หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (3)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (3)

 หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (3)

ห้างเซ็นทรัล เป็นบริษัทที่สามที่เราคัดเลือกมาเอกซเรย์สุขภาพด้านภาษีอากร & กลยุทธ์ธุรกิจ ว่าเหตุใดเขาจึงโดดเด่นเติบโตอย่างมั่นคงแข็งแรงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้
 
ในยุทธจักรค้าปลีกและการบริหารพลาซ่า ต้องยกนิ้วความเป็นหนึ่งให้ห้างเซ็นทรัล เพราะสามารถสู้ได้กับทุกชอปปิงคอมเพล็กซ์ชั้นนำในต่างประเทศ แน่นอนว่าการประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างโดดเด่นเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่น่าสนใจเจาะลึกถึงกลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ มากำนัลแก่ท่านผู้อ่านดังนี้ครับ
1. พลิกปูม… บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2538 ดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการเป็นผู้พัฒนาโครงการใหม่ๆ และรับบริหารโครงการต่างๆ โดยมีบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า 16 บริษัท ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและเกื้อหนุนกันเป็น 5 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่ง โรงแรมและภัตตาคาร โดยมีผลประกอบการปี 2548-2549 ดังนี้
..................................................... งบการเงินรวม ......................................................
งบการเงินเฉพาะบริษัท
..................................................... 2549 2548 2549 2548
รายได้จากการให้เช่าและให้บริการ 6,309,654,875 6,001,511,076 ........ 2,943,113,295 2,533,757,279
รายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม 396,567,352 420,176,364 ............... - -
ต้นทุนค่าเช่าและค่าบริการ 3,479,029,143 3,177,288,982 ....... 1,221,280,607 976,549,988
ต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม 303,767,573 323,433,745 ....... - -
ดอกเบี้ยจ่าย 621,042,447 543,523,949 ....... 548,820,297 309,507,166
ภาษีเงินได้ 611,015,267 1,282,775,420 ....... 333,016,186 326,319,467
กำไรสุทธิ 1,685,193,575 3,294,544,580 ....... 1,685,193,575 3,294,544,580
2. หมายเหตุภาษี… เซ็นทรัลกรุ๊ป
จากงบการเงินรวมของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา (บริษัทแม่) และข้อมูลแวดล้อมประกอบต่างๆ สามารถอ่านกลยุทธ์ภาษีและธุรกิจได้ดังนี้ครับ
(1) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
การจดทะเบียนเข้า SET มีข้อดีมากมายทั้งทางธุรกิจ & ภาษี กล่าวคือ สามารถระดมทุนผ่าน SET ได้ง่าย โดยปราศจากต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) นอกจากนั้นตาม พ.ร.ฎ. # 387 (พ.ศ.2544) ยังได้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท และแม้ในปัจจุบันจะไม่ได้สิทธิลดหย่อนอัตราภาษีนิติบุคคลเหลือ 25% และ 20% ตามลำดับ ตาม พ.ร.ฎ. # 467 (พ.ศ.2550) ซึ่งให้สิทธิเฉพาะแก่บริษัทที่เพิ่งนำเข้าจดทะเบียนใน SET และ MAI
แต่การที่เซ็นทรัลพัฒนา เป็นบริษัทใน SET ก็ยังคงได้สิทธิประโยชน์สำหรับภาษีเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นของตน ตามนัยมาตรา 47 ทวิ และ 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนั้น กรณีเกิด Capital Gains จากการขายหุ้นของบุคคลธรรมดา ก็ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวง # 126 ข้อ 2 (23) อีกด้วย
๐ สำหรับรายได้หลักจากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (ให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า) ไม่ว่าจะเป็นการให้เช่าแก่กลุ่มบริษัทในเครือ หรือบุคคลภายนอก ล้วนเป็นสัญญาเช่าการเงิน (financial lease) นั้น ในแง่ผู้ให้เช่า (lessor) สามารถเฉลี่ยรายได้ที่เป็นเงินก้อนใหญ่สำหรับเงินแป๊ะเจี๊ยะตามส่วนของอายุการเช่าได้ตามนัย ป.73/2541 แห่งประมวลรัษฎากร ทำให้การชำระภาษีเงินได้ล่าช้าออกไป นอกจากนั้น lessor ยังเป็นผู้มีสิทธิหักค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เพื่อการรัษฎากรได้ แม้ว่าตามมาตรฐานการบัญชี # 29 จะกำหนดให้ผู้เช่า (lessee) เป็นผู้มีสิทธิหักค่าเสื่อมราคาก็ตาม
๐ เงินกู้ยืมระหว่างกัน แก่บริษัทในเครือโดยไม่มีหลักประกัน (เป็นส่วนใหญ่) โดยคิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคาร ตามแต่กรณีนั้น เป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด แต่อย่างไรก็ตาม กรณีจะมีประเด็นเรื่องการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หากเข้าลักษณะการประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่จะเป็นการกู้ยืมระหว่างกันของ holding company (คือถือหุ้นระหว่างกันไม่น้อยกว่า 25% ตามนัยแห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534) ในประเด็นดังกล่าว หากเปลี่ยนจากวิธีการกู้ยืมมาเป็นวิธีการออกหุ้นกู้ (ตราสารหนี้) ก็จะไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด
๐ มีข้อน่าสังเกตว่า หากบริษัทมีการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) สำหรับทรัพย์สินที่สามารถให้เช่าได้ในราคาสูง จะทำให้บริษัทได้รับค่าเช่าทันทีจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle (SPV)) โดยใช้อัตราคิดลด (net present value) ที่เหมาะสมนั้น จะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีหลายประการ คือ
๐ สามารถนำรายได้เงินก้อนมาเฉลี่ยตามส่วนจำนวนปีแห่งสัญญาเช่า
๐ เงินได้ของ SPV จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ. # 441
๐ การโอนขายสิทธิการรับค่าเช่าระหว่างบริษัท กับ SPV จะได้รับยกเว้น VAT (พ.ร.ฎ. # 239) และอากรแสตมป์ (ม.6 (27) แห่ง พ.ร.ฎ. # 10)
๐ กรณีการโอนสิทธิดังกล่าว หรือการรับโอนสิทธิกลับ หากเป็นการโอนตามราคายุติธรรม หรือไม่ต่ำกว่า book value จะถือว่าเป็นราคาอันสมควร ตามนัย ม.65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ห้างเซ็นทรัลเวิลด์
โครงการลงทุน 26,000 ล้านบาท ใช้เวลาปรับปรุงตกแต่ง 3 ปี บนที่ดิน 64 ไร่ พื้นที่ 8.3 แสนตารางเมตร แยกเป็นชอปปิงคอมเพล็กซ์ 5.5 แสนตารางเมตร โดยคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี พ.ศ.2551…นับเป็นอภิมหาโครงการศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดของไทย!
จุดเด่นของ ‘เซ็นทรัลเวิลด์’ ก็คือ มีพื้นที่ค้าปลีกใหญ่ที่สุด มีศูนย์การประชุมขนาดใหญ่ที่สุด โดยเป็นพื้นที่โล่งไม่มีเสา มีซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่กว่าแห่งอื่นถึง 3 เท่า มีจอ LCD ใหญ่ที่สุดในเอเชีย 2 จอ (9 x 16 เมตร) ฯลฯ โดยคาดว่าจะมีลูกค้า 150,000 คนต่อวัน โดย 50,000 คน จะเป็นนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน และเกาหลี เป็นต้น
ในมุมธุรกิจ…ด้วยเม็ดเงินลงทุนที่สูงถึง 26,000 ล้านบาท คิดเฉลี่ยเป็นค่าเสื่อมราคาต่อปี (ทั้งอาคารและส่วนตกแต่ง) ประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท/ปี บวกกับรายจ่ายในการขายและบริหาร เทียบกับรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ระยะยาว/ค่าเช่ารายปี และเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งจากการขาย ฯลฯ ย่อมมีโอกาสขาดทุนในช่วงเริ่มแรก ซึ่งกฎหมายภาษียอมให้นำขาดทุนสะสมยกไปได้เพียงไม่เกิน 5 ปี (ม.65 ตรี (12)) ดังนั้น จึงต้องวางแผนภาษีในประเด็นรายได้/รายจ่ายดังกล่าวให้เหมาะสม!
(3) ธุรกิจ specialty store
เป็นการเจาะกำลังซื้อเป็นรายเซ็กเมนท์ โดยการแตกธุรกิจออกเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรบินสัน ท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต เพาเวอร์บาย (อุปกรณ์ไฟฟ้า) บีทูเอส (เครื่องเขียน) ออฟฟิศ ดีโป (เครื่องใช้สำนักงาน) โฮมเวิร์ค (อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน) เซ็นทรัลออนไลน์ (ชอปปิงผ่านอินเทอร์เน็ต)…ซึ่งครอบคลุมของใช้อุปกรณ์ในชีวิตประจำวันครบเซต
ในเชิงธุรกิจ…การแตกบริษัทในเครือแยกย่อยออกไปมากมายเช่นนี้ มีข้อดีที่ทำให้การบริหารงานคล่องตัว มีประสิทธิภาพและคุณภาพในเชิงบริการ และสามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วนเต็มที่ แต่ก็มีข้อแย้ง (จุดอ่อน) ในแง่การบริหารภาษีอากรหลายประการ เช่น กรณีมีรายการค้าระหว่างกันของบริษัทในเครือ
เช่น ยืมสินค้า การใช้พื้นที่ร่วมกัน การปันส่วนรายจ่าย การมีโปรแกรมส่งเสริมการขายร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน การกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนกัน เป็นต้นนั้น ล้วนเป็นประเด็นภาษี (tax issues) ที่อาจต้องถูกประเมินรายรับหรือค่าตอบแทนระหว่างกันตามราคาตลาด (ม.65 ทวิ (4)) และอาจมีประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เกิดขึ้นได้ เป็นต้น นอกจากนั้น กรณีที่กิจการใดเกิดผลขาดทุน (taxable loss) ก็ไม่อาจนำไปหักกลบกับบริษัทที่มีกำไร จึงอาจต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าที่ควรจะเป็น!
(4) เซ็นทรัลกรุ๊ป
ซึ่งแบ่งการบริหารออกเป็น 5 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่ง โรงแรม และภัตตาคารนั้น จะเห็นได้ว่าล้วนเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและเกื้อหนุนกัน เข้าทำนอง “ห้าเสือพลังช้างเอราวัณ” ตัวอย่างเช่น
๐ ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่งทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ 30 ปี จากที่ดินเดิมซึ่งเป็นกองขยะไม่มีราคา ค่างวดใดๆ…ครั้นพอปักป้ายว่าจะก่อสร้างเป็นโรงแรมและห้างสรรพสินค้า + พลาซ่า ก็สามารถเพิ่มมูลค่า (value added) แก่ที่ดินข้างเคียงทันทีทันใด ซึ่งหาก (สมมติว่า) มีที่ดินกรรมสิทธิ์ ก็ย่อมสามารถขึ้นโครงการบ้านจัดสรร/คอนโด/อาคารพาณิชย์ สร้างกำไรมหาศาล โดยกำไรสุทธิหลังภาษี (earning after tax) อาจสูงท่วมมูลค่าเบื้องต้นของที่ดินทั้งผืน ทำให้เสมือนได้ที่ดินในส่วนของโครงการห้างสรรพสินค้า/พลาซ่า/โรงแรม มาฟรีๆ ด้วยซ้ำ!
กำไรส่วนถัดมาก็คือ ค่าแป๊ะเจี๊ยะจากการเซ้งพื้นที่ในส่วนของพลาซ่า ซึ่งสามารถกระจายการรับรู้รายได้ตามอายุสัญญาเช่าถึง 30 ปี ซึ่งประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล จำนวนมหาศาล…ซึ่งถ้าจินตนาการต่อไปถึงขั้นการนำบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และโรงแรม เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็ยังมีแง่มุมให้วางแผนภาษีอีกหลายส่วน อาทิเช่น หากจดทะเบียนภายในปี 2551 ก็จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือเพียง 25% เป็นเวลา 3 ปี ส่วนเงินปันผลที่ได้รับก็ยังมีโอกาสยกเว้น/ลดหย่อนภาษีเงินได้ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (10) และ 47 ทวิ เช่นกัน
๐ ธุรกิจโรงแรม แม้ว่าลูกหลานเซ็นทรัล จะมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง แต่การรบรุกในวงการนี้จำเป็นต้องว่าจ้างหรืออิง franchise chain จากต่างประเทศ เพื่อผลด้านการตลาดสำหรับลูกค้าต่างชาติ (ซึ่งเป็นผู้เข้าพักหลักของทุกโรงแรม)
รูปแบบในการร่วมธุรกิจกับต่างชาติ ทำได้หลายลักษณะ เช่น ว่าจ้างบริหาร/ร่วมทุน/จ่ายค่า franchise เป็นต้น ซึ่งแต่ละกรณีจะมีภาระภาษีแตกต่างกัน เช่น การจ่ายค่าจ้าง/ค่าสิทธิ อาจต้องออกภาษี ณ ที่จ่าย แทนบริษัทต่างประเทศ ส่วนกรณีจ่ายเงินปันผลจะมีอัตราภาษี ณ ที่จ่าย ต่ำเพียง 10% เป็นต้น
ขณะนี้ กลุ่มเซ็นทรัลมีโครงการลงทุน 2,250 ล้านบาท ในโรงแรม 3 แห่ง คือ โครงการที่หาดวงศ์อมาตย์ โรงแรมเซ็นทรัลเวิลด์ และกระบี่ นั้น การเลือกแหล่งเงินทุน (source of fund) ย่อมมีผลต่อการบริหารเงินและบริหารภาษี เช่น ยืมจากสถาบันการเงิน แม้ดอกเบี้ยจ่ายจะเป็นภาระทางการเงินที่กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน แต่สามารถหักเป็นรายจ่ายและลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ซึ่งจะแตกต่างจากการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพราะเงินปันผลมิใช่ taxable expenses
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 



หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน

หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (6)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (5)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (4)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (2)