เงินได้พึงประเมิน (9)
ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 9 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินได้พึงประเมิน (9)

 เงินได้พึงประเมิน (9)

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน
 
ขอนำประเด็นเงินได้พึงประเมินมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา รายการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จัดเป็นหมวดหมู่ได้อย่างไรบ้าง
วิสัชนา รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะเดินทาง
2. เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง เงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และสวัสดิการอื่นที่ได้จากทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
3. เงินได้จากกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
4. ค่ารักษาพยาบาล
5. เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบ
6. เงินได้ค่าจ้างตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
7. เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานบนเรือไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชย์นาวี ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
8. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
9. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ปุจฉา รายการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นค่าเบี้ย หรือพาหนะเดินทาง นอกจากค่าเบี้ยเลี้ยง หรือค่าพาหนะนอกจากค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะซึ่งลูกจ้าง หรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น มีรายการใดอีกบ้าง
วิสัชนา รายการยกเว้นนอกจากรายการเงินได้ตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่
1. ค่าพาหนะ และค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งในปัจจุบันได้แก่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 ตามมาตรา 42 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมด โดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานในครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิมและในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วันนับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง ตามมาตรา 42 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ปุจฉา รายการเงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง เงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และสวัสดิการอื่นที่ได้จากทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีรายการใดบ้าง
วิสัชนา รายการเงินเพิ่มพิเศษ ที่เป็นสวัสดิการของทางราชการที่ได้รับยกเว้นประกอบด้วย
1. เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่ง และเงินค่าเช่าบ้านหรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูต หรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ ตามมาตรา 42 (5) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เงินได้ที่ทางราชการจ่ายให้เป็นเงินค่าเช่าบ้าน หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร (เช่น เงินค่าเบี้ยกันดารสำหรับข้าราชการประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือน) เงินยังชีพ หรือเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (6)
3. เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความเป็นจริง หรือเงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่รัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (8)
4. เงินช่วยการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าเบี้ยกันดาร หรือเงินยังชีพที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (9)
5. เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ ตามมาตรา 42 (7) แห่งประมวลรัษฎากร
6. บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด ตามมาตรา 42 (12) แห่งประมวลรัษฎากร
7. ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และค่าชดเชยที่พนักงานได้รับตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดการจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกินสามแสนบาท (กฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (51) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2541 เป็นต้นไป)
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
 
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic



เงินได้พึงประเมิน

ทำไมต้องยื่นแบบภาษีเงินได้
เงินได้พึงประเมิน (13)
เงินได้พึงประเมิน (12)
เงินได้พึงประเมิน (11)
เงินได้พึงประเมิน (10)
เงินได้พึงประเมิน (8)
เงินได้พึงประเมิน (7)
เงินได้พึงประเมิน (6)
เงินได้พึงประเมิน (5)
เงินได้พึงประเมิน (4)
เงินได้พึงประเมิน (3)
เงินได้พึงประเมิน (2)