ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 3 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง article


                         กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการให้บริการเช่าทรัพย์สินที่ได้มีการเรียกเก็บเงินประกันเงินมัดจำ หรือเงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกัน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.73/2541 เรื่องการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน2541 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ลงในคำสั่งดังกล่าวเป็นต้นไปและให้เป็นอันยกเลิก บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง แนวทางปฏิบัติ หรือคำวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งฉบับดังกล่าว แนวทางปฏิบัติดังกล่าวมีผลกระทบต่อ การรับรู้รายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการให้บริการเช่าทรัพย์สินที่ได้มีการเรียกเก็บเงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกัน

อย่างไรก็ตามต่อมากรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.155/2549 ลงวันที่12 กันยายน2549 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป.1/2528 โดยให้มีผลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มหรือหลังวันที่1 มกราคม2550 เป็นต้นไปเป็นผลให้แนวปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.73/2541 ในส่วนที่เป็นเงินประกันหรือเงินมัดจำสำหรับกิจการให้เช่าทรัพย์สินหรือกิจการให้บริการถูกยกเลิกไปโดยปริยาย แต่ยังคงต้องพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำสั่งที่ ป.73/2541 อยู่ต่อไปจึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนาดังนี้

ปุจฉามีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินประกัน หรือเงินมัดจำสำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้างอย่างไร                

               http://www.pattanakit.net/images/1193720269/architect_reading_blu_a_ha.gif          

วิสัชนาคำสั่งกรมสรรพากรที่ป.73/2541 ไม่มีผลกระทบต่อกรณีการให้บริการรับเหมาก่อสร้างแต่อย่างใดเนื่องจากการประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับรู้รายได้เป็นการชัดเจนตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 แล้วดังนั้นกรณีการให้บริการรับเหมาก่อสร้างที่ได้มีการเก็บเงินจ่ายล่วงหน้าจากผู้ว่าจ้าง โดยมีข้อตกลงต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ว่าจ้าง โดยยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวออกจากเงินค่างานที่ผู้รับจ้างจะได้รับในแต่ละงวด เพื่อชดเชยกับเงินจ่ายล่วงหน้าที่รับไปจนกว่าจะครบถ้วน พร้อมทั้งหักเงินค่าประกันผลงาน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการที่ได้มีการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกัน ผู้รับจ้างไว้อีกส่วนหนึ่ง และจะคืนเงินประกันผลงานให้แก่ผู้รับจ้างเมื่อหมดระยะเวลาประกันผลงาน จึงมีภาระภาษีดังนี้

1. เงินจ่ายล่วงหน้า (Advance Payment)

 (1) ผู้รับจ้างจะต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับข้อ 3.6 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 เรื่องการใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม2528

 (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ว่าจ้างเมื่อจ่ายเงินล่วงหน้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินล่วงหน้าตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท.ป. 4/2528 เรื่องสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน2528 เมื่อมีการจ่ายค่างวดงานแต่ละงวดให้แก่ผู้รับจ้างผู้ว่าจ้างมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินค่างวดงานหลังหักเงินจ่ายล่วงหน้าในแต่ละงวดออกแล้ว

 (3) ผู้รับจ้างต้องนำเงินจ่ายล่วงหน้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรโดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นในขณะได้รับชำระเงินดังกล่าว ตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร

2. เงินประกันผลงาน (Retention)

 (1) เงินประกันผลงานที่ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ว่าจ้างตามจำนวนที่ตกลงในสัญญาโดยยินยอมให้ผู้ว่าจ้างหักเงินดังกล่าวจากเงินค่าจ้างในแต่ละงวด เพื่อเป็นประกันผลงานนั้น เมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายเงินค่าจ้างแต่ละงวดให้ผู้รับจ้างโดยหักเงินประกันผลงานดังกล่าว กรณีนี้จึงถือเป็นรายได้ของผู้รับจ้างเต็มจำนวนมูลค่าของงานที่แล้วเสร็จในแต่ละงวดและเมื่อผู้ว่าจ้างจ่ายคืนเงินประกันผลให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอีก

 (2) ผู้รับจ้างต้องนำเงินประกันผลงานที่ถูกผู้ว่าจ้างหักจากเงินค่าจ้างแต่ละงวดมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากรโดยถือว่าความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นในขณะที่ได้รับเงินค่าจ้างแต่ละงวด ตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากรเมื่อมีการจ่ายเงินประกันผลงานคืนให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างไม่ต้องนำเงินประกันผลงานดังกล่าวมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก อนึ่ง กรณีการให้บริการรับจ้างทำของอย่างอื่น นอกจากการให้บริการรับเหมาก่อสร้างและได้มีการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า และเงินประกันผลงาน ให้ถือปฏิบัติทำนองเดียวกับการให้บริการรับเหมาก่อสร้างดังกล่าว

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  www.bangkokbiznews.com

 




ข่าวบัญชี-Accounting

ผู้ทำบัญชีจะต้องอบรมทุกรอบ 3 ปี 27ชม. article
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า article
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชี จับผิดผู้บริหารขี้โกง article
จ่ายในการดำเนินกิจการ article
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน article
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย article
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ article
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี article
จดทะเบียนธุรกิจ เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี article
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร article
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย article