ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย article

               วันก่อนได้ทำหน้าที่กรรมการสัมภาษณ์นักเรียนโควต้าจากทั่วประเทศ เพื่อคัดเลือกให้เข้าศึกษาต่อในสาขาการบัญชีของสถาบันที่ผู้เขียนสอนอยู่ คำถามยอดฮิตที่ผู้เขียนมักถามเด็ก คือ เหตุใดจึงสนใจที่จะเรียนสาขาบัญชี หลายคนตอบว่า ต้องการกลับไปช่วยทำบัญชีให้กิจการของครอบครัวและมีคนหนึ่งตอบว่า เห็นว่าอาชีพนักบัญชีหางานง่าย เพราะทุกธุรกิจล้วนต้องมีนักบัญชี

เป็นคำตอบที่...ถูกต้องค่ะ

วันนี้จึงอยากพูดถึงงานของนักบัญชี ที่เป็นเหมือนเพื่อนซี้ของผู้บริหารหรือของเจ้าของกิจการทุกแห่ง เหตุใดจึงกล่าวเช่นนี้...

ในอดีต ทุกครั้งที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจ นักบัญชีจะเป็นบุคคลแรกที่ถูกกล่าวโทษว่า มิได้ช่วยนำเสนอข้อมูล หรือชี้ให้เห็นปัญหาที่จะตามมา หากกิจการได้ตระหนักหรือรับรู้ข้อมูลความผิดพลาดหรือจุดบกพร่องที่กิจการกำลังเผชิญ หรือมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง จะได้ระมัดระวัง หรือหาทางแก้ไข ก่อนที่จะลุกลามจนไม่สามารถแก้ไข และอาจถึงกับต้องปิดกิจการลง ดังเช่นที่หลายบริษัทประสบปัญหาและต้องเลิกกิจการ หรือถูกบังคับให้ปิดกิจการ โดยมิได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน ในช่วงวิกฤตฟองสบู่ ในปี พ.ศ.2540

 

 

 

http://www.pattanakit.net/images/1197988319/business_guy_back_to__a_ha.gif

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น อาจมองได้ 2 ประเด็นหลัก ๆ คือ ประเด็นแรก ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของนักบัญชีเท่าที่ควร เพราะมองว่า นักบัญชีมิใช่ผู้เพิ่มรายได้ (ต่างกับพนักงานขายที่ธุรกิจมองว่า สำคัญกว่า) แต่เป็นเพียงผู้ทำงานประจำ ผู้บริหารหลายท่านอาจไม่เคยใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการเงินมาช่วยในการบริหารเลย ทำให้นักบัญชีไม่ได้รับความไว้วางใจ หรือไม่ได้รับโอกาส  ที่จะได้ทำหน้าที่เพื่อนซี้ยันป้ายอย่างแท้จริง ซึ่งนักบัญชีอาจได้บอกข้อมูลแล้ว หรืออยากบอก แต่ผู้บริหารอาจไม่สนใจที่จะรับฟัง โดยเชื่อในความรู้ความสามารถของตนว่า ข้าฯ เก่งคนเดียว ข้อมูลอยู่ในหัว ตัดสินใจเรื่องใดก็ไม่เคยถามหาข้อมูลใด ๆ

ประเด็นต่อมา คือ นักบัญชีบางคนไม่มีความรู้เพียงพอ กล่าวคือ ในอดีต ผู้ที่จัดทำบัญชี อาจไม่ได้สำเร็จการศึกษาในสาขาบัญชีโดยตรง ทำให้ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดทำบัญชีและการเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา บางครั้ง การนำเสนอข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมด อาจไม่ใช่ข้อมูล ที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจในบางปัญหา เช่น การตัดสินใจรับคำสั่งซื้อพิเศษ (special orders) ซึ่ง เป็นคำสั่งซื้อจำนวนมาก หรือเป็นล๊อตใหญ่ ในขณะที่กิจการมีกำลังการผลิตว่างเปล่าเหลืออยู่  การพิจารณารับคำสั่งซื้อจำนวนมาก ซึ่งมักเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติ นักบัญชีต้องนำเสนอข้อมูล  เฉพาะต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากการตัดสินใจรับคำสั่งซื้อดังกล่าว ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ จะเป็นเฉพาะ ต้นทุนผันแปรเท่านั้น (ต้นทุนผันแปร คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า เป็นต้น)

จากเหตุผลในประเด็นหลัง ทำให้ทางการเริ่มมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และได้หาแนวทาง แก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี เพื่อที่จะมี สภานักบัญชีที่จะดูแลควบคุมการทำงานของนักบัญชีทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ คาดว่า น่าจะคลอดกฎหมายดังกล่าวได้สำเร็จภายในปี 2547 นี้

นอกจากนี้ จากการที่กฎหมายบัญชีในอดีต ซึ่งเป็นกฎหมายตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 มีจุดอ่อนมาก โดยเฉพาะการที่เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจในการลงโทษ หรือดำเนินการใด ๆ กับผู้เกี่ยวข้องกับงานบัญชีให้ปฏิบัติตามได้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่เข้มงวด ทำให้ผู้เกี่ยวข้องขาดความยำเกรง หรือตั้งใจฝ่าฝืน เช่น กรณีการไม่ยื่นงบการเงิน มีโทษปรับสูงสุดเพียง 50,000 บาท ในขณะที่ผลเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมีมูลค่ามหาศาล

และเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้เกิดพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543 เพื่อให้การจัดทำบัญชีของธุรกิจถูกต้อง ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อมูลในงบการเงินเชื่อถือได้ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้องได้มากขึ้น

พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจไว้ 2 ฝ่าย คือ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้ทำบัญชี

ฝ่ายแรก คือ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนฯ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน จำกัด กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย  ธุรกิจที่มีสถานที่ประกอบการหลายแห่ง และบุคคลธรรมดา ซึ่งบุคคลสองพวกหลัง กฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องทำบัญชี แต่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าอาจมีสิทธิ์ออกกฎหมายลูก(กฎกระทรวง หรือประกาศฯ) ให้บุคคลธรรมดาบางประเภทจัดทำบัญชีก็ได้

สำหรับกิจการที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง แต่ละแห่งต้องทำบัญชีเอง แล้วสิ้นปีจึงนำงบการเงินมารวมกัน (คำว่า ทำบัญชี หมายถึง อาจส่งเอกสารทั้งหมดมาสำนักงานใหญ่ แต่งบการเงินทำแยกกัน) ยกเว้นกรณีเป็นโกดังที่มีไว้สำหรับเก็บสินค้าเท่านั้น ที่ไม่ต้องทำบัญชี

คำว่า “ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” ในหน่วยธุรกิจทั้งหลาย ได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้จัดการ ในประเทศไทย (กรณีเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ประกอบกิจการในประเทศไทย)

 

http://www.pattanakit.net/images/1197988319/business_woman_laptop_a_ha.gif

ฝ่ายที่สอง คือ ผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะทำในฐานะพนักงานประจำ ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานบริการรับทำบัญชีก็ตาม

และอย่างที่กล่าวไว้ว่า นักบัญชี เป็นเหมือนเพื่อนซี้ของผู้บริหาร ที่จะให้ข้อมูลใกล้ชิด เกาะติดสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน กฎหมายการบัญชีฉบับปัจจุบัน จึงให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติของนักบัญชี หรือผู้ทำบัญชีเป็นอย่างยิ่ง

ตามประกาศกรมทะเบียนการค้า พ.ศ.2543 เรื่องกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไข การเป็นผู้ทำบัญชี คือ ประการแรก ต้องมีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ประการที่สอง คือ ต้องมีความรู้ภาษาไทยอย่างเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้ ประการที่สาม ต้องไม่เคยต้องโทษ มาก่อนเกี่ยวกับกฎหมายบัญชี ถ้าเคยต้องโทษ ต้องเกิน 3 ปีมาแล้ว และประการสุดท้าย ซึ่งสำคัญมาก คือความรู้ของผู้ทำบัญชี ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จของงานบัญชีที่รับผิดชอบ

ผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย แบ่งตามกลุ่มของหน่วยธุรกิจ ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบปีที่ผ่านมา สามารถจ้างผู้ทำบัญชี ที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี หรือเทียบเท่าฯ มาเป็นผู้จัดทำบัญชีให้แก่ธุรกิจได้

