บริษัท เอสเอ็มแอล ออดิท จำกัด เลขทะเบียนนิติบุคคล 0115555017811 -สาขาบางนา,สมุทรปราการ
ที่อยู่ : เลขที่ 599/43 ซอยก่อนตึกแอคเซียม ถนนกิ่งแก้ว-บางพลี หมู่ 7 ตำบล : บางพลี
อำเภอ : บางพลี จังหวัด :สมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ : 10540
มือถือ : 080-553-7088 /080-5537077 โทร :023494340 /02-758-8994 แฟกซ์ : 021020819
อีเมล :sale@smlaudit.com, smlaudit@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.smlaudit.com
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (4) หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (4) เอ่ยนาม ‘7-ELEVEN’ ขึ้นมา ใครๆ ก็คงต้องอยากรู้ถึงกลยุทธ์ภาษีและธุรกิจของเขา เพราะขยายร้านสะดวกซื้อไปทั่วประเทศร่วม 4,000 สาขาแล้ว ปัจจุบัน 7-ELEVEN กำลังจะแย่งกลืนส่วนครองการตลาด (market share) ไปแล้วกว่าครึ่ง จนร้านโชห่วย (ดั้งเดิม) เริ่มครวญให้รัฐบาลหาหนทางแก้ไขปัญหา ‘ปลาใหญ่กินปลาเล็ก’
ข้อเขียนในวันนี้จะเจาะลึกจากข้อมูลในงบการเงินปี 2548-2549 ของบริษัท เพื่อชี้ (หมายเหตุ) แนวทางการบริหารภาษีของบริษัทดังกล่าวพอสังเขป ดังนี้ครับ
1. พลิกปูม…7-ELEVEN (ประเทศไทย)
ตรา ‘7-ELEVEN’ เป็น worldwide trademark ที่พบเห็นได้ดาษดื่นทั่วไปในทุกเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ด้วย concept ร้านสะดวกซื้อ (convenient store)
กล่าวสำหรับกรณีประเทศไทย บริษัท CP - 7-ELEVEN จำกัด เป็นผู้บริหารธุรกิจและเครื่องหมายการค้าดังกล่าว รวมถึงการให้สิทธิแก่ผู้ค้าปลีกรายย่อยอื่นมาซื้อ franchise กรณีนี้จึงเกิดรายได้หลัก 2 ประเภท คือ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าลิขสิทธิ์จากการให้สิทธิดำเนินการบริหารงานตามระยะเวลาที่ตกลงกัน โดยมีผลประกอบการปี 2548-2549 ดังนี้
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2549 2548 2549 2548
รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการ 99,769,753,745 94]355]267]304 66,055,457,067 51,079,771,002
ดอกเบี้ยรับ 196,597,907 87,075,585 228,552,941 113,932,613
รายได้อื่น 4,907,090,094 4,505,206,852 3,009,878,733 2,321,345,008
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 25,911,693,100 20,476,106,217 16,578,501,951 13,222,943,475
ค่าตอบแทนกรรมการ 9,120,000 8,956,667 9,120,000 8,956,667
ดอกเบี้ยจ่าย 310,563,747 111,763,590 18,724,021 5,035,872
ภาษีเงินได้ 864,742,697 711,632,970 628,393,157 540,033,851
กำไรสุทธิ 1,332,401,587 1,507,731,540 1,332,401,587 1,507,731,540
2. หมายเหตุภาษี - 7-ELEVEN (ประเทศไทย)
ยอดรายได้และกำไรสุทธิต่อปีตามงบการเงิน ร่วม 1 แสนล้านบาท และ 1.3 พันล้านบาท ตามลำดับ บ่งชี้ว่า บริษัท CP- 7-ELEVEN รายนี้ไม่ธรรมดาเชียวครับ !
(1) กลยุทธ์ขาย franchise ..
ถือเป็นกุญแจสำคัญในการขยายธุรกิจและสร้างความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีสาขาของ 7- ELEVEN กระจายอยู่ในจุดสำคัญๆ ของทุกถนน/ตรอก ซอกซอย ทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมืองสำคัญในต่างจังหวัด จนสาขาแย่งส่วนครองตลาด (market share) ของร้านโชห่วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคได้สำเร็จจากกลยุทธ์ของร้านสะดวกซื้อ (convenient store) ซึ่งจับถูกจุดของพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่
เพราะหาก 7-ELEVEN ใช้วิธีขยายสาขาด้วยตนเอง ก็จะพบความยุ่งยากจากการซื้อ/เช่าตึกแถวในทำเลทอง ซึ่งนอกจากจะหายากแล้ว ยังต้องควักกระเป๋าจ่ายในราคาที่สูงลิ่ว จนอาจประสบผลขาดทุนทางธุรกิจได้
กล่าวในมุมภาษี เงินได้จากการขาย franchise อันได้แก่ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (entrance fee) และค่าลิขสิทธิ์ (franchise fee) ซึ่งถือเป็นเงินได้ค่าบริการตามสัญญาระยะยาวในลักษณะเงินก้อน ซึ่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.73/2541 (ข้อ 2) ได้อนุโลมให้บริษัทนำรายได้มาเฉลี่ยตามส่วนแห่งจำนวนปีตามสัญญาได้ ทำให้สามารถยืดระยะเวลาการจ่ายภาษีเงินได้ออกไป ส่วนภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายทันที ในอัตรา 3% เต็มจำนวนเงินก้อน ย่อมสามารถนำมาเครดิตภาษีได้ทันทีในปีแรก กรณีนี้จึงเสมือนได้รับคืนภาษี (tax refund) ทันทีเช่นกัน ทำให้บริษัทได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มที่ โดยไม่เกิด opportunity cost แต่อย่างใด
(2) ปัญหาภาษีในธุรกิจค้าปลีก
โดยเฉพาะกรณีร้านโชห่วยทั่วไป ได้แก่
๐ compliance costs (ต้นทุนปฏิบัติตามกฎหมายภาษี) เช่น ความยุ่งยากในการออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และการทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ (stock book) ตามกฎหมาย VAT
๐ ต้นทุนประกอบการที่สูงจากการลงทุนในเครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และการควบคุมภายในสำหรับสต็อกสินค้า
๐ ขาดความสมบูรณ์ของระบบเอกสารหลักฐานในการลงบัญชี เช่น ไม่ได้บิลจากการซื้อสินค้า ซึ่งอาจต้องแก้ไขโดยวิธีตั้งหน่วยภาษีเป็นร้านค้าบุคคลธรรมดา เพื่อสามารถหักรายจ่ายเหมาได้ 80% ตามนัยแห่ง พ.ร.ฎ. # 11
๐ การเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของ home office ระหว่างรายจ่ายส่วนตัวกับค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ เช่น การใช้สอยพื้นที่ (ค่าเช่า) ค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ
(3) สินค้าคงเหลือ
เป็นประเด็นหลักอย่างหนึ่งของกิจการซื้อมาขายไป เนื่องจากสินค้ามีหลากหลายสารพัดชนิด ทำให้มีโอกาสชำรุด สูญหายได้ง่าย ซึ่งหากแก้ไขโดยวางระบบควบคุมภายในที่ดี เช่น ต้องตรวจนับสินค้าบ่อยครั้ง กรณีนี้ก็จะเกิดปัญหาด้านภาษีอากร โดยเฉพาะมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ได้วางนิยามของคำว่า ‘ขาย’ ในระบบ VAT ว่าให้หมายความรวมถึงสินค้าขาดหายจากบัญชีคุมฯ ด้วย กรณีนี้จึงต้องรับผิดเสีย ‘ภาษีขาย (VAT 7%)’ และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89(10)) และอาจต้องรับผิดถูกเปรียบเทียบปรับอาญา 2,000 บาท ตามมาตรา 90(14)(15) อีกกระทงหนึ่ง
ในแง่ภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โชคดีที่มี Revenue Ruling เคยตีความว่ากรณีของสินค้าขาดจากรายงานฯ ไม่ถือเป็นรายได้ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร จึงคงเพียงต้องปรับปรุงบัญชีสินค้าคงเหลือให้ถูกต้องตามผลการตรวจนับตามวิธีบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic Inventory หรือ Perpetual Inventory Method ตามแต่กรณี
