108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)

 108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)

ภายหลังยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว บริษัทต่าง ๆ อาจหายใจยังไม่ทั่วท้อง ด้วยจิตรำพึง “เรายื่นแบบชำระภาษี ต่ำไปหรือเปล่าหนอ”
 
จากคำถามที่ท่านผู้อ่าน E-mail มาปรึกษาจำนวนมากนั้นจะมีประเด็นซ้ำ ๆ กันอยู่มากก็คือเรื่องของ “สินค้าคงเหลือ” ซึ่งมีประเด็นภาษีหลากหลาย เพราะเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการจำหน่าย จ่ายโอน รวมถึงการตรวจนับสินค้าและการทำลายเศษซากการผลิต เป็นต้น
ซึ่งแต่ละกรณีต่างก็มีแง่มุมภาษีหลายประเภท ทั้งในเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น ข้อเขียนวันนี้ จึงขอเน้นไปที่ประเด็นความผิดเกี่ยวกับ “สินค้าคงเหลือ” พอสังเขปดังนี้
9. การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิต
9.1 แนวคิด/หลักการ
ในอดีตกรมสรรพากรได้เคยวางหลักเกณฑ์การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิตไว้ในหนังสือตอบข้อหารือ (Private letter rulings) ต่าง ๆ สรุปความได้ว่า
ก. วิธีทำลายต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ข. ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งกรมสรรพากรอาจส่งเจ้าพนักงานฯ ไปดูหรือไม่ก็ได้
ค. ต้องเชิญผู้สอบบัญชี มาเป็นพยานในการทำลาย พร้อมให้ลงนามรับรองเอกสาร เพื่อแนบประกอบงบดุล
แต่เนื่องจากแนวปฏิบัติดังกล่าวยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอ ๆ จึงได้มีการออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 เพื่อสังคายนาและวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างละเอียด สรุปสาระสำคัญได้ดังตาราง
ประเภทธุรกิจ แนวปฏิบัติ เดิม กฎหมายใหม่ (ป. 79/2541)
กลุ่ม กลุ่ม กลุ่มอื่น
ขั้นตอน EPZ BOI เก็บซากไม่ได้ เก็บซากได้
1. มีหนังสือแจ้งสรรพากรพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 วัน* ? ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่จำเป็น ?
2. เชิญ ‘ผู้สอบบัญชี’ เป็นพยาน ? ? ? ? (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี,ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย) ? (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี.ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย)
3. ดำเนินการทำลายตามวิธีปฏิบัติทางบัญชีปกติ ? ตามเกณฑ์ที่ EPZ กำหนด ตามเกณฑ์ที่ BOI กำหนด ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน
4. จัดทำรายงานการทำลายให้ผู้สอบบัญชีรับรองและแนบงบดุล ? ? ? ? ?
5. ใช้เอกสารตาม 4 ไปบันทึกบัญชีและ ตัดสต็อกของเสีย ไม่ระบุแต่เป็น หลักที่ควรปฏิบัติ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ
* เว้นแต่เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ควบคุมการทำลายเศษซากฯ ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากรมาร่วมเป็นพยาน (เป็นข้อความเพิ่มเติมโดยคำสั่ง ป.84/2542)
9.2 ปัญหา
(1) หากบริษัทใดไม่ทำลาย ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเกิดประเด็นความผิดทางภาษีอย่างไรบ้าง
ขอตอบในเชิงบวกก่อนว่า กรณีบริษัทใดดำเนินการทำลายตามหลักเกณฑ์แห่ง ป.79/2541 ก็ไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้ามารวมเป็นรายได้ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ต้องเสีย VAT 7% (ภาษีขาย)
แต่กรณีที่มิได้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว ก็จะเป็นภาระของบริษัทฯ ที่ต้องพิสูจน์ ว่าตนได้ทำลายสินค้า / เศษซากการผลิต หากพิสูจน์ได้ก็ไม่ต้องถูกประเมินภาษีดังกล่าว แต่กรณีพิสูจน์ไม่ได้ก็อาจถูกเจ้าพนักงาน หยิบยกเอามาเป็นประเด็นในการประเมินภาษี พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มได้
(2) อัตราส่วนการสูญเสีย และเศษซากการผลิตที่เหมาะสม ควรเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
เรื่องของอัตราเปอร์เซ็นต์ส่วนสูญเสีย ต้องยึดเอาจากอัตรามาตรฐานของแต่ละอุตสาหกรรม (Industrial Average Ratio) เป็นเกณฑ์ ซึ่งบางอุตสาหกรรม อาจมีการรวบรวมสถิติข้อมูล ไว้ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้า/สมาคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแต่ละบริษัทก็อาจมีอัตราส่วนการสูญเสียสูง/ต่ำกว่ามาตรฐานปกติได้ อันเนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการตรวจสอบภาษีของเจ้าพนักงานฯ จึงต้องใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์เหตุการณ์ในแต่ละกรณี ๆ ไป ซึ่งหากไม่พบสิ่งบอกเหตุที่บ่งชี้ถึงการฉ้อฉล ก็ต้องยอมรับอัตราส่วนการสูญเสียตามบัญชีของบริษัท
9.3 วิธีแก้ไข
หากบริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการของ ป.79/2541 อย่างครบถ้วน ก็ย่อมไม่มีประเด็นปัญหาใด ๆ กับเจ้าพนักงาน สำหรับในเรื่องของอัตราส่วนการสูญเสียนั้น บริษัทควรแก้ปัญหาโดยวางระบบควบคุมภายในและระบบบัญชีเอกสารหลักฐาน (เช่น Production Report) ให้ครบถ้วนสามารถสอบยันความถูกต้องได้ ก็ย่อมไร้ปัญหาภาษีอย่างแน่นอน
10. สินค้าสูญหาย/ถูกทำลาย
10.1 แนวคิด/หลักการ
กรณีสินค้าสูญหาย/ถูกทำลาย อาจแยกพิจารณาได้ เป็น 2 กรณี คือ
ก. กรณีสินค้าถูกขโมย/ภัยธรรมชาติ ให้ใช้หลักฐานการแจ้งความเป็น Supporting Document ในการถือเป็นรายจ่ายของกิจการ ซึ่งกรณีดังกล่าว จะไม่ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้า จึงไม่ต้องถือเป็นรายได้ (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) และไม่ต้องเสียภาษีขาย (VAT 7%)
ข. กรณีสินค้าขาด/เกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งเกิดจากการตรวจนับสินค้า (Stock) ซึ่งปกติจะนับกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ณ วันสิ้นปี (31 ธันวาคม แต่ในทางปฏิบัติจริง อาจตรวจนับก่อนหรือหลังวันสิ้นปี แล้วกระทบยอดมาหาผลลัพธ์ ณ วันสิ้นปี)
กรณีสินค้าเกิน จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จะต้องระวางโทษปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90(14)) ต่อครั้งที่ถูกตรวจปฏิบัติการ
กรณีสินค้าขาด จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- ต้องรับผิดเสียภาษีขาย (VAT 7%) จากราคาตลาดของสินค้าที่ขาด
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89 (10))
ผลการตรวจนับ บทลงโทษ สินค้า/วัตถุดิบที่ตรวจนับได้
ขาดจากรายงานฯ เกินจากรายงานฯ
ต้องเสียภาษีขาย (ม.77/1 (8) (จ)) ?
เบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89 (10)) ?
ถูกปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90 (14) (15)) ? ?
- โทษปรับอาญา 2,000 บาท ต่อครั้งที่เข้าตรวจ (ม.90 (15))
10.2 ปัญหา
(1) มาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการ VAT ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นรายสถานประกอบการ เช่น กรณีสำนักงานใหญ่สั่งซื้อ ส่วนโกดังมีหน้าที่ลงรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะแตกต่างจากประเพณีปฏิบัติทางบัญชี ซึ่งมักทำบัญชีรวมศูนย์ ณ สำนักงานใหญ่ ดังนั้น กรณีข้างต้นหากลงรายงานผิดพลาด แต่ละสาขาจะต้องรับผิด ทั้งทางแพ่งและอาญา
(2) กรณีของร้านค้าปลีก (เช่น 7-Eleven) ซึ่งมีสินค้ามากชนิด จึงอาจมีสินค้าสูญหายได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องทำการตรวจนับบ่อยขึ้น เพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดี
เมื่อตรวจนับบ่อยครั้ง ก็มักจะพบว่ามีปัญหาสินค้าขาดหาย/เกินจากสต็อกบ่อย เช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ต้องถูกลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญา อันเนื่องจากสินค้าขาด/เกิน
10.3 วิธีแก้ไข
(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542 ข้อ 11 วางหลักเกณฑ์ผ่อนปรน กรณีมิได้จัดเก็บรายงานต่าง ๆ ไว้ ณ สถานประกอบการ เจ้าพนักงานฯ จะอนุโลมให้บริษัทนำรายงานดังกล่าวมาแสดงได้ภายใน 7 วัน
(2) กรณีสินค้าสูญหาย จะต้องแก้ไขโดยเพิ่มระบบควบคุมภายใน เช่น เพิ่มบุคลากร เพิ่มขั้นตอนเบิกจ่ายสินค้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย ยอดเงินค่าปรับทางภาษี เป็นสำคัญ
อนึ่ง กรณีมีการตรวจนับสินค้าบ่อย ๆ จะส่งผลเกิดความผิดอันเนื่องจาก สต็อก ขาด/เกิน อยู่บ่อย ๆ ซึ่งโดยหลักการจะต้องเสียเบี้ยปรับ/ค่าปรับอาญา ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงควรตรวจนับอย่างเป็นทางการ เพียงปีละครั้งเดียวก็พอ
 
 
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์
 
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic



SMEs ใต้เงาภาษีไทย

ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (4)
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (3)
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (2)
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (1)
หลักเกณฑ์รายจ่ายทางภาษีอากร
รายจ่ายในการดำเนินกิจการ
รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (จบ)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (2)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1)
SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (จบ)
SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (3)
SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (2)