ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 7 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


สรุปคำขอรับใบอนุญาตทำงาน

สรุปคำขอรับใบอนุญาตทำงาน
1. ตท.1 คำขอรับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 10
2. ตท.2 คำขอรับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 7
3. ตท.3 คำขอรับใบอนุญาตทำงาน แทนคนต่างด้าว
4. มาตรา 8
5. ตท.5 คำขอต่ออายุอนุญาตทำงานตามมาตรา 15
6. ตท.6 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 19
7. ตท.7 คำขออนุญาตเปลี่ยนการทำงาน/เปลี่ยนท้องที่/สถานที่ในการทำงาน ตามมาตรา 21
8. ตท.11 แบบหนังสือแจ้งเข้ามารทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตามมาตรา 7
9. ตท.13 การขอโควตาและยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
10. ตท.15
11. คำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตฯ

ตท.1 คำขอรับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 10
(ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์ สาระสำคัญ การยื่นคำขอ คุณสมบัติคนต่างด้าว)

ใช้ในกรณีขอรับใบอนุญาต ทำงานของคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิพิเศษตามกฎหมายอื่น ดังนี้

       1. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520
       2. พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
       3. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522

     โดยยื่นแบบหรือติดต่อได้ที่
             ศูนย์บริการวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน
             สำนักงานจัดหางาน จังหวัดที่บริษัทตั้งอยู่

      กรณีผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับสิทธิพิเศษตามกฎหมายอื่น ดังนี้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 พระราชญัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ใช้เอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้

     1. แบบคำขอ ตท. 1 และรูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 3x4 ซ.ม. (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 3 รูป
     2. หนังสือเดินทางฉบับจริง พร้อมสำเนาทุกหน้า 1 ชุด และ ได้รับการตรวจลงตราตามที่กฎหมายอื่นๆ กำหนด
     3. สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)
     4. หนังสือที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานตามกฎหมายอื่น

      หนังสือจากสำนักงาน B.O.I หนังสือจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หนังสือจากกรมทรัพยากรธรณี 5. แบบแจ้งเข้าทำงาน (ตท. 10) พร้อมหนังสือมอบอำนาจจากนายจ้างและสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท

ตท.1 คำขอรับใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 11
การขออนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงต้องขอใหม่

คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน

      1.  คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง( NON-IMMIGRANT) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยงหรือผู้เดินทางผ่าน (TOURIST/TRANSIT) ซึ่งจะอนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงต้องขอใหม่
      2.  มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
      3.  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้องรัง
      4.  ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน
โปรดตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนยื่นคำขอฯ และจัดเรียงเอกสารตามลำดับ

      1.  แบบรับคำขอ ตท. 1 และรูปถ่ายขนาด 3x4 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/โพลาลอยด์)
      2.  หนังสือรับรองการจ้าง ( ตามแบบที่กำหนด)
      3.  สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน ( กรณีที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนัดไว้)
      4.  ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคต้องห้ามตามกฎหมาย (ไม่เกิน 6 เดือน)
      5.  สำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
      6.  หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าวติอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้าคนต่างด้าวไม่มายื่นคำขอด้วยตนเอง)
      7.  แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
      8.  หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้างติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง

     1.  สถานประกอบการ
             1.1  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ , ศ , 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในใช้จ่ายในประเทศไทย
             1.2  สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ที่ระบุประเภทกิจการ และ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
             1.3  บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวพร้อมเลขที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการ
             1.4  สำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนต่างด้าว และหากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
             1.5  กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน , หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม , ใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ

     2.  โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
             2.1  สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู หรือผู้สอน ( ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) , รายละเอียดแสดงจำนวนครูชาวต่างชาติตามแบบที่กำหนด/มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงศึกษา โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่ง และระยะเวลา
             2.2 ใบประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
             2.3  สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน , ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ/ใบอนุญาตต่าง ๆ ( ถ้ามี)/สำเนาหนังสือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
             2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)

     3.  หน่วยงานราชการ
             3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/เขตการศึกษาและโรงเรียน(กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลา
             3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งผู้ฝึกสอน

     4.  มูลนิธิ หรือสมาคม
             หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ , สมาคม , วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ

       5.  กิจการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ
            5.1  หนังสือรับรองจากสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ใบอนุญาตเป็นผู้ประสานงาน พร้อมรายชื่อ-ตำแหน่งงาน และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
            5.2  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)

หมายเหตุ
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็น ภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
- เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท (ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจ
- เอกสารของสารต่างด้าว ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ
ยื่นเอกสารครบถ้วน รับใบอนุญาตทำงานภายใน 3 วันทำการ

ตท.3 คำขอรับใบอนุญาตทำงาน แทนคนต่างด้าว
ใช้ในกรณีคนต่างด้าวยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ให้นายจ้างยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว

เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน
โปรดตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนยื่นคำขอฯ และจัดเรียงเอกสารตามลำดับ

      1.  แบบรับคำขอ ตท. 3 พร้อมใบแนบ
      2.  หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบที่กำหนด)
      3.  สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน (กรณีที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนัดไว้)
      4.  สำเนาหนังสือเดินทาง ( เฉพาะหน้าที่มีรูปถ่ายและชื่อคนต่างด้าว)
      5.  แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
      6.  แบบแจ้งการรับเข้าทำงาน (ตท. 10) หนังสือมอบอำนาจจากนายจ้างติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง

     1.  สถานประกอบการ
             1.1  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ , ศ , 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในใช้จ่ายในประเทศไทย
             1.2  สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ที่ระบุประเภทกิจการ และ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
             1.3  บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวพร้อมเลขที่ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการ
             1.4  สำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนต่างด้าว และหากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
             1.5  กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน , หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม , ใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ

     2.  โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
             2.1  สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู หรือผู้สอน ( ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) , รายละเอียดแสดงจำนวนครูชาวต่างชาติตามแบบที่กำหนด/มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงศึกษา โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่ง และระยะเวลา
             2.2 ใบประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
             2.3  สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน , ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ/ใบอนุญาตต่าง ๆ ( ถ้ามี)/สำเนาหนังสือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
             2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)

     3.  หน่วยงานราชการ
             3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/เขตการศึกษาและโรงเรียน(กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลา
             3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งผู้ฝึกสอน

    4.  มูลนิธิ หรือสมาคม
       หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ , สมาคม , วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ

       5.  กิจการถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ
      5.1  หนังสือรับรองจากสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ใบอนุญาตเป็นผู้ประสานงาน พร้อมรายชื่อ-ตำแหน่งงาน และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
      5.2  นำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)

หมายเหตุ
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็น ภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ หรือ ให้ผู้รับมอบอำนาจรับรองแทน
มาตรา 8
ใช้ในกรณีที่ยื่นแบบคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน ตท. 3 แล้วได้รับการอนุญาตให้ทำงานตามที่ยื่นขอ โดยให้ยื่นแสดงความจำนงภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้เข้ามาทำงานพร้อมเอกสาร ดังนี้
     - แบบคำร้องขอรับใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 8
     - รูปถ่ายขนาด 5*6 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
     - สำเนาหนังสือเดินทางพร้อมฉบับจริง
     - หนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้
     - ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง และโรคพิษสุราเรื้อรัง (ไม่เกิน 6 เดือน)
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ( กรณีคนต่างด้าวไม่มายื่นขอด้วยตนเอง)
ยื่นเอกสารครบถ้วน รับใบอนุญาตทำงานภายใน 3 วันทำการ
ตท.5 คำขอต่ออายุอนุญาตทำงานตามมาตรา 15

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว มีความประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตทำงาน

จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ ดังนี้

    (1)  กรณีต่ออายุใบอนุญาตทำงานครบรอบปีการทำงาน เอกสารประกอบคำขอจัดเรียงตามลำดับ ดังนี้
             1.  แบบคำขอต่ออายุ ตท. 5
             2.  ใบอนุญาตทำงาน ( Work permit) พร้อมสำเนา
             3.  หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนา
             4.  เอกสารตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตทำงาน (ถ้ามี)
             5.  หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตัวเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง

     1.  สถานประกอบการเอกชน
             1.1  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ( ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ , ศ , 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในใช้จ่ายในประเทศไทย
             1.2  บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว
     2.  โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
             2.1  สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู หรือผู้สอน ( ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) , รายละเอียดแสดงจำนวนครูชาวต่างชาติตามแบบที่กำหนด/มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงศึกษา โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่ง และระยะเวลา
             2.2 ใบประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
             2.3  สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน , ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ/ใบอนุญาตต่าง ๆ ( ถ้ามี)/สำเนาหนังสือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
     3.  หน่วยงานราชการ
             3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/เขตการศึกษาและโรงเรียน(กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลาการจ้างงาน
             3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งผู้ฝึกสอน
     4.  มูลนิธิ หรือสมาคม
             หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ , สมาคม , วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ

(2)   กรณีต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามกำหนด VISA
การได้รับการขยายระยะเวลา VISA ใหม่ที่ไม่เกินกำหนดระยะเวลาของงานที่กำหนดไว้ โดยให้ยื่นขอต่ออายุ ณ สำนักงนจัดหางานกรุงเทพ 1-10 หรือสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว และใช้หลักฐานเอกสาร ดังนี้ ี้
         1.  แบบคำขอต่ออายุ ตท. 5
         2.  ใบอนุญาตทำงาน ( Work permit) พร้อมสำเนา
         3.  หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนา
         4.  สำเนาเอกสารตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง เช่น สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)
         5.  หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตัวเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็น ภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ให้แสดงสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง
สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ( ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจ
เอกสารของคนต่างด้าว ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ
ตท.6 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงานตามมาตรา 19
ใช้ในกรณีใบอนุญาตทำงานชำรุดในสาระสำคัญ หรือสูญหายโดยให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบการชำรุดหรือสูญหาย มิฉะนั้นจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท และต้องดำเนินการก่อนวันสิ้นอายุการอนุญาต
รายการเอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน

1. กรณีใบอนุญาตทำงานชำรุดในสาระสำคัญ
     - แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน (ตท. 6)
     - ใบอนุญาตทำงานเล่มที่ชำรุด พร้อมสำเนา
     - รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 5*6 เซนติเมตร 3 รูป ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

2. กรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย
     - แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน (ตท. 6)
     - หลักฐานการรับแจ้งความใบอนุญาตทำงานสูญหายจากสถานีตำรวจ
     - รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 5*6 เซนติเมตร 3 รูป ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
     - สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ถ้ามี)
     - หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนา

แบบที่ 1

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน ท้องที่การทำงาน และ/หรือ สถานที่ในการทำงาน โดยให้ยื่นคำขอได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.  การเปลี่ยนที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบ การเดิม
2.  การย้ายที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบการ เดิมไปยังจังหวัดอื่น ซึ่งนอกเหนือจากการอนุญาตเดิม
3.  การเพิ่มที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบกา รเดิมในจังหวัดอื่น ซึ่งนอกเหนือจากการอนุญาตเดิม

(1)  รายการเอกสารที่ใช้สำหรับยื่น
1.  แบบคำขอ ตท. 7
2.  ใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา
3.  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)
4.  สำเนาภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 09 ที่ระบุการเปลี่ยนแปลง และ/หรือเพิ่มที่ตั้งสถานที่ทำงาน ที่ตั้งสาขา และ/หรือท้องที่ทำงาน
5.  แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
6.  หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว ( ถ้าไม่มาติดต่อด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของและผู้รับมอบ
7.  สำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนต่างด้าว หากแต่นายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ งลงนามแทน

หมายเหตุ สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
(1)  เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ( ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจง
(2)  เอกสารของคนต่างด้าว ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ

ยื่เอกสารครบถ้วน ทราบผลภายใน 3 วันทำการ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มตท. 7 แบบที่ 1

แบบที่ 2

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน ท้องที่การทำงาน และ/หรือ สถานที่ในการทำงาน โดยให้ยื่นคำขอได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.  การเปลี่ยนตำแหน่งงาน และ/หรือลักษณะงานในสถานประกอบการเดิม
2.  การเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการแห่งใหม่ที่นอกเหนือจากก ารอนุญาตเดิม
3.  การเพิ่มตำแหน่งงาน และ/หรือลักษณะงานในสถานประกอบการเดิม และ/หรือสถานประกอบการแห่งใหม่

(1)  รายการเอกสารที่ใช้สำหรับยื่น
1.  แบบคำขอ ตท. 7
2.  หนังสือรับรองการจ้าง ( ตามแบบที่กำหนด)
3.  สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน ( กรณีที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้)
4.  ใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา
5.  กรณีคนต่างด้าวไม่มายื่นด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง
1.  สถานประกอบการเอกชน
1.1  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่ างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ , ศ , 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในใช้จ่ายในประเทศไทย
1.2  สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ที่ระบุประเภทกิจการ และ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
1.3  กรณีกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทที่เป็นคนต่างด้าวให้นำสำเนาใบอนุญาตทำงานของกรรมการท่านนั้น/ และกรณีกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทไม่ได้ทำงานในประเท ศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรอง และทำหนังสือมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
1.4  กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เก ี่ยวข้อง ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน , หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม , ใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถ านที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ
2.  โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
2.1  สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู หรือผู้สอน ( ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) , รายละเอียดแสดงจำนวนครูชาวต่างชาติตามแบบที่กำหนด/มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงศึกษา โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่ง และระยะเวลา
2.2  ใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งผู้ฝึกสอน
2.3  สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน , ใบอนุญาตให้เป็นครูใ หญ่ , ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ , ใบอนุญาตต่าง ๆ (ถ้ามี)/ สำเนาหนังสือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)
3.  หน่วยงานราชการ
3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/เขตการศึกษาและโรงเรียน(กรณี ครูโรงเรียนรัฐบาล) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลา
3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
4.  มูลนิธิ หรือสมาคม
หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ , สมาคม , วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ

หมายเหตุ

(1) “ กรณีเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการ ” ให้แนบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวตามแบบที่กำหนด และแผนที่ตั้งสถานประกอบการ
(2)  เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็น ภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
(3)  เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ หรือให้ผู้รับมอบอำนาจรับรองแทน

ยื่นเอกสารครบถ้วน ทราบผลภายใน 3 วันทำการ
ตท.7 คำขออนุญาตเปลี่ยนการทำงาน/เปลี่ยนท้องที่/สถานที่ในการทำงาน ตามมาตรา 21
แบบที่ 1
คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน ท้องที่การทำงาน และ/หรือ สถานที่ในการทำงาน โดยให้ยื่นคำขอได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.  การเปลี่ยนที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบ การเดิม
2.  การย้ายที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบการ เดิมไปยังจังหวัดอื่น ซึ่งนอกเหนือจากการอนุญาตเดิม
3.  การเพิ่มที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในสถานประกอบกา รเดิมในจังหวัดอื่น ซึ่งนอกเหนือจากการอนุญาตเดิม

(1)  รายการเอกสารที่ใช้สำหรับยื่น
1.  แบบคำขอ ตท. 7
2.  ใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา
3.  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)
4.  สำเนาภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 09 ที่ระบุการเปลี่ยนแปลง และ/หรือเพิ่มที่ตั้งสถานที่ทำงาน ที่ตั้งสาขา และ/หรือท้องที่ทำงาน
5.  แผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
6.  หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว ( ถ้าไม่มาติดต่อด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของและผู้รับมอบ
7.  สำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง ถ้านายจ้างเป็นคนต่างด้าว หากแต่นายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ งลงนามแทน

หมายเหตุ สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้
(1)  เอกสารของนายจ้าง ให้ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ( ถ้ามี) หรือผู้รับมอบอำนาจง
(2)  เอกสารของคนต่างด้าว ให้คนต่างด้าวลงลายมือชื่อ หรือผู้รับมอบอำนาจ

ยื่นเอกสารครบถ้วน ทราบผลภายใน 3 วันทำการ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มตท. 7 แบบที่ 1

แบบที่ 2

คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือเพิ่ม การทำงาน ท้องที่การทำงาน และ/หรือ สถานที่ในการทำงาน โดยให้ยื่นคำขอได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.  การเปลี่ยนตำแหน่งงาน และ/หรือลักษณะงานในสถานประกอบการเดิม
2.  การเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการแห่งใหม่ที่นอกเหนือจากก ารอนุญาตเดิม
3.  การเพิ่มตำแหน่งงาน และ/หรือลักษณะงานในสถานประกอบการเดิม และ/หรือสถานประกอบการแห่งใหม่

(1)  รายการเอกสารที่ใช้สำหรับยื่น
1.  แบบคำขอ ตท. 7
2.  หนังสือรับรองการจ้าง ( ตามแบบที่กำหนด)
3.  สำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน ( กรณีที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้)
4.  ใบอนุญาตทำงาน พร้อมสำเนา
5.  กรณีคนต่างด้าวไม่มายื่นด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้างและผู้รับมอบอำนาจ

เอกสารประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง
1.  สถานประกอบการเอกชน
1.1  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่ างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ , ศ , 2542 พร้อมหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในใช้จ่ายในประเทศไทย
1.2  สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 01 ที่ระบุประเภทกิจการ และ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
1.3  กรณีกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทที่เป็นคนต่างด้าวให้นำสำเนาใบอนุญาตทำงานของกรรมการท่านนั้น/ และกรณีกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทไม่ได้ทำงานในประเท ศไทยและไม่มีใบอนุญาตทำงาน ต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรอง และทำหนังสือมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
1.4  กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงานของรัฐที่เก ี่ยวข้อง ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน , หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม , ใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นสถ านที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ
2.  โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน
2.1  สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู หรือผู้สอน ( ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) , รายละเอียดแสดงจำนวนครูชาวต่างชาติตามแบบที่กำหนด/มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงศึกษา โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่ง และระยะเวลา
2.2  ใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้น ตำแหน่งผู้ฝึกสอน
2.3  สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน , ใบอนุญาตให้เป็นครูใ หญ่ , ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ , ใบอนุญาตต่าง ๆ (ถ้ามี)/ สำเนาหนังสือการจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
2.4 เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)
3.  หน่วยงานราชการ
3.1 หนังสือรับรองจากส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน/เขตการศึกษาและโรงเรียน(กรณี ครูโรงเรียนรัฐบาล) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลา
3.2 กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฏหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งผู้ฝึกสอน
4.  มูลนิธิ หรือสมาคม
หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ , สมาคม , วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ

หมายเหตุ

(1) “ กรณีเพิ่มนายจ้าง/สถานประกอบการ ” ให้แนบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวตามแบบที่กำหนด และแผนที่ตั้งสถานประกอบการ
(2)  เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ยกเว้นภาษาอังกฤษ ให้จัดทำคำแปลเป็น ภาษาไทย ที่มีการรับรองความถูกต้อง
(3)  เอกสารที่เป็นสำเนาทุกฉบับให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ หรือให้ผู้รับมอบอำนาจรับรองแทน

ยื่นเอกสารครบถ้วน ทราบผลภายใน 3 วันทำการ
ตท.11 แบบหนังสือแจ้งเข้ามารทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตามมาตรา 7
การแจ้งเข้าทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน ตามมาตรา 7 ระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน
มาติดต่อ ณ สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
          - แบบฟอร์ม ตท. 11 (2 ชุด/ราย)
          - รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
          - สำเนาหนังสือเดินทาง
          - หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของสถานที่/นายจ้าง
          - กรณีเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ ต้องมีหนังสืออนุญาตจากกลุ่มประสานกิจการภาพยนตร์ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
          - กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าวให้แสดงสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง และหากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทย
และไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลหนึ่งลงนามแทน
          - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว หรือนายจ้าง (กรณีคนต่างด้าว หรือนายจ้างไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
ตท.13 การขอโควตาและยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ขั้นตอนการดำเนินการและเอกสารประกอบการขอโควตาและยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพ
      ให้นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการนำแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวกับสถานพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้แก่ รพ.ตากสิน , รพ.เลิดสิน , รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ , รพ.บางกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล , รพ.กลาง , รพ.ราชวิถี , รพนพรัตน์ราชธานี และ รพ.วชิรพยาบาล เพื่อขอรับใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานในการยื่นคำขอใบอนุญาต โดยชำระค่าตรวจสุขภาพคนละ 600 บาท และค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท (หมายเหตุ ควรเร่งดำเนินการไปติดต่อสถานพยาบาล เพื่อนัดตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อจะได้ใบรับรองแพทย์ไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานได้ท่านกำหนดเวลา นัดหมายให้มาต่ออายุใบอนุญาตทำงานของสำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 7 เพื่อความสะดวกในการติดต่อของท่าน)

ขั้นตอนที่ 2 ยื่นแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (ขอโควตา) มี 2 กรณี
กรณีที่ 1 นายจ้างรายเดิมที่ได้รับการจัดสรรโควตาแล้วในปี 2549 และยังมีความประสงค์เช่นเดิม คือ มีสถานที่ตั้งที่ทำงานและจำนวนความต้องการจ้างคนต่างด้าวเท่าเดิม ให้ดำเนินการต่ออายุโควตา โดยใช้เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นต่ออายุโควตา ดังนี้
     1. ใบโควตาฉบับปี 2549 ที่ระบุการอนุญาตสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
     2. สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง 1 ฉบับ
     3. หนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง (กรณีนายจ้างมิได้มายื่นด้วยตนเอง) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท

กรณีที่ 2 นายจ้างรายใหม่ที่ต้องการขอโควตาหรือนายจ้างรายเดิมที่ประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงโควตาเดิม เช่น เปลี่ยนสถานที่ตั้งที่ทำงานใหม่ , ต้องการเพิ่มจำนวนการจ้างคนต่างด้าว ฯลฯ ให้ดำเนินการยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยใช้เอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอ ดังนี้
     1. แบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (โควตา) ที่กรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว 2 แผ่น)
     2. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้องสำเนา ( กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
     3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( รับรองมาไม่เกิน 6 เดือน) , สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 20) สำเนาบัตรประจำตัวผู้มีอำนาจลงนาม ( กรณีเป็นนิติบุคคล)
     4. กรณีที่ตั้งสถานที่ทำงานไม่ตรงกับในทะเบียนบ้านนายจ้าง ( กรณีบุคคลธรรมดา) หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีบุคคล) ให้ยื่นหลักฐานอื่นที่เกี่ยงข้องประกอบ เช่น เอกสารแสดงการประกอบธุรกิจ หนังสืออนุญาตจัดตั้งโรงงาน (รง. 4) ทะเบียนพาณิชย์ สัญญาเช่าสถานที่ สัญญารับเหมาก่อสร้าง โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย เป็นต้น
     5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ
     6. หนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง ( กรณีนายจ้างไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท

ขั้นตอนที่ 3 การยื่นต่อ/ขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวให้ดำเนินการ โดยนำเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอ ดังนี้
     1. แบบ ตท. 13 ที่กรอกรายละเอียดแล้ว
     2. หนังสือแจ้งผลการอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าวปี 2549 ( ใบโควตา) ที่ได้รับการประทับตรารับเรื่องต่ออายุในขั้นตอนที่ 1 ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
     3. บัตรใบอนุญาตทำงาน (สีชมพู) หรือใบแทนใบอนุญาตทำงาน ( ใบรับคำขอ) และใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง) พร้อมสำเนา 1 ชุด
     4. แบบ ทร. 38/1 ของคนต่างด้าว ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด (ใช้เฉพาะกรณีไม่มีสำเนาบัตรใบอนุญาตทำงาน ( สีชมพู) ในข้อ 3
     5. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริงหรือสำเนาใบเสร็จค่าตรวจสุขภาพ
     6. หนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง ( กรณีนายจ้างไม่ได้ลงนามในแบบ ตท. 13) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง และผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
     7. หนังสือมอบอำนาจของแรงงานต่างด้าว ( กรณีแรงงานต่างด้าวไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
     8. เงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานอายุไม่เกิน 1 ปี จำนวน 1,900 บาท ( เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว นายจ้างที่มีการการต่ออายุลูกจ้าง จำนวน 10 คนขึ้นไป กรุณาชำระเงินค่าธรรมเนียมเป็นแคชเชียร์เช็ค ธนาคารกรุงไทย สั่งจ่ายบัญชี “ เพื่อรับโอนเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ฯ ” สาขาใดก็ได้

