1. หลักการของภาษีมูลค่าเพิ่ม
(VAT Principle)
|
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มมุ่งจัดเก็บจากการบริโภค (Tax on Consume)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ (ภาษีขาย) และนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้จ่ายหรือพึงต้องจ่าย (ภาษีซื้อ) มาเครดิตหักออกจากภาษีขายที่ได้เรียกเก็บหรือมีสิทธิเรียกเก็บนั้น ซึ่งเท่ากับผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกลับคืนมาทันที เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมียอดภาษีซื้อมากกว่ายอดภาษีขายในแต่ละเดือนภาษี ก็จะได้สิทธิขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจากทางราชการ
|
มาตรา 77 – 77/5
|
|
|
1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีทางอ้อม (Indirect Tax)
เป็นภาษีอากรที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคหรือเป็นภาษีที่เป็นการผลักภาระให้กับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย
ในบางกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มอาจจัดเป็น ภาษีทางตรง (Direct Tax) ได้แก่ กรณีผู้บริโภคเป็นผู้นำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศด้วยตนเอง ซึ่งผู้บริโภคต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเสียอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยตนเอง
|
- มาตรา 77/2 กิจการในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มาตรา 80 การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%
|
|
|
1.3 ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นของสินค้าหรือบริการ ในทุกขั้นตอนของการขาย สินค้าหรือการให้บริการ เฉพาะส่วนที่ยังไม่ผ่านการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาก่อน จึงถือเป็นภาษีที่จัดเก็บไม่ซ้ำซ้อน และมีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง
|
|
|
|
1.4 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มแบบการบริโภค (Consumption Type Vat)
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากการลงทุน อาทิ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือรายจ่ายเพื่อการลงทุนใด ก็สามารถนำภาษีซื้อสำหรับสินค้าทุน ตามหลักฐานใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายเพื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระได้เช่นเดียวกับภาษีซื้อจากการลงทุนซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ หรือรายจ่ายจากการประกอบกิจการอื่นใด จึงทำให้ต้นทุนสำหรับการลงทุนในสินค้าทุนต่ำลง ซึ่งแตกต่างจากผู้ประกอบการที่มิได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนในส่วนนี้ด้วย
|
|
|
|
1.5 ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บตามหลักปลายทาง (Destination Principle)
(1) กรณีนำเข้าสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ ให้ถือว่า ปลายทางของสินค้าหรือบริการดังกล่าวอยู่ในประเทศไทย
|
มาตรา 77/2 วรรคท้าย
|
|
|
- ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้นำเข้า สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือภาษีซื้อ ไปเครดิตหักออกจาก ภาษีขาย หรือภาษีมูลค่าเพิ่มได้เรียกเก็บหรือมีสิทธิเรียกเก็บ ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในแต่ละเดือนภาษี
|
มาตรา 77/2
มาตรา 79/2
มาตรา 80
|
|
|
- ผู้นำเข้าอื่นใดที่มิใช่ผู้ประกอบการ อาจต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าดังกล่าว โดยเฉพาะผู้นำเข้าที่เป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย (ภาษีทางตรง)
|
ข้อยกเว้นในเรื่องภาษีทางอ้อม
|
|
|
- ผู้นำเข้าบริการจากต่างประเทศ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 เพื่อแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าบริการดังกล่าว ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการชำระค่าบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งให้มีผลเช่นเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการนำเข้าสินค้า
|
มาตรา 77/2
มาตรา 83/6
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
|
|
(2) กรณีส่งออกสินค้าหรือบริการ เนื่องจากปลายทางของสินค้าหรือบริการนั้นอยู่ในต่างประเทศ จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับสินค้าหรือบริการที่ส่งออก ในอัตราร้อยละ 0 และสามารถขอคืนภาษีซื้อจากการซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบและทรัพย์สินได้
|
มาตรา 80/1
|
|
|
1.6 ภาษีมูลค่าเพิ่มเน้นให้ความสำคัญที่ระบบเอกสารหลักฐาน (Tax Invoice System) ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับใบกำกับภาษีซื้อที่นำมาถือเป็นเครดิตหักออกจากภาษีขาย
(2) บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานต่างๆ
(3) บทกำหนดโทษทั้งในทางแพ่ง และในทางอาญาเกี่ยวกับใบกำกับภาษี และเอกสารหลักฐานต่างๆ
|
- มาตรา 82/5 ภาษีซื้อต้องห้าม
- มาตรา 82/9 เหตุในการออกใบเพิ่มหนี้
- มาตรา 82/10 เหตุในการออกใบลดหนี้
- บทบัญญัติตามส่วน 10 ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้
- บทบัญญัติตามส่วน 11 การจัดทำรายงานและเก็บรักษาหลักฐานและเอกสาร
|
|
|
1.7 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมิน (Assessable Tax)
(1) ผู้มีเงินได้หรือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment) ตามแบบแสดงรายการที่อธิบดีกรมสรรพากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
|
- ม.77 ประกอบ ม.14
ซึ่งตาม ม.15 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2
“วิธีการเกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน”
ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 37 ทวิ มาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นกฎหมายทั่วไป
- บทบัญญัติตามหมวด 4 ในส่วน 7 ถึง 14 ซึ่งถือเป็นกฎหมายพิเศษ ที่เป็นวิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมินของภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
(2) เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินจำนวนภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กฎหมาย (Authoritative Assessment)
|
- มาตรา 18 ถึงมาตรา 27 จัตวา ซึ่งถือเป็นกฎหมายทั่วไป ใช้กับภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะบางประเด็น ได้แก่ อำนาจประเมินก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ (มาตรา 18 ทวิ) และอำนาจส่งหนังสือแจ้งความแก่ผู้ขอคืนภาษีอากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาคืนภาษีอากร (มาตรา 27 จัตวา)
- บทบัญญัติตามหมวด 4 ซึ่งถือเป็นกฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะในส่วน 12 (มาตรา 88 ถึงมาตรา 88/6)
|
|
|
1.8 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมุ่งเน้นที่การกระทำกิจกรรม หรือการประกอบกิจการเป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงว่าผู้กระทำกิจกรรม หรือผู้ประกอบกิจการนั้น จะมีสถานภาพเป็นอย่างใด เช่น
(1) บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างหุ้นส่วน คณะบุคคล มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น
(2) องค์การของรัฐบาล เช่น กระทรวง ทบวง กรม หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
|
ดูคำนิยามตาม มาตรา 77/1
|
|
|
1.9 กิจกรรมที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
- มาตรา 77/2
- บทบัญญัติตามส่วน 2 ความรับผิดในการเสียภาษี
|
|
|
1.9.1 การขายสินค้าในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในราชอาณาจักร
· “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และให้หมายความรวมถึง
(1) สัญญาให้เช่าซื้อสินค้า (Hire Purchase) สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ เมื่อได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อแล้ว หรือสัญญาจะขายสินค้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(2) ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย (การฝากขาย หรือ Consignment Sale)
(3) ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร (Export) “ส่งออก” หมายความว่า ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศและให้หมายความรวมถึง
|
มาตรา 77/1 (8)
มาตรา 78
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.36/2536 การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซ้อเมื่อได้ส่งมอบ ตามมาตรา 78(2)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 87(3)
ข้อ 1 ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน
|
|
(ก) การนำสินค้าในราชอาณาจักร เข้าไปในเขตปลอดอากร เฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
|
ข้อ 2 สัญญาตามข้อ 1 ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้
ข้อ 3 ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
ข้อ 4 ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วัน
|
|
|
|
สิ้นสุดสัญญา
ข้อ 5 ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่
ข้อ 6 ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน ตามมาตรา 87(3)
|
|
(ข) การขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่าศุลกากร ที่ขายให้แก่ผู้ที่เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
มาตรา 77/1 (14)
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 125) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำสินค้าในราชอาณาจักร เข้าไปในเขตปลอดอากรและการขายสินค้าของคลังสินค้าทัณฑ์บน ประเภทร้านค้าปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 77/1(14)(ก) และ (ข)
|
|
(4) นำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อนึ่ง สินค้าดังกล่าวต้องมิใช่รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการนำรถยนต์ประเภทดังกล่าวไปไว้ในสถานแสดงรถยนต์เพื่อขาย
|
มาตรา 77/1 (8)(ง)
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 1)
ข้อ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้านั้นไปใช้ในการผลิตสินค้าการให้บริการ การบริหารงานของกิจการ หรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
สินค้าตามวรรคหนึ่งต้องมิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตและสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงการนำรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ไปไว้ในสถานแสดงรถยนต์เพื่อขาย
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 47/2537 กรณี ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้าไปใช้ในการบริหารงานของกิจการกรณีเครื่องแบบ ของพนักงาน
ข้อ 1 กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องแบบของพนักงาน โดยผู้ประกอบการเป็นฝ่ายจัดหาให้พนักงานใช้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันจะเข้าเงื่อนไขว่าเป็นการนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงนั้น ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้
(1) เป็นเครื่องแบบที่ใช้เฉพาะงานหรือห้องปฏิบัติงานโดยเฉพาะในปริมาณไม่เกินสมควร ซึ่งไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่พนักงาน และเมื่อพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วต้องเก็บรักษาไว้ที่สถานที่ประกอบการ หรือให้พนักงานนำออกไปจากสถานประกอบการได้เพียงเพื่อการซักฟอกหรือทำความสะอาด เป็นต้น
|
|
|
|
(2) เป็นเครื่องแบบที่พนักงานแต่ละคนต้องแต่งอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันในจำนวนคนมากพอสมควร ซึ่งประชาชนทั่วไปเมื่อพบเห็นสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องแบบของพนักงานของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าพนักงานแต่ละคนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตัดเย็บเอง หรือผู้ประกอบการเป็นผู้จ่ายให้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานในจำนวนคนละไม่เกินปีละ 2 ชุด เสื้อนอกไม่เกินปีละ 1 ตัว แต่ไม่รวมถึงรองเท้า ชุดชั้นใน หรือเครื่องแต่งตัวอย่างอื่น
การจ่ายสิ่งของดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องลงรายการให้ชัดเจน ดังนี้
(ก) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ผลิตสิ่งของดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องลงรายการจ่ายในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในช่องหมายเหตุว่า จ่ายเพื่อตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก ของพนักงาน แล้วแต่กรณี
(ข) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ซื้อหรือสั่งจ้างทำสิ่งของดังกล่าว เพื่อนำมาจ่ายให้แก่พนักงาน ให้ผู้ประกอบการลงรายการในรายงานภาษีซื้อ ในช่องรายการใต้รายการสินค้าหรือบริการว่า เพื่อจ่ายให้แก่พนักงานตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก หรือใช้เป็นเครื่องแบบของพนักงาน แล้วแต่กรณี
|
|
|
|
ข้อ 2 สำหรับค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 ผู้ประกอบการหรือนายจ้างสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แล้วแต่กรณี
-คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 57/2538 กรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันเป็นสองบริษัท
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 กรณีรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่อง จากการส่งเสริมการขาย
|
|
(5) มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า
|
มาตรา 77/1 (8)(จ)
มาตรา 87 (3)
มาตรา 87 วรรคสอง
|
|
|
(6) มีสินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงสินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินดังกล่าวของผู้ประกอบการ ซึ่งได้ควบเข้ากันหรือได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการใหม่อันได้ควบเข้ากันหรือผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3
|
มาตรา 77/1 (8)(ฉ)
|
|
|
(7) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 188 (พ.ศ. 2534)
|
มาตรา 77/1 (8)(ช)
|
ข้อ 1 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 188
(1) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฎากร มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 แห่งประมวลรัษฎากร มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
1.9.2 การให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในราชอาณาจักร
(1) “บริการ” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึง การใช้บริการของตนเองไม่ว่าประการใดๆ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึง
(ก) การใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ได้แก่ การนำสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้า การให้บริการ การบริหารของกิจการหรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการให้บริการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อนึ่ง การให้บริการดังกล่าวต้องมิใช่เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
(ข) การนำเงินไปหาผลปะโยชน์โดยการฝากธนาคาร หรือซื้อพันธบัตร หรือหลักทรัพย์
|
มาตรา 77/1 (10)
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้บริการหรือการนำสินค้าไปใช้เพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยตรง ตามมาตรา 77/1(10)(ก)
ข้อ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำบริการหรือนำสินค้าไปใช้ในการผลิตสินค้าการให้บริการ การบริหารงานของกิจการหรือเพื่อประโยชน์ของทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการให้บริการของตนเอง ทั้งนี้ ต้องเป็นการใช้ในกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
(ค) การกระทำตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ คลัง (ในปัจจุบันยังไม่มี)
|
|
บริการตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่กรณีดังต่อไปนี้
(1) บริการที่นำไปใช้เพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
