1. หลักการของภาษีเงินได้นิติบุคคล
(CIT Principle)
|
1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีทางตรง (Direct Tax)
ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปยังบุคคลอื่นได้
· ห้ามมิให้นำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ
· หากยอดภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิขอคืนได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
|
มาตรา 65 ตรี (6)
มาตรา 63 และ มาตรา 27
|
|
|
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีอากรประเมิน (Assessable Tax)
(1) ผู้มีเงินได้หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment) ตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกรมสรรพากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
|
ม.38 ประกอบ ม.14
ซึ่งตาม ม.15 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2
“วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน”
ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 37 ทวิ มาใช้บังคับ
|
|
|
(2) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินจำนวนภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กฎหมาย (Authoritative Assessment)
- เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
|
มาตรา 71
|
|
|
1.3 ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บจาก กำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หรือที่เรียกกันว่า “กำไรสุทธิทางภาษีอากร” (มาตรา 65) ดังนั้น ในกรณีที่ในรอบระยะเวลาบัญชีใด มี “ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร” จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังสามารถนำผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลา บัญชีปีถัดไปได้ไม่เกิน 5 ปี (มาตรา 65 ตรี (12))
|
- มาตรา 65 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ประกอบด้วย
(1) กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร
(2) รอบระยะเวลาบัญชี
(3) รายได้ทางภาษีอากร
· รายได้จากกิจการและ
· รายได้เนื่องจากกิจการ
- มาตรา 65 ตรี (12)
|
|
|
1.4 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชี และให้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่าย
โดยถือว่า รายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใด ต้องถือเป็นรายได้และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้นๆ และรายจ่ายต้องเป็นรายจ่ายทั้งสิ้นเกี่ยวกับรายได้ หรือเป็นรายจ่ายที่มีความสัมพันธ์กับรายได้ตาม หลักการจับคู่ของรายจ่ายกับรายได้ (Matching Principle)
|
มาตรา 65
มาตรา 72
และมาตรา 73
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 1/2528 ข้อ 2
กำหนดให้ใช้เกณฑ์สิทธิในคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 1/2528 ข้อ 3 เป็นข้อยกเว้นของเกณฑ์สิทธิ
|
|
1.5 การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ กำหนดจัดเก็บภาษีเงินได้เป็น 2 ระดับ คือ
ระดับที่หนึ่ง จัดเก็บจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นในอัตรา ร้อยละ 30 หรือร้อยละ 10 แล้วแต่กรณี และ
ระดับที่สอง จัดเก็บจากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข)
|
มาตรา 65
มาตรา70 ทวิ จำหน่ายเงินกำไร
มาตรา 40(4)(ข) เงินปันผล
|
|
|
1. 6 หลักการจัดภาษีเงินได้นิติบุคคลแบ่งเป็น
|
|
|
|
(1) หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ต้องนำเงินได้จากการดำเนินกิจการทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเกิดจากการประกอบกิจการในประเทศไทยหรือในต่างประเทศมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ตามหลัก World Wide Income (รายได้ที่เกิดขึ้นทั่วโลก)
|
มาตรา 66
|
|
|
(2) หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ให้เสียภาษีเงินได้เฉพาะจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในประเทศไทยเท่านั้น และไม่ต้องนำเงินได้จากการประกอบกิจการในต่างประเทศมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร
|
มาตรา 66 วรรคสอง
มาตรา 67
และมาตรา 70
- ดูอนุสัญญาภาษีซ้อง ของแต่ละประเทศ
|
|
|
1.7 หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากร ประกอบด้วย
|
มาตรา 65 ทวิ
|
|
|
(1) เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้
|
- ม. 65 ทวิ (4) (10) (11) (12) (13) (14)
|
|
|
(2) เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย
|
- ม. 65 ทวิ (1) (2) (9)
|
|
|
(3) หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สิน และหนี้สิน
|
- ม. 65 ทวิ (3) (5) (6) (7) (8)
|
|
|
1.8 บทขยายความมาตรา 65 ทวิ (1)
ในกรณีรายจ่ายต้องห้าม ประกอบด้วย
|
มาตรา 65 ตรี
|
|
|
(1) รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้
- ในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย
- รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้
- เข้าลักษณะหลีกเลี่ยงภาษี
- รายจ่ายที่เป็นไปไม่ได้
|
- ม.65 ตรี (1)(2)(3)(5)(6 ทวิ)(7)(12)
- ม.65 ตรี (13)(14)
- ม.65 ตรี (9)
- ม.65 ตรี (10)(11)(16)
|
|
|
(2) รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย
|
- ม.65 ตรี (2) (4) (6) (6ทวิ) (8) (9) (12) (15) (17) (18) (19) (20)
|
|
|
(3) รายจ่ายที่กฎหมายยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้
|
มาตรา 3
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 437) ค่าอบรมพนักงาน
- พรฎ. (ฉบับที่ 297) ค่าจ้างเพื่อการวิจัยและพัฒนา
- พรฎ.(ฉบับที่ 420) ค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
- พรฎ. (ฉบับที่ 428)
(1) ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างและการบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ สนามกีฬาของเอกชนหรือของทางราชการบางกรณี
(2) เงินบริจาคให้แก่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนคุ้มครองเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก หรือกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี
|
|
|
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 436) ค่าใช้จ่ายในทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน เพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม
- พรฎ.(ฉบับที่ 499)
(1) กรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงาน
(2) เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่งหรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการให้แก่คนพิการ
-รายจ่ายค่าขนส่งภายในประเทศ ค่าไฟฟ้า และค่าประปาจำนวน 100% ของรายจ่ายดังกล่าว สำหรับผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนในเขต 3
- รายจ่ายในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบไฟฟ้า ถนน ระบบสาธารณูปโภคอื่น จำนวน 25% ของรายจ่ายดังกล่าว สำหรับผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุน
ในเขต 3
- ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 ตรี (12)
|
|
1.9 หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
|
|
|
(1) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
|
มาตรา 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาตรา 5 กรมสรรพากร
|
|
|
(2) กรมที่ดิน สำหรับภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ พร้อมกับการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/10
|
มาตรา 52 กรมที่ดิน ประกอบ มาตรา 69 ตรี
|
|
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
(CIT Payers)
|
ได้แก่ “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ซึ่งเป็น
|
คำนิยาม มาตรา 39
ขยายความ ส่วน 3 หมวด 3 ลักษณะ 2
|
|
|
2.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(1) บริษัททั่วไป
(2) บริษัทจดทะเบียน
(3) ห้างหุ้นส่วนจำกัด
(4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
|
มาตรา 66 วรรคแรก
|
|
|
2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ จะเสีย CIT ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อ
|
|
|
|
(1) กระทำกิจการในไทยแห่งเดียวโดยเฉพาะ
|
มาตรา 66 วรรคแรก
|
|
|
(2) กระทำกิจการในที่อื่นรวมทั้งในประเทศไทย
|
มาตรา 66 วรรคสอง
|
|
|
(3) กระทำกิจการในที่อื่นรวมทั้งในประเทไทย เฉพาะที่ประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ
|
มาตรา 67
|
|
|
(4) กระทำกิจการในไทยผ่าน ลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ (Agent)
|
มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก
|
|
|
(5) มิได้กระทำกิจการในไทยแต่ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในไทย
(ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย : ภาษีเสร็จเด็ดขาด Final tax)
|
มาตรา 70
(ดูประเภทเงินได้ตาม มาตรา 40 ประกอบ)
|
|
|
2.3 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
|
บทบัญญัติการเสีย CIT ในประเทศไทยเช่นเดียวกับ 2.2
|
|
|
2.4 กิจการที่ดำเนินงานเป็นทางการค้า/หากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลาต่างประเทศ/นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
|
มาตรา 66
มาตรา 67
มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก
มาตรา 70
|
|
|
2.5 กิจการร่วมค้า Joint Venture
|
มาตรา 39
ปพพ. มาตรา 1012
|
|
|
2.6 มูลนิธิ/ สมาคมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เว้นแต่องค์การสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7)(ข)
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ (2) (จ)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 250)
|
- กรณีที่กฎหมายกำหนดถือเป็น
การขาย (Deemed Sale)
|
2.7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง หรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้น
ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่สินค้านั้น
(1) เป็นของที่ส่งไปเป็นตัวอย่างหรือเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ
(2) เป็นของผ่านแดน
(3) เป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วส่งกลับออกไปให้ผู้ส่งเข้ามาภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่สินค้านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร
(4) เป็นของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วส่งกลับคืนเข้ามาให้ ผู้ส่งในราชอาณาจักรภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร
|
มาตรา 70 ตรี
ดู PIT มาตรา 40 ทวิ ประกอบ
|
|
3. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
(CIT Computation)
|
3.1 ฐานกำไรสุทธิทางภาษีอากร
(Taxable Net Profit)
กำไรสุทธิคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี
|
มาตรา 65 เกณฑ์สิทธิ/รอบระยะเวลาบัญชี
มาตรา 66 ฐานกำไรสุทธิ
มาตรา 67 ให้ใช้บัญชีอัตราภาษีเงินได้
มาตรา 72 การเลิกกิจการ
มาตรา 73 การควบเข้ากัน
|
|
|
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยทั่วไป
Rate CIT = 30% ของกำไรสุทธิ
ประกอบด้วย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกินกว่า 5 ล้านบาท
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
|
|
|
- กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้า
|
|
|
|
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินกว่า 5 ล้านบาท
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 471) ใช้บังคับสำหรับ
รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
|
|
Rate CIT:
ช่วงกำไรสุทธิ
|
อัตราร้อยละ
|
1 - 150,000
|
ยกเว้น
|
150,001 - 1,000,000
|
15
|
1,000,001 - 3,000,000
|
25
|
ส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท
|
30
|
|
|
|
|
(3) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนวันที่ 6 กันยายน 2544
Rate CIT (เฉพาะ SET) = 25% ของกำไรสุทธิ
เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้าน บาท
เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 6 กันยายน 2544
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
มาตรา 3 แห่ง พรฎ. (ฉบับที่ 387)
|
|
(4) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2544 และจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548
Rate CIT:
- กรณี MAI 20% ของกำไรสุทธิ
- กรณี SET 25% ของกำไรสุทธิ
เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทที่มีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2548)
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
มาตรา 4 แห่ง พรฎ. (ฉบับที่ 387) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 421)
|
|
(5) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551
Rate CIT:
- กรณี MAI 20% ของกำไรสุทธิ
- กรณี SET 25% ของกำไรสุทธิ
เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่บริษัทที่นั้นมีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552)
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 467) แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 474)
|
|
(6) บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนวันที่ 7 สิงหาคม 2551 ไม่เคยได้รับสิทธิตาม พรฎ. (ฉบับที่ 467) และ พรฎ. (ฉบับที่ 460)
|
มาตรา 67
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
|
|
Rate CIT:
- กรณี MAI
กำไร
|
อัตราภาษี
|
0 – 20 ล้านบาท
|
20%
|
เกิน 20 ล้านบาท
|
30%
|
- กรณี SET
กำไร
|
อัตราภาษี
|
0 – 300 ล้านบาท
|
25%
|
เกิน 300 ล้านบาท
|
30%
|
เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
|
|
|
|
(7) กิจการวิเทศธนกิจ
Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 454)
|
|
(8) กิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 405)
|
|
(9) กิจการนำเข้าและส่งออกที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงพลังงานให้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 426)
|
|
(10) กิจการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
Rate CIT = 10% ของกำไรสุทธิ
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
และ มาตรา 3(1)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 466)
ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2550 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2552 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- พรฎ. (ฉบับที่ 492)
ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึงรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดภายในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
|
|
(11) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการ BOI อาจได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3– 8 ปี (Tax Holiday) แล้วแต่กิจการนั้นตั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนใด
(เขต 1 – 3)
สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในเขต 3 อาจได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
|
ดู พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน ประกอบ
|
|
3.2 ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ (Gross Income)
|
|
|
|
(1) กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
Rate CIT:
· 3% ของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารจากประเทศไทย
· 3% ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม หรือประโยชน์อื่นใด ที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทย
|
มาตรา 66 วรรคสอง
มาตรา 67 (1) (2)
|
|
|
(2) อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
Rate CIT = 5 % ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
|
มาตรา 71 (1) (3)
กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใด
- ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ไม่ได้ทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือบัญชีอื่นใด ในรอบระยะเวลาบัญชีใด หรือจัดทำไม่ครบ
-ไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน
|
|
|
(3) กรณีที่ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีได้
Rate CIT = 5 % ของยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี
|
มาตรา 66 วรรคสอง
มาตรา 76 ทวิ วรรคสอง
เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ รวมทั้งกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย รัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่กระทำกิจการทั้งในประเทศอื่นๆ และในประเทศไทยหรือมีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย
|
|
|
(4) มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณะกุศล
Rate CIT:
· 10% ของรายได้ที่มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
· 2% ของรายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
|
บัญชีอัตราภาษีเงินได้
|
พรฎ. (ฉบับที่ 250)
|
|
3.3 การหักภาษี ไว้ ณ ที่จ่ายแบบเสร็จเด็ดขาด (Final Tax)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังต่อไปนี้
|
มาตรา 70
|
|
|
ประเภทเงินได้
|
อัตราภาษี
|
ม. 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ที่มิใช่ ม. 40 (4)(ข)
|
15%
|
ม. 40 (4)(ข)
|
10%
|
|
|
|
|
3.4 การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (ภายหลังจากเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิแล้ว)
ให้เสียภาษีเงินได้ในอัตรา 10 % ของเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นดังกล่าวที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย
|
มาตรา 70 ทวิ
|
|
4. วิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
4.1 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
|
|
|
(CIT Payment)
|
4.1.1 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
|
|
|
|
(1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ของเงินได้ ในทุกคราวที่จ่ายเงินได้
|
มาตรา 69 ทวิ
- ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร
|
|
|
(2) ให้ผู้จ่ายเงินได้ค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นผู้หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ของราคาขาย ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
|
มาตรา 69 ตรี
- ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร
|
|
|
(3) ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตามหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส
|
มาตรา 3 เตรส
- ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร
|
ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528
|
|
(4) ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เป็นผู้หักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้
ณ ที่จ่าย
|
มาตรา 70
- เป็น Final Tax ไม่ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากร
|
|
|
4.1.2 การนำส่งและการยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย
|
มาตรา 52 มาตรา 53 และมาตรา 59
|
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
|
|
(1) ภ.ง.ด.53 สำหรับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ หรือมาตรา 3 เตรส
|
- นำส่งและยื่นรายการ ภายใน เจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
|
(2) ภ.ง.ด.54 สำหรับการนำส่งภาษีตามมาตรา 70 และ มาตรา 70 ทวิ
|
- นำส่งและยื่นรายการ ภายใน เจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
|
(3) ให้นำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 69 ตรี
ต่อเจ้าพนักงานผู้รับจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดินที่ทำการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม โดยไม่ต้องใช้แบบแสดงรายการ ทั้งนี้ โดยนำส่งพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/10 วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด
|
|
|
|
4.1.3 ในการหักภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ไม่มีข้อกำหนด
ผู้จ่ายเงินได้ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติผู้จ่ายเงินได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยใช้แบบหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามมาตรา 50 ทวิ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) โดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีและเป็นหลักฐานการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นเครดิตในการขอคืนของผู้ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย
|
|
|
|
4.1.4 ความรับผิดในจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของ ผู้จ่ายเงินได้และ ผู้มีเงินได้ในฐานะลูกหนี้ร่วม พร้อมทั้ง เงินเพิ่ม และระวางโทษปรับทางอาญา
|
มาตรา 54
มาตรา 27
มาตรา 35
|
|
|
4.2 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยผู้ต้องเสียภาษียื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment)
|
มาตรา 17
มาตรา 38
|
|
|
4.2.1 การยื่นรายการเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
|
มาตรา 67 ทวิ
|
|
|
(1) เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ
|
มาตรา 66 ฐานกำไรสุทธิ
|
|
|
(2) ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 พร้อมชำระภาษี ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
ภาษีเงินได้ที่ชำระตามแบบ ภ.ง.ด.51 ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.50)
|
มาตรา 67 ทวิ
มาตรา 68
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
|
(3) วิธีการคำนวณและชำระภาษี มี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากที่กล่าวใน วิธีที่ 2 ให้คำนวณและชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
วิธีที่ 2 สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ให้คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี
|
มาตรา 67 ทวิ (1)
มาตรา 67 ทวิ (2)
|
|
|
4.2.2 การยื่นรายการเงินได้นิติบุคคลประจำ
รอบระยะเวลาบัญชี
|
มาตรา 68 มาตรา 68 ทวิ และมาตรา 69
|
|
|
(1) ยื่นแบบแสดงรายการดังต่อไปนี้ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
|
มาตรา 68
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16)
|
|
- แบบ ภ.ง.ด.50 ใช้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย
|
มาตรา 66 วรรคหนึ่ง
|
เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
|
- แบบ ภ.ง.ด.52 ใช้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งดำเนินกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ
|
มาตรา 66 วรรคสอง
มาตรา 67
|
|
|
- แบบ ภ.ง.ด.55 ใช้สำหรับมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ เว้นแต่องค์การสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7)(ข)
|
|
|
|
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65
เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ ให้ทำบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายเกี่ยวกับค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดอันต้องเสียภาษีแทนบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนในรอบระยะเวลาบัญชี
|
มาตรา 68 วรรคแรก
มาตรา 68 วรรคสอง
|
|
|
(3) ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนบุคคลยื่นรายการต่อเจ้าพนักงานประเมินตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมด้วยบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว แล้วแต่กรณี
|
มาตรา 69
ประกอบ มาตรา 3 สัตต
|
|
|
4.3 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ (Authoritative Assessment)
|
|
|
|
(1) อำนาจประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
|
มาตรา 18 ทวิ และมาตรา 60 ทวิ
|
|
|
(2) อำนาจประเมินความถูกต้องของภาษีที่ได้ยื่นรายการ
|
มาตรา 18
|
|
|
(3) อำนาจในการออกหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภายใน 2 ปีเว้นแต่มีเหตุให้ขยายเวลาการออกหมายเกินได้แต่ไม่เกิน 5 ปี
|
มาตรา 19
ดูมาตรา 27 ตรี และมาตรา 63 ประกอบ
|
|
|
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามหลักฐานที่ปรากฏ
- ผู้ต้องเสียภาษีให้ความร่วมมือด้วยดี
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง
– ผู้ต้องเสียภาษีไม่ให้ความร่วมมือ
· กรณียื่นแบบแสดงรายการ เบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ขาด
|
มาตรา 20
มาตรา 21
มาตรา 22 ประกอบ มาตรา 27 ทวิ
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ
|
|
(4) อำนาจในการออกหมายเรียกกรณีผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการภาษีเงินได้ ภายใน 10 ปี
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามความที่ทราบ
· อำนาจประเมินและแจ้งการประเมิน ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง
· กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ เบี้ยปรับ 2 เท่า ของภาษีที่ ต้องเสีย
|
มาตรา 23
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/30
มาตรา 24
มาตรา 25
มาตรา 26 ประกอบ มาตรา 27 ทวิ
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ
|
|
(5) อำนาจในการประเมินเบี้ยปรับ (Penalty)
· กรณี 1 เท่า
ในการประเมินตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระอีก
|
มาตรา 22
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 92/2542 เรื่อง การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ
|
|
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
|
|
· กรณี 2 เท่า
เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้ ในการประเมิน ตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25 ผู้ต้องเสียภาษีต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ
|
มาตรา 26
