ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(Certified Public AccountantCPA) เป็นอีกอาชีพหนึ่งในวิชาชีพบัญชี ซึ่งมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เป็นผู้กำกับดูแล ออกข้อบังคับ วางหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อควบคุมผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
|
|
การเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรต้องรู้ข้อบังคับของก.บช.ที่กำหนดไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งข้อบังคับของ ก.บช. กำหนดไว้ว่า
|
ผู้ที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
|
|
1.เป็นผู้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งก.บช. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
หรือเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีการศึกษาวิชาการบัญชีซึ่งทาง ก.บช.
เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
|
2.เคยปฎิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดยก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
|
3.มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์แล้ว
|
4.มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติของต่างประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
|
5.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
|
6.ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
|
7.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และ
|
8.ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี
|
* ในคุณสมบัติข้อ 2 เคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้วโดย ก.บช.เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาตได้นั้นคือจะต้อง
|
|
1) ฝึกหัดงานสอบบัญชีเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ และมีเวลาฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง
|
ซึ่งการฝึกงานจะกระทำในระหว่างการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือหลังจากได้รับปริญญาแล้วก็ได้ แต่ถ้าฝึกหัดงานในระหว่าง การศึกษาจะเริ่มฝึกหัดงานหลังจากได้สอบผ่านวิชาการบัญชีตามที่ ก.บช. กำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบบัญชี
ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้ว ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
|
-
|
วิชาการบัญชีที่ก.บช. กำหนดต้องศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีเพื่อเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีดังนี้
|
|
1. การบัญชีขั้นต้น/ชั้นต้นและการบัญชีขั้นกลาง/ชั้นกลาง 3 รายวิชา
|
2. การบัญชีขั้นสูง/ชั้นสูง 1 รายวิชา
|
3. การสอบบัญชี 1 รายวิชา
|
4. การบัญชีต้นทุน 1 รายวิชา
|
5. การภาษีอากร 1 รายวิชา
|
รวม 7 รายวิชา
|
ผู้ที่จะฝึกหัดงานสอบบัญชีจะต้องปฏิบัติดังนี้
|
|
- หาสำนักงานสอบบัญชีที่จะเข้าไปฝึกหัดงาน และควรตรวจสอบกับสำนักงาน ก.บช. ด้วยว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ท่านเข้าฝึกหัดงานด้วยนั้นยังเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ให้ยื่นคำข้อแจ้งการฝึกหัดงานต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 2 ในทันทีที่เริ่มฝึกหัดงาน เพราะจะเริ่มนับระยะเวลา และจำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานในวันที่ยื่นแบบ ก.บช. 2
- ทุกรอบ 12 เดือนที่ฝึกหัดงานจะต้องรายงานผลการฝึกหัดงานต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 3 เช่น ฝึกหัดงานวันที่ 15 ก.ย.43 เมื่อถึงวันที่ 14 ก.ย.44 จะต้องรายงานผลการฝึกงาน ตามแบบ ก.บช.3
- ในระหว่างฝึกหัดงาน ถ้ามีเหตุใดๆ ก็ตามที่ทำให้ท่านต้องเปลี่ยนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รับรองการฝึกหัดงานของท่าน จะต้องแจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 6 ภายใน 1 เดือน ถ้าแจ้งเลยกว่า 1 เดือน จะต้องเริ่มนับระยะเวลาและจำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานใหม่
- เมื่อฝึกหัดงานครบ 3 ปี และได้จำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง ให้แจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. เพื่อปิดการฝึกหัดงานตามแบบ ก.บช. 7
|
(2) ผ่านการทดสอบของคณะกรรมการทดสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชี วิชาที่ทดสอบมี 5 วิชาคือ
|
1.การบัญชี
|
2.การสอบบัญชี 1
|
3.การสอบบัญชี 2
|
4.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
|
5.การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำและตรวจสอบบัญชี
|
- จะต้องสอบผ่านให้ได้ทั้ง 5 วิชา โดยมีคะแนนในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่า 60 คะแนน ข้อสอบจะเป็นปรนัย 40 ข้อ (40 คะแนน) อัตนัย 3 ข้อ (60 คะแนน) เวลาสอบ 3 ชั่วโมงต่อ 1 วิชา วิชาที่สอบผ่านแล้ว สามารถเก็บผลคะแนนไว้ได้ไม่เกิน3 ปี นับแต่วันที่ผ่านการทดสอบ
- ก.บช. จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือ เดือนมิถุนายน กันยายน และธันวาคม ซึ่งจะสอบวันอาทิตย์ จะเปิดรับสมัครสอบก่อนถึงวันสอบ 2 เดือน โดยเดือนแรกจะเปิดรับสมัคร ส่วนเดือนที่สอง ก.บช. จะใช้พิจารณา คัดเลือกผู้สมัครที่จะมีสิทธิเข้าสอบ
- ผู้ที่ผ่านการฝึกหัดงานครบถ้วนตามเงื่อนไข และผ่านการทดสอบครบทั้ง 5 วิชา ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อสำนักงาน ก.บช. เมื่อ ก.บช. ออกใบอนุญาตท่านก็จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้อย่างสมศักดิ์ศรีด้วยความภาคภูมิ
ที่มา : http://account.bu.ac.th
|