(2) บริการที่นำปใช้กับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
|
|
(2) “การให้บริการในราชอาณาจักร” หมายถึง กรณีดังต่อไปนี้
(ก) การให้บริการที่ทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
(ข) การให้บริการที่ทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ เช่น การให้บริการนำเที่ยวในต่างประเทศ เป็นต้น
(ค) การให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าเป็นการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรด้วย
|
มาตรา 77/2 วรรคสองและวรรคสาม
|
|
|
1.9.3 การนำเข้าสินค้าโดยผู้นำเข้า
"นำเข้า" หมายความว่า นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า หรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออกด้วย
|
มาตรา 77/2 (12)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 269)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้ากรดซัลฟิวริก กรดฟอสฟอริกแอมโมเนียชนิดที่ปราศจากน้ำ แคลเซียมฟอสเฟตธรรมชาติ อะลูมิเนียมแคลเซียมฟอสเฟต ธรรมชาติ และกำมะถันในรูปของเหลวหรือของแข็ง ทั้งนี้ เฉพาะที่ผู้นำเข้าซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมนำมาใช้ผลิตหรือผสมเป็นปุ๋ยในกิจการของตนเอง
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.104/2544
|
|
|
|
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการ ใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณี การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
1.10 คำว่า “สินค้า” ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ทรัพย์สินที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ที่อาจมีราคาและถือเอาได้ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ หรือเพื่อการใดๆ และให้หมายความรวมถึงสิ่งของทุกชนิดที่นำเข้า
หมายเหตุ
(1) การขายสินค้าที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นการขายทรัพย์สินในประเภทสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้เท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบกิจการเป็นกิจกรรมที่อยู่ในต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าผู้ประกอบการจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(2) การจำหน่าย จ่าย โอนเงินตรา ธนบัตร ตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่มีไว้เพื่อการชำระหนี้ เช่น บัตรกำนัล บัตรภาษี ไม่ถือเป็นการขายสินค้าที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) สินค้าในทางภาษีมูลค่าเพิ่มอาจจำแนกได้ดังนี้
(ก) สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)
(ข) วัตถุดิบ (Raw Material)
(ค) งานระหว่างทำ (Work in Process)
|
มาตรา 77/1 (9)
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 90/2542 กรณีโอนสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 107/2544 กรณีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการ เช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา 77/1(10)
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 36/2540 กรณีที่ผู้ส่งออกได้รับเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีได้โอนสิทธิในบัตรภาษี ซึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐบาล ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 77/1 จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
(ง) ทรัพย์สินถาวรที่มีรูปร่าง (Tangible Fixed Asset) เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ
(จ) ทรัพย์สินถาวรที่ไม่มีรูปร่าง (Intangible Fixed Asset) เช่น ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สิทธิการเช่า สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สูตร กรรมวิธี
(ฉ) ทรัพย์สินอื่นใดที่ผู้ประกอบการมีไว้เพื่อให้หรือเพื่อการใดๆ เช่น สิ่งของที่ซื้อมาเพื่อใช้เป็นรางวัล หรือเพื่อแจกให้แก่พนักงานหรือบุคคลใดๆ เป็นต้น
|
|
|
|
1.11การประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้จำแนกตามขนาดของมูลค่าของฐานภาษี หรือรายรับจากการประกอบกิจการ
ในปีภาษีใดที่ผู้ประกอบการมีมูลค่าของฐานภาษีต่อปีเกินกว่า 1,800,000 บาท ผู้ประกอบ การต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1,800,000 บาท โดยคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระจากยอดภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ในแต่ละเดือนภาษี
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ประสงค์จะถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นๆ มีมูลค่าของฐานภาษีต่อปีไม่เกิน 1,800,000 บาท ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี
|
- มาตรา 81/1 กำหนดจำนวนมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มาตรา 81/3 กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
- มาตรา 85/1 กำหนดเวลายื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มาตรา 85/10 สิทธิในการขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
|
พรฎ. (ฉบับที่ 432) การกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี
- คำว่า “ปี” ตามมาตรา 4 หมายความว่า
(1) ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้นับตามปีประดิทิน เว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการถึงวันสิ้นปีประดิทิน
(2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ให้นับตามรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
|
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
|
2.1 ผู้ประกอบการ
|
มาตรา 82 (1)
|
|
|
(1) " ผู้ประกอบการ " หมายความว่า บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่
|
มาตรา 77/1 (5) คำนิยาม
|
|
|
(2) " ผู้ประกอบการจดทะเบียน " หมายความว่า ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา 85/3
|
· มาตรา 77/1 (6) คำนิยาม
· มาตรา 85 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ
· มาตรา 85/1 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่
(1) วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม หรือ
(2) วันที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
· มาตรา 85/3 ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือ ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
|
|
|
(3) ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน ซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้น
|
มาตรา 82/2
|
|
|
2.2 ผู้นำเข้า
|
มาตรา 82 (2)
|
|
|
(1) ผู้นำเข้าทั้งที่เป็นผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่น (ผู้บริโภค) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้า ณ ด่านศุลกากร
|
- มาตรา 77/1 (11) คำนิยาม
- กรณีผู้บริโภคเป็นผู้นำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศด้วยตนเอง ถือว่าเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่า โดยไม่สามารถจะผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่นได้อีก จึงถือเป็นภาษีทางตรง
|
|
|
(2) การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียภาษีอากรขาเข้า หรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออกด้วย
|
- มาตรา 77/1 (12) คำนิยาม
|
|
|
(3) ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้จ่ายตามหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร มาถือเป็นภาษีซื้อเพื่อหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ ในเดือนที่ได้จ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไปดังกล่าว
|
· มาตรา 83/10 ให้กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร
· มาตรา 86/14 ใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิตออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากรให้ถือเป็นใบกำกับภาษี
|
|
|
(4) ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้นำค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า มาถือเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนของสินค้าหรือของทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี
|
|
|
|
2.3 ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) ตัวแทนที่อยู่ในราชอาณาจักร
ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร
|
มาตรา 82/1
|
|
|
(2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการ ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการที่เคยได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
- ในกรณีที่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ได้ขายสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล
|
|
|
|
(3) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร หรือ ผู้รับโอนสินค้าที่ภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
- ในกรณีที่สินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่า ด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2) (ค) ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
|
|
|
|
(4) ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่ ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน
หมายเหตุ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการเลิกประกอบกิจการตามแบบ ภ.พ.09 และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่
|
มาตรา 85/14
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
|
|
(5) ผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีโอนกิจการ
หมายเหตุ
- ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประสงค์จะโอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด แจ้งการโอนกิจการและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถ้ามี หรือแจ้งการโอนและแจ้งการเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แล้วแต่กรณี ตามแบบ ภ.พ.09 ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน
ในกรณีที่โอนกิจการทั้งหมด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกกิจการคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ พร้อมกับการแจ้งเลิกประกอบกิจการ
- ให้ผู้รับโอนกิจการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน แจ้งการรับโอนกิจการและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถ้ามี ณ สถานที่ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 15 ก่อนวันรับโอนกิจการ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ผู้รับโอนประกอบกิจการดังกล่าวต่อเนื่องไปพลางก่อนได้
|
มาตรา 85/13
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
|
3. วิธีการคำนวณภาษี
|
3.1 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
3.1.1 กรณีขายสินค้า
|
มาตรา 78
|
|
|
(1) การขายสินค้ามีรูปร่าง
|
มาตรา 78 (1)
ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้าก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(ก)โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(ข) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
(ค) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้น ตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
|
|
(2) การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายัง ไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ
|
มาตรา 78 (2)
ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(ก) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
(ข) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้น ตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 36/2536 การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซ้อเมื่อได้ส่งมอบ ตามมาตรา 78(2)
|
|
(3) การขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว
|
มาตรา 78 (3)
ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(ก) ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ
(ข) ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า
(ค) ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
(ง) ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้น ตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)
- ต้องเป็นสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าโดยตัวแทนได้รับค่าตอบแทนหรือบำเหน็จจากตัวการตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาตั้งตัวแทน
- สัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นสัญญาที่ตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือทุกประเภทก็ได้
- ตัวการและตัวแทนต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ตัวการและตัวแทนต้องเก็บรักษาต้นฉบับสัญญาการตั้งตัวแทนไว้ ณ สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา
- ตัวการต้องแจ้งสัญญาการตั้งตัวแทนต่อเจ้าพนักงานสรรพากรในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของตัวการตั้งอยู่ ภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน
- ตัวแทนต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ โดยให้จัดทำแยกต่างหากจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบของตน
|
|
(4) การขายสินค้าโดยส่งออก
|
มาตรา 78 (4)
ให้ความรับผิดเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
(ก) การส่งออกนอกจากที่ระบุใน (ข) หรือ (ค) ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มี ผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก แล้วแต่กรณี ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(ข) การส่งออกในกรณีที่นำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1(14)(ก) ให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่นำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตดังกล่าว
(ค) การส่งออกซึ่งสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
|
|
(5) การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าอันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
|
มาตรา 78 (5)
ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้า
|
|
|
3.1.2 กรณีให้บริการ
|
มาตรา 78/1
|
|
|
(1) การให้บริการ
|
มาตรา 78/1 (1)
ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(ก) ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
(ข) ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 39/2537
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการสนามกอล์ฟ
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 73/2541
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 106/2544
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการของ
ผู้ประกอบกิจการท่าเรือ และผู้ประกอบการ ที่ประกอบกิจการให้บริการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันกับกิจการท่าเรือ
|
|
(2) การให้บริการตามสัญญาที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ
|
มาตรา 78/1 (2)
ให้ความรับผิดตามส่วนของบริการเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลง ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(ก) ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ
(ข) ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้น ตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
|
|
(3) การให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
|
มาตรา 78/1 (3)
ให้ความรับผิดทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อได้มีการชำระราคาค่าบริการทั้งหมดหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี
|
|
|
(4) การให้บริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และภายหลังได้มีการโอนสิทธิในบริการอันทำให้ผู้รับโอนสิทธิในบริการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
|
มาตรา 78/1 (4)
ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ
|
|
|
3.1.3 กรณีนำเข้า
|
มาตรา 78/2
|
|
|
(1) การนำเข้าโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือผู้บริโภค
|
มาตรา 78/2 (1)
ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขาเข้า วางหลักประกันอากรขาเข้า หรือจัดให้มี ผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาเข้า หรือได้รับยกเว้นอากรขาเข้า ก็ให้ ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
|
|
(2) การนำเข้ากรณีนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรแล้วนำสินค้าออกจากเขตดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อส่งออกตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 77/1 (12)
|
มาตรา 78/2 (2)
ให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่นำสินค้านั้นออกจากเขตดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อส่งออก
|
|
|
(3) การนำเข้ากรณีของตกค้างตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
มาตรา 78/2 (3)
ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อทางราชการได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น เพื่อนำเงินมาชำระค่าภาษี ค่าเก็บรักษา ค่าย้ายขน หรือค่าภาระติดพันตามวิธีการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
|
|
(4) การนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร อันทำให้ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าว หรือผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
มาตรา 78/2 (4)
ให้ความรับผิดเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
|
|
|
3.1.4 กรณีที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
|
มาตรา 78/3
|
กฎกระทรวงฉบับที่ 189
|
|
(1) การขายสินค้าไม่มีรูปร่าง เช่น การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือ การขายสินค้าที่ไม่อาจกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด
|
มาตรา 78/3 (1)
|
ข้อ 1 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาสินค้า แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ
|
|
(2) การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ
|
มาตรา 78/3 (1)
|
ข้อ 2 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้า เว้นแต่กรณีได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาสินค้าก็ให้ ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือ
(2) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
|
(3) การขายสินค้าหรือการให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ
|
มาตรา 78/3 (2)
|
ข้อ 3 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้นำเงินเหรียญ บัตร หรือสิ่งอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัติ
|
|
(4) การขายสินค้าโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน
|
มาตรา 78/3 (3)
|
ข้อ 4 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือ
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
|
(5) การให้บริการโดยการชำระราคาด้วยการใช้บัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน
|
มาตรา 78/3 (3)
|
ข้อ 5 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต เว้นแต่กรณีที่ได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิตก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการออกใบกำกับภาษีนั้น
|
|
(6) การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้า
|
มาตรา 78/3 (4)
|
ข้อ 6 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้าเว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย
(1) โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
(2) ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
(3) ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้ โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
|
|
(7) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (ง) กรณีนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่การนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเอง
|
มาตรา 78/3 (5)
|
ข้อ 7 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นเพื่อใช้
|
|
(8) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (จ) กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
|
มาตรา 78/3 (5)
|
ข้อ 8 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ
|
|
(9) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (ฉ) กรณีมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการ มีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงสินค้าคงเหลือ และหรือทรัพย์สินดังกล่าวของผู้ประกอบการซึ่งได้ควบเข้ากัน หรือได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการใหม่อันได้ควบเข้ากัน หรือผู้รับโอนกิจการต้องอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
|
มาตรา 78/3 (5)
|
ข้อ 9 ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ต่อไปซึ่งเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 86/11 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
(10) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (ช) กรณีอื่นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 188
|
มาตรา 78/3 (5)
|
- กฎกระทรวงฉบับที่ 188
กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร
(1) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/10 แห่งประมวลรัษฎากร มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 แห่ง
ประมวลรัษฎากร มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่
|
|
|
|
ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ประกอบ ข้อ 10 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 189
ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วแต่กรณี เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ต่อไปเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการตามมาตรา 86/11 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดเป็นไปตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
3.2 ฐานภาษี (ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ฐานภาษี x อัตราภาษี)
|
|
|
|
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการที่ใช้เป็นเกณฑ์ คำนวณภาษีตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม พิจารณาได้ดังนี้
|
มาตรา 79 – มาตรา 79/7
|
|
|
3.2.1 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ
ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต หมายความรวมถึง ภาษีสุรา ค่าแสตมป์ยาสูบ ค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ และภาษีหรือค่าธรรมเนียมอื่นในลักษณะทำนอง เดียวกัน
|
- มาตรา 79
- มาตรา 79/3 การคำนวณมูลค่าของฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตามมาตรา 79 ให้ถือมูลค่าของฐานภาษีเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 291) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.39/2537 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการสนามกอล์ฟ
|
|
มูลค่าของฐานภาษีให้หมายความถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
มูลค่าของฐานภาษีไม่ให้รวมถึง
(1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
· เป็นส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า หรือให้บริการ
· ได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว
· เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้
(2) ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(3) ภาษีขาย
(4) ค่าตอบแทนที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
(1) การขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้าหรือการให้บริการในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น
(2) การขายสินค้าหรือการให้บริการในกรณีที่ผู้ประกอบการนำสินค้าไปใช้ หรือได้ใช้บริการ ไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น โดยมิใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรงตามมาตรา 77/1(8) (ง) หรือ (10) มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้าหรือบริการในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น
(3) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) (จ) ที่เกิดจากสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น
(4) การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(5) และภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าอันทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1 (2) มูลค่าของฐานภาษี ให้ถือราคาตลาดตามสภาพหรือปริมาณของสินค้าที่เป็นอยู่ในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.118/2545 การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 33/2540 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคลอาคารชุด
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) กำหนดลักษณะ และเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 120) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการรับขนคนโดยสาร ระหว่างประเทศโดยอากาศยานและสำหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสาร
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร กรณีการขายทองรูปพรรณซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องนำมูลค่าทองที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี
|
|
|
(5) การขายสินค้าในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือ และหรือมีทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการ มีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดในวันเลิกประกอบกิจการ
หมายเหตุ ราคาตลาดตามมาตรา 79/3 ให้ถือราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามที่ได้มีการตรวจสอบ ราคาตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด และในกรณีที่ไม่อาจทราบราคาตลาดได้แน่นอน ให้อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาตลาดได้
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.101/2543 ค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึง ได้รับจากการขายสินค้าที่ไม่ต้องนำมารวม คำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4)
|
|
3.2.2 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการในกิจการเฉพาะอย่าง
|
มาตรา 79/1
|
|
|
(1) ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าโดยการส่งออก
ได้แก่ มูลค่าของสินค้าส่งออก โดยให้ใช้ราคา เอฟ.โอ.บี. ของสินค้าบวกด้วยภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ทั้งนี้ไม่ให้รวมอากรขาออก
ราคา เอฟ.โอ.บี. = ราคาสินค้า ณ ด่านศุลกากรส่งออกโดยไม่รวมค่าประกันภัยและค่าขนส่งจากด่านศุลกากรส่งออกไปต่างประเทศ
|
|
|
|
(2) ฐานภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
(ก) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ได้แก่ มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.53/2537 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศโดยอากาศยานและสำหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสาร
มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร หมายถึง รายได้ที่ได้รับจากการรับขนคนโดยสารซึ่งเรียกเก็บจากคนโดยสาร ทั้งในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยตรงและในกรณีที่บริษัทสายการบินขายตั๋วโดยสารให้คนโดยสารโดยผ่านตัวแทน โดยไม่คำนึงว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาค่าโดยสารที่ระบุในตั๋วโดยสาร
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.55/2538 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ
ให้คำนวณจากมูลค่าของค่าโดยสารที่ได้รับหรือพึงได้รับ สำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากคนโดยสาร อันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนคนโดยสาร ไม่ว่าสายการบินนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
|
|
(ข) ในกรณีรับขนสินค้า ได้แก่ มูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนสินค้านั้นออกนอกราชอาณาจักร
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.49/2537
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และสำหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
มูลค่าของค่าระวางฯลฯ หมายถึง
(1) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทย ตามมูลค่าของค่าระวางตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการบินรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง
(2) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทย ตามมูลค่าของค่าระวางตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้าที่ตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานออกให้ผู้รับบริการ (เฮ้าส์แอร์เวย์บิล) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการบินรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ไม่ว่ารายได้ดังกล่าวจะมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าระวางที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (แอร์เวย์บิล)
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.54/2537 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล และสำหรับกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล
มูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด หมายถึง
(1) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือรับขนของให้ผู้รับบริการโดยตรง
(2) รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ที่บริษัทสายการเดินเรือออกให้ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย ในกรณีที่บริษัทสายการเดินเรือรับขนของให้ผู้รับบริการโดยผ่านผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล
|
|
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.55/2538 ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารหรือสินค้าระหว่างประเทศ
ให้คำนวณจากมูลค่าของค่าระวางที่ได้รับหรือพึงได้รับ สำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในแอร์เวย์บิลในกรณีรับขนสินค้าโดยอากาศยาน หรือสำหรับระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุในบิลออฟเลดิงในกรณีรับขนสินค้าโดยเรือเดินทะเล รวมถึงค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนสินค้า ไม่ว่าสายการบินนั้นหรือสายการเดินเรือนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
|
|
(3) ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการในกิจการเฉพาะอย่างประเภทอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
|
|
|
3.2.3 ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้า
(1) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าทุกประเภท ได้แก่ มูลค่าของสินค้านำเข้า โดยให้ใช้ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ตามที่กำหนดในมาตรา 77/1(19) ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
การนำเข้าสินค้าที่ผู้นำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตามกฎหมายอื่น ให้นำอากรขาเข้าซึ่งได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี
ราคา ซี.ไอ.เอฟ. = ราคาสินค้าบวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักร เว้นแต่
(ก) ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศให้ราคาในท้องตลาด สำหรับของประเภทใดประเภทหนึ่งที่ ต้องเสียอากรตามราคาเป็นรายเฉลี่ยตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.
(ข)ในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรได้ทำการประเมินราคาเพื่อเสียอากรขาเข้าใหม่ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.
|
มาตรา 79/2
|
|
|
(2) ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2) (ค) ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร อันทำให้ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าวหรือผู้รับโอนสินค้าที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/1(3) ฐานภาษีสำหรับสินค้านั้น ได้แก่ มูลค่าตามสภาพหรือปริมาณของสินค้าที่เป็นอยู่ในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้นตามมาตรา 78/2 (4)
|
|
|
|
3.2.4 ในกรณีที่มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือ พึงได้รับจากการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศนั้น เป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีได้รับเงินตราต่างประเทศจากการ ขายสินค้าหรือการให้บริการ และได้มีการขายเงินตราต่างประเทศ ที่ได้รับชำระนั้น เป็นเงินตราไทยในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือเงินตราไทยจากการขายนั้นเป็นมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายสินค้า หรือการให้บริการแล้วแต่กรณี เว้นแต่มิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนที่ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้าย ของเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(2) ในกรณีนำเข้าสินค้าให้คำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ เป็นเงินตราไทยตามอัตราที่กรมศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
มาตรา 79/4
|
- ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.132/2548
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4
|
|
3.2.5 ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายซึ่งยาสูบ
(1) สำหรับการนำเข้า ให้เป็นไปตามมาตรา 79/2
|
มาตรา 79/5
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.85/2542 การคำนวณฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายยาสูบตามประเภทและชนิดที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79/5 และการจัดทำ ใบกำกับภาษี กรณีการขายยาสูบตามมาตรา 86/5(2)
|
|
(2) สำหรับการขาย ได้แก่ มูลค่าของยาสูบที่ได้มาจากการหักจำนวน ภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากจำนวนเต็มของราคาขายปลีกของยาสูบ โดยให้คำนวณจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมอยู่ในจำนวนเต็มของราคาขายปลีก
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 10) ต้องคำนวณมูลค่าของฐานภาษีจาก
· บุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบที่เป็นองค์การของรัฐบาล
· บุหรี่ซิกาแรตที่นำเข้าจากต่างประเทศและกรมสามิตได้กำหนดราคายาสูบไว้ตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509
|
|
3.2.6 ฐานภาษีสำหรับการนำเข้าและการขายซึ่งน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมัน
|
มาตรา 79/6
ไม่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
|
|
|
3.2.7 ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าสินค้าที่มิได้บัญญัติไว้ในส่วนนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และในพระราชกฤษฎีกาจะกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขใดๆ เพื่อการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีสำหรับกิจการดังกล่าวด้วยก็ได้
|
มาตรา 79/7
|
พรฎ. (ฉบับที่ 245)
การขายสินค้าในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือมีทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/10 หรือได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 มูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดในวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือวันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี
|
|
3.3 อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
3.3.1 อัตราภาษีร้อยละ 10.0 สำหรับการประกอบกิจการขายสินค้า ให้บริการ และการนำเข้า
ปัจจุบันจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7
|
มาตรา 80
|
พรฎ.(ฉบับที่ 507)
มาตรา 4 ให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากรและคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละหกจุดสาม สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2555
(๒) ร้อยละเก้า สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
หมายเหตุ กรมสรรพากรต้องเรียกเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นในอัตรา 1 ใน 9 ส่วนของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ร้อยละ 0.7 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อรวมอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและอัตราภาษีส่วนท้องถิ่นจะได้เป็นอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ
ภาษีส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ภาษีบำรุงเทศบาล ภาษีรายได้สุขาภิบาล ภาษีรายได้ส่วนจังหวัด กำหนดให้จัดเก็บจากกิจกรรมการขายสินค้า หรือการให้บริการในราชอาณาจักร ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราเศษ 1 ส่วน 9 ของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้ถือว่าอัตราภาษีส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เพื่อความ
|
|
|
|
สะดวกในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอันที่จะไม่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนหนึ่งแล้วคำนวณภาษีส่วนท้องถิ่นอีกส่วนหนึ่ง
|
|
3.3.2 อัตราภาษีร้อยละ 0 สำหรับการประกอบกิจการดังต่อไปนี้
(1) การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(3)
|
มาตรา 80
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1
|
|
(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศให้รวมถึงการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขต ปลอดอากรเพื่อส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตดังกล่าวเพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย
การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศให้รวมถึง การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร เพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105)
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.104/2544
|
|
(3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล
|
|
|
|
(4) การขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือ เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศตามมาตรา 80/1(4)
|
|
(5) การขายสินค้าหรือ การให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 27) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการ กับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล ตามมาตรา80/1(5)
|
|
(6) การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการที่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
คลังสินค้าทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี ตามมาตรา 80/1(6)
|
|
3.4 การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
(1) ให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
ภาษีขาย = ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7.0% หรือ 0% ของราคาสินค้าหรือค่าบริการที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บหรือต้องรับภาระจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ
ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7.0% จากการซื้อสินค้า ทรัพย์สิน รับบริการ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศตามหลักฐานใบกำกับภาษี
|
มาตรา 82/3
|
- พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10) การยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 3 แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
(2) กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อให้ผู้ประกอบการชำระภาษีเท่ากับส่วนต่างนั้น
และหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ให้เป็นเครดิตภาษีและให้ผู้ประกอบการนั้นมีสิทธิได้รับคืนภาษี หรือนำไปหักจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระก็ได้
|
มาตรา 82/4
|
|
|
(3) ภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี เพราะมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนด ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษี หลังจากนั้นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามปีนับจากวันที่ได้มีการออกใบกำกับภาษี
|
มาตรา 82/3
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 4)
· กรณีภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพราะมีเหตุจำเป็น ดังนี้
(1) เหตุจำเป็นซึ่งเกิดขึ้นตามประเพณีทางการค้า
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) ได้รับใบกำกับภาษีในเดือนภาษีอื่นที่มิใช่เดือนภาษีที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี
· ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี
· ในใบกำกับภาษีต้องระบุข้อความว่า “ถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษี...” โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
|
|
(4) ภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3
|
มาตรา 82/5
|
|
|
(ก) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 82/5 (1)
|
ข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
- กรณีไม่มีใบกำกับภาษีตามมาตรา 82/5 (1) ผู้ประกอบการไม่มีสิทธินำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษี
- กรณีมีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อตามมาตรา 82/5(1) ให้ผู้ประกอบการมีสิทธินำภาษีซื้อไปหักในการคำนวณภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ใบกำกับภาษีถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย เช่น อัคคีภัย อุทกภัย หรือวาตภัย ซึ่งต้องมีหลักฐานทางราชการหรือหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง และ
(ข) ผู้ประกอบการไม่สามารถขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการได้ตามมาตรา 86/12 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่สามารถออกใบแทนใบกำกับภาษีได้เพราะเหตุสุดวิสัย
|
|
(ข) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 82/5 (2)
|
ข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
- กรณีมีใบกำกับภาษี และสามารถแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อไปจริงตามมาตรา 82/5(2) ใบกำกับภาษีดังกล่าวต้องมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
(ค) ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ของผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 82/5 (3)
|
ข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการตามมาตรา 82/5(3) ได้แก่ ภาษีซื้อที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
|
|
(ง) ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ เพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 82/5 (4)
มาตรา 65ตรี (6ทวิ) ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ เพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ตามมาตรา 82/5 (4) ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
|
ข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17)
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันตามมาตรา 82/5(4) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
(ก) ค่ารับรอง หรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
|
|
|
|
(ข) ค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (ก) และบุคคลอื่น
|
|
(จ) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
|
มาตรา 82/5 (5)
|
|
|
(ฉ) ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
มาตรา 82/5 (6)
มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) ภาษีซื้ออื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
|
- พรฎ.(ฉบับที่ 243)
มาตรา 3 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำภาษีซื้อตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ภาษีซื้อดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว
(2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
(3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขาย หรือให้เช่าหรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ (ประเด็นกิจการที่มิให้ใช้บังคับให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42))
(5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตาม ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(1) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
(6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้จัดทำขึ้นตามวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร
(7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
(8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 82/
(9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนนำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ ตามข้อ 3(2) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2535
(10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่มิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง
มิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
(12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 ซึ่งรายการชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ”
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
|
4. วิธีการเสียภาษีและ
นำส่งภาษี
|
4.1 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยผู้ประกอบการยื่นรายการประเมินตนเอง (Self-assessment)
|
|
|
|
4.1.1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามแบบ ภ.พ.30 เป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีถ้ามี ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ ยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.30 ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษี ให้แยกยื่นและชำระเป็นรายสถานประกอบการ ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะยื่นคำร้องต่ออธิบดีตามแบบ ภ.พ.02 ขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือ ยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.30 ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้วให้ถือปฏิบัติตั้งแต่เดือนภาษีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป
|
มาตรา 83
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) ให้กำหนดแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) แบบ ภ.พ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) แบบ ภ.พ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) แบบ ภ.พ.04 แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) แบบ ภ.พ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(5) แบบ ภ.พ.30 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) แบบ ภ.พ.30.2 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้
(7) แบบ ภ.พ.30.3 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคาร
(8) แบบ ภ.พ.36 แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 115) ให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.30 ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.112/2545 ให้ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เป็นสถานที่รับแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบแสดงรายการนำส่งภาษีในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
|
|
4.1.2 ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1(1) (3) (4) หรือ (5) และมาตรา 82/2 ดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักรได้แก่ ตัวแทนดังกล่าว
(2 )ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่า ด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2) (ค)ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ได้แก่
(ก) ผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
|
มาตรา 83/2
มาตรา 82/1(1) (3) (4) หรือ (5)
|
|
|
(ข) ผู้รับโอนสินค้า ถ้ามีการโอนสินค้าดังกล่าว
(3) ในกรณีที่มีการควบเข้ากัน ได้แก่ ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่
(4) ในกรณีโอนกิจการ ได้แก่ ผู้โอนและผู้รับโอน
(5) ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน ซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมกับบุคคลตามมาตรา 82
|
มาตรา 82/2
|
|
|
4.1.3 ให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีแทนหรือร่วมกับผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้แก่ ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
(2) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งถึงแก่ความตาย ได้แก่ ผู้จัดการมรดก ทายาทหรือ ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก
(3) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้แก่ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งในคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลนั้น
(4) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่ กรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ
|
มาตรา 83/3
|
|
|
(5) ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเลิกกันโดยมีการชำระบัญชี ได้แก่ ผู้ชำระบัญชีและกรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกนิติบุคคลนั้น
|
|
|
|
4.1.3 กรณีการขายทอดตลาด
ให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเสียง ตามแบบ ภ.พ.36 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง ยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.36 ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ทำการขายทอดตลาด
ให้ผู้ทอดตลาดที่เป็นส่วนราชการออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อในการขายทอดตลาดและจัดทำสำเนา ให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
ในกรณีที่ส่วนราชการขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่น นอกจากการขายทอดตลาด ให้นำความในมาตรานี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ตามวรรคสามและวรรคสี่ ให้ถือเป็นใบกำกับภาษี
|
มาตรา 83/5
ให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
· มาตรา 52 กำหนดเวลาการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
· มาตรา 54 ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี และ
· มาตรา 55 มิให้เป็นเหตุเสื่อมสิทธิของ เจ้าพนักงานประเมินในการที่จะเรียกเก็บ เงินภาษีนั้นโดยวิธีอื่น
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 65) ให้ใช้ แบบ ภ.พ.36
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 118) ให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์(Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.87/2542 การยื่นแบบและการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 83/5
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ
ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ แล้วแต่กรณี
|
|
4.1.4 กรณีมีการชำระราคาสินค้าหรือ ราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการดังต่อไปนี้
(1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 85/3
(2) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
(3) ผู้ประกอบการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ให้ผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการข้างต้น มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษี
ตามแบบ ภ.พ.36 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือ ยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.36 ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ
|
มาตรา 83/6
ให้นำมาตรา 83/5 วรรคสอง มาใช้บังคับ ซึ่งหมายถึง การให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
· มาตรา 52 กำหนดเวลาการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
· มาตรา 54 ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี และ
· มาตรา 55 มิให้เป็นเหตุเสื่อมสิทธิของเจ้าพนักงานประเมินในการที่จะเรียกเก็บเงินภาษีนั้นโดยวิธีอื่น
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) ให้ใช้ แบบ ภ.พ.36
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) ให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์(Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.104/2544 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณี การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2)
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.120/2545 การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ
ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ประกอบการ แล้วแต่กรณี
|
|
4.1.5 กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้ผู้รับโอนสินค้าหรือ ผู้รับโอนสิทธิในบริการ มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตนมีหน้าที่ต้องเสียตามแบบ ภ.พ.36 36 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือ ยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.36 ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
|
มาตรา 83/7
ให้นำมาตรา 83/5 วรรคสอง มาใช้บังคับ ซึ่งหมายถึง การให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
· มาตรา 52 กำหนดเวลาการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
· มาตรา 54 ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี และ
· มาตรา 55 มิให้เป็นเหตุเสื่อมสิทธิของ เจ้าพนักงานประเมินในการที่จะเรียกเก็บ เงินภาษีนั้นโดยวิธีอื่น
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) ให้ใช้ แบบ ภ.พ.36
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 118) ให้การยื่นรายการข้อมูลตามแบบ ภ.พ.36 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์(Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th เป็นการยื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ
ให้ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการยื่นรายการตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้นำส่งและยื่นรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนดสามสิบวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
|
|
4.1.6 ให้ผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร พร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
ในกรณีนำเข้าสินค้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือในกรณีนำเข้าเครื่องจักร หรือวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก ของผู้ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ผู้นำเข้าจะวางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกัน เพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษีก็ได้
วิธีการประกันและการถอนประกัน ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ในการนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2) (ค) ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 82/1 (3) ยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษี ตามวรรคหนึ่งพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
มาตรา 83/8 ภายใต้บังคับมาตรา 83/9
“มาตรา 83/9 ในกรณีที่มีการนำสินค้าที่นำเข้าเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือเขตปลอดอากร ถ้าภายหลังสินค้านั้นได้ปล่อยออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมิใช่เพื่อส่งออก หรือได้มีการนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อส่งออก ให้ผู้นำเข้าที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร พร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร”
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.101/2543
กรณีการนำเข้าสินค้าซึ่งผู้ซื้อไม่มีการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากรเนื่องจากผู้ซื้อได้วางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็น ประกันภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการชำระภาษี หรือผู้ซื้อได้นำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ใน ภาคว่าด้วยของที่ได้รับยก เว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยก เว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(2)(ค) ถือได้ว่า ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้ นำเข้าไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้า จึงไม่มีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร ที่ออกให้ผู้ซื้อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา78(1) และต้องนำมูลค่าของสินค้าที่ขายมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การวางประกันและการถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/8 แห่งประมวลรัษฎากร
|
|
4.1.7 ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) สำหรับสินค้าที่นำเข้า ให้กรมศุลกากรเรียกเก็บเพื่อกรมสรรพากร และในกรณีของตกค้างตามมาตรา 78/2 (3) ให้ กรมศุลกากรหักภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม เพื่อกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
(2) สำหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย ให้กรมสรรพสามิตเรียก เก็บเพื่อกรมสรรพากร
|
มาตรา 83/10
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.52/2537 ให้สถานที่ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสรรพสามิตเป็นสถานที่ยื่นแบบแสดงรายการและรับชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตด้วย
|
|
4.2 การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ
|
|
|
|
4.2.2 อำนาจประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังผู้ต้องเสียภาษี และให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และเจ้าพนักงานประเมินจะสั่งให้ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดด้วยก็ได้
|
มาตรา 18 ทวิ
|
|
|
4.2.2 อำนาจประเมินภายหลังพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ
|
มาตรา 88 ถึง มาตรา 88/6
|
|
|
(1) เหตุที่ทำให้ประเมินภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
(ก) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
|
มาตรา 88
|
|
|
(ข) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้า โดยแสดงจำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริง
(ค) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(ง) ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อ หรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย พร้อมทั้งหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
(จ) ผู้ประกอบการไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(ฉ) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่า ผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
(2) ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากใบกำกับภาษีที่ไม่มีสิทธิออก
เมื่อปรากฏว่าบุคคลใดออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมายตามมาตรา 86/13 โดยให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้นได้
|
มาตรา 88/1
|
|
|
(3) อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
(ก) จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้าตามหลักฐานที่เห็นว่าถูกต้อง เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้า
(ข) แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการภาษี แบบนำส่งภาษี หรือแบบใบขนสินค้าเพื่อให้ถูกต้อง
(ค) ประเมินภาษีในกรณีที่มีหลักฐานแสดงว่า ผู้ประกอบการเสียภาษีหรือแสดงมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง
(ง) กำหนดมูลค่าที่ควรได้รับ โดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบการ หรือสถิติการค้าของผู้ประกอบการเอง หรือของผู้ประกอบการที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์ อย่างอื่นอันอาจแสดงมูลค่าที่ได้รับโดยสมควร
(ฉ) แก้ไขเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินค้าที่ซื้อ หรือของค่าบริการจากการรับบริการแล้วแต่กรณี เมื่อมีกรณี ดังนี้
· ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของ เจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
· ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อ หรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย พร้อมทั้งหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
· ผู้ประกอบการไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
|
มาตรา 88/2
ในการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมิน ให้ถือว่าผู้ประกอบการซึ่งต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีความรับผิดในการเสียภาษีเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
|
|
|
(ช) ประเมินภาษีตามที่รู้เห็น หรือพิจารณาว่าถูกต้อง เมื่อมีกรณีตามมาตรา 88 (3) (4) หรือ (5) ดังนี้ โดยไม่จำต้องปฏิบัติตาม (ก) ถึง (ง) ก็ได้
· ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของ เจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
· ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อ หรือสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขาย พร้อมทั้งหลักฐานอื่นเพื่อการคำนวณภาษีหรือการเครดิตภาษี
· ผู้ประกอบการไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการลงรายงานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
|
|
|
|
(4) อำนาจเข้าไปในสถานประกอบการของผู้ประกอบการ
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบการของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ หรือในสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบการ และทำการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้ปฏิบัติการโดยถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวดนี้หรือไม่ ในการนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งผู้ประกอบการ หรือบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการ เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อันควรแก่เรื่อง และมีอำนาจยึดเอกสารหลักฐานเหล่านั้นมาตรวจสอบ
|
มาตรา 88/3
|
|
|
ไต่สวนได้
ให้เจ้าพนักงานประเมินแสดงบัตรประจำตัว พร้อมทั้งหนังสือหรือหลักฐานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าไปทำการตรวจสอบ
|
|
|
|
(5) อำนาจในการออกหมายเรียก
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ทำการแทน หรือพยาน กับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ หรือออกคำสั่งให้พยานตอบคำถามเป็นหนังสือ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกหรือได้รับคำสั่ง
|
มาตรา 88/4
|
|
|
(6) อำนาจแจ้งการประเมิน
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 88 หรือมาตรา 88/1 แล้ว ให้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 88/1
ในกรณีนี้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือบุคคลตามมาตรา 88/1 จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้
ห้ามมิให้อุทธรณ์ ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมิน เพราะเหตุที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
|
มาตรา 88/5
|
|
|
(7) กำหนดเวลาในการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน
(ก) สำหรับผู้ประกอบการ
· กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ยื่น แบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา ให้กระทำภายใน 2 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาที่รัฐมนตรี หรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป แล้วแต่ วันใดจะเป็นวันหลัง ทั้งนี้
· กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีหลังวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลา ให้กระทำภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันสุดท้าย แห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
· กรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยแสดงฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของฐานภาษีที่แสดงในแบบแสดงรายการภาษี ให้กระทำภายใน 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ข) สำหรับผู้นำเข้าซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการ ให้กระทำภายใน 2 ปีนับแต่วันยื่นใบขนสินค้า เว้นแต่กรณีที่ผู้นำเข้ามีข้อโต้แย้งตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเป็นคดีในศาล ให้กระทำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยข้อโต้แย้งอากรขาเข้า เป็นหนังสือหรือนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
|
มาตรา 88/6
|
|
|
(ค) สำหรับผู้ที่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 มาตรา 83/6 หรือมาตรา 83/7 ให้กระทำภายใน 2 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลานำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษี แบบใบขนสินค้า หรือแบบนำส่งภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่สมบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาดังนี้ แล้วแต่กรณี
· นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาที่รัฐมนตรี หรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
· นับแต่วันยื่นใบขนสินค้า เว้นแต่กรณีที่ผู้นำเข้ามีข้อโต้แย้งตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือเป็นคดีในศาล ให้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยข้อโต้แย้งอากรขาเข้า เป็นหนังสือหรือนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
|
|
4.2.3 อำนาจประเมิน เบี้ยปรับเงินเพิ่ม บทกำหนดโทษทางแพ่ง
|
|
|
|
# กรณีเบี้ยปรับ
|
- มาตรา 89
- มาตรา 89/2 เบี้ยปรับให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.120/2545
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.121/2545
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.140/2547
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.81/2542
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.92/2542
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.98/2543
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545
|
|
· กรณี 1 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี
1) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป
|
มาตรา 89 (3)
|
ข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(1) มาตรา 89(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89(4) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจ สอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
|
|
2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป
|
มาตรา 89 (4)
|
|
· กรณี 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี
1) ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือประกอบกิจการเมื่อถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 แล้ว หรือเป็นเงินหนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
|
มาตรา 89 (1)
|
|
2) มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา
|
มาตรา 89 (2)
|
(ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
|
|
3) มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ให้เสียเบี้ยปรับจากจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี
|
มาตรา 89 (5)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
ข้อ 6 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(5) และมาตรา 89(10) ซึ่งไม่ใช่กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เจ้าพนักงานประเมินมี อำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นภายใน หนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 40 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อพ้น กำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
ข้อ 7 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(10) กรณีมีสินค้า ขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษี มูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะ ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ้นกำหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
|
|
4) มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ให้เสียเบี้ยปรับจากเงินภาษี ซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงาน หรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้อง
|
มาตรา 89 (10)
|
|
|
|
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด กรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ เสียร้อยละ 30 ของเบี้ยปรับ
|
|
5) ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออก ให้เสียเบี้ยปรับจากจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้
|
มาตรา 89 (6)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
ข้อ 10 การงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(6) และมาตรา 89(7) เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณาสั่งงดหรือลดได้ เว้นแต่อธิบดี กรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
|
|
6) นำใบกำกับภาษีปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษี ให้เสียเบี้ยปรับจากจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีนั้น
ในกรณีใบกำกับภาษีที่ผู้ได้รับประโยชน์ไม่สามารถนำพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี ให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
|
มาตรา 89 (7)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
ข้อ 10 การงดหรือลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(6) และมาตรา 89(7) เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจพิจารณาสั่งงดหรือลดได้ เว้นแต่อธิบดี กรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่น
|
|
· กรณี ร้อยละ 2 ของจำนวนเงินตามใบกำกับภาษี
1) มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีในกรณีภาษีขายไว้ตามที่กฎหมายกำหนด
|
มาตรา 89 (8)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