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 121/2545 เรื่อง มอบหมายให้สั่งและดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 92/2542 เรื่อง การพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ในการตรวจสอบหรือตรวจปฏิบัติการ
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง การชำระภาษี
เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
|
|
(6) อำนาจในการประเมิน เงินเพิ่ม
· ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
|
มาตรา 27
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 98/2543 เรื่อง
การชำระภาษีเงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 117/2545 เรื่อง การนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 27 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 มาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่ง หรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ
|
|
· กรณีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51
- ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ต้องชำระขาดแล้วแต่กรณี
- ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ต้องชำระขาดแล้วแต่กรณี
|
มาตรา 67 ตรี
|
|
|
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม เป็นเงินภาษี (เพื่อการเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้าง) อำนาจการลดเบี้ยปรับ ดู ท.ป. 81/2542
|
มาตรา 27 ทวิ
|
- ทป.81/2542 หลักเกณ์การงดหรือลดเบี้ยปรับ
|
|
(7) อำนาจประเมินกรณีพิเศษ
· อำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่าย ใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ในกรณีที่ ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ หรือไม่นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน
|
มาตรา 71
|
|
|
· อำนาจประเมินภาษีที่ขาดตามอัตราภาษีในมาตรา 67 และอาจสั่งให้ผู้ต้องเสียภาษีเสียเงินเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีที่ขาดก็ได้ ในกรณีที่มิได้ลงรายการ หรือลงรายการไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงตามความจริงในบัญชีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ เป็นเหตุให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง
|
|
|
|
· อำนาจสั่งให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีให้เสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือสั่งให้จัดบุคคลมาปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดี ณ สำนักงานของเจ้าพนักงานประเมิน ให้เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วก็ได้
|
มาตรา 72
|
|
|
· อำนาจประเมินเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระกรณีไม่แจ้งเลิกกิจการภายใน 15 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก
|
|
|
|
(8) กำหนดเวลาในการชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน ภายใน 30 วันนับแต่วันทีได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
|
มาตรา 18 ตรี
|
|
|
4.4 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนผู้ค้ายาสูบ
โดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
· ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังเสียแทนให้ ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษีในการคำนวณภาษี
· อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังเสียแทนให้ คือ
o ร้อยละ 12.5 ของกำไรของผู้ค้าส่งไม่ว่าทอดใด และ
o ร้อยละ 10 ของกำไรของผู้ค้าปลีก
· ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนให้ สำหรับสินค้าที่ขายใน แต่ละเดือนประดิทิน โดยยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด พร้อมชำระภาษีเงินได้ที่กองคลัง กรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
|
มาตรา 65 จัตวา
|
กฎกระทรวง ฉบับที่ 158 โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังต้องเสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอด
|
|
4.5 การเลือกเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินรางวัลสลากการกุศลงวดพิเศษ ซึ่งยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ของรางวัล โดยไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
|
|
มาตรา 5 จตุทศ (1) แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)
|
5.การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(CIT Exemption)
|
5.1 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร
|
|
|
|
(1) สำหรับเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า กรณีจ่ายให้
· บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้ถือเงินปันผลเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้
· บริษัทจดทะเบียน ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้มารวมคำนวณเป็นรายได้
· บริษัทจำกัดซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
ผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
|
มาตรา 65 ทวิ (10)
ข้อระวัง ผู้รับเงินปันผลต้องถือหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ถึง 3 เดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือต้องไม่ได้โอนหุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นไปก่อน 3 เดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
|
|
|
(2) สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกิจการร่วมค้าที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
|
มาตรา 3
|
ม.5 ทวิ แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)
|
|
(3) สำหรับเงินปันผลจากกองทุนรวมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้ยกเว้นแก่
· บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จำนวนกึ่งหนึ่ง
· บริษัทจดทะเบียน สำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้ทั้งจำนวน
|
มาตรา 3
|
พรฎ. (ฉบับที่ 263)
|
|
(4) สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน หรือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือกิจการฝึกอบรม In-house Training
|
มาตรา 3 (1)
|
ม.3 และ ม.4 แห่ง พรฏ.(ฉบับที่ 284)
|
|
(5) สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
|
|
ม.5 อัฏฐารส แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)
|
|
5.2 การยกเว้นโดยการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น
|
|
|
|
(1) รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา (R&D)
|
|
พรฏ. (ฉบับที่ 297)
|
|
(2) รายจ่ายในการฝึกอบรม Public Training & In house Training และการฝึกอาชีพ
|
|
พรฏ. (ฉบับที่ 437)
|
|
(3) รายจ่ายสนับสนุนการศึกษาและรายจ่ายเพื่อการสนับสนุนด้านการเรียนรู้และนันทนาการ
|
|
พรฏ.(ฉบับที่ 420) และ (ฉบับที่ 428)
|
|
(4) รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทอุปกรณ์ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานเพื่อการปรับเปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม เป็นจำนวนร้อยละยี่สิบห้าของค่าใช้จ่ายนั้น เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท
|
|
พรฏ.(ฉบับที่ 438)
|
|
(5) รายจ่ายกรณีนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการรับคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการเข้าทำงาน
|
|
พรฎ.(ฉบับที่ 499)
|
|
(6) รายจ่ายกรณีเจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่งหรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ได้จัดอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการให้แก่คนพิการ
|
|
พรฎ.(ฉบับที่ 499)
|
|
(7) รายจ่ายบางประเภทตามกฎหมาย BOI
|
|
|
|
§ ค่าขนส่งในราชอาณาจักร
|
|
ม. 35 (3) พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
|
|
§ การติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
|
|
ม. 35 (4) พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
|
|
5.3 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการบางประเภท
|
|
|
|
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
|
มาตรา 70 วรรคสอง
มาตรา 3
|
ม. 5 สัตต ม.5 อัฎฐ ม. 5 เอกาทศ
แห่งพรฎ (ฉบับที่10)
|
|
(2) กิจการฝึกอบรม In-House training
|
|
พรฎ (ฉบับที่ 284)
|
|
(3) กิจการโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ได้แก่ บริษัทหรือห้างฯ นิติบุคคล และมูลนิธิหรือสมาคม
|
|
พรฎ.(ฉบับที่ 428)
ม.5 นว. แห่งพรฎ. (ฉบับที่ 10)
|
|
(4) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนกิจการ
|
|
ม.5 สัตต แห่งพรฎ.(ฉบับที่ 10)
|
|
(5) กิจการที่ได้การส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
|
|
พรบ.ส่งเสริมการลงทุน
|
|
(6) สำหรับเงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทน ซึ่งได้รับจากบริษัทประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากธรณีพิบัติเมื่อ 26 ธ.ค. 2547
|
|
พรฎ.(ฉบับที่ 443)
|
|
(7) นิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
|
|
พรฎ. (ฉบับที่ 441)
|
|
5.4 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีอื่น
|
มาตรา 3
|
พรฎ. (ฉบับที่ 10) มาตรา 5 เศษของบาทจากการคำนวณภาษี
|
6.การขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล
(CIT Refund)
|
6.1 ขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันสุดท้ายของปีภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย (ม.3 เตรส , ม.50)
|
มาตรา 63
|
|
หมายเหตุ: ไม่ใช้อายุความตาม ปพพ. ม.193/31 (อายุความ 10 ปี) เนื่องจาก
ได้กำหนดอายุความเป็นกฎหมายพิเศษไว้แล้ว
|
6.2 ขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีอื่นนอกจากกรณี 6.1 อาทิ ภาษีเงินได้ที่ชำระตามหนังสือแจ้งการประเมิน ภาษีเงินได้ที่ชำระไว้เกินตามแบบแสดงรายการ:
ขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่
· วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี (กรณียื่นรายการภายในกำหนด)
· วันที่ได้ยื่นรายการ (กรณียื่นรายการพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือได้ยื่นรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดี
|
มาตรา 27 ตรี
|
|
|
ขยายหรือเลื่อนออกไป)
· วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ
วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด
|
|
|
7.หน้าที่อื่นในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล (Other CIT Functions)
|
7.1 การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
· เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
· ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
|
มาตรา 3 เอกาทศ
มาตรา 3 ทวาทศ
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และ
ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
|
|
7.2 การจัดทำบัญชีพิเศษ และการแจ้งข้อความตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
· การยื่นรายการ ให้ยื่นภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยภาษีอากรต่าง ๆ และตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
ถ้าอธิบดีต้องการรายงานประจำปี หรือบัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่นๆ ประกอบแบบแสดงรายการใด ก็ให้สั่งเรียกได้ กับให้อธิบดีมีอำนาจสั่งผู้ต้องเสียภาษีอากรให้มีสมุดบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการในสมุดบัญชีนั้นได้ เพื่อสะดวกแก่การคำนวณเงินภาษีอากรที่ต้องเสียตามลักษณะนี้ เมื่ออธิบดีมีคำสั่งตามที่ว่ามานี้ ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรต้องปฏิบัติตาม
เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
1) ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบุคคลเป็นการทั่วไปให้มีบัญชีพิเศษ และให้กรอกข้อความที่ต้องการลงในบัญชีนั้น คำสั่งเช่นว่านี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้ยื่นรายการหรือผู้ต้องเสียภาษีอากรจัดทำบัญชีงบดุล หรือบัญชีอื่นๆ แสดงรายการหรือแจ้งข้อความใด ๆ และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน พร้อมกับการยื่นรายการตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 17
มาตรา 17 (1)
มาตรา 17 (2)
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 10) เรื่องกำหนดให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนมีบัญชีพิเศษ ตามมาตรา 17 แห่งประมวลรัษฎากร
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 12) เรื่อง กำหนดให้ผู้ทำการค้าของเก่าประเภทรถยนต์มีบัญชีพิเศษ
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้และ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่องกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีมีบัญชีพิเศษ ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2546
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 61) แจ้งข้อความเกี่ยวกับเงินได้ของบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผล
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 126) ให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตามมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากร แจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
|
|
7.3 หน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน รวมทั้งบัญชีรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ
|
มาตรา68 ทวิ มาตรา69 และ มาตรา17
|
|
|
7.4 หน้าที่ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ เช่น การแปลเอกสาร การให้ความร่วมมือตอบข้อซักถาม เป็นต้น
|
มาตรา 3 ฉ
มาตรา 19 และมาตรา 23
|
|
8.การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีเงินได้
นิติบุคคล (CIT Settlement)
|
8.1 การอุทธรณ์ให้ใช้แบบ ภ.ส.6
|
มาตรา 28
|
|
|
8.2 กำหนดเวลาอุทธรณ์
(1) การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตา 30 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
(2) อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
|
มาตรา 30
|
|
|
8.3 การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ยังคงเร่งรัดมาตรา 12 ได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
|
มาตรา 31
|
|
|
8.4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน เรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานมาแสดง แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันส่งหมาย
|
มาตรา 32
|
|
|
8.5 ผู้อุทธรณ์หมดสิทธิ์อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งตามมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
|
มาตรา 33
|
|
|
8.6 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์
|
มาตรา 34
|
|
9.บทกำหนดโทษทางภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT Punishment)
|
· ระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ,ไม่ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้เพื่อการตรวจสอบการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
· ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
- กรณีทำลาย ย้าย ซ่อนเร้น หรือ โอนทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดไปให้แก่บุคคลอื่น
· ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
- ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก
· ระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
- หลีกเลี่ยงภาษีโดยแจ้งความเท็จ ฉ้อโกง หรือ อุบาย
· ระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
- กรณีไม่ยื่นรายการโดยเจตนา
|
มาตรา 35
มาตรา 35 ทวิ
มาตรา 36
มาตรา 37
มาตรา 37 ทวิ
|
|