ส่วนธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม และรายได้รวม ในรอบปีที่ผ่านมา เกินกว่า กลุ่มแรก รวมทั้ง ธุรกิจที่มีความสำคัญ คือ บริษัทมหาชนจำกัด ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทย กิจการร่วมค้าฯ ธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เหล่านี้ ต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี

จะเห็นได้ว่า กฎหมาย พยายามหามาตรการที่จะช่วยเหลือธุรกิจทางอ้อมในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้มีความรู้ทางบัญชีที่แท้จริง ซึ่งที่ผ่านมานั้น ธุรกิจจำนวนมากได้รับข้อมูลจากพนักงาน หรือผู้ช่วยที่ไม่มีความรู้ทางการบัญชีจริง ซึ่งในปี พ.ศ.2544 หลังการประกาศใช้กฎหมายบัญชีฉบับปัจจุบันทำให้ผู้ที่ทำบัญชีในหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายใหม่ จึงต้องหาทางเพิ่มคุณวุฒิให้กับตนเอง และต้องเข้ารับการอบรม เพื่อให้มีคุณสมบัติฯ ที่จะสามารถเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้อีก 8 ปี (ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2551) ซึ่งในช่วงที่มีการจัดอบรมนั้น ผู้เขียนได้รับเชิญเป็นวิทยากร  อบรมแก่ผู้ขาดคุณสมบัติดังกล่าว พบว่า ผู้ทำบัญชีจำนวนมากไม่ได้จบสาขาบัญชีโดยตรง หลายคน  เรียนมาในสาขาอื่น แต่ได้ศึกษาวิชาบัญชีบ้าง พอจัดทำบัญชีได้ แต่ไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้ง หลายคน ก็เป็นเจ้าของกิจการ และทำบัญชีให้กับธุรกิจของตนเอง เหล่านี้คือที่มาที่ทำให้รัฐบาลต้องก้าวเข้ามา จัดระเบียบให้แก่วิชาชีพบัญชี

ผลดีในการจัดระเบียบดังกล่าว ย่อมตกอยู่กับธุรกิจโดยตรง ที่จะได้รับข้อมูลทางบัญชี และการเงินที่เป็นมาตรฐาน สามารถนำข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม ไปช่วยในการตัดสินใจบริหารกิจการ ให้ประสบความสำเร็จได้โดยมีนักบัญชีมืออาชีพเข้ามาเสริมทีมงาน

และการที่จะเป็นนักบัญชีมืออาชีพได้ ก็ต้องเป็นผู้มีความรู้ ทั้งงานบัญชี กฎหมาย ภาษี และศาสตร์ทางการบริหารใหม่ ๆ เพื่อสามารถออกแบบรายงานให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการ  ที่ฝ่ายบริหารกำหนดในแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังต้องเป็นผู้มีความสังเกตรอบคอบในปัญหา  ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้ง เสนอแนะแนวทางแก้ไข ช่วยวางแผน และมองการณ์ไกล เพื่อให้องค์กรก้าวไป ก่อนคู่แข่งในขณะเดียวกัน ก็ต้องเป็นผู้รักษาความลับได้ดี รวมทั้ง เป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อสร้างมาตรฐานแห่งวิชาชีพบัญชีให้เป็นที่ยอมรับว่า มีความสำคัญเคียงบ่าเคียงไหล่กับงานบริหารอื่น ในองค์กร สมเป็น เพื่อนซี้...ยันป้าย...ของผู้บริหารอย่างแท้จริง

 

บทความโดย : รัตนา วงศ์รัศมีเดือน   ที่มา : หนังสือโลกวันนี้รายวัน  ประจำวันที่ 27 มกราคม 2547

 




ข่าวบัญชี-Accounting

ผู้ทำบัญชีจะต้องอบรมทุกรอบ 3 ปี 27ชม. article
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า article
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชี จับผิดผู้บริหารขี้โกง article
จ่ายในการดำเนินกิจการ article
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน article
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย article
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ article
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี article
จดทะเบียนธุรกิจ เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี article
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง article
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร article