ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 8 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน

 หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (1)

หมายเหตุภาษีในงบการเงิน (Tax Notes from Tax Expert) เป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่เป็นประโยชน์มหาศาลต่อการบริหารภาษี/วางแผนภาษีขององค์กร
 
บทความมินิซีรีส์ชุดนี้ จะทยอยนำเสนอตัวอย่างของ ‘หมายเหตุภาษีประกอบงบการเงิน’ มาเป็นกรณีศึกษา เพราะใกล้ฤดูปิดงบการเงินและฤดูชำระภาษี (อีกแล้ว) …โดยขอเริ่มที่เจ้าดัง/อร่อยในตลาดหลักทรัพย์ คือ บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (OISHI) ดังนี้ครับ
1. พลิกปูม…OISHI GROUP
ชื่อเสียงของ OISHI เกิดมาพร้อมๆ กับชื่อเจ้าของคือ ‘ตัน ภาสกรนที’ เจ้าของวลี “ชีวิตนี้ไม่มีตัน”
9 กันยายน 2542 ถือเป็นปฐมบทแห่งการเปิดตัวของร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์บุฟเฟ่ต์แห่งแรกของประเทศไทยในนาม OISHI ที่สุขุมวิท 55 ซอยทองหล่อ ในราคาเพียง 500 บาทต่อคน ซึ่งได้รับกระแสตอบรับสูงมากขนาดต้องเข้าคิวรอกันเป็นชั่วโมง
จากวันนั้นถึงวันนี้ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้ขยายร้านอาหารถึง 84 สาขาทั่วประเทศ ประกอบธุรกิจหลัก 2 ประเภท คือ ร้านอาหารญี่ปุ่น + เบเกอรี่ และธุรกิจเครื่องดื่ม โดยมีโครงสร้างรายได้ของกลุ่ม ดังนี้
หน่วย : พันบาท
รายการ งบการเงินรวม
2549 2548 2547
รายได้จากการขาย รายได้อื่น 3,950,425 18,219 4,666,539 15,789 3,271,935 11,055
รายได้รวม 3,968,644 4,682,328 3,282,990
ต้นทุนขายและบริการ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 2,630,646 1,121,400 2,951,368 1,074,980 1,990,201 764,508
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 216,598 655,980 528,281
ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ (7,880) (19,608) (5,268) (26,639) (18,930) (22,124)
กำไรสุทธิ 189,110 624,073 487,227
2. หมายเหตุภาษี : OISHI GROUP
(1) สิทธิประโยชน์จากการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์..
โดยแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และนำหุ้นสามัญเพิ่มทุนเข้าทำการซื้อขายใน SET ในนาม ‘OISHI’ เมื่อ 25 สิงหาคม 2547 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สร้างความแข็งแกร่งเติบโตมาอย่างยั่งยืนดังเช่นทุกวันนี้ เพราะ
๐ การระดมเงินทุนจาก SET ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนการกู้ยืมเป็นศูนย์ (เพราะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย) ต้องมีธรรมาภิบาล เพราะถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการเป็นบริษัทมหาชน ทำให้ได้รับความเชื่อถือในภาพพจน์ต่อคู่ค้าและผู้บริโภค ซึ่งมีส่วนให้ตรา ‘OISHI’ มีมูลค่าการตลาดร่วม 25,000 ล้านบาท (ตามประมาณการตีราคาของคุณตัน)
๐ เเฟรนไชส์ OISHI จึงเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญจากเป้าหมายขยายปีละ 10 สาขา รายได้ดังกล่าวมีข้อดีทั้งในแง่การสร้างสภาพคล่อง (cash inflow) ทางธุรกิจและสามารถเฉลี่ยรายได้ตามอายุของสิทธิในตราสินค้าตามข้อ 4.7 แห่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป. 1/2528 ทำให้บริษัทสามารถกระจายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ช้าลง
๐ การเป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET ตาม พ.ร.ฎ.# 387 (พ.ศ. 2544) แห่งประมวลรัษฎากร ทำให้บริษัทได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือเพียง 25% เป็นเวลา 5 ปี และยังได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินปันผลจากการนำเงินไปลงทุนในบริษัทต่างๆ อีกด้วย (มาตรา 65 ทวิ (10))
(2) Friendly Take Over โดยกลุ่มเบียร์ช้าง..
