หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (5)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 10 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (5)

 หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (5)

‘ธุรกิจร้านกาแฟ’ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจการที่เปิดง่าย ขายคล่อง ไม่ต้องลงทุนสูง จึงเป็น trend ที่ฮิตทั้งผู้ขายและผู้บริโภค !
 
เจ้าตลาดก็คือ STARBUCKS ซึ่งขยายถึง 6,000 สาขา ใน 30 ประเทศทั่วโลก ตำนานของ Starbucks เริ่มต้นใน ค.ศ.1971 ที่ Pike Place Market, Seattle, USA ซึ่งเป็นร้านกาแฟแห่งแรกของเจ้านี้ โดยตั้งชื่อจากตัวละครในเรื่อง Moby Dick ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับปลาวาฬ โดยเชื่อว่าการนำสิ่งที่อยู่ไกลโพ้นทะเลมาตั้งเป็นชื่อร้าน ก็เปรียบเสมือนการเสาะหาเมล็ดกาแฟที่ดีที่สุดมาให้ลูกค้านั่นเอง!
Starbucks เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ปันหุ้นให้กับพนักงาน และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ในปี ค.ศ.1990 ซึ่งมีข้อดีอเนกอนันต์ อาทิเช่น มีภาพพจน์ดีเยี่ยม ได้รับความเชื่อถือในจริยธรรม และธรรมาภิบาล ได้เม็ดเงินลงทุนจากตลาดหุ้นเพื่อมาขยายกิจการไปทั่วโลก ซึ่งข้อดีของการเข้าจดทะเบียนใน NYSE คือ เป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และกรณีเกิดขาดทุนจากการขายหุ้น (capital losses) ก็สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 3,000 USD โดยนำมาหักจากรายได้ เงินเดือน เงินปันผล และดอกเบี้ย เป็นต้น
กล่าวสำหรับประเทศไทย ร้านกาแฟที่โดดเด่นเป็นพระเอก ก็คือ ‘บ้านใร่กาแฟ’ ซึ่งกำลังเนื้อหอม/เติบใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว !
1.พลิกปูม…บ้านไร่กาแฟ
“บ้านไร่กาแฟ” เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นกาแฟไทยคุณภาพสดจากไร่ ซึ่งเริ่มจากการพัฒนารูปแบบในการนำเสนอ ภายใต้ความเชื่อที่ว่านักดื่มกาแฟ หรือคอกาแฟย่อมต้องการกาแฟคุณภาพและต้องมีสุนทรียภาพ เป็นบ้านและกาแฟสำหรับเส้นทางของนักเดินทาง
“บ้านไร่กาแฟ” เน้นเอกลักษณ์ของความเป็นกาแฟไทยคุณภาพสดจากไร่ ซึ่งเริ่มจากการพัฒนารูปแบบในการนำเสนอ ภายใต้ความเชื่อที่ว่านักดื่มกาแฟ หรือคอกาแฟย่อมต้องการกาแฟคุณภาพและต้องมีสุนทรียภาพ เป็นบ้านและกาแฟสำหรับเส้นทางของนักเดินทาง
นอกจากนี้ยังมีด้านการออกแบบนำเสนอในเรื่องของตัวอาคาร และผลผลิตที่เป็นกาแฟคุณภาพของไทย รวมถึงกระบวนการและขั้นตอนในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นกาแฟคุณภาพ ชื่อยี่ห้อไทย
รวมทั้งแรงจูงใจจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่เป็นจุดกำเนิดของธุรกิจบ้านไร่กาแฟซึ่ง บริษัท ออกแบบไร่นา (ประเทศไทย) จำกัด จะดำเนินและพัฒนาธุรกิจกาแฟของไทยให้สู่ระดับมาตรฐานสากล ภายใต้คำว่า "บ้านไร่ไทยแท้ๆ" (BANRIE THAI STYLE) ปัจจุบัน บริษัท ขยายสาขาไปแล้ว 69 แห่ง! โดยมีผลประกอบการ ดังนี้ ครับ
//////////////////////////////////////////////
ปี 2548 ปี 2547
รายได้หลัก 120,250, 588 113, 427, 915
ต้นทุนขาย 76, 380, 244 71, 439, 973
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 42, 382, 056 40, 956, 980
ภาษีเงินได้ 283, 420 247, 225
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1, 204, 867 827, 738
///////////////////////////////////
2.หมายเหตุภาษี…บ้านไร่กาแฟ
จากงบการเงินเปรียบเทียบของปี 2547-2548 พบว่าบริษัท มีอัตราการเติบโตทั้งด้านยอดขายและกำไรสุทธิ ซึ่งหากสามารถขาย franchise ได้ราคาดี และเพิ่ม product line ก็จะสามารถเติบโตต่อไปได้อีกมาก
(1) การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์
เป็นสิ่งที่ควรกำหนดเป็นเป้าหมาย โดยอาจวางแผน (master plan) การเติบโตในรูปของโรงเรียนสอนการทำกาแฟ และอาหารเครื่องดื่ม รวมถึงการขยายสู่โรงเรียนเกษตรกรรม ซึ่งได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากมาย กล่าวคือ
ธุรกิจร้านกาแฟ สามารถประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 25% (SET) หรือ 20% (MAI) ตามแต่กรณี เป็นเวลา 3 รอบบัญชี (พ.ร.ฎ. # 467)
ธุรกิจโรงเรียน เป็นธุรกิจเดียวที่ได้รับการยกเว้นภาษีอากรทุกประเภท ทั้งในระดับบริษัทและระดับผู้ถือหุ้น กล่าวคือ ตัวบริษัท ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และยกเว้น VAT ส่วนผู้ถือหุ้นก็ได้รับยกเว้นภาษีเงินปันผล
(2) การขาย franchise
ด้วยมูลค่าการตลาด 2,000 - 5,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีจุดขายสำคัญตามย่านชุมชนต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล หน้ามหาวิทยาลัย ปั๊มน้ำมัน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ร้านขายหนังสือ ธนาคาร สปอร์ตคลับต่างๆ โรงภาพยนตร์ เป็นต้น ผนวกกับนโยบายห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกระแสสุขภาพที่กำลังมาแรง จึงถือเป็นจุดหักเหที่สำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ให้หันมาบริโภคชา กาแฟ น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ทั้งหลายให้ได้เฮสนั่น
ดังนั้น ใครที่คิดจะหาอาชีพหลัก/อาชีพเสริม โดยมายึด อาชีพขายกาแฟ จึงเป็นธุรกิจ SME ที่มีอนาคตไกล ซึ่งในที่นี้ขอแนะนำกลยุทธ์ภาษีพอสังเขปดังนี้ครับ
1. ร้านกาแฟ - เจ้าของคนเดียว ง่ายที่สุดคือการซื้อแฟรนไชส์ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งต้องจ่ายเงินค่าแรกเข้า 50,000 - 200,000 บาท ต่อสาขา อายุ 10 ปี และอาจต้องเสียค่า Royalty Fee ประมาณ 3% ของยอดขาย ค่าอุปกรณ์ เครื่องใช้และค่าตกแต่งร้านประมาณ 500,000 - 2 ล้านบาท (ตามขนาด 6 - 40 ตร.ม.) ค่าซื้อสินค้า (กาแฟ ของว่าง) ตามปริมาณยอดขาย และค่าเช่าร้าน
ระยะเวลาคืนทุนขึ้นอยู่กับยอดขาย ซึ่งขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งเป็นสำคัญ ถ้าได้ทำเลที่ผู้คนสัญจร หรือตามศูนย์อาหาร แน่นอนว่าคุ้มค่าแน่นอน เพราะอัตรากำไรขั้นต้น (gross profit) เฉลี่ยต่อแก้วอยู่ที่ 50%
รูปแบบของหน่วยภาษี (tax entity) ควรเป็นรูปบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ซึ่งมีสิทธิเลือกหัก ค่าใช้จ่ายเหมาได้ถึง 70% (พ.ร.ฎ.# 11 มาตรา 8 (7) แห่งประมวลรัษฎากร) และไม่ต้องมีภาระจัดทำบัญชี และไม่ต้องทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ตามกฎหมาย VAT อีกด้วย
2. ร้านกาแฟ - เจ้าของแฟรนไชส์ ซึ่งมีอยู่หลายเจ้าที่มุ่งขยายธุรกิจในรูปของการขาย franchise นั้น ค่า franchise fee สามารถเลือกเสียภาษีโดยกระจายรายได้เฉลี่ยตามอายุของสัญญา (ปกติคือ 10 ปี) ทำให้ประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเสียภาษีช้าลง แต่ในกรณีที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (MAI/SET) ซึ่งได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20% - 25% เป็นเวลา 3 ปี ก็จะประหยัดภาษีในช่วง 3 ปีแรกได้อย่างชัดเจน
ส่วนบริษัทกาแฟที่กำลังแต่งตัวเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น แน่นอนว่ารายได้หลักที่เป็นกอบเป็นกำจะมาจากค่า franchise fee ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องมี business plan และการประมาณการรายได้สัก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อขยายสาขามากเท่าใด ก็มีโอกาสทำรายได้จากค่า Royalty fee และค่าขายกาแฟและอาหารของว่างต่างๆ ตามไปด้วย เพราะราคาหุ้นจะขึ้นกับโอกาสการทำกำไรในอนาคตเป็นเกณฑ์
สำหรับกลยุทธ์ภาษีควรจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดเพียงบริษัทเดียว เพื่อสร้างมูลค่าการตลาดให้สูงสุด ซึ่งรายได้หลักส่วนหนึ่งน่าจะเป็นค่า franchise fee จากต่างประเทศ ซึ่งค่า franchise fee ดังกล่าว จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ที่ source country ในอัตรา 15% (ลดเหลือ 10% หากมีอนุสัญญาภาษีซ้อน) ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว หากเป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการเครดิตภาษีเงินปันผล (ม.47 ทวิ) และยกเว้นภาษี เงินได้จากการขายหุ้น (capital gains) ตามนัยแห่งกฎกระทรวง #126 มาตรา 2 (23) แห่งประมวลรัษฎากร
3.ส่งท้าย
ความจริง โอกาสดีๆ ในการทำธุรกิจที่ดีๆ ยังมีอีกมาก ตามแต่ความถนัดของแต่ละคน
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ระบบการศึกษาของบ้านเรา มุ่งไปสร้างคนเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดงานเพื่อกินเงินเดือนเท่านั้น ทำให้ฐานรากของกิจการ SME ไม่เติบโต ไม่แข็งแกร่ง และขาดเทคโนโลยีสนับสนุนเท่าที่ควร
แม้ในยุคนี้ (ปฏิวัติ) เป็นโอกาสที่ดีที่จะวางพื้นฐานการศึกษาของชาติ แต่ก็ยังไม่เห็นแม้แต่แนวคิดหรือนโยบายใดๆ สักนิดเดียว!
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์



หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน

หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (6)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (4)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (3)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (2)