ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย article

 

กรมสรรพากรได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 12/2 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วน ไขปัญหาภาษีจึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉาหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายกำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขพอสรุปได้ดังนี้
1.ผู้ขายสินค้าต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
2.ต้องเป็นเงินอุดหนุน เงินสนับสนุน เงินช่วยเหลือ เงินส่วนลด หรือเงินอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันที่ผู้ขายสินค้า ซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายได้จ่ายให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้แทนจำหน่าย ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ซื้อสินค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ เช่น ผู้ขายปลีกหรือขายส่งสินค้า หรือผู้แทนจำหน่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะคำนวณจากฐานการซื้อขายหรือคำนวณจากฐานอื่นใด เพื่อให้มีผลต่อการขาย การลดต้นทุน หรือลดรายจ่าย ของผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย
3.ต้องเป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขายที่ผู้ขายสินค้าได้ให้แก่ผู้ซื้อดังกล่าวภายหลังการขาย
4.มูลค่ารางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากข้อกำหนดที่ตกลงกันเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากสัญญาระยะยาวก็ตาม
5.ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
ปุจฉา ขอตัวอย่างการจ่ายรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขายที่เป็นรูปธรรม
วิสัชนา กรมสรรพากรได้ยกตัวอย่างการจ่ายรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขายที่อยู่ในข่ายต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้
1.เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายบริษัท ก จำกัด ผู้ขายสินค้าจะแนบคูปองติดกับตัวสินค้าเป็นส่วนลดเงินสด เมื่อลูกค้านำสินค้าพร้อมคูปองมาชำระเงิน บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะให้ส่วนลดเงินสดตามราคาคูปองนั้น และได้รับเงินชดเชยส่วนลดเงินสดตามคูปองนั้น คืนจากบริษัทผู้ขาย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
2.บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภค ได้ขายสินค้าให้แก่บริษัทค้าปลีกที่เป็นร้านค้าสะดวกซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าบริษัทร้านค้าสะดวกซื้อ ต้องขายสินค้าของบริษัท ข จำกัด เท่านั้นไม่ สามารถนำสินค้าจากแหล่งอื่นมาขายได้ โดยบริษัท ข จำกัด ต้องจ่ายค่าสิทธิประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า และจ่ายค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance fee) ให้แก่บริษัทร้านค้าสะดวกซื้อ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
3.บริษัท ค จำกัด ตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือค่าธรรมเนียมธนาคารในการรับรองตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายซื้อจากบริษัท ค จำกัด ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายทั้งหมด เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
4.บริษัท ง จำกัด ยกเลิกคลังสินค้าทั่วประเทศ และใช้สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับบริษัทผู้แทนจำหน่าย เป็นผลให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายจะต้องจ่ายค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้น บริษัท ง จำกัด จึงจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าโทรศัพท์ ในส่วนที่เกินจากค่าโทรศัพท์ในเขตพื้นที่เดียวกัน ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
5.บริษัท จ จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยส่งสินค้าถึงบริษัทผู้แทนจำหน่าย ต่อมามีข้อตกลงว่า หากบริษัทผู้แทนจำหน่ายขนสินค้าที่ซื้อด้วยตนเอง บริษัท จ จำกัด จะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าขนส่ง หรือจะลดราคาสินค้าให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
6.บริษัท ฉ จำกัด ประกอบกิจการขายกระเบื้องและเครื่องสุขภัณฑ์ จ่ายเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้างให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย ที่นำสินค้าที่ซื้อไปจัดแสดงหรือติดตั้งให้เห็นสภาพการใช้งานจริง เช่น ปูกระเบื้อง และติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์เพื่อจัดแสดงเป็นห้องน้ำเงินดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
7.บริษัท ช จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้า ได้จ่ายเงินช่วยเหลือค่าเดินทางและค่าที่พักให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายที่เข้าร่วมสัมมนา เพื่อแนะนำสินค้าใหม่หรือเพิ่มความรู้ความเข้าใจในสินค้าของบริษัท โดยมิได้เรียกเก็บค่าสัมมนาจากบริษัทผู้แทนจำหน่าย เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
8.บริษัท ซ จำกัด ประกอบกิจการขายยางรถยนต์ จ่ายส่วนลดภายหลัง (Rebate) ขายได้ตามเป้าที่กำหนด ให้บริษัทผู้แทนจำหน่าย โดยจ่ายในลักษณะเป็นใบลดหนี้ (Credit Note) เพื่อให้บริษัทผู้แทนจำหน่ายนำมาชำระหนี้ค่าซื้อยางรถยนต์ในคราวต่อไป เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
9.บริษัท ฌ จำกัด เป็นผู้นำเข้ายาจากต่างประเทศ ตกลงให้ส่วนลดแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในอัตรา 35% ของราคาสินค้า ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่าย โดยรวบรวมยอดส่วนลดในแต่ละเดือนตามใบแจ้ง หนี้ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
10.บริษัท ญ จำกัด ประกอบกิจการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จ่ายเงินค่าอุดหนุน (Subsidize) มูลค่า 500 บาท ต่อ 1 เครื่อง ให้แก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายที่สามารถขายสินค้ารุ่นเก่าออกจากสต็อกได้ เงินดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
เรื่อง : สุเทพ พงษ์พิทักษ์   ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
 



ข่าวบัญชี-Accounting

ผู้ทำบัญชีจะต้องอบรมทุกรอบ 3 ปี 27ชม. article
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า article
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชี จับผิดผู้บริหารขี้โกง article
จ่ายในการดำเนินกิจการ article
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน article
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน article
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ article
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี article
จดทะเบียนธุรกิจ เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี article
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง article
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร article
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย article