1. หลักการภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
1.1 ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีทางอ้อม (Indirect Tax)
โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่สามารถผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่น โดยรวมค่าบริการหรือค่าอสังหาริมทรัพย์แล้วแต่กรณี และไม่ห้ามที่ผู้ประกอบธุรกิจจะนำค่าภาษีธุรกิจเฉพาะมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิ
|
|
|
|
1.2 ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคหรือการจับจ่ายใช้สอย เช่นเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้รับภาระภาษีได้แก่ผู้บริโภค เพราะภาษีธุรกิจเฉพาะจะแฝงรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือค่าบริการ ซึ่งเป็นต้นทุนในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
|
|
1.3 ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีอากรประเมิน
กำหนดให้ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) เพื่อประเมินตนเองว่า มีรายรับที่ต้องคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นจำนวนเงินเท่าใด ในแต่ละเดือนภาษี และให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินความถูกต้องของการเลียภาษีธุรกิจเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย
|
- มาตรา 91ประกอบ มาตรา 14
ซึ่งตาม ม.15 ให้นำบทบัญญัติในหมวด 2
“วิธีการเกี่ยวกับภาษีอากรประเมิน”
ตั้งแต่มาตรา 14 ถึง 37 ทวิ มาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นกฎหมายทั่วไป
- มาตรา 91/21 ให้นำบทบัญญัติตามหมวด 4
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในส่วน 7 ถึง 14 ซึ่งถือเป็นกฎหมายพิเศษ เป็นวิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมินของภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
|
1.4 การประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 หรือได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา 77/3) เว้นแต่การประกอบกิจการเฉพาะอย่างที่มิใช่กิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรง หรือที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่มีลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการทั่วไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 246) เท่านั้นที่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
|
มาตรา 77/3
มาตรา 91/4
|
พรฎ. (ฉบับที่ 246)
มาตรา 3 กำหนดให้กิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) การให้บริการเช่าสังหาริมทรัพย์
(2) การให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน
(3) การให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ
(4) การให้เช่าซื้อทรัพย์สิน
(5) การให้บริการนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์
(6) การให้บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
(7) การให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีฐานภาษีตามมาตรา 91/5 แห่งประมวลรัษฎากร
|
2.กิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
2.1 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้
(1) การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ทั้งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการในราชอาณาจักร
|
มาตรา 91/2 ภายใต้บังคับมาตรา 91/4
และ มาตรา 91/7
มาตรา 91/2 (1)
|
|
|
(2) การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
|
มาตรา 91/2 (2)
|
|
|
(3) การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
สำหรับการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป
|
มาตรา 91/2 (3)
|
|
|
(4) การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
|
มาตรา 91/2 (4)
|
|
|
(5) การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
|
มาตรา 91/2 (5)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534
- กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
- กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติ กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
- กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
มาตรา 91/2 (6)
|
-พรฎ.(ฉบับที่ 240) อาศัยอำนาจแห่งมาตรา 91/3(7) ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) เนื่องจาก
(ก) การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี”
-พรฎ. (ฉบับที่ 247)
ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5) และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้โดยต้องแสดงรายละเอียดการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามแบบและภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
-พรฎ. (ฉบับที่ 342)
ให้การขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ต้องเสียภาษี ธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) (1) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(2) การขายห้องชุดของผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการ ขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว
(4) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขายหรือมีการแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่ง สาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว
(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของ นิติบุคคลตามมาตรา 77/1
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่
(ก) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์
(ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่ง สำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
(ง) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดย ไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
(จ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ทาง มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
(ฉ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 โดยไม่มีค่าตอบแทน
(ช) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ กับส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 ในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่างอื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.57/2538
แนวทางการพิจารณา กรณีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกันเป็นสองบริษัท
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.82/2542 การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6)
|
|
(7) การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
|
มาตรา 91/2 (7)
|
พรฎ. (ฉบับที่ 240) ให้กิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
(8) การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
มาตรา 91/2 (8)
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 350) กำหนดให้กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
พรฎ. (ฉบับที่ 358)
กำหนดให้การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ “ธุรกิจแฟ็กเตอริง” หมายความว่า ธุรกิจที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการตกลงจะ โอนทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชำระหนี้เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างตน กับลูกหนี้ของตนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตกลงจะให้ สินเชื่อซึ่งรวมถึงการให้กู้ยืมและการทดรองจ่ายแก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการและรับที่จะ ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีบัญชีทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชำระหนี้
(2) เรียกเก็บทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชำระหนี้
(3) รับผิดชอบในหนี้ที่ลูกหนี้ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการผิดนัด
ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงข้างต้นให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบธุรกิจ แฟ็กเตอริงอื่น ซึ่งรับโอนหรือตกลงจะรับโอนทรัพย์สินจากผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงและรับที่จะดำเนินการตาม (1) (2) หรือ (3) ของวรรคหนึ่ง
|
|
2.2 ในกรณีผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักรให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้าง ตัวแทนหรือผู้ทำการแทน ซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีร่วมกับบุคคลตามวรรคหนึ่ง
|
-มาตรา 91/7
-มาตรา 91/2 วรรคท้าย ในกรณีที่บุคคลอยู่นอกราชอาณาจักรประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการหรือตัวแทนของตนที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ถือว่าประกอบกิจการ ในราชอาณาจักร
|
|
3. วิธีการคำนวณ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
3.1 คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
(1) " รายรับ " หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ
(2) " มูลค่า " หมายความว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ของกิจการ ของค่าตอบแทนหรือของประโยชน์ใด ๆ
(3) " ราคาตลาด " หมายความว่า ราคาที่ซื้อขายกันหรือที่คิดค่าบริการกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง
ในกรณีที่ราคาตลาดมีหลายราคาหรือไม่อาจทราบราคาตลาดได้แน่นอน ให้อธิบดี โดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อให้ได้ราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าหรือบริการได้
(4) " ขาย " หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
|
มาตรา 91/1
|
พรฎ. (ฉบับที่ 291)
ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร แก่สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 สำหรับมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือการกระทำตราสารของสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นไป
พรฎ. (ฉบับที่ 283)
ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแยกบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน
|
|
3.2 ฐานภาษีและอัตราภาษี
ฐานภาษี ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ดังต่อไปนี้ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับหรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ
|
มาตรา 91/5
|
|
|
3.2.1 สำหรับกิจการการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ได้แก่
(ก) ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อหรือขายหรือที่ได้จากตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ
(ข) กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ หรือการส่งเงินไปต่างประเทศ
|
มาตรา 91/5 (1)(2)(5) และมาตรา 91/6 (3)
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3
|
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 31/2538 ฐานภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับประเภทดอกเบี้ยตามมาตรา 91/5 หมายถึง จำนวนดอกเบี้ยส่วนที่คำนวณตามระยะเวลาที่สถาบันการเงินถือตราสารหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงดอกเบี้ยค้างรับซึ่งแฝงอยู่ในขณะได้รับตราสารหนี้มาซึ่งเป็นส่วนของต้นทุนในการคำนวณดอกเบี้ย
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.75/2541
กิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กิจการธุรกิจหลักทรัพย์ และกิจการประกันภัยเฉพาะกรณีการรับประกันชีวิต การคำนวณรายรับส่วนที่เป็นดอกเบี้ย หากได้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามข้อ 4.1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะรายนั้น ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และการปฏิบัติทางบัญชีตามมาตรา 91/8 วรรคสอง แล้ว
- ใช้บังคับกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะที่ได้ใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายรับส่วนที่เป็นดอกเบี้ย ตามข้อ 4.1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 ด้วย
|
|
(2) สำหรับกิจการรับประกันชีวิต ได้แก่ ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ
|
มาตรา 91/5 (3) และมาตรา 91/6 (2)
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 2.5
|
|
|
(3) สำหรับกิจการโรงรับจำนำ ได้แก่
(ก) ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และ
(ข) เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายของที่จำนำหลุดเป็นสิทธิ
|
มาตรา 91/5 (4) และมาตรา 91/6 (3)
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3
|
|
|
(4) สำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์หรือราคาขายแล้วแต่ราคาใดจะมากกว่า
|
มาตรา 91/5 (6)และมาตรา 91/6 (3)
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 82/2542
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6)
|
|
(5) สำหรับกิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
|
มาตรา 91/5 (7) และมาตรา 91/6 (1)
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 0.1
|
พรฎ. (ฉบับที่ 240)
ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการ
ขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
|
|
(6) สำหรับกิจการอื่นตามมาตรา 91/2 (8) รายรับจากการประกอบกิจการให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
มาตรา 91/5 (8)และมาตรา 91/6 (3)
อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3
|
พรฎ. (ฉบับที่ 350)
มาตรา 3 กำหนดให้กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
มาตรา 4 ฐานภาษีสำหรับกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ตามมาตรา 3 ได้แก่ กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
พรฎ. (ฉบับที่ 358)
มาตรา 4 กำหนดให้การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
มาตรา 5 ฐานภาษีสำหรับการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง ได้แก่ ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ
|
|
3.3 การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
|
|
3.3.1 ภาษีอากรที่ต้องชำระทั้งสิ้น = ภาษีธุรกิจเฉพาะ + ภาษีท้องถิ่น
ภาษีธุรกิจเฉพาะ = ฐานภาษี x อัตราภาษี
ภาษีท้องถิ่น = 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
|
|
3.3.2 การคำนวณรายรับเพื่อการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้เป็นไปตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติทางบัญชี และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับ เมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว ให้ถือปฏิบัติอย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้
การคำนวณรายรับที่เป็นไปตามวิธีการ หลักเกณฑ์ และการปฏิบัติทางบัญชี เพื่อการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แบ่งออกเป็นสองเกณฑ์ คือ
(1) เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) หมายถึง เกณฑ์รับรู้รายรับเมื่อได้รับชำระค่าตอบแทน หรือค่าบริการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้รับชำระเป็นเงินสด หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ
(2) เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) หมายถึง เกณฑ์รับรู้รายรับเมื่อเกิดสิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าตอบแทนหรือค่าบริการ ไม่ว่าจะได้รับชำระค่าตอบแทนหรือค่าบริการในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งกรณีที่แม้ยังไม่เกิดสิทธิเรียกร้อง แต่ได้รับชำระค่าตอบแทนหรือค่าบริการก็ให้รับรู้รายรับนั้นด้วย ซึ่งในทางบัญชี นิยมเรียกเกณฑ์สิทธินี้ว่า เกณฑ์ค้างรับค้างจ่าย หรือเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย หรือเกณฑ์คงค้าง
|
มาตรา 91/8
|
|
|
3.3.3 กรณีกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2(6) ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคำนวณจากฐานภาษีตามมาตรา 91/5(6) ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น ตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ในมาตรา 91/6
|
มาตรา 91/8
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 82/2542
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 91/2(6)
|
4. วิธีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
4.1 การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะโดยการยื่นรายการประเมินคนเอง (Self-assessment)
4.1.1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่15 ของเดือนถัดไป พร้อมกับชำระภาษี ถ้ามี ไม่ว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะมีรายรับในเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th
สำหรับผู้ประกอบกิจการที่ได้สิทธิไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะให้ยื่นแบบ ภ.ธ.40 และชำระภาษีสำหรับเดือนภาษีที่มีรายรับจากการประกอบกิจการเท่านั้น ภายในวันที่15 ของเดือนถัดไป
4.1.2 ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะแทนหรือร่วมกับผู้ประกอบกิจการ
(ก) ในกรณีผู้ประกอบกิจการเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้แก่ ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีผู้ประกอบกิจการเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งถึงแก่ความตาย ได้แก่ ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก
(ค) ในกรณีผู้ประกอบกิจการเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งในคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(ง) ในกรณีผู้ประกอบกิจการเป็นนิติบุคคล ได้แก่ กรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ
(จ) ในกรณีผู้ประกอบกิจการเป็นนิติบุคคลเลิกกัน โดยมีการชำระบัญชี ได้แก่ ผู้ชำระบัญชี และกรรมการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลิกนิติบุคคลนั้น
|
มาตรา 17
มาตรา 91/10
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 2)
แบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ มีดังนี่
(1) แบบ ภ.ธ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) แบบ ภ.ธ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
(3) แบบ ภ.ธ.04 แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(4) แบบ ภ.ธ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(5) แบบ ภ.ธ.40 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
(6) แบบ ภ.ธ.02.1 แบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
- คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.112/2545
กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร
|
|
4.1.2 ในกรณีกิจการขายหลักทรัพย์ให้สมาชิกที่เป็นตัวแทนของผู้ขายหักภาษีธุรกิจเฉพาะจากเงินที่ขาย และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตาม แทนผู้ขายในนามของตนเอง โดยผู้ขายไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีก และให้ถือว่าสมาชิกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะในกรณีนี้ด้วย
|
มาตรา 91/9
|
|
|
4.2 การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะโดยเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บ
|
|
|
|
4.2.1 อำนาจประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร เมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องเสียไปยังผู้ต้องเสียภาษี และให้ผู้ต้องเสียภาษีชำระภาษีภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษี และเจ้าพนักงานประเมินจะสั่งให้ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดด้วยก็ได้
|
มาตรา 18 ทวิ
|
|
|
4.2.2 อำนาจประเมินภายหลังพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ
|
มาตรา 88 ถึง มาตรา 88/6
|
|
|
(1) เหตุที่ทำให้ประเมินภาษี เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
(ก) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(ข) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป หรือ
(ค) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนผู้ประกอบกิจการ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี
|
มาตรา 91/15
|
|
|
(2) อำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
(ก) จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการตามหลักฐานที่เห็นว่าถูกต้อง เมื่อผู้ประกอบกิจการมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ
(ข) แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการหรือในเอกสารอื่นประกอบแบบแสดงรายการเพื่อให้ถูกต้อง
(ค) กำหนดราคาขายสินค้าโดยเทียบเคียงกับราคาขายในวันเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันของสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันตามราคาตลาดที่อาจเทียบเคียงกันได้
(ง) กำหนดดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราการออกตั๋วเงิน หรือการส่งเงินไปต่างประเทศตามราคาตลาดที่อาจเทียบเคียงได้
(จ) กำหนดรายรับซึ่งผู้ประกอบกิจการควรได้รับ เพราะผู้ประกอบกิจการกับผู้ซื้อมีการควบคุมหรือความสัมพันธ์กันในด้านทุนหรือด้านการจัดการ
(ฉ) กำหนดดอกเบี้ย ราคาทรัพย์สิน หรือค่าบริการ ตามราคาตลาดในวันให้กู้ยืมเงิน วันที่โอนหรือให้บริการ ในกรณีที่การให้กู้ยืมเงิน การโอนทรัพย์สิน หรือการให้บริการนั้นไม่มีดอกเบี้ย ค่าตอบแทน หรือค่าบริการ หรือมีดอกเบี้ย ค่าตอบแทน หรือค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(ช) กำหนดรายรับโดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบกิจการ หรือสถิติการค้าของผู้ประกอบกิจการเองหรือของผู้ประกอบกิจการอื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์อย่าง อื่นอันอาจแสดงรายรับได้โดยสมควร
(ซ) ประเมินภาษีตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้อง เมื่อมีกรณีตาม4.2.2 (1) (ค) โดยไม่ต้องปฏิบัติตาม (ก) ถึง (ซ) ก็ได้
|
มาตรา 91/16
|
|
|
(4) อำนาจเข้าไปในสถานประกอบการของผู้ประกอบการ
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบการของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่ หรือในสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบการ และทำการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้ปฏิบัติการโดยถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวดนี้หรือไม่ ในการนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจสั่งผู้ประกอบการ หรือบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้นให้ปฏิบัติการ เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อันควรแก่เรื่อง และมีอำนาจยึดเอกสารหลักฐานเหล่านั้นมาตรวจสอบไต่สวนได้
ให้เจ้าพนักงานประเมินแสดงบัตรประจำตัว พร้อมทั้งหนังสือหรือหลักฐานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อเข้าไปทำการตรวจสอบ
|
มาตรา 91/21(5) ประกอบ มาตรา 88/3
|
|
|
(5) อำนาจในการออกหมายเรียก
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ทำการแทน หรือพยาน กับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ หรือออกคำสั่งให้พยานตอบคำถามเป็นหนังสือ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7วัน นับแต่วันได้รับหมายเรียกหรือได้รับคำสั่ง
|
มาตรา 91/21(5) ประกอบ มาตรา 88/4
|
|
|
(6) อำนาจแจ้งการประเมิน
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/15 หรือ มาตรา 91/16 แล้ว ให้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 91/7
ในกรณีนี้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือบุคคลตามมาตรา 91/7 จะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้
ห้ามมิให้อุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนผู้ประกอบกิจการ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี
|
มาตรา 91/21(5) ประกอบ มาตรา 88/5
มาตรา 91/15 (3)
|
|
|
(7) อำนาจประเมินเบี้ยปรับ
(ก) ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/12 หรือประกอบกิจการเมื่อถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/21 (3) แล้ว ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี ตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หรือเป็นเงินหนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
(ข) มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษี
(ค) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษีคลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินภาษีที่เสียคลาดเคลื่อนหรือที่นำส่งคลาดเคลื่อน
|
มาตรา 91/21 (6)
มาตรา 89(1)
มาตรา 89(2)
มาตรา 89(3)
|
ข้อ 5 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 81/2542
การลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(1) มาตรา 89(2) มาตรา 89(3) และมาตรา 89(4) ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีตามมาตรา 83/7 ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการหรือแบบนำส่งนั้น โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจ สอบไต่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ ให้เสียเบี้ยปรับดังนี้
(ก) ถ้าชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 2 ของเบี้ยปรับ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
(ค) ถ้าชำระภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
(ง) ถ้าชำระภายหลัง 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษี มูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ
|
|
(8) อำนาจประเมินเงินเพิ่ม
บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
|
มาตรา 91/21 (6)
มาตรา 89/1
ในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ และได้มีการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
การคำนวณเงินเพิ่ม ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือยื่นแบบนำส่งภาษี จนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษีแต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง
|
|
5. การยกเว้น
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
5.1 การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3
ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการดังต่อไปนี้
(1) กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(2) กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(3) กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
(4) กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(5) กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
(6) กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
(7) กิจการอื่นตามมาตรา 91/2 ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
|
มาตรา 91/3
|
|
|
5.1 การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 91/3
|
|
- พรฎ. (ฉบับที่ 240)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับกิจการดังต่อไปนี้
(1) กิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
(2) กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(3) กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
(4) กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย”
(5) กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(6) กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน”
(7) กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(8) กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้
(ก) กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หริอนิติบุคคลอื่น หรือการโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือ นิติบุคคลอื่น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(ข) การประกอบกิจการที่ได้รับโอนมาจากผู้โอนซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร
(9) กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการโอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
10) กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร”
(11) กิจการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(12) กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาคนจนในเมือง
(13) กิจการของสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ต้องเป็นสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาคนจนในเมืองของการเคหะแห่งชาติ และได้รับเงินกู้ตามโครงการดังกล่าว
(ข) ต้องนำเงินกู้ที่ได้รับไปจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อให้แก่สมาชิกของสหกรณ์นั้น
(14) กิจการของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์สำหรับรายรับตามมาตรา 91/5(1)(ก) มาตรา 91/5(2)(ก) และมาตรา 91/5(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะกรณีที่
(ก) สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงจะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
(ข) เป็นรายรับที่ได้จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เนื่องจาก
(1) การให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินนั้นหรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือ
(2) การให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อใช้ในการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้นหรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
(ค) สถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(15) กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก
(ก) การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
(ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี
(16) กิจการของรัฐวิสาหกิจในส่วนของรายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
(17) กิจการของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
(18) กิจการของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
(19) กิจการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
(20) กิจการของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีผลใช้บังคับ
(21) กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
(22) กิจการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป”
(23) กิจการของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับโอนเนื่องจากการให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
(24) กิจการของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
(25) กิจการขายข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นไป
(26) กิจการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่เปิดทำการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้นเป็นต้นไป
(27) กิจการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) เฉพาะการให้กู้ยืมเงินแก่รัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
(28) กิจการของสถาบันคุ้มครองเงินฝากตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
- พรฎ. (ฉบับที่ 283)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแยกบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกันตามมาตรา 127 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 หรือตามมาตรา 121 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
|
|
5.2 การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 3
|
มาตรา 3
|
- พรฎ (ฉบับที่ 10)
มาตรา 5 ปัณรส ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ทำให้วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิด มีที่ดินไม่เกิน 50 ไร่
มาตรา 5 โสฬส ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ เฉพาะการโอนอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัดควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 5 เอกวีสติ ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นจำนวนไม่เกินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่และย้ายโรงงานเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อใช้เป็นสถานประกอบการแห่งใหม่ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนหรือหลังวันที่ทำสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งเดิม โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553
มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินแห่งใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด”
|
|
|
มาตรา 3 (1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 295)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะ แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่เป็นเงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืนและอสังหาริมทรัพย์อื่นบนที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งได้รับจากส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นไม่ขอรับเงินค่าทดแทนดังกล่าว
|
|
|
มาตรา 3 (1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 320)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะตาม และอากรแสตมป์ แก่คณะกรรมการ ไทยช่วยไทย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคหรือที่ได้รับจาก การขายทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค รายรับที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการบริจาค และการกระทำตราสารของคณะกรรมการไทยช่วยไทย
|
|
|
มาตรา 3 (1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 392)
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้แก่ผู้ขายหลักทรัพย์ในกิจการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาขายหรือซื้อคืนเฉพาะในส่วนของหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับกำไรที่ได้จากการโอนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
|
มาตรา 3 (1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 420)
มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการดำเนินการสนับสนุนการศึกษา ตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบ โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
|
|
|
มาตรา 3 (1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 454)
มาตรา 8 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราจากต่างประเทศเพื่อให้กู้ยืมในต่างประเทศ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่เป็นรายรับตามมาตรา 91/5 (1)
|
|
|
มาตรา 3(1)
|
พรฎ.(ฉบับที่ 459)
มาตรา 6 ให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสำหรับรายรับและการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากให้กู้ยืมเงินหรือการโอนอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 5 คืนให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ เฉพาะการให้กู้ยืมเงิน การโอนอสังหาริมทรัพย์ และการกระทำตราสารที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป
|
|
5.3 การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(1) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและสถาบันการเงิน สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการและสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง
(2) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นและเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการและสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่ได้ดำเนินการโดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และสำหรับการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง
(3) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินนำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องนำเงินได้นั้นไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงิน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้ใช้บังคับสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง
|
มาตรา 3(1)
|
-พรฎ.(ฉบับที่ 360) ใช้บังคับระหว่าง
1 ตุลาคม 2542 ถึง 31 ธันวาคม 2544
-พรฎ.(ฉบับที่ 399) ใช้บังคับระหว่าง
1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545
-พรฎ.(ฉบับที่ 410) ใช้บังคับระหว่าง
1 มกราคม 2546 ถึง 31 ธันวาคม 2546
-พรฎ.(ฉบับที่ 418) ใช้บังคับระหว่าง
1 มกราคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2547
-พรฎ.(ฉบับที่ 433) ใช้บังคับระหว่าง
1 มกราคม 2548 ถึง 31 ธันวาคม 2549
-พรฎ.(ฉบับที่ 483) ใช้บังคับระหว่าง
1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2552
-พรฎ.(ฉบับที่ 495) ใช้บังคับระหว่าง
1 มกราคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553
|
|
5.4 การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะในกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
|
มาตรา 91/2 (5)
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534
(1) กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ กิจการเงินทุน หลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการประกันชีวิต
(2) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินอื่นที่เหลืออยู่ไปฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติ กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ กิจการเงินทุน หลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการประกันชีวิต
(3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงาน หรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
|
5.5 หากเดือนภาษีใดมีจำนวนไม่ถึง 100 บาท ในเดือนภาษีนั้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
มาตรา 91/17
|
|
6. การขอคืน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉาะได้ โดยยื่นคำร้องขอคืนภาษี(ค.10) ภายใน 3 นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
|
มาตรา 91/11
|
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 113/2545
ให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเป็นสถานที่ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สำหรับผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรในเขตท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขานั้น
