หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (6)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (6)

 หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (6)

ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ชอบออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมาหลายปีแล้ว…ซึ่งได้ผลดีมากต่อทั้งร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ โดยสังเกตได้จากผลการตรวจร่างกาย ผลตรวจเลือด และชีพจรการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
 
การออกกำลังกายยังช่วยผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจ (เบิกบาน) ให้นักธุรกิจและนักวิชาการ (ที่ใช้สมอง) ได้ดีที่สุด…สังเกตได้จากผู้เขียนเอง วันใดที่เคร่งเครียดจากงาน ลองได้จ๊อกกิ้งสัก 15 นาทีผ่านไป พอเหงื่อเริ่มซึม ความเครียดก็จะลดลงทันที…ครั้นวิ่งผ่านไป 40 นาที จิตจะสงบ + ร่างกายจะสดชื่นแจ่มใส คล้ายได้ยาโด๊ปอย่างดี…ผลที่ตามมาก็คือ บุคคลนั้นจะเบิกบาน อารมณ์แจ่มใส และผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวล + ไม่แก่เร็ว…ว่างั้นเถอะ (แฮ่ๆ)
ทุกวันนี้ มี Fitness ที่ดีๆ ในลักษณะครบวงจรอยู่หลายแห่ง เช่น Sport Club, North Park, ปิยรมย์ สปอร์ตคลับ เป็นต้น ซึ่งในที่นี้ขอยกเอางบการเงินของราย California WOW มาหมายเหตุภาษี เพื่อเป็นกรณีศึกษาถึงกลยุทธ์การประหยัดภาษี พอสังเขปดังนี้ครับ
1.พลิกปูม… California WOW
California WOW ถือเป็นเจ้ายุทธจักรอันดับ 1 ในวงการ Fitness Centers ของประเทศไทย โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง Mr.Eric Mark Levine กับบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดยจัดตั้งขึ้นในปี 2543 ในชื่อบริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ส จำกัด ต่อมาได้ทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เป็นบริษัทมหาชนจำกัดในปี 2547 ปัจจุบันมี 10 สาขา สมาชิกร่วม 100,000 ราย โดยตั้งเป้าขยายส่วนครองตลาดให้ถึง 250,000 ราย ภายในปี 2553 สำหรับผลประกอบการของบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด (มหาชน) ในปี 2548-2549 เป็นดังนี้
หน่วย : บาท
2549 2548
รายได้ค่าบริการ 1,219,816,199 791,447,498
รายได้อื่น 10,263,822 4,334,743
ต้นทุนค่าบริการ 748,867,557 432,050,883
ค่าโฆษณาและค่าการตลาด 78,069,110 40,102,118
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 356,931,228 222,286,166
ดอกเบี้ยจ่าย 19,069,293 147,102
ภาษีเงินได้ - 28,197,181
กำไรสุทธิ 29,484,111 72,998,791
2.หมายเหตุภาษี … วิเคราะห์กลยุทธ์ภาษี & ธุรกิจ
จากงบการเงินเปรียบเทียบของปี 2547-2548 พบว่าบริษัท มีอัตราการเติบโตทั้งด้านยอดขายและกำไรสุทธิ ซึ่งหากสามารถขาย franchise ได้ราคาดี และเพิ่ม product line ก็จะสามารถเติบโตต่อไปได้อีกมาก
บ่งชี้ว่าบริษัทมีปัญหา 2 ด้าน คือ ด้านรายได้ต่อหน่วย มียอดลดลงอันเนื่องจากสภาพการแข่งขัน ทำให้ต้องลดราคาค่าสมาชิก และ/หรือ ค่าบริการลงมา ส่วนด้านรายจ่ายก็เพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ตามสัดส่วนการขยายตัวของธุรกิจ ในลักษณะต้นทุนผันแปรต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการลงทุนด้านบุคลากร (variable cost) ในสัดส่วนที่เพิ่มสูงกว่าต้นทุนคงที่ (fixed cost) เช่น เครื่องอุปกรณ์กีฬา และค่าใช้จ่ายสถานที่ ดังนั้นหากต้องการให้เกิดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ก็ต้องหาวิธีควบคุม variable cost ให้ต่ำลง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ก็จะมีโอกาสบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่วางเป้าหมายในปี 2553 ได้
กล่าวในมุมภาษี โดยวิเคราะห์จากงบการเงินและข้อมูลอื่นๆ นอกงบการเงิน มีประเด็นภาษีที่น่าสนใจ ดังนี้ครับ
(1) การจดทะเบียนเข้าตลาด SET ..
การจดทะเบียนเข้าตลาด SET นั้น เป็นที่ชัดเจนว่า บริษัทจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้ง 2 ระดับ คือ ตัวบริษัทได้รับการลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 25% เป็นเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.ฎ. # 387 แต่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนอัตราภาษีนิติบุคคลตาม พ.ร.ฎ. # 467 พ.ศ.2550 เพราะเป็นบริษัทที่เคยได้สิทธิอยู่เดิมตาม พ.ร.ฎ.ฉบับเก่า
นอกจากนั้นยังได้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินปันผลในระดับผู้ถือหุ้น ทั้งกรณีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดา (ม.47 ทวิ) และบริษัท (ม.65 ทวิ (10)) ตามแต่กรณี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว ก็เป็นเช่นเดียวกับบริษัทจดทะเบียนรายอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนเข้า SET ยังมีข้อบวกอีกหลายประการ ทั้งในเชิงธุรกิจ & ภาษี เช่น สามารถระดมเงินทุนได้ง่าย โดยปราศจากต้นทุนทางการเงิน (เพราะไม่ต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน) นอกจากนั้น ผลประโยชน์ทางอ้อมที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ (Mr.Eric Mark Levine) จะได้รับก็คือ กรณีมีกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งจำนวน ตามนัยของกฎกระทรวง ฉบับ 126 ข้อ 2(23) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) เงินลงทุนด้านอุปกรณ์กีฬา
การลงทุนในเครื่องไม้เครื่องมือบริหารร่างกาย เช่น ลู่วิ่งสายพาน ชุดยกน้ำหนัก เครื่องมือบริหารกล้ามเนื้อทุกส่วนสัด เครื่องปั่นจักรยาน เป็นต้น…ซึ่ง Fitness Center แต่ละแห่งจะต้องเตรียมให้เพียงพอหลายๆ ชุด โดยส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะราคาแพงแล้ว ยังมีต้นทุนอื่นๆ มาเกี่ยวข้องคือ ภาษีศุลกากร, VAT 7% (ขอคืนได้) เป็นต้น
ถามว่าจะประหยัดภาษีเหล่านี้ได้อย่างไร…
1) ภาพแรกคือ ต้องหาหนทางลดภาระภาษีศุลกากรลงมา ตัวอย่างเช่น สั่งซื้อผ่านประเทศที่มีข้อตกลงลดภาระภาษีศุลกากรกับประเทศไทย (ถ้ามี) เช่น ประเทศที่อยู่ในภาคี AFTA หรือที่ทำสนธิสัญญาเขตการค้าเสรี (FTA) กับไทย เป็นต้น…แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาว่าข้อตกลงกับประเทศใดบ้างที่มีการระบุการลด / ยกเว้นภาษีศุลกากรแก่สินค้าใด อย่างไรบ้างหรือไม่
2) ในระดับถัดมาก็คือ การพิจารณาว่าจะเช่า / เช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง (Leasing)…ซึ่งแต่ละทางเลือกจะมีภาระภาษีแตกต่างกัน (ดังตารางที่แสดง)
ประเภทภาษี ทางเลือก ภาษีนิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
การเช่า หักเป็นรายจ่ายได้ทันทีทั้งจำนวน 5%
ลิสซิ่ง หักเป็นรายจ่ายได้ทุกงวดที่ผ่อน ยกเว้นตาม ทป. 34/2534
เช่าซื้อ บันทึกเป็นสินทรัพย์และหักค่าเสื่อมราคา -
(3) การลงทุนในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เรื่องของเงินลงทุนในสถานที่ คือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น มีแง่มุมที่ควรต้องพิจารณาเป็น 2 ทางเลือก คือ การเช่า หรือ ซื้อทรัพย์สิน
กรณีซื้อทรัพย์สิน (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ไม่ว่าจะโดยวิธีซื้อที่ดินดิบ + ว่าจ้างปลูกสร้างอาคาร หรือจะโดยวิธีซื้อพื้นที่บนอาคารสำนักงาน (ตึกสูง)…ล้วนแต่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล ทำให้ต้องใช้ทุนจดทะเบียนบริษัทจำนวนมากหรือต้องกู้ยืมเงินจำนวนมาก…แต่หักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เฉพาะส่วนของอาคารและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น ไม่อาจหักรายจ่ายในส่วนของที่ดินดิบ หรือมูลค่าปันส่วนของพื้นที่ส่วนกลาง (กรณีซื้อคอนโด) ได้เลย…แต่ในระยะยาวหากเป็นทำเลที่ดี ก็จะได้ประโยชน์จากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ดังกล่าว…สรุปก็คือ ในการวิเคราะห์ปัญหา นอกจากต้องมองหลายมิติ และมองสั้น / มองยาวแล้ว ยังขึ้นกับโชคด้วย ว่าที่ดินของตนจะมี up side gains เท่าใด