(4) หุ้นปันผล
บริษัทได้ประกาศจ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นทั้งในรูปของเงินปันผล และหุ้นปันผลนั้น มีแง่มุมทางภาษีหลายประการ ดังนี้ครับ
๐ เงินปันผล ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ 10% และมีสิทธิเลือกว่าจะนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใน ภ.ง.ด. 90 กับเงินได้อื่นหรือไม่ก็ได้ (ม.48(3)) ซึ่งหากรวมก็จะได้รับสิทธิเครดิตภาษีเงินปันผลตามนัยมาตรา 47 ทวิ (dividend credit method)
ผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลนั้น ก็จะได้รับสิทธิลด / ยกเว้น ภาษีเงินได้จำนวนกึ่งหนึ่ง หรือทั้งหมด ตามแต่กรณี ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร
๐ กรณี Employee Stock Option Plan (การให้สิทธิซื้อหุ้นแก่พนักงาน) นั้น ได้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 ในกรณีที่บริษัทให้หุ้นแก่พนักงาน กรรมการ หรือที่ปรึกษา โดยไม่คิดค่าตอบแทน หรือคิดค่าตอบแทนในราคาต่ำกว่าราคาตลาดตามเงื่อนไขพิเศษ ให้ถือว่าผู้รับหุ้นเกิดเงินได้พึงประเมินตาม ‘ส่วนต่าง’ ของราคาตลาดหรือราคา book value ในกรณีที่มีการขายหุ้นให้แก่บุคคลทั่วไป (Public Offering) และไม่มีราคาขายแก่บุคคลภายนอก (Non-Public Offering) ตามลำดับ
(5) ธุรกิจบัตรเงินสด
ของบริษัทย่อยของ CP - 7-ELEVEN โดยดำเนินธุรกิจจำหน่ายบัตรเงินสดให้แก่ตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้านำมาใช้ชำระค่าสินค้า / บริการต่างๆ ตามข้อตกลงกับบริษัทผู้ออกบัตรเงินสดดังกล่าวนั้น มีแง่มุมทางภาษี ดังนี้
๐ การจำหน่ายบัตรเงินสดดังกล่าว ไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือบริการ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT และภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีมีค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการ กรณีนี้จึงต้องเสีย VAT , ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ตามข้อ 12/1 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 4/2528
๐ กรณีของตัวแทนจำหน่ายบัตรเงินสด หากได้รับเงินค่าบริการจัดจำหน่าย กรณีนี้จะถือเป็นบริการ อันอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ตามข้อ 12/1 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 4/2528 เช่นกัน ส่วนกรณีที่ตัวแทนจำหน่ายนำบัตรเงินสดไปขายต่อให้ตัวแทนย่อย จะเข้าลักษณะการขายทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด
(6) การค้ำประกัน
กรณีบริษัทได้ทำการกู้ยืมเงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน โดยให้กิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวนั้น มีแง่มุมภาษีดังนี้
๐ เงินค่าธรรมเนียม / ค่าบริการ หรือประโยชน์อื่นใด อันได้จากการเข้าค้ำประกัน ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% เพราะเข้าลักษณะการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เว้นแต่กรณีผู้ค้ำประกันมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ จึงจะได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าว
๐ กรณีที่มีการค้ำประกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ หรือคิดค่าตอบแทนระหว่างกันในราคาต่ำ เจ้าพนักงานประเมินฯ มีอำนาจที่จะประเมินค่าตอบแทนดังกล่าวให้เป็นไปตามราคาตลาด เพื่อเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและธุรกิจเฉพาะได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ |
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน
![]() ![]() ![]() ![]() |