็บภาษีอากรทุกประเภทตามประมวลรัษฎากร ให้แก่
(1) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ และเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การ หรือทบวงการดังกล่าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทย ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
(2) สถานเอกอัคราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล บุคคลในคณะทูต บุคคลในคณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
|
มาตรา 3
|
มาตรา 4 แห่ง พรฎ.(ฉบับที่ 10)
|
|
5.2 ยกเว้นอากรแสตมป์ ให้แก่
(1) สถาบันการเงิน
· ธนาคารแห่งประเทศไทย
· ธนาคารอาคารสงเคราะห์
· ธนาคารเพื่อการสหกรณ์
· ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
· บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
· บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
· บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
· บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
· บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
· องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
· กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
· ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
· ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
· สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
(2) ผู้ค้ำประกัน เฉพาะการค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้กู้ยืมหรือให้ยืม
(3) การเคหะแห่งชาติ
(4) ผู้โอน เฉพาะกรณี
· การโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียน สำหรับการโอนหลักทรัพย์นั้น
· การโอนพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนสำหรับการโอนพันธบัตรนั้น
· การโอนพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
· การโอนตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 162 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
· การโอนพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจ
· การโอนหุ้นกู้
· การโอนหุ้นในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
· การโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์สำหรับการโอนหลักทรัพย์นั้น
(5) ผู้ที่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ไม่ถึงหนึ่งบาทหรือตราสารที่คำนวณค่าอากรแสตมป์แล้วต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตั้งแต่หนึ่งบาทขึ้นไปเฉพาะส่วนที่เป็นเศษของบาท
(6) ผู้รับจ้างเฉพาะการรับจ้างสำรวจแร่ที่ผู้รับจ้างได้ทำสัญญากับทางราชการและเฉพาะกรณีที่ทางราชการมิได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างอื่นนอกจากสิทธิทำเหมืองในพื้นที่ที่รับจ้างสำรวจนั้น
|
มาตรา 3
|
มาตรา 6 แห่ง พรฎ.(ฉบับที่ 10)
|
|
(7) ผู้มอบอำนาจ เฉพาะการมอบอำนาจให้บุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทหนึ่งประเภทใดตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยตัวแทนดังกล่าวต้องนำแผ่นบันทึก แถบบันทึก หรือสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้มามอบให้กรมสรรพากร หรือส่งข้อมูลที่ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ให้กรมสรรพากร เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 36)
|
|
(8) ผู้ที่ต้องเสียอากร เฉพาะกรณีที่ต้องเสียอากรตามบัญชีอากรแสตมป์สำหรับตราสารที่ทำขึ้นระหว่างนิติบุคคลเฉพาะกิจกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแปลงสินทรัพย์หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
-ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 40)
|
|
(9) กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
|
|
|
|
(10) ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
- ประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน
-ประกาศอธิบดีฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ฉบับที่ 2)
|
|
(11) รัฐวิสาหกิจ เฉพาะการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
(12) อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ”
(13) สถาบันพัฒนาองค์การชุมชน (องค์การมหาชน)
|
|
|
|
(14) ผู้ที่ต้องเสียอากร เฉพาะตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืน เฉพาะในส่วนของหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
-ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 42)
|
|
(15) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะการกระทำตราสารในการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
(16) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
|
|
|
|
(17) ผู้ขาย เฉพาะการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ดังต่อไปนี้
(ก) บ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
(ข) อสังหาริมทรัพย์ตาม (ก) พร้อมที่ดิน
(ค) ห้องชุดสำหรับการอยู่อาศัยในอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับกรณีการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้โอนได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
การได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องปรากฏว่าภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือนับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ผู้ขายได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่ซึ่งมีลักษณะตาม (ก) (ข) หรือ (ค) เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน และให้ได้รับยกเว้นเท่ากับค่าอากรแสตมป์ที่คำนวณได้จากจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่ไม่เกินจำนวนมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์แห่งใหม่
|
|
|
|
(18) ธนาคารพาณิชย์ เฉพาะกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ที่ต้องเสียอากรแสตมป์จากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ
|
มาตรา 3
|
พรฎ. (ฉบับที่ 454)
|
|
5.2 ยกเว้นอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสารซึ่งได้กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์
(1) สัญญาเช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน
(2) ตราสารการโอน เฉพาะกรณี
(ก) พันธบัตรของรัฐบาลไทย
(ข) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ซึ่งสหกรณ์ หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก
(3) สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน
(4) สัญญาจ้างทำของที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย
(5) สัญญากู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(6) กรมธรรม์ประกันภัย เฉพาะกรณี
(ก) การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม
(ข) บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราวซึ่งรับรองจะออกกรมธรรม์ประกันภัยต้วจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงแล้วต้องปิดแสตมป์เสียก่อน เช่นเดียวกับที่จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง
(7) ใบมอบอำนาจ เฉพาะกรณี
(ก) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
(ข) ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์หาหนะ
(ค) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน
(ง) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
(8) ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียว ซึ่งตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ๆ ไม่ต้องปิดอีก แต่ตัองสลักหลังฉบับนั้น ๆ ไว้ว่า “ ได้เสียอากรแลัว ”
(9) ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์
(10) สัญญาค้ำประกัน เฉพาะกรณี
(ก) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม
(ข) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม
(11) การจำนำ เฉพาะกรณี
(ก) ตั๋วจำนำของโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(ข) จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืมซึ่งได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามลักษณะแห่งตราสาร 5.