|
7. หน้าที่อื่นในทาง
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
7.1 หน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
7.1.1 การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (แบบ ภ.ธ.01)
ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะโดยยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
|
มาตรา 91/12
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข้อ 1 ให้กำหนดแบบดังต่อไปนี้ เป็นแบบเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
(1) แบบ ภ.ธ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(2) แบบ ภ.ธ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
(3) แบบ ภ.ธ.04 แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(4) แบบ ภ.ธ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
(5) แบบ ภ.ธ.40 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
แบบแสดงรายการตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบแสดงรายการที่กรมสรรพากร จัดพิมพ์ขึ้นเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีจะสั่งการเป็นอย่างอื่น
(6) แบบ ภ.ธ.02.1 แบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
|
|
7.1.2 ผู้ประกอบกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
|
มาตรา 91/13
|
|
|
(1) ผู้ประกอบกิจการขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 91/2 (7)
|
|
|
|
(2) ผู้ประกอบกิจการที่ประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว
|
|
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535
กำหนดให้การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เป็นการประกอบกิจการชั่วคราว
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ เฉพาะผู้ขายที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เฉพาะผู้ขายที่มีหน้าที่เสียเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ ต้องมิใช่การขายในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(ข) การขายห้องชุดของผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการ ขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว
|
|
(3) ผู้ประกอบกิจการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด เมื่อมีเหตุอันสมควร
|
|
|
|
7.1.4 ผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) ไว้ ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่ายในสถานประกอบการเป็นรายสถานประกอบการ
|
มาตรา 85/4
|
|
|
7.1.3 การแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (แบบ ภ.ธ.09)
|
มาตรา 91/21 ให้นำบทบัญญัติใน
หมวด 4 ส่วน 9 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
|
|
|
(1) แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่เป็นสาระสำคัญในทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น
|
มาตรา 85/6
|
|
|
(2) แจ้งเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 15 วัน
|
มาตรา 85/7
|
|
|
(3) แจ้งปิดสถานประกอบการบางแห่ง พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน 15 วันนับจากวันปิดสถานประกอบการ
|
มาตรา 85/7
|
|
|
(4) แจ้งย้ายสถานประกอบการ ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่า 15 วัน
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ย้ายสถานประกอบการแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภภาษีธุรกิจเฉพาะของสถานประกอบการเดิม
|
มาตรา 85/8
|
|
|
(5) แจ้งหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ภายใน 15 วันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
|
มาตรา 85/12
|
|
|
(6) แจ้งโอนกิจการบางส่วน
· ด้านผู้โอนกิจการ
ให้แจ้งการโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน
· ด้านผู้รับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
|
มาตรา 85/13
|
|
|
(7) แจ้งโอนกิจการทั้งหมด
· ด้านผู้โอนกิจการ
ให้แจ้งการโอนกิจการ และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ ที่ได้จดทะเบียนภภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ด้วย
· ด้านผู้รับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
|
มาตรา 85/13
|
|
|
(8) แจ้งการควบเข้ากัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกประกอบกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะของสถานประกอบการเดิม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ภายใน 15 วันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่
|
มาตรา 85/14
|
|
|
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ
|
มาตรา 85/15
|
|
|
7.2 หน้าที่ในการจัดทำรายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ
ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษี และรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและให้จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ โดยต้องรายการในรายงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีรายรับ ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีเห็นสมควรสำหรับการประกอบกิจการบางประเภทหรือในกรณีจำเป็นเฉพาะรายอธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้
|
มาตรา 91/14
ปัจจุบันยังมิได้กำหนดแบบรายงาน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับวิธีการลงรายการในรายงาน
|
|
|
7.3 การเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้อง เก็บและรักษารายงาน พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานดังกล่าว หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกำหนดไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี เว้นแต่ การเก็บ รักษารายงานและเอกสารของผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาอยู่ในวันเลิกประกอบกิจการต่อไปอีกสองปี หรือ ในกรณีที่เห็นสมควร อธิบดีจะกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเก็บและรักษาไว้เกินห้าปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเจ็ดปี
|
มาตรา 87/3
|
|
|
7.4 การมีและใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
· เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร และผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้โดยอนุมัติรัฐมนตรี
การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
· ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามความในมาตรา 3 เอกาทศ ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองพันบาท
|
มาตรา 3 เอกาทศ
มาตรา 3 ทวาทศ
|
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจำตัวในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร
|
|
7.5 การให้ความร่วมมือกับทางราชการ
(1) การปฏิบัติตามหมายเรียก
(2) การแปลบรรดาบัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษีอากรที่ทำเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นภาษาไทย
|
มาตรา 88/4
มาตรา 3 ฉ
|
|
8. การขจัดข้อโต้แย้งทางภาษี
|
8.1 แบบที่ใช้ในการอุทธรณ์ ได้แก่
- แบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ใช้ได้กับการอุทธรณ์ทุกกรณี
|
มาตรา 28
|
|
|
8.2 กำหนดเวลาอุทธรณ์
(1) การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตา 30 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน
(2) อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
|
มาตรา 30
|
|
|
8.3 การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ยังคงเร่งรัดมาตรา 12 ได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาได้ ก็ให้มีหน้าที่ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือได้รับทราบคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
|
มาตรา 31
|
|
|
8.4 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ มีอำนาจออกหมายเรียกผู้อุทธรณ์มาไต่สวน เรียกพยาน กับสั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือพยานนั้นนำสมุดบัญชีหรือพยานหลักฐานมาแสดง แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันส่งหมาย
|
มาตรา 32
|
|
|
8.5 ถ้าผู้อุทธรณ์หมดสิทธิ์ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งตามมาตรา 32 หรือไม่ยอมตอบคำถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
|
มาตรา 33
|
|
|
8.6 คำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์
|
มาตรา 34
|
|
9. บทกำหนดโทษทางภาษี
|
9.1 กรณีประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะโดยไม่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายในสามสิบวันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการตามมาตรา 91/12 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ
กรณีตัวแทนของผู้ประกอบการนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร (ตามมาตรา 91/12 วรรคห้า) ละเลยไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับข้างต้น
|
มาตรา 91/18
|
|
|
9.2 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไม่จัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้องเสียภาษี และรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี (ตามมาตรา 91/14) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
|
มาตรา 91/19
|
|
|
9.3 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจัดทำรายงานโดยไม่เป็นไปตามแบบหรือไม่จัดทำเป็นรายสถานประกอบการ หรือลงรายการในรายงานไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และไม่ลงรายการในรายงานภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีรายรับ (ตามมาตรา 91/14 วรรคสองหรือวรรคสาม) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
|
มาตรา 91/20
|
|
|
9.4 ให้นำบทบัญญัติในภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามหมวด 4 ส่วน 14 บทกำหนดโทษ รวมทั้งมาตรา 90/5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
|
มาตรา 91/21 (7) และ
มาตรา 90/5 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอม หรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
|
|
|
9.4.1 กรณีต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
(1) ผู้ประกอบกิจการไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 91/10
(2) ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 91/10
(3) ผู้ประกอบกิจการไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 85/6
(4) ผู้ประกอบกิจการไม่คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/7 วรรคสาม มาตรา 85/8 วรรคสอง มาตรา 85/15 วรรคสอง หรือมาตรา 85/17 วรรคสอง
(5) ผู้ประกอบกิจการไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการตามมาตรา 85/8 วรรคหนึ่ง
(6) ผู้ประกอบกิจการไม่แจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราวตามมาตรา 85/12
(7) ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ผู้จัดการมรดก หรือทายาทของผู้ประกอบกิจการไม่คืนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 85/16 วรรคสามหรือวรรคห้า
(8) ผู้ประกอบกิจการจัดทำรายงาน โดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา 91/14
|
มาตรา 90
มาตรา 90 (2)
มาตรา 90 (4)
มาตรา 90 (7)
มาตรา 90 (8)
มาตรา 90 (9)
มาตรา 90 (10)
มาตรา 90 (11)
มาตรา 90 (15)
|
|
|
9.4.2 กรณีต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
(1) ผู้ประกอบกิจการไม่แสดงใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 85/4
(2) ผู้ประกอบกิจการไม่แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม หรือปิดสถานประกอบการตามมาตรา 85/7 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
(3) ผู้ประกอบกิจการไม่แจ้งการโอนกิจการบางส่วนหรือการรับโอนกิจการตามมาตรา 85/13
(4) ผู้ประกอบกิจการไม่แจ้งการเลิกหรือการโอนกิจการทั้งหมดตามมาตรา 85/13 หรือ มาตรา 85/15 วรรคหนึ่ง
|
มาตรา 90/1
มาตรา 90/1(2)
มาตรา 90/1(3)
มาตรา 90/1(4)
มาตรา 90/1(5)
|
|
|
9.4.3 กรณีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) ผู้ประกอบการใดซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 85/1 มาตรา 85/13 วรรคสอง หรือมาตรา 85/14
(2) ผู้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/4
|
มาตรา 90/2
มาตรา 90/2(2)
มาตรา 90/2(7)
|
|
|
9.4.4 ผู้ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานประเมิน หรือขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 88/3 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
มาตรา 90/3(5)
|
|