ข้อ 8 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้า พนักงานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ โดยให้ลดลงคงเสียตามอัตราและเงื่อนไขดัง ต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิดตาม มาตรา 89(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการแล้ว ไม่ว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นจะถูกต้องครบ ถ้วนหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ภายในสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 0.5 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าการกระทำความผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อ พ้นกำหนดสองปี นับแต่วันที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้เสียร้อยละ 1 ของเบี้ยปรับ
(2) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ได้นำฐานภาษีซึ่งมีการกระทำความผิด ตามมาตรา 89(8) แห่งประมวลรัษฎากร ไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสีย ร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
|
|
2) มิได้เก็บใบกำกับภาษีในกรณีภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษีในการคำนวณภาษีไว้ตามที่กฎหมายกำหนด
|
มาตรา 89 (9)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
ข้อ 9 การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(9) แห่งประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนัก งานประเมินมีอำนาจพิจารณาสั่งลดได้ แต่ต้องให้เสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับ
|
|
# กรณีเงินเพิ่ม (Surcharge)
บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
|
มาตรา 89/1
ในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ และได้มีการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
การคำนวณเงินเพิ่ม ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือยื่นแบบนำส่งภาษี จนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษีแต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.81/2542
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.98/2543
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.117/2545
|
5. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
5.1 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ
|
มาตรา 81 (1)
|
|
|
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้ เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง ด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็งหรือด้วยการจัดทำ หรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรมจะต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชผลทางการเกษตรที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผนึกในลักษณะมั่งคง
(2) ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผนึกในลักษณะมั่ง แต่ไม่รวมถึงนมสดที่มิได้มีการปรุงแต่ง รส กลิ่น และสี
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.28/2535
ข้อ 1 การขายพืชผลทางการเกษตรในราชอาณาจักรในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การขายผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งเกิดจากการนำพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช มาจัดทำโดยปรุงแต่งด้วยการใส่สารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันและผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวยังคงลักษณะเป็นพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในสภาพสด หรืออยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียในระหว่างขนส่ง หรืออยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง ทั้งนี้ เฉพาะที่บรรจุกระป๋องภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(2) การขายน้ำผลไม้ น้ำจากพืช หรือน้ำมัน ที่ได้จากการนำพืชผลทางการเกษตร มาคั้น หีบ สกัด หรือกระทำด้วยวิธีอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน ไม่ว่าจะมีสารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันผสมอยู่ด้วยหรือไม่ทั้งนี้ เฉพาะที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(3) การขายน้ำผลไม้ น้ำจากพืช หรือน้ำมัน ซึ่งเป็นวัตถุพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล
(4) การขายพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือกหน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ที่ได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นอาหารหรือสินค้าอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) แล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าอาหารหรือสินค้าอื่นนั้นจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
(5) การขายฟืน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือไม้ซุงไม่ว่าจะตัดเป็นไม้ทั้งต้น หรือตัดเป็นท่อน เพื่อการแปรรูป ทำเสาเข็ม หรือใช้ในการก่อสร้าง
ข้อ 2 การขายพืชผลทางการเกษตรในราชอาณาจักรในกรณีดังต่อไปนี้ ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การขายพืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ที่ไม่เข้าลักษณะ ตามข้อ 1
(2) การขายข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
(3) การขายกากของพืช น้ำยางจากพืช ยางแผ่น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีสารอื่นใดผสมอยู่ด้วยหรือไม่ และไม่ว่าจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
ข้อ 3 คำว่า "ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง" ตามข้อ 1 และข้อ 2 หมายความถึงการติดหรือปิดให้แน่นไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งเมื่อมีการเปิดจะต้องมีการฉีก ทำลาย แปรรูปหรือแปรสภาพ ของภาชนะหรือการผนึกนั้น ทั้งนี้ โดยมิอาจคงสภาพในรูปรอยเดิมได้
ข้อ 4 ให้นำความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับสำหรับการนำพืชผล ทางการเกษตรเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 81 (2)(ก)
|
|
(ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋องภาชนะหรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรมจะต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชผลทางการเกษตรที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผนึกในลักษณะมั่งคง
(2) ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผนึกในลักษณะมั่ง แต่ไม่รวมถึงนมสดที่มิได้มีการปรุงแต่ง รส กลิ่น และสี
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.29/2535
ข้อ 1 การขายสัตว์ไม่มีชีวิต เนื้อ ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ในราชอาณาจักรในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การขายผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งเกิดจากการนำเนื้อสัตว์ ส่วนต่าง ๆของสัตว์ ไข่ และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ มาจัดทำโดยปรุงแต่งด้วยการใส่สารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน และผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวยังคงลักษณะเป็นเนื้อสัตว์ ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ ไข่ และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ที่อยู่ในสภาพสด หรืออยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียในระหว่างขนส่ง หรืออยู่ในลักษณะที่รักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง ทั้งนี้ เฉพาะที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(2) การขายน้ำมันที่สกัดจากสัตว์ ไม่ว่าจะมีสารปรุงรสหรือสารกันเสีย หรือสารอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันผสมอยู่ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ เฉพาะที่บรรจุกระป๋องภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง
(3) การขายน้ำนมจากสัตว์ที่ได้นำมาจัดทำหรือปรุงแต่งไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ และไม่ว่าจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่แต่ไม่รวมถึงนมสดที่มิได้มีการปรุงแต่ง รสกลิ่น หรือสี
(4) การขายเนื้อสัตว์ ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม สัตว์ไม่มีชีวิต และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ที่ได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นอาหารหรือสินค้าอื่นที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) แล้ว ทั้งนี้ ไม่ว่าอาหารหรือสินค้าอื่นนั้นจะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อ ที่ผนึกในลักษณะมั่นคงหรือไม่
ข้อ 2 การขายสัตว์ในราชอาณาจักรในกรณีดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การขายสัตว์มีชีวิต
(2) การขายหนังสัตว์ที่ยังไม่ได้ฟอก
(3) การขายเนื้อสัตว์ ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม สัตว์ไม่มีชีวิตและวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ที่ไม่เข้าลักษณะ ตามข้อ 1
|
|
|
|
ข้อ 3 คำว่า “ที่ผนึกในลักษณะมั่นคง” ตามข้อ 1 และข้อ 2 หมายความถึงการติดหรือปิดให้แน่นไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งเมื่อมีการเปิดจะต้องมีการฉีก ทำลาย แปรรูปหรือแปรสภาพ ของภาชนะหรือการผนึกนั้น ทั้งนี้ โดยมิอาจคงสภาพในรูปรอยเดิมได้
ข้อ 4 ให้นำความในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาใช้บังคับสำหรับการนำสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 81 (2)(ก)
|
|
(ค) การขายปุ๋ย
(ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
|
|
|
|
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
|
|
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 32/2538 การประกอบกิจการขายหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรือภาษาไทยพร้อมเทปคำบรรยายหรือวิดีโอเทป โดยเทปคำบรรยายหรือวิดีโอเทปเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเดียวกับหนังสือ และได้ขายในราคารวมโดยมิได้แบ่งแยกราคา เข้าลักษณะเป็นการขายตำราเรียนตามมาตรา 81(1) (ฉ) ผู้ประกอบการได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81
|
|
(ช) การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
|
|
|
|
(ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11)
คำว่า “สาขานาฏศิลป์” หมายความถึง การแสดงศิลปะร่ายรำประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงพื้นเมืองระบำ ละคร และโขน
คำว่า “สาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์” หมายความถึงเฉพาะการแสดงดนตรีไทย หรือการขับร้องเพลงไทยประกอบเครื่องดนตรีไทย
ผู้ประกอบการจะต้องมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรมราชการส่วนท้องถิ่น
|
|
(ฌ) การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี ทั้งนี้ เฉพาะวิชาชีพอิสระที่มีกฎหมายควบคุม การประกอบวิชาชีพอิสระนั้น
(ญ) การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
|
|
|
|
(ฎ) การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ทั้งนี้ ในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12)
เป็นการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มิใช่การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในทางธุรกิจ โดยผู้ประกอบการให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ต้องเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือเป็นมูลนิธิ หรือเป็นสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ไม่รวมถึงการให้บริการกับหน่วยงานของรัฐ ที่มีฐานะเป็น กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย
|
|
(ฏ) การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
(ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
(ฑ) การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
|
|
|
|
(ฒ) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้ เฉพาะบริการในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 การให้บริการของนักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฒ)
|
|
|
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 13) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว เป็นหมู่ หรือคณะ เป็นการประกอบกิจการ การให้บริการตามมาตรา 81(1)(ฒ)
|
|
(ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
|
|
- พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 241) ให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(1) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน
(2) การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(3) การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
|
|
(ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.49/2537 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน และสำหรับกิจการให้บริการเป็นตัวแทนรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน
|
|
(ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
|
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542
· การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ต) หมายความว่า การให้บริการซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยผู้ให้เช่าต้องส่งมอบการครอบครองพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า
· กรณีผู้ประกอบการซึ่งก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ลงบนที่ดินของผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น ตกเป็นของผู้ว่าจ้างในทันทีที่ลงมือก่อสร้างหรือเมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และผู้ประกอบการดังกล่าวได้รับสิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนในการเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจากผู้ว่าจ้าง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบกิจการ ถือว่าผู้ประกอบการเช่าอสังหาริมทรัพย์จากผู้ว่าจ้าง โดยชำระค่าเช่าเป็นทรัพย์สินไม่ใช่เงินตรา ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ต)
· กรณีผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการให้เช่าอาคาร และจัดให้มีพื้นที่จอดรถให้แก่ผู้เช่าด้วย โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการพื้นที่จอดรถจากผู้เช่าอาคารแยกต่างหาก ถือเป็นการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 81(1)(ต)
· กรณีผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการให้เช่าอาคารและให้บริการพื้นที่จอดรถด้วย โดยเรียกเก็บค่าบริการพื้นที่จอดรถเป็นปกติในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ กรณีการให้เช่าอาคารถือเป็นการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ต) และการให้บริการพื้นที่จอดรถถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10)
· กรณีผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการให้เช่าอาคารเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเรียกว่าบ้านพัก หอพัก อพาร์ทเมนท์ แฟลต แมนชั่น คอร์ท หรือในลักษณะอื่นทำนองเดียวกัน โดยให้บริการอื่นเพิ่มเติม เช่น ให้เช่าเฟอร์นิเจอร์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ และให้บริการสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเรียกเก็บค่าบริการรวมหรือแยกออกจากค่าเช่าอาคาร กรณีการให้เช่าอาคารถือเป็นการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ต) และการให้บริการอื่นเพิ่มเติมถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10)
· กรณีกิจการห้างสรรพสินค้าให้บุคคลอื่นใช้พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ภายในห้างสรรพสินค้า ชั่วระยะเวลาอันจำกัด โดยผู้ประกอบการไม่ได้ส่งมอบการครอบครองพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใช้พื้นที่ ถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10)
|
|
|
|
· ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ต) แต่ถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10)
(1) การให้บริการเก็บรักษาสินค้าในคลังสินค้า
(2) การให้บริการเช่าโครงเหล็กหรือการให้บริการเช่าสังหาริมทรัพย์อื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(3) การให้บริการโฆษณาบนโครงเหล็กหรือบนสังหาริมทรัพย์อื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(4) การให้บริการโฆษณาบนป้ายที่ตั้งอยู่บริเวณที่พักโดยสารรถประจำทาง หรือตั้งอยู่ ณ บริเวณสถานที่ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(5) การให้บริการโฆษณาที่ปรากฏบนรถโดยสารประจำทางหรือบนรถโดยสารอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียว
|
|
(ถ) การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น กิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
(ท) การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
(ธ) การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
|
|
|
|
(น) การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
|
พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ยกเว้นภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการบางกรณี
|
|
5.2 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้
(1) สินค้าตาม 5.1 (ก) ถึง (ฉ) ดังนี้
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร รวมทั้ง ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
(ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต รวมถึง ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
(ค) การขายปุ๋ย
(ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
(2) สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(3) สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
(4) สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
|
|
|
|
5.3 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
มาตรา 81/1
|
- พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 432) มูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องไม่เกิน 1,800,000บาทต่อปี
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.115/2545 การเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการตัวแทน ประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
|
|
5.4 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
มาตรา 77/3
|
|
|
5.5 ผู้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
|
มาตรา 81/3
|
|
|
(1) กิจการขายสินค้าตามที่ระบุไว้ในมาตรา 81 (1) (ก) ถึง (ฉ)
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร รวมทั้ง ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
(ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต รวมถึง ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
(ค) การขายปุ๋ย
(ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
|
|
|
|
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
|
|
|
|
(2) กิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 ได้แก่ ผู้ประกอบการที่มูลค่าของฐานภาษี หรือรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ไม่เกิน1,800,000 ต่อปี
|
|
|
|
(3) กิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
|
พรฎ. (ฉบับที่ 241) ให้กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ผู้ประกอบการมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
(1) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน
(2) การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(3) การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
|
6. การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