                      หากพ้นกำหนดแล้วแรงงานต่างด้าวไม่ไปยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานคนงานต่างด้าวจะมีความผิดในข้อหาทำงานในขณะที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกผลักดันส่งกลับประเทศ นายจ้างจะมีความผิดในข้อหารับคนต่างด้าว ซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงานหรือรับคนต่างด้าวเข้าทำงานที่มีลักษณะหรือเงื่อนไขในการทำงานแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีแรงงานต่างด้าวเปลี่ยนนายจ้างหรือแจ้งออกก่อนวันที่มาต่ออายุ

ให้ดำเนินการยื่นขอเปลี่ยนนายจ้างและต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ปี 2550 จำนวน 2 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 ใช้ยื่นเปลี่ยนนายจ้าง ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการยื่น ดังนี้
     1. แบบตท. 13 ที่กรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว
     2. หนังสือใบโควตา ปี 2549 ที่ได้รับการประทับตรารับเรื่องต่ออายุในขั้นตอนที่ 1 แล้ว ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
     3. บัตรใบอนุญาตทำงาน (สีชมพู) หรือใบเสร็จรับเงินค่าใบอนุญาตทำงานปี 2549 ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
     4. แบบ ทร. 38/1 ของคนต่างด้าวที่เปลี่ยนแปลงที่อยู่เป็นปัจจุบันแล้ว ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
     5. ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง หรือสำเนาใบเสร็จค่าตรวจสุขภาพ
     6. หนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง ( ใช้ในกรณีนายจ้างไม่ได้ลงนามในแบบ ตท. 13) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง และผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
     7. หนังสือมอบอำนาจของแรงงานต่างด้าว ( กรณีแรงงานต่างด้าวไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
     8. หลักฐานการแจ้งออกจากนายจ้างเดิม (ตท. 10)

ชุดที่ 2 ใช้ยื่นต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ปี 2550 ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการยื่น ดังนี้
     1. แบบตท. 13 ที่กรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว
     2. หนังสือใบโควตา ปี 2549 ที่ได้รับการประทับตรารับเรื่องต่ออายุในขั้นตอนที่ 1 แล้ว ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
     3. บัตรใบอนุญาตทำงาน (สีชมพู) หรือใบเสร็จรับเงินค่าใบอนุญาตทำงานปี 2549 ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
     4. แบบ ทร. 38/1 ของคนต่างด้าวที่เปลี่ยนแปลงที่อยู่เป็นปัจจุบันแล้ว ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
     5. สำเนาใบรับรองแพทย ์ หรือสำเนาใบเสร็จค่าตรวจสุขภาพ
     6. หนังสือมอบอำนาจของนายจ้าง ( ใช้ในกรณีนายจ้างไม่ได้ลงนามในแบบ ตท. 13) พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของนายจ้าง และผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
     7. หนังสือมอบอำนาจของแรงงานต่างด้าว ( กรณีแรงงานต่างด้าวไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
ตท.15
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน (ตามมาตรา 7 และ ตามมาตรา 15)
     1. แบบคำขอรับใบอนุญาต (ตท. 15)
     2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน ( บัตรเขียว)
     3.Passport ตัวจริงและสำเนา (ทุกหน้า) ที่ได้รับการตรวจลงตราวีซ่า L-A เพื่อการทำงาน
     4. ใบอนุญาตทำงาน ที่ทาง สปป.ลาวออกให้ (กรณีขอหนังสือเดินทางมาจาก สปป.ลาว)
     5. หนังสือแจ้งผลการจ้างแรงงานต่างด้าว ( ใบโควตา)
     6. สัญญาจ้าง/หนังสือรับรองยืนยันการก่อสร้าง/สำเนาทะเบียนบ้าน ( เพื่อยืนยันสถานที่ทำงาน)
     7. หนังสือมอบอำนาจ ( กรณีนายจ้าง/บริษัทไม่มาด้วยตนเอง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
     8. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีคนต่างด้าวไม่มาด้วยตนเอง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
     9. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
     10. ใบรับรองแพทย์ ซึ่งออกให้ไม่เกิน 60 วัน
     11. แผนที่แสดงสถานที่ทำงาน
     12. รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
หมายเหตุ
     1. กรณีเปลี่ยนนายจ้างทำบัตรใหม่ต้องถ่ายสำเนา ตท. 10 จากนายจ้างเก่ามาด้วย เพื่อยืนยันว่าได้แจ้งออกจริง
     2. กรณีเป็นนิติบุคคล / บริษัท จะต้องประทับตราบริษัทพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
     3. ค่าใช้จ่ายในการออกใบอนุญาตทำงาน ( ค่ายื่นคำขอใบอนุญาตทำงาน 100 บาท ค่าธรรมเนียมคิดตามระยะเวลาการอนุญาตตาม VISA ให้อยู่ในเมืองไทย แต่ไม่เกิน 2 ปี)
คำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตฯ

1.  กรณีเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล
      - แบบคำร้องฯ
      - สำเนาใบอนุญาตทำงานพร้อมฉบับจริง
      - สำเนาหนังสือเดินทาง
      - หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเปลี่ยนแปลง
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว ( ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

2.  กรณีเปลี่ยนหรือแก้ไข สัญชาติ / กรณีเปลี่ยนลายมือชื่อ
     - แบบคำร้องฯ
     - สำเนาใบอนุญาตทำงานพร้อมฉบับจริง
     - สำเนาหนังสือเดินทาง
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

3.  กรณีเปลี่ยนหรือย้ายที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว
     - แบบคำร้องฯ
     - สำเนาใบอนุญาตทำงานพร้อมฉบับจริง
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
     - เอกสารหรือหลักฐานที่ระบุการเปลี่ยนแปลงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

กรณีคนต่างเช่าที่พักด้วยตนเอง ให้แนบสำเนาสัญญาเช่าที่พักอาศัย ( โดยมีรายละเอียดสถานที่ตั้งอย่างชัดเจนและครบถ้วน และต้องมีการรับรองเอกสารจากผู้ให้เช่า)
กรณีใช้ที่พักอาศัยที่เดียวกับสถานประกอบการ ให้แนบหนังสือยินยอมจากกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม และสำเนาหนังสือรับรองการจัดตั้งสถานประกอบการ เช่น หนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล โดยให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามรับรองพร้อมประทับตราบริษัท
กรณีพักอาศัยกับญาติหรือเพื่อน ให้แนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหนังสือสัญญาเช่า หนังสือรับรองยินยอมจากเจ้าของบ้าน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้านหรือผู้เช่าบ้าน และให้เจ้าของบ้านหรือผู้เช่าบ้านลงนามรับรองเอกสาร
กรณีพักอาศัยอยู่กับภรรยาหรือสามีให้แนบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส และสำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส พร้อมลงนามรับรองเอกสาร
กรณีคนต่างด้าวได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้ว ให้แนบสำเนาพร้อมฉบับจริงและลงนามรับรองเอกสาร
4.  กรณีเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อสถานประกอบการ
     - แบบคำร้องฯ
     - สำเนาใบอนุญาตทำงานพร้อมฉบับจริง
     - สำเนาหนังสือการจัดตั้งสถานประกอบการ หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ระบุรายการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขแล้ว โดยกรรมการผู้มีอำนาจ ลงนามรับรองเอกสาร
     - มอบอำนาจจากคนต่างด้าว ( ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

5.  กรณีเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดของสถานประกอบการตามประกาศของทางราชการ     
     - แบบคำร้องฯ
     - สำเนาใบอนุญาตทำงานพร้อมฉบับจริง
     - สำเนาหนังสือแจ้งรายการเปลี่ยนแปลงจากหน่วยงานราชการ และหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ที่ระบุข้อความเปลี่ยนแปลง
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

6.  กรณีเพิ่มประเภทธุรกิจ (โดยธุรกิจเดิมยังคงดำเนินการอยู่)
     - แบบคำร้องฯ
     - สำเนาใบอนุญาตทำงานพร้อมฉบับจริง
     - แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ. 09)
     - หนังสือมอบอำนาจจากคนต่างด้าว (ถ้าไม่มายื่นด้วยตนเอง) ติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ




WorkPermit

การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
สรุปเอกสารประกอบการยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
สรุปเอกสารประกอบการ ยื่นคำร้อง ขออยู่ต่อในกรณี
ONE YEAR VISA
การขอใบอนุญาตทำงาน ประเภทบริษัททั่วไป
รายละเอียดและราคา