เงินได้พึงประเมิน (3)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 11 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน (3)

 เงินได้พึงประเมิน (3)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน
 
ขอนำประเด็นเงินได้พึงประเมินมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย กับแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่กำหนดเป็นหลักแหล่งเงินได้ และหลักถิ่นที่อยู่อย่างไร
วิสัชนา อาจสังเกตได้ว่า การจัดเก็บภาษีเงินได้จากแหล่งเงินได้ต่างๆ ตามประมวลรัษฎากรดังกล่าว พิจารณาได้ว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ (SOURCE RULE) และสำหรับการจัดเก็บภาษีจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีตาม หลักถิ่นที่อยู่ (RESIDENT RULE)
โดยเหตุที่การจัดเก็บภาษีเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย และแหล่งเงินได้ในต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร ในนานาอารยประเทศก็ได้กำหนดหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ในลักษณะเดียวกับประเทศไทย จึงก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีตามหลักแหล่งเงินได้ของประเทศไทย กับการจัดเก็บภาษีเงินได้ตามหลักถิ่นที่อยู่ หรือหลักสัญชาติของประเทศอื่น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการไหลเวียนของกระแสเงินทุนและทรัพยากรระหว่างประเทศ ประเทศต่างๆ จึงได้ทำความตกลงกันเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างกัน (DOUBLE TAXATION AGREEMENT: DTA) ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้ทำอนุสัญญาหรือความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆ กว่า 50 ประเทศ อาทิ สวีเดน เบลเยียม โปแลนด์ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ แคนาดา อินเดีย ฟินแลนด์ ออสเตรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย ฮังการี เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง
ปุจฉา กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้อย่างไร
วิสัชนา กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 7/2528 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2528 กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวดังนี้
1.กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นำค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก และเพื่อความสะดวกในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว นายจ้างซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน หรือลูกจ้างอาจใช้ตารางการคำนวณภาษีเงินได้ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก
2.กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งไว้แล้ว ให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าว ถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีนั้นลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง
3.ให้นำความในข้อ 1 และข้อ 2 ไปใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้าง หรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ทุกประเภท
4.กรณีนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้ สำหรับเงินได้ประเภทใน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใดๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตามให้ถือว่า เงินค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นเงินได้ของประเภทและของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้ อาจทำให้ผู้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ด้วย
ปุจฉา จะสังเคราะห์ประเภทเงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภทตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ให้เป็นไปตามบ่อเกิดเงินได้เงินได้พึงประเมินได้หรือไม่
วิสัชนา อาจสังเคราะห์ประเภทเงินได้พึงประเมินตามบ่อเกิดแห่งเงินได้พึงประเมินได้ดังนี้
1.เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้ประเภทที่ 1 เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และเงินได้ประเภทที่ 2 เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้
2.เงินได้เนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงินได้ประเภทที่ 3 ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ซึ่งมีลักษณะเป็นเงินได้จากทรัพย์สินทางปัญญา (INTELLECTUAL PROPERTIES) และเงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งล้วนแต่เป็นผลได้จากทุน (CAPITAL GAIN)
3.เงินได้เนื่องจากกิจการที่ทำ ได้แก่ เงินได้ประเภทที่ 5 เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน เป็นต้น เงินได้ประเภทที่ 6 เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ และเงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
 
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic



เงินได้พึงประเมิน

ทำไมต้องยื่นแบบภาษีเงินได้
เงินได้พึงประเมิน (13)
เงินได้พึงประเมิน (12)
เงินได้พึงประเมิน (11)
เงินได้พึงประเมิน (10)
เงินได้พึงประเมิน (9)
เงินได้พึงประเมิน (8)
เงินได้พึงประเมิน (7)
เงินได้พึงประเมิน (6)
เงินได้พึงประเมิน (5)
เงินได้พึงประเมิน (4)
เงินได้พึงประเมิน (2)