6.1 แบบคำร้องที่ใช้ในการขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มมี 2 ประเภท ดังนี้
6.1 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) จะใช้ในกรณี
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบ ภ.พ.30 มีเครดิตภาษีเหลืออยู่จากการคำนวณภาษีในเดือนภาษีใด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีก ก็ให้มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้ เช่นนี้ตลอดไปจนกว่าเครดิตภาษีที่เหลืออยู่นั้นจะหมด หรือจะขอคืนเป็นเงินสด หรือขอคืนนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารก็ได้ โดยให้ลงลายมือชื่อในในช่องขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือขอโอนเข้าธนาคาร หากไม่ลงลายมือชื่อในช่อง "การขอคืนภาษี" ให้ถือว่าประสงค์จะนำเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไป
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมตามมาตรา 83/4 หากมีเครดิตภาษีเหลืออยู่ ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีเป็นเงินสด หรือขอคืนนำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเท่านั้น โดยไม่มีสิทธินำภาษีที่ชำระเกินไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป และให้ลงลายมือชื่อในช่องขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือโอนเข้าธนาคาร
|
มาตรา 84
|
พรฎ. (ฉบับที่ 242)
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีเครดิตภาษีเหลืออยู่จากการคำนวณภาษีในเดือนภาษีใด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่นั้นไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่คำนวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นำเครดิตภาษีไปชำระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีก ก็ให้มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้
ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ใช้สิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคำร้องเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบที่อธิบดีกำหนด
· ระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2539
|
|
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในเดือนภาษีใด เนื่องจาก มิได้นำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่มีสิทธิเพราะมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนดผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีที่ได้มีการรับมอบเอกสารหลักฐานใบกำกับภาษี
|
|
|
|
6.2 แบบคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10)
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษี และมีเครดิตภาษีที่เหลือยกไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไป เนื่องจากมิได้มีการลงลายมือชื่อในช่อง "การขอคืนภาษี" ถือว่าประสงค์จะขอยกยอดเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไป แต่มิได้นำ เครดิตดังกล่าวไปใช้ จะยกเครดิตภาษีดังกล่าวข้ามไปชำระภาษีในเดือนภาษีอื่นไม่ได้ แต่ให้ขอคืนภาษีเป็นเงินสด โดยยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากร (แบบ ค.10) และระบุเดือนภาษีที่มิได้นำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษี มูลค่าเพิ่มในคำร้องด้วย
(2) ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแสดงภาษีขายไว้เกินหรือแสดงภาษีซื้อไว้ขาด โดยยอดขายและยอดซื้อถูกต้อง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนขอคืนภาษีเป็นเงินสด โดยยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากร (แบบ ค.10)
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและชำระภาษีไว้ซ้ำ
|
|
|
|
(4) กรณีป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีจากยอดรายรับ หรือเป็นผู้นำส่งภาษี ให้ขอคืนภาษีเป็นเงินสดโดยยื่นขอคืนภาษีอากร (แบบ ค.10)
|
|
|
|
6.3 กำหนดเวลายื่นคำร้อง
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนขายสินค้าหรือให้บริการมีภาษีที่จะได้รับคืน แต่มิได้ขอคืนตามมาตรา 84 ให้ยื่น คำร้อง (ค.10) ภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น หรือนับแต่วันที่ได้ชำระภาษี
(2) กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการนอกจาก (1) ให้ยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปีนับแต่วันที่ได้ชำระภาษี
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าสินค้าที่มิใช่เพื่อธุรกิจหรือเป็นผู้นำเข้าซึ่ง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีข้อโต้แย้งตามกฎหมายศุลกากร หรือเป็นคดีในศาล ให้ยื่นคำร้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ข้อโต้แย้งอากรขาเข้าเป็นหนังสือ หรือนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลซึ่งคดีถึงที่สุด
|
มาตรา 84/1
มาตรา 84/1
มาตรา 84/2
|
|
|
6.4 สถานที่ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ แล้วแต่กรณี
|
มาตรา 84/1
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 113/2545
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเป็นสถานที่ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรในเขตท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
|
|
6.5 การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักรขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้
|
มาตรา 84/4
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) กำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ ผู้เดินทางออกไป นอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูก เรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4
|
7. หน้าที่อื่นในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
7.1 หน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
7.1.1 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01)
(1) ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการให้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ
|
มาตรา 85
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65)
ให้ใช้แบบ ภ.พ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
|
(2) ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ และมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม (1,800,000 บาท ต่อปี) ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่
(ก) วันที่มูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม สำหรับกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้แล้ว หรือ
(ข) วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ สำหรับกรณีที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมขึ้นใหม่ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมน้อยกว่าที่กำหนดไว้ก่อน
|
มาตรา 85/1
|
|
|
(3) สำหรับผู้ประกอบการที่ได้แจ้งต่ออธิบดีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 ดังต่อไปนี้ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดี
(ก) กิจการขายสินค้าตามที่ระบุไว้ในมาตรา 81 (1) (ก) ถึง (ฉ)
(ข) กิจการขนาดย่อมตามมาตรา 81/1 (มูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี)
(ค) กิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพรฎ. (ฉบับที่ 241)
- การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน
- การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย”
- การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร”
|
|
|
|
(4) ให้ตัวแทนของผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
|
มาตรา 85/2
|
|
|
7.1.2 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.09)
|
|
|
|
(1) แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่เป็นสาระสำคัญในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
|
มาตรา 85/6
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่
- ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการที่กระทำเป็นครั้งคราว หรือประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนน้อย รายการเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด การเปลี่ยนแปลงเงินทุนที่ชำระแล้ว การเพิ่มทุนหรือการลดทุน การเปลี่ยนแปลงจำนวนลูกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
|
|
(2) แจ้งเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 15 วัน
|
มาตรา 85/7
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการนั้น
|
|
(3) แจ้งปิดสถานประกอบการบางแห่ง พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วันนับจากวันปิดสถานประกอบการ
|
มาตรา 85/7
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1 (3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปิดสถานประกอบการบางแห่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันปิดสถานประกอบการ
การปิดสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึงวันที่หยุดการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งเลิกกิจการ ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
|
|
(4) แจ้งย้ายสถานประกอบการ ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 15 วัน
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ย้ายสถานประกอบการแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม
|
มาตรา 85/8
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1 (4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะย้ายสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือ ย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่หรือสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม
|
|
|
|
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ณ สถานประกอบการที่ย้ายไป หรือไม่ปรากฏสถานประกอบการตามที่แจ้งย้าย ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ย้ายสถานประกอบการ
การย้ายสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง วันที่ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสถานประกอบการตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท
|
|
(5) แจ้งหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ภายใน 15 วันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
|
มาตรา 85/12
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะหยุดประกอบกิจการ ชั่วคราว เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการ ตั้งอยู่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
|
|
(6) แจ้งโอนกิจการบางส่วน
· ด้านผู้โอนกิจการ
ให้แจ้งการโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน
· ด้านผู้รับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
|
มาตรา 85/13
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1 (6) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการบางส่วน ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
การโอนกิจการบางส่วนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะต้องไม่ดำเนินการในส่วนของกิจการที่ได้โอนไปแล้วนั้นอีกต่อไป
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
|
|
(7) แจ้งโอนกิจการทั้งหมด
· ด้านผู้โอนกิจการ
ให้แจ้งการโอนกิจการ และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย
· ด้านผู้รับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
|
มาตรา 85/13
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1 (7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการทั้งหมด ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย
การโอนกิจการทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวต้องเลิกประกอบกิจการนั้นด้วย
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
|
|
(8) แจ้งการควบเข้ากัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกประกอบกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่
|
มาตรา 85/14
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1 (8) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกประกอบกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่
|
|
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ
|
มาตรา 85/15
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
ข้อ 1 (9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ
การเลิกประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การเลิกประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 66/2539
ข้อ 1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนยังคงต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไปจนกว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ยังคงต้องมีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 และใบส่งของตามมาตรา 105 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิ์นำภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ได้กระทำตั้งแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ จนถึงวันที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษี
ข้อ 2 ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ซึ่งตามมาตรา 77/1(8)(ฉ) ให้ถือเป็นการขายและให้ถือมูลค่าของฐานภาษีตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 79/3(5) ด้วย
- กรณีข้างต้น ถ้าไม่มีการส่งมอบสินค้า ไม่มีการรับชำระเงินค่าสินค้า ผู้ประกอบการไม่มีหน้าที่ต้องออกใบส่งของ ใบรับ และใบกำกับภาษีแต่อย่างใด
- กรณีข้างต้น ถ้าได้ขายสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการให้แก่ผู้ซื้อไปจริงในเดือนภาษีใด ไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าหรือทรัพย์สินดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 และไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 แต่ยังคงมีหน้าที่ออกใบรับตามมาตรา 105 และใบส่งของ
ข้อ 3 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการ ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้วก่อนวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ และได้นำภาษีขายไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ต่อมาถ้ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ประกอบการดังกล่าวยังคงมีสิทธิ์ออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ แต่ทั้งนี้จะต้องออกใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ แล้วแต่กรณี ภายใน 60 วันนับแต่ วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ
ข้อ 4 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการ ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้วก่อนวันที่ ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและในการออกใบกำกับภาษียังไม่เกิดขึ้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการดังกล่าวได้เกิดขึ้นนับแต่วันถัดจากวันที่ ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวยังคงมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการนั้น ภายใน 60 วันนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ
ข้อ 5 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้แจ้งเลิกการประกอบกิจการ ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไปแล้วก่อนวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ แต่ได้รับใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการดังกล่าวนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นแบบเพื่อแจ้งเลิกการประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิ์นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีนั้นมาหักในการคำนวณภาษีได้
|
|
7.1.3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ไว้ ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการเป็นรายสถานประกอบการ
|
มาตรา 85/4
|
|
|
7.2 หน้าที่ในการออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้และใบแทนใบกำกับภาษี
|
|
|
|
· ใบกำกับภาษี
7.2.1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้า หรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
บุคคลใดออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ โดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย บุคคลนั้นต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้นั้นเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
|
มาตรา 86
มาตรา 86/13
|
|
|
7.2.2 ใบกำกับภาษีต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษีและในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
|
มาตรา 86/4
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8)
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 46/2537
(1) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อ ผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต
|
|
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี
(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
|
|
หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
(2) การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 86/2542 หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบเต็มรูป
|
|
7.2.3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ แต่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียนจะออกใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้
ใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
(3) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี
(4) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
|
มาตรา 86/6
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32)
การประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีกหรือการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ซึ่งเป็นกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะหรือเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นการขายสินค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภคหรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อไป เช่น การขายสินค้าของกิจการแผงลอยกิจการขายของชำ กิจการขายยา กิจการจำหน่ายน้ำมัน และกิจการห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะในการขาย
|
|
(5) ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(7) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
|
|
สินค้าที่เป็นไปตามลักษณะและหรือเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น
(2) การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น การให้บริการของกิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการซ่อมแซมทุกชนิด กิจการโรงภาพยนต์ และกิจการสถานบริการน้ำมัน เป็นต้น
กิจการภัตตาคารได้แก่กิจการขายอาหารหรือเครื่องดื่มไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งกิจการรับจ้างปรุงอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ไม่ว่าในหรือนอกสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ประชาชนเข้าไปบริโภคได้
(3) ผู้ประกอบการตาม (1) และ (2) ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้งที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีดังกล่าว ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
|
|
