เงินได้พึงประเมิน (11)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 10 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน (11)

 เงินได้พึงประเมิน (11)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน
 
ขอนำประเด็นการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา มูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อปี และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี นายจ้างต้องนำไปรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
วิสัชนา ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นนายจ้าง ไม่ต้องนำมูลค่าของเครื่องแบบดังกล่าวไปนับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ข้อ 2 (10)
ปุจฉา เงินได้ที่ในส่วนที่เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่มที่นายจ้างจัดหาให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างระหว่างเวลาปฏิบัติงาน ตามระเบียบสวัสดิการของพนักงานหรือลูกจ้าง โดยมูลค่าของอาหารหรือเครื่องดื่มดังกล่าวราคาไม่เกินสมควร ต้องนำไปถือรวมเป็นประโยชน์เพิ่มที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกจ้างหรือไม่ อย่างไร
วิสัชนา รายการเงินได้ดังกล่าว เป็นรายการที่นายจ้างไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ข้อ 2 (8) เช่นเดียวกับมูลค่าของเครื่องแบบดังกล่าว แต่พนักงานหรือลูกจ้างจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะไม่มีการกำหนดรายการดังกล่าวให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้แต่อย่างใด
ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนที่เป็นเงินได้ค่าจ้างตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีรายการใดบ้าง
วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีดังกล่าว ได้แก่
1. เงินได้ส่วนที่เป็นค่าจ้างการทำงาน ในระยะเวลาปิดภาคการศึกษาของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนิสิตที่เข้ามาศึกษา ณ สถานศึกษาในประเทศไทย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (3)
2. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ โดยให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (12)
3. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการต่างประเทศ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (13)
4. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก
(1) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย
(2) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (16)
5. เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าว และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคมยุโรป ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (31)
6. เงินได้ที่ผู้ว่าการ ผู้ว่าการสำรอง พนักงาน ลูกจ้าง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานของธนาคารพัฒนาเอเชียได้รับจากธนาคารดังกล่าว พระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ.2509)
7. เงินได้ที่เป็นเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ได้รับจากศูนย์วิจัยวนเกษตรนานาชาติ เนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและศูนย์วิจัยเกษตรนานาชาติ (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (47))
ปุจฉา เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานบนเรือไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชย์นาวี ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา เงินได้ดังกล่าวลูกจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (39)
  
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic



เงินได้พึงประเมิน

ทำไมต้องยื่นแบบภาษีเงินได้
เงินได้พึงประเมิน (13)
เงินได้พึงประเมิน (12)
เงินได้พึงประเมิน (10)
เงินได้พึงประเมิน (9)
เงินได้พึงประเมิน (8)
เงินได้พึงประเมิน (7)
เงินได้พึงประเมิน (6)
เงินได้พึงประเมิน (5)
เงินได้พึงประเมิน (4)
เงินได้พึงประเมิน (3)
เงินได้พึงประเมิน (2)