(12) การตั้งตัวแทนในกรณีสหกรณ์เป็นตัวการ
(13) คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร เฉพาะกรณีฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์
(14) ใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
บัญชีอากรแสตมป์
|
|
6. การขอคืนอากรแสตมป์
|
6.1 กรณีผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับตราสารลักษณะเดียวหรือเรื่องเดียว
ผู้นั้นชอบที่จะทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่ออธิบดีเห็นว่าเกินไปจริงก็ให้คืนค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรที่เกินไปนั้นแก่ผู้เสียอากรได้ แต่คำร้องที่กล่าวนั้นต้องยื่นภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร และต้องประกอบด้วยคำชี้แจงหรือเอกสาร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรืออธิบดีเห็นสมควรให้ยื่นสนับสนุนคำร้อง
|
มาตรา 122
|
|
|
6.2 กรณีได้เสียอากรแสตมป์โดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
ผู้เสียอากรแสตมป์มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้เสียอากรแสตมป์
|
มาตรา 193/30
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
|
|
7. หน้าที่อื่นในทางอากรแสตมป์
|
7.1 หน้าที่ในการออกใบรับ
7.1.1 "ใบรับ" หมายความว่า
(ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ
(ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว
บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ
|
มาตรา 103
|
|
|
7.1.2 ผู้ขาย ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้รับเงิน หรือผู้รับชำระราคาต้องออกใบรับให้แก่ผู้ซื้อ ผู้เช่าซื้อ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชำระราคา ในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม ในกรณีต่อไปนี้
(1) การรับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 และการรับเงินหรือรับชำระราคาจากการกระทำกิจการของผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 ซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งพันบาทไม่ได้
(2) การรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีอื่นซึ่งรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกินจำนวนเงินตามที่อธิบดีกำหนด แต่อธิบดีจะกำหนดเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้
ถ้าการรับเงินหรือรับชำระราคาในกรณีเดียวกันมีจำนวนเกินกว่าที่อธิบดีกำหนด ตาม (1) หรือ (2) แต่มีเงื่อนไขให้รับเงินหรือรับชำระราคาในภายหลังเป็นหลายงวด ให้ออกใบรับทุกคราวในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคานั้น
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความแสดงว่าได้รับเงินหรือรับชำระราคาแล้ว จะถือเอาใบกำกับภาษีนั้นเป็นใบรับที่ต้องออกตามมาตรา 105 ก็ได้
มาตรา 105 ไม่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายแสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลที่ยังมิได้ใช้
|
มาตรา 105
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 34)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 105 (1) และ (2) ให้บุคคลดังต่อไปนี้ต้องออกใบรับในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยตามมาตรา 86/8 ซึ่งได้รับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกิน 1,000 บาท
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่เข้ากรณีตาม (1) และผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งได้รับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ หรือจากการกระทำกิจการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกิน 100 บาท
(4) ผู้ประกอบการซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 และมาตรา 81/1 และผู้ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 ซึ่งได้รับเงินหรือรับชำระราคาจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ หรือจากการกระทำกิจการ รวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้งเกิน 100 บาท
|
|
7.1.3 ใบรับและต้นขั้ว หรือสำเนาใบรับ อย่างน้อยต้องมีตัวเลขไทยหรืออารบิค และอักษรไทยให้ปรากฏข้อความต่อไปนี้
(1) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
(2) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
(3) เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
(4) วันเดือนปีที่ออกใบรับ
(5) จำนวนเงินที่รับ
(6) ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า เฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป
ในกรณีผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้ขายส่ง ขายสินค้าให้แก่ผู้ซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้น ให้แสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบรับที่ต้องออกตามวรรคหนึ่งด้วยทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือรับชำระราคา ข้อความในใบรับเช่นว่านี้ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
ความข้างต้นมิให้ใช้บังคับแก่กิจการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
|
มาตรา 105 ทวิ
|
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 141 (พ.ศ. 2521)
กิจการดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ผู้ประกอบกิจการไม่ต้องทำและเก็บต้นขั้วหรือสำเนาใบรับตามมาตรา 105 ทวิ วรรคหนึ่ง
(1) กิจการค้าหาบเร่
(2) กิจการขายผลิตผลของเกษตรกรอันเกิดจากเกษตรกรรมที่ตนและ/หรือครอบครัวได้ทำเอง
(3) กิจการขายสินค้าในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นการครั้งคราว
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23)
กำหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณี
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537
ข้อ 1 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายสินค้า ได้รับชำระราคาสินค้าด้วยเช็ค ซึ่งลงวันที่ก่อนส่งมอบสินค้า หรือก่อนโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือเป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการ ได้รับชำระค่าบริการด้วยเช็ค ผู้ประกอบการมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ลงในเช็ค
ข้อ 2 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค โดยได้รับมอบเช็คลงวันที่ที่ผ่านมาแล้ว ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ลงในเช็คนั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้จัดทำใบกำกับภาษีและใบรับในวันที่ได้รับมอบเช็คนั้น
(1) กรณีรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้ออกเช็ค
(2) นอกจากกรณีตาม (1) ในกรณีผู้ออกเช็คเป็นบุคคลธรรมดาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งได้ออกเอกสารรับรองว่า ได้ส่งมอบเช็คให้ผู้ประกอบการเมื่อ วัน เดือน ปีใด และได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้ในวันเดียวกับที่ส่งมอบเช็คนั้น และผู้ประกอบการต้องมีเอกสารนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ทันที
|
|
7.2 หน้าที่ในการออกใบส่งของ
ใบส่งของและสำเนา อย่างน้อยต้องมีตัวเลขและอักษรไทย ให้ปรากฏข้อความต่อไปนี้
(1) ชื่อ หรือยี่ห้อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย
(2) ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้ซื้อ
(3) เลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) และของใบส่งของ
(4) วันเดือนปี ที่ออกใบส่งของ
(5) ชนิด ชื่อ จำนวน และราคาของสินค้าที่ขาย
ตัวเลขไทยนั้นจะใช้เลขอารบิคแทนก็ได้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความแสดงว่าได้ส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว จะถือเอาใบกำกับภาษีนั้นเป็นใบส่งของที่ต้องออกตามมาตรา 105 จัตวา ก็ได้
|
มาตรา 105 จัตวา
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 23)
กำหนดวิธีการในการออกใบรับและใบส่งของกับยกเว้นการออกใบรับและใบส่งของในบางกรณี
|
|
7.3 หน้าที่ในการการเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
7..3.1 ในการออกใบรับ ให้ผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 (1) หรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 (2) เฉพาะผู้ซึ่งกระทำเป็นปกติธุระ ทำต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ และเก็บต้นขั้วหรือสำเนาใบรับดังกล่าวไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 าปีนับแต่วันที่ออกใบรับ
ถ้าปรากฏว่าการรับเงินหรือรับชำระราคาที่ต้องทำต้นขั้วหรือสำเนาใบรับตามวรรคหนึ่ง ไม่มีต้นขั้วหรือสำเนาใบรับ ให้สันนิษฐานว่าไม่ได้ออกใบรับ
|
มาตรา 105 ทวิ
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.121/2545 การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
|
|
7.3.2 ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ รับเงินหรือรับชำระราคามีจำนวนครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงจำนวนที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 105 (1) ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้ประกอบกิจการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมเงินที่รับมาเฉพาะในกรณีดังกล่าวทุกครั้ง และเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ได้จำนวนเท่าใด ให้ทำบันทึกจำนวนเงินนั้นรวมขึ้นเป็นวัน ๆ ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันทำบันทึก
|
มาตรา 105 ตรี
|
|
|
