บริษัท เอสเอ็มแอล ออดิท จำกัด เลขทะเบียนนิติบุคคล 0115555017811 -สาขาบางนา,สมุทรปราการ
ที่อยู่ : เลขที่ 599/43 ซอยก่อนตึกแอคเซียม ถนนกิ่งแก้ว-บางพลี หมู่ 7 ตำบล : บางพลี
อำเภอ : บางพลี จังหวัด :สมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ : 10540
มือถือ : 080-553-7088 /080-5537077 โทร :023494340 /02-758-8994 แฟกซ์ : 021020819
อีเมล :sale@smlaudit.com, smlaudit@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.smlaudit.com
เงินได้พึงประเมิน (13) เงินได้พึงประเมิน (13) ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน
ขอนำประเด็นการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีอย่างไรบ้าง
วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้มีดังนี้
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะซึ่งผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น (มาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร)
อย่างไรก็ตาม เงินได้ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะเหมาจ่ายในอัตราไม่เกินค่าพาหนะหรือค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ก็ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 59/2538
2. ค่าพาหนะ และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันได้แก่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (มาตรา 42 (2) แห่งประมวลรัษฎากร)
3. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ (มาตรา 42 (7) แห่งประมวลรัษฎากร)
4. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด (มาตรา 42 (12) แห่งประมวลรัษฎากร)
5. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (8))
6. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (9))
เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินได้ที่เป็นค่าอาหารทำการนอกเวลา (overtime) มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้เฉพาะกรณีที่ทางราชการเป็นผู้จ่ายเงินได้เท่านั้น สำหรับเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจก็ดี หรือนายจ้างที่เป็นภาคเอกชนก็ดี จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีแต่อย่างใด
7. เงินได้ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้รับจากรัฐบาลของตน ทั้งนี้ ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (12))
8. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนและเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้แทนของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยได้รับจากคณะกรรมการต่างประเทศ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (13))
9. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ที่คนต่างด้าวที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับจาก
(1) คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานในการปฏิบัติงานในประเทศไทย
(2) รัฐบาลแห่งประเทศของตนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อพยพจากอินโดจีนในประเทศไทย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (16))
10. เงินได้ที่ผู้เชี่ยวชาญของประชาคมยุโรปที่เป็นคนต่างด้าว และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้รับเนื่องจากการเข้ามาทำงานในประเทศไทย ภายใต้โครงการความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้รับจากประชาคมยุโรป (กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (31))
11. เงินได้ที่ผู้ว่าการ ผู้ว่าการสำรอง กรรมการ กรรมการสำรอง พนักงาน ลูกจ้าง รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานของธนาคารพัฒนาเอเชียได้รับจากธนาคารดังกล่าว (พระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย พ.ศ. 2509)
12. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (55))
13. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น แต่ไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (66))
ที่มา http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic |
เงินได้พึงประเมิน