ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 3 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน article

 

       มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน
 
การตัดมูลค่าที่เหลือของทรัพย์สิน เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ซึ่งมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติที่ประมวลรัษฎากรและกรมสรรพากรกำหนดไว้เป็นการแน่นอนแล้ว จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา -วิสัชนา ดังนี้  
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ในทางภาษีอากรอย่างไร
วิสัชนา แม้ในทางบัญชีจะมีแนวทางในการตัดมูลค่าทรัพย์สินที่เหลืออยู่ในส่วนที่ชำรุดจนใช้การไม่ได้โดยวิธีด้อยค่า โดยยอมรับให้เป็นรายจ่ายในการดำเนินกิจการได้ แต่ในทางภาษีอากรนั้น นอกจากบทบัญญัติตามมาตรา 65 ตรี (17) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหาย หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .58/2538 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2538 ดังนี้
1.กรณีที่ทรัพย์สินชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะนำมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ตัดเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนไม่ได้ แต่หากได้ทำลายหรือขายไปซึ่งทรัพย์สินนั้น ก็มีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กรณีทรัพย์สินหรืออะไหล่ชำรุดหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ บริษัทจะนำต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินหรืออะไหล่นั้น ตัดเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนไม่ได้ แต่หากได้ทำลายหรือขายไปซึ่งทรัพย์สินหรืออะไหล่นั้น ก็สามารถตัดต้นทุนที่เหลืออยู่ได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/พ ./1308 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547) ในกรณีที่ขายทรัพย์สินนั้นไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ต้องนำราคาขายทรัพย์สินดังกล่าวมารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
2.กรณีที่ทรัพย์สินสูญหายซึ่งถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ประสงค์จะตัดต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้นเป็นรายจ่ายทั้งจำนวนได้ดังนี้ (1) กรณีที่ทรัพย์สินที่สูญหายนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ไว้ กรณีดังกล่าวถือเป็นผลเสียหายอันอาจได้รับกลับคืน เนื่องจากการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ดังนั้นเมื่อทรัพย์สินได้รับความเสียหายและกำลังรอการชดใช้จากบริษัทประกันภัย แต่ได้สิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไปก่อน เช่นนี้ บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะตัดผลเสียหายดังกล่าวเป็นรายจ่ายทันทีไม่ได้ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องรอจนกว่าจะได้รับค่าสินไหมที่ได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยเสียก่อน ถ้าผลเสียหายมากกว่าค่าชดใช้ ผลต่างถือเป็นผลเสียหายที่มีสิทธิหักเป็นรายจ่ายได้ แต่ถ้าค่าชดใช้สูงกว่าความเสียหาย ผลต่างถือเป็นรายได้จึงต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย (2) กรณีทรัพย์สินที่สูญหายนั้นไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ มูลค่าของต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินนั้น ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิตัดเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวนไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินนั้นได้สูญหายจริง "
3.กรณีทรัพย์สินที่เสียหายหรือถูกทำลาย โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีการประกัน หรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ไว้ หากต้องคืนซากสินค้าให้แก่บริษัทรับประกันภัยด้วย ถือว่าผู้ประกอบการได้ขายสินค้าให้แก่บริษัทรับประกันภัยตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำมูลค่าซากสินค้ามารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวณมูลค่าซากของสินค้าดังกล่าว ให้คำนวณมูลค่าตามสภาพ ณ วันโอนซากสินค้า ให้แก่บริษัทรับประกันภัย (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .36/2536) 4.กรณีทรัพย์สินที่สูญหายนั้นเป็นทรัพย์สินที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น รถยนต์ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้มีการประกัน หรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ไว้ และมีข้อตกลงให้ผู้ประกันต้องทะเบียนให้แก่บริษัทรับประกันภัย หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ให้นำเงินที่ได้รับจากบริษัทรับประกันภัยมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งจำนวน (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .36/2536)
อนึ่ง กรณีสินค้าที่ซื้อมาเพื่อขายสูญหาย เนื่องจากถูกโจรกรรม และบริษัทได้แจ้งความไว้แล้ว หากสินค้าที่สูญหายดังกล่าวไม่มีการประกันหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ย่อมถือเป็นผลเสียหาย เนื่องจากการประกอบกิจการ บริษัทมีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าทั้งจำนวน ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทจะต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นได้สูญหายจริง
อย่างไรก็ตาม กรณีสินค้าสูญหาย เข้าลักษณะเป็นสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(จ ) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าของสินค้า ตามราคาตลาดของสินค้าที่สูญหายไปดังกล่าว ภาษีซื้ออันเกิดจากสินค้าที่สูญหายเนื่องจากถูกโจรกรรมไปนั้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ หากไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทมีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0706/34060 ลงวันที่ 5 เมษายน 2549)
 
ที่มา : http://www.nationejobs.com  12/1/2007
 



ข่าวบัญชี-Accounting

ผู้ทำบัญชีจะต้องอบรมทุกรอบ 3 ปี 27ชม. article
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า article
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชี จับผิดผู้บริหารขี้โกง article
จ่ายในการดำเนินกิจการ article
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน article
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย article
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่ article
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี article
จดทะเบียนธุรกิจ เมื่อจะเริ่มต้นประกอบกิจการ จะจดทะเบียนแบบไหนดี article
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง article
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร article
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย article