บริษัท เอสเอ็มแอล ออดิท จำกัด เลขทะเบียนนิติบุคคล 0115555017811 -สาขาบางนา,สมุทรปราการ
ที่อยู่ : เลขที่ 599/43 ซอยก่อนตึกแอคเซียม ถนนกิ่งแก้ว-บางพลี หมู่ 7 ตำบล : บางพลี
อำเภอ : บางพลี จังหวัด :สมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ : 10540
มือถือ : 080-553-7088 /080-5537077 โทร :023494340 /02-758-8994 แฟกซ์ : 021020819
อีเมล :sale@smlaudit.com, smlaudit@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.smlaudit.com
เงินได้พึงประเมิน (10) เงินได้พึงประเมิน (10) ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน
ขอนำประเด็นการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เป็นเงินได้จากกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ได้รับยกเว้นมีรายการใดบ้าง
วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีดังกล่าว ได้แก่
1. เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ตามมาตรา 42(25)
2. เงินได้เท่ากับที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (35)
3. เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ดังนี้
(1) กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
(2) กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ลูกจ้างนั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ไม่ว่าเหตุทุพพลภาพนั้นจะเกิดขึ้น เนื่องจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่ก็ตาม
(3) กรณีตาย ไม่ว่าการตายนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างหรือไม่
ทั้งนี้ ลูกจ้างต้องมีหลักฐานจากนายจ้าง เพื่อรับรองว่าลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (36)
4. เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (43)
5. เงินหรือประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เนื่องจากออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70) ดังนี้
(1) กรณีเหตุสูงอายุ สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือลาออกเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์แล้ว
(2) กรณีทุพพลภาพ สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วย เจ็บ ทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ลูกจ้างนั้นไม่สามารถที่จะทำงานในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
(3) กรณีเหตุทดแทน สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิก หรือยุบตำแหน่ง หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
(4) กรณีตาย สำหรับสมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (44) ปุจฉา รายการเงินได้ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีเงื่อนไขอย่างไร วิสัชนา เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องเป็นค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปทั้งหมดในการรักษาพยาบาล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (4) ทั้งนี้ สำหรับ
1. ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
2. ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เป็นเงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบมีหลักเกณฑ์อย่างไร
วิสัชนา รายการเงินได้ดังกล่าว ได้แก่ เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (34)
"เครื่องแบบ" หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่า เช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก
"เสื้อนอก" หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทาน และเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
ที่มา http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic |
เงินได้พึงประเมิน