7.2.4 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นกิจการค้าปลีก ซึ่งมีความประสงค์จะออกใบกำกับภาษี อย่างย่อ และหรือใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 86/6 จะขออนุมัติต่ออธิบดีพร้อมกับแสดงเหตุผลและ ความจำเป็นก็ได้ และในการอนุมัติอธิบดีจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
|
มาตรา 86/7
|
- คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 25/2537 ข้อมูลของใบกำกับภาษี และข้อมูลของใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ถูกบันทึกในสื่อบันทึกข้อมูล เช่น Diskette เพื่อบันทึกรายละเอียดของรายการใบกำกับภาษีและใบกำกับภาษีอย่างย่อ ให้ถือเป็นสำเนาใบกำกับภาษี และสำเนาใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86
- คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.71/2541 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในการปฏิบัติการเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การหักภาษีตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การออกใบกำกับภาษีและการลงรายการในรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.121/2545 การจัดทำและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานตามประมวลรัษฎากร ที่มีข้อความอยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
|
|
7.2.5 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย ไม่จำต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อรวบรวมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท ในหนึ่งวันทำการเพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายการในรายงานภาษีขาย โดยให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับหรือพึงได้รับซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีดังกล่าว
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 154)
กำหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้เป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย
(1) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
(2) การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยขายที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
(3) การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวด หรือการกระทำใดๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้า แข่งขัน
(4) การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
(5) การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
(6) การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
(7) การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า
|
|
|
|
คำว่า “กิจการขนส่งมวลชน” หมายความว่า การให้บริการรับขนส่งสาธารณชนผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชน
|
|
· ใบเพิ่มหนี้
7.2.6 ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(3) ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้ว ได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) มีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าเกินกว่าจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ข) มีการเพิ่มราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
|
มาตรา 86/9
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 80/2542 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10
|
|
7.2.7 ใบเพิ่มหนี้ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "ใบเพิ่มหนี้" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4) วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้
(5) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่มถ้ามี มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสอง และจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มสำหรับส่วนต่างนั้น
(6) คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้
(7) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 86/9
ให้ถือว่าใบเพิ่มหนี้เป็นใบกำกับภาษี
|
|
|
· ใบลดหนี้
7.2.8 ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 จะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
(2) มีการขายสินค้าหรือให้บริการโดยได้ออกใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แล้ว
(3) ภายหลังได้ออกใบกำกับภาษีแล้วได้มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลงไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(ก) มีการลดราคาสินค้าที่ขายเนื่องจากสินค้าผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน สินค้าชำรุดเสียหาย หรือขาดจำนวน คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริงหรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ข) มีการลดราคาค่าบริการเนื่องจากให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน บริการขาดจำนวน คำนวณราคาค่าบริการผิดพลาดสูงกว่าที่เป็นจริง หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ค) ได้รับสินค้าที่ขายกลับคืนมาเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่าง ไม่ตรงตามคำพรรณนา หรือเนื่องจากเหตุอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
(ง) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อผูกพันในกฎหมาย
|
มาตรา 86/10
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 80/2542 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10
|
|
(จ) ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้าเงินประกัน เงินมัดจำ เงินจอง หรือเงินอื่นที่เรียกเก็บในลักษณะทำนองเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามข้อตกลงทางการค้า
(ฉ) มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยกัน
(ช) มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียนและผู้ซื้อสินค้า ทั้งนี้ เฉพาะที่กระทำภายในเวลาอันสมควร
(ซ) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากการให้บริการบกพร่องหรือให้บริการผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน
(ฌ) มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา
|
|
|
|
7.2.9 ใบลดหนี้ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "ใบลดหนี้" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้ และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
(4) วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้
(5) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลข
|
มาตรา 86/10
ให้ถือว่าใบลดหนี้เป็นใบกำกับภาษี
|
|
|
ลำดับของเล่มถ้ามี มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น
(6) คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้
(7) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
|
|
|
|
· ใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ หรือใบแทนใบลดหนี้
|
|
|
|
7.2.10 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 ที่ได้รับการร้องขอจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งทำใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้หรือใบแทนใบลดหนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
|
มาตรา 86/12
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 36)
- การออกใบแทนดังกล่าวให้กระทำโดยใช้วิธีถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสำเนาใบลดหนี้ และให้บันทึกรายการดังต่อไปนี้ลงในภาพถ่ายหรือด้านหลังของภาพถ่ายดังกล่าว
(1) ใบแทนออกให้ครั้งที่
(2) วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
(3) คำอธิบายย่อ ๆ ถึงสาเหตุที่ออกใบแทน
(4) ลงลายมือชื่อของผู้ออกใบแทน
- ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ออกใบแทน บันทึกรายการตาม (1) ถึง (4) ไว้ด้านหลังสำเนาใบกำกับภาษี สำเนาใบเพิ่มหนี้ หรือสำเนาใบลดหนี้ด้วย
- ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งได้ออกใบแทน บันทึกรายการการออกใบแทนในรายงานภาษีขาย ในเดือนที่มีการออกใบแทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่/เล่มที่ วันที่ของใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ที่ได้มีการออกใบแทน
|
|
7.3 หน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน
|
|
|
|
ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังต่อไปนี้
(1) รายงานภาษีขาย
(2) รายงานภาษีซื้อ
(3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้า
การลงรายการให้ลงภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าหรือบริการนั้น
|
มาตรา 87
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89)
กำหนดแบบหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การลงรายการในรายงาน การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 45/2537
วันทำการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง จะถือช่วงเวลาใดระหว่างเวลา 17.00 น. จนถึงเวลา 8.00 น. เป็นช่วงเวลาสิ้นวันทำการก็ได้ และหากได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว ให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไป
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 51/2537
ข้อ 1 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายสินค้า ได้รับชำระราคาสินค้าด้วยเช็ค ซึ่งลงวันที่ก่อนส่งมอบสินค้า หรือก่อนโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือเป็นผู้ประกอบกิจการให้บริการ ได้รับชำระค่าบริการด้วยเช็ค ผู้ประกอบการมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ลงในเช็ค
ข้อ 2 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค โดยได้รับมอบเช็คลงวันที่ที่ผ่านมาแล้ว ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำ
|
|
|
|
ใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ลงในเช็คนั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ให้จัดทำใบกำกับภาษีและใบรับในวันที่ได้รับมอบเช็คนั้น
(1) กรณีรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเป็นผู้ออกเช็ค
(2) นอกจากกรณีตาม (1) ในกรณีผู้ออกเช็คเป็นบุคคลธรรมดาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งได้ออกเอกสารรับรองว่า ได้ส่งมอบเช็คให้ผู้ประกอบการเมื่อ วัน เดือน ปีใด และได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวให้ในวันเดียวกับที่ส่งมอบเช็คนั้น และผู้ประกอบการต้องมีเอกสารนี้พร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบได้ทันที
- ข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 71/2541 การลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1)
|
|
7.3 การเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน เก็บและรักษารายงานใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานดังกล่าว หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกำหนดไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี เว้นแต่
(1) การเก็บรักษารายงานและเอกสารของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด แต่ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าห้าปี
(2) การเก็บ รักษารายงานและเอกสารของผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาอยู่ในวันเลิกประกอบกิจการต่อไปอีกสองปี
(3) ในกรณีที่เห็นสมควร อธิบดีจะกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเก็บและรักษาไว้เกินห้าปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเจ็ดปี
การเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการลงรายงานภาษีซื้อ ให้จัดเก็บเรียงตามลำดับ และตรงตามรายการในรายงานและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
มาตรา 87/3
|
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 71/2540 การเก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด
|
|
7.4 การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
· เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
· ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
|
มาตรา 3 เอกาทศ
มาตรา 3 ทวาทศ
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
|
|
7.5 การให้ความร่วมมือกับทางราชการ
(1) การปฏิบัติตามหมายเรียก
(2) การแปลบรรดาบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีอากรที่ทำเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นภาษาไทย
|
มาตรา 88/4
มาตรา 3 ฉ
|
|
8. การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษี
|
8.1 แบบที่ใช้ในการอุทธรณ์
(1) แบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ใช้ได้กับการอุทธรณ์ทุกกรณี
(2) แบบคำอุทธรณ์และคัดค้านการประเมินภาษีอากร (กศก.171) ใช้เฉพาะการอุทธรณ์เพื่อคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินกรมศุลกากร โดยผู้ถูกประเมินภาษี จะยื่นคำอุทธรณ์ที่กรมสรรพากร หรือกรมศุลกากรก็ได้
|
มาตรา 28
|
|
|
8.2 กำหนดเวลาอุทธรณ์
(1) การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา 30 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
(2) อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
|
มาตรา 30
|
|
|
8.3 การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ยังคงเร่งรัดมาตรา 12 ได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
|
มาตรา 31
|
|
|
8.4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน เรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานมาแสดง แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันส่งหมาย
|
มาตรา 32
|
|
|
8.5 ถ้าผู้อุทธรณ์หมดสิทธิ์ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งตามมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
|
มาตรา 33
|
|
|
8.6 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์
|
มาตรา 34
|
|
9. บทกำหนดโทษทางภาษี
|
9.1 กรณีต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
(1) ผู้ไม่จัดส่งสำเนาสัญญาหรือเอกสารตามมาตรา 77/4 (2)
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83 หรือ มาตรา 83/1
(3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83/2
(4) ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 83/3
(5) ผู้มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 มาตรา 83/6 หรือ มาตรา 83/7
(6) ผู้นำเข้าไม่ยื่นใบขนสินค้าตามมาตรา 83/8 หรือมาตรา 83/9
(7) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/6
(8) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/7 วรรคสาม มาตรา 85/8 วรรคสอง มาตรา 85/15 วรรคสอง หรือมาตรา 85/17 วรรคสอง
(9) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการตามมาตรา 85/8 วรรคหนึ่ง
(10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราวตามมาตรา 85/12
(11) ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดก หรือทายาทของผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/16 วรรคสามหรือวรรคห้า
(12) ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ หรือ ใบลดหนี้ โดยมีรายการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญไม่ครบถ้วนตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/5 มาตรา 86/6 มาตรา 86/7 มาตรา 86/9 มาตรา 86/10 หรือ มาตรา 86/11
(13) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ออกใบแทนใบกำกับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี้ หรือใบแทนใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/12
(14) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสินค้าเกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87
(15) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(16) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจงใจไม่เก็บและรักษาใบกำกับภาษี
|
มาตรา 90
มาตรา 90/5
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
|
|
|
หรือสำเนาใบกำกับภาษี หรือเก็บรักษาเอกสารดังกล่าว โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตาม มาตรา 87/3
|
|
|
|
9.2 กรณีต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
(1) ตัวแทนละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรตามมาตรา 85/2
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/4
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม หรือปิดสถานประกอบการตามมาตรา 85/7 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการโอนกิจการบางส่วนหรือการรับโอนกิจการตามมาตรา 85/13
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่แจ้งการเลิกหรือการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 85/13 หรือ มาตรา 85/15 วรรคหนึ่ง
(6) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร จัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 87/2
|
มาตรา 90/1
|
|
|
9.3 กรณีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82/18 (2)
(2) ผู้ประกอบการใดซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/1 มาตรา 85/13 วรรคสอง หรือมาตรา 85/14
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนาใบกำกับภาษี หรือจัดทำแล้วไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อ หรือผู้รับบริการตามมาตร า86 วรรคหนึ่ง หรือไม่จัดทำใบกำกับภาษีหรือสำเนา ใบกำกับภาษี และไม่ส่งมอบให้ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ตามที่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเรียกร้อง ตามมาตรา 86/8 วรรคสอง
(4) ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ออกใบกำกับภาษีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 86 วรรคสอง
(5) ตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 86 วรรคสี่
(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินตามมาตรา 86/6 วรรคหก
(7) ผู้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/4
|
มาตรา 90/2
|
|
|
9.4 กรณีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคสอง
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินโดยไม่ได้รับอนุมัติตามมาตรา 86/6 วรรคหก หรือมาตรา 86/7
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(4) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่จัดทำรายงานตามมาตรา 87/2
(5) ผู้ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานประเมิน หรือขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/3 วรรคหนึ่ง
|
มาตรา 90/3
|
|
|
9.5 กรณีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
(1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิที่จะออกเอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86 วรรคสอง หรือ มาตรา 86/1
(2) ตัวแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิตามมาตรา 86/2 วรรคหนึ่ง
(3) ผู้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก เอกสารดังกล่าวตามมาตรา 86/13
(4) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ลงรายการ หรือลงรายการเป็นเท็จในรายงานตามมาตรา 87 หรือตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1
(5) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
(6) ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มกระทำการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน
(7) ผู้ประกอบการโดยเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี
|
มาตรา 90/4
|
|