7.3.3 ในการขายสินค้าให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้ขายส่ง เมื่อมีการขายสินค้าให้ออกใบส่งของให้แก่ผู้ซื้อ และให้ทำสำเนาเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบส่งของ
|
มาตรา 105 จัตวา
|
|
|
7.5 การให้ความร่วมมือกับทางราชการ
(1) การปฏิบัติตามหมาย
(2) อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือตอบคำถามเมื่อซักถาม
|
มาตรา 128
|
|
8. การขจัดข้อโต้แย้งทางอากรแสตมป์
|
8.1 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามมาตรา 28 ถึงมาตรา 34 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ผู้ถูกเรียกเก็บเงินอากรโดยคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 115 และเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 หรือมาตรา 114 ผู้ถูกเรียกเก็บเงินอากรและเงินเพิ่มมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งก็ได้
(2) ผู้ออกใบรับซึ่งถูกกำหนดจำนวนเงินที่แสดงไว้ในใบรับ ตามจำนวนเงินที่สมควรได้รับตามปกติ จะอุทธรณ์การกำหนดจำนวนเงินนั้นก็ได้
|
มาตรา 123 ตรี
|
|
|
8.2 การอุทธรณ์ให้ใช้แบบ ภ.ส.6
|
มาตรา 28
|
|
|
8.3 กำหนดเวลาอุทธรณ์
(1) การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตา 30 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์
(2) อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
|
มาตรา 30
|
|
|
8.3 การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ยังคงเร่งรัดมาตรา 12 ได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
|
มาตรา 31
|
|
|
8.4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน เรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานมาแสดง แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันส่งหมาย
|
มาตรา 32
|
|
|
8.5 ถ้าผู้อุทธรณ์หมดสิทธิ์ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งตามมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
|
มาตรา 33
|
|
|
8.6 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์
|
มาตรา 34
|
|
9. บทกำหนดโทษ
|
9.1 โทษทางแพ่ง ได้แก่ เงินเพิ่ม ดูรายละเอียดเพิ่มเติมตาม 4.3.3 และ 4.3.4
|
มาตรา 113 และ มาครา 114
|
|
|
9.2 โทษทางอาญา
|
|
|
|
(1) ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากร หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
|
มาตรา 124
|
|
|
(2) ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 10 บาทขึ้นไป หรือแบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรก็ดี จงใจกระทำหรือทำตราสารให้ผิดความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งหมวดนี้ก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
|
มาตรา 125
|
|
|
(3) ผู้ใดจงใจลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าแสตมป์เป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
|
มาตรา 126
|
|
|
(4) ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกตามมาตรา 105 ตรี หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106 หรือออกใบรับ ซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
|
มาตรา 127
|
|
|
(5) ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกตามมาตรา 105 ตรี หรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่ถูกเรียกร้องตามมาตรา 106 หรือออกใบรับ ซึ่งไม่ปิดแสตมป์ตามจำนวนอากรที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
|
มาตรา 127
|
|
|
(6) ผู้ใดโดยตนเองหรือโดยสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับให้ในทันทีที่รับเงินหรือรับชำระราคาตามมาตรา 105 หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่รับเงินหรือรับชำระราคาจริง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
|
มาตรา 127 ทวิ
|
|
|
(7) ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจในการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือโดยรู้อยู่แล้ว หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามคำเรียก หรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสาร หรือไม่ปฏิบัติตามหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจ ตามความในมาตรา 123 หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถามหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 105 ทวิ มาตรา 105 จัตวา หรือมาตรา 123 ทวิ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
|
มาตรา 128
|
|
|
(8) ผู้ใดโดยเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอมก็ดี หรือค้าแสตมป์ที่ใช้แล้ว หรือที่มีกฎกระทรวงประกาศให้เลิกใช้เสียแล้วก็ดี ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
|
มาตรา 129
|
|