กรณีเช่าอาคารหรือสำนักงาน ข้อดีชัดเจน นอกจากจะประหยัดเม็ดเงินลงทุนของธุรกิจแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่าด้วย เพราะถ้าเกิดพลาดพลั้ง (ทำไม่ขึ้น) ก็จะได้ถอยได้ง่ายและสะดวก + เจ็บตัวน้อยกว่า
นอกจากนั้น ค่าเช่าอาคารยังสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวนทันทีในปีที่จ่าย โดยไม่จำต้องทยอยตัดในรูปค่าเสื่อมราคา เหมือนกรณีซื้ออาคาร…แต่การเช่าก็มีข้อด้อยหลายประการ เพราะมันกำหนดเป็นสัญญาระยะสั้น (ไม่เกิน 3 ปี) ซึ่งถ้าเกิด (ฟลุค) ธุรกิจติดตลาด ก็อาจต้องย้ายสถานที่บ่อยๆ ทำให้ลูกค้าหดหาย + ต้องสร้างลูกค้าใหม่ๆ อยู่ร่ำไป!
(4) การจำหน่ายจ่ายโอนใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น
ตราสารทางการเงินประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (warrant) สามารถซื้อขายจำหน่ายจ่ายโอนได้เช่นเดียวกับใบหุ้น ซึ่งในกรณีของ California WOW ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ย่อมส่งผลให้ผู้ถือใบ warrant ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา สามารถได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากกำไร (capital gain) ที่ได้จากการจำหน่ายจ่ายโอนตราสารดังกล่าวในตลาดหลักทรัพย์ ตามนัยของกฎกระทรวงฉบับ 126 ข้อ 2 (23) เช่นเดียวกันกับกรณีการซื้อขายใบหุ้นทั่วไป
ตามทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น ปรากฏว่ามีผู้ถือหุ้นบุคคลธรรมดารายใหญ่ 3 ราย (Mr.Eric Mark Levine, นางสาวคุณีรัตน์ แววมณีวรรณ และนางพรนภัส องค์วาสิฏฐ์) ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์จากการเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ ด้วยอีกโสตหนึ่ง ส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นบริษัทจำกัด คงได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหรือยกเว้นภาษีเงินปันผลตามนัยมาตรา 65 ทวิ (10) แต่ประการเดียวเท่านั้น
(5) รายได้ค่าสมาชิก
รายได้ค่าสมาชิกที่เป็นเงินก้อน (membership fee) ซึ่งมีอายุสมาชิกหลายปีถึงตลอดชีพนั้น บริษัทสามารถเลือกวิธีกระจายรายได้โดยเฉลี่ยตามอายุของการเป็นสมาชิกแต่ไม่เกิน 10 ปี ตามนัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.73/2541 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528 ข้อ 3.8
วิธีกระจายการรับรู้รายได้ดังกล่าว จะแตกต่างจากหลักเกณฑ์ทางบัญชี ซึ่งกำหนดให้บริษัท สามารถเฉลี่ยเงินได้ตามอายุการเป็นสมาชิก โดยไม่มีการจำกัดเพดานจำนวนปีสูงสุด กรณีจะทำในช่วงปีต้นๆ บริษัทอาจต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิทางบัญชี (GAAP profit) ส่วนในปีท้ายๆ ผลลัพธ์จะเป็นในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ แม้งบการเงินทางบัญชีจะแสดงกำไรสุทธิไว้สูง แต่กลับไม่มีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งถูกเก็บไปมากในช่วงต้นๆ ปีแห่งอายุสมาชิกไปแล้ว
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 



หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน

หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (5)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (4)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (3)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (2)