การขายหุ้นบิ๊กล็อตของโออิชิกรุ๊ป (ปี 2549) โดยกลุ่มของคุณตันให้แก่กลุ่มบริษัทเบียร์ช้าง จำนวน 103,125,000 หุ้น (55%) โดยทำการซื้อขายผ่านบริษัทนครชื่น จำกัด และ Bengena International Ltd (จัดตั้งที่ British Virgin Island) มีข้อน่าสังเกตดังนี้
๐ ผู้ขายหุ้น (คือคุณตัน) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับ capital gains จำนวนมหาศาล ตามนัยข้อ 2(23) แห่งกฎกระทรวง # 126 ทำนองเดียวกับกรณีของการซื้อขายหุ้น SHIN
ผู้เขียนเคยยกตัวอย่างดังกล่าวในการสอนวิชา การบริหารภาษี (MBA) ในหัวข้อ “ค้าขายฤาจะสู้ค้าหุ้น” โดยยกตัวอย่างของคุณตันเป็นกรณีศึกษาว่าธุรกิจนี้ร่ำรวยจากการขายอาหารญี่ปุ่น หรือขายชาเขียวหรือขายแฟรนไชส์… ที่สุดก็ประจักษ์ว่าด้วยเงินทุนเพียง 100 ล้านบาท (ก่อนเข้าตลาด SET) เพียง 1 ปี ให้หลังก็สามารถ cash out จากการขายหุ้นบิ๊กล็อตครั้งนี้ถึง 3,000 ล้านบาท โดยปราศจากภาษีซะด้วย (เรียกว่าเป็น net take home money ที่สูงสุดยอดจริงๆ ! )
จากกรณีครอบครัวของคุณทักษิณ (ขายหุ้น SHIN) มูลค่ามหาศาล 73,000 ล้านบาท โดยปราศจากภาษี (เช่นกัน) ก็เลยเกิดคำถามจากสังคมว่า ควรมีการปรับปรุงนโยบาย (ยกเว้น) ภาษีตลาดหุ้นหรือไม่ ?…ซึ่งเป็นคำถามที่ล่อแหลมและต้องรอบคอบในการส่งสัญญาณ เพราะผลได้เสียมีหลายแง่มุม ซึ่งหากเทียบเคียงกับแนวปฏิบัติของอารยประเทศก็มีทั้งกรณีที่เก็บภาษีและไม่เก็บภาษีจาก Capital gains ดังกล่าว
๐ ประเด็นที่น่าสนใจคือมีการตั้งบริษัท Bengena International Ltd ใน BVI ซึ่งเป็น tax haven country มาเป็นผู้ซื้อหุ้นบิ๊กล็อตดังกล่าวนั้น จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะถูกเก็บเพียงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินปันผล (10%) และ capital gains (15%) เท่านั้น ส่วนประเทศถิ่นที่อยู่ของบริษัทดังกล่าว (คือ BVI) จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจัดตั้งบริษัทแบบ International Business Company และ International Limited Partnership หรือ Trust เป็นต้น
(3) สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOI .
ให้แก่บริษัทโออิชิเทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าและเครื่องดื่มเพื่อป้อนแก่ OISHI GROUP โดยบริษัทดังกล่าวได้รับ BOI สำหรับกิจการผลิตน้ำพืชผัก ผลไม้บรรจุภาชนะผนึก ทำให้ได้ประโยชน์ทางภาษี อาทิเช่น
๐ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 8 ปี
๐ ยกเว้นภาษีเงินได้ปันผลที่จ่ายจากกำไรของกิจการที่ได้ BOI มีกำหนด 8 ปี เช่นเดียวกัน ๐ สามารถนำผลขาดทุนสะสม (ถ้ามี) ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 5 ปี ภายหลังหมดสิทธิบัตรแล้ว
๐ กรณีมีการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยง (hedging caotract) หากมีกำไรจากปริวรรตเงินตรา ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นกัน
การได้ BOI จึงมีข้อดีอย่างชัดเจนสำหรับ domestic transaction แต่ในกรณีของ OISHI ซึ่งมีการส่งออกสินค้าเครื่องดื่ม (โออิชิกรีนที) ไปยัง ลาว, กัมพูชา, ออสเตรเลีย, เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, สวีเดน, ฮังการี ฯลฯ นั้น ต้องพึงระวังว่าการได้ BOI อาจเข้าเงื่อนไขของ anti-subsidy ตามกฎ WTO กรณีจึงอาจเกิดปัญหาให้ประเทศคู่ค้าเป็นข้ออ้างไม่ต้องปฏิบัติตามกฎ most favoured nation (MFN) ได้
พูดถึงเรื่อง BOI ก็อดไม่ได้ที่จะกล่าวถึงนโยบายจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เช่น จีน เวียดนาม ดูไบ เป็นต้น เพื่อช่วงชิงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
กล่าวสำหรับประเทศจีน มีนโยบายเก็บภาษีจากบริษัทที่ลงทุนโดยต่างชาติ (Foreign Inbestment Enterprises (FIE) และบริษัทต่างชาติ (Foreign Enterprises (FE)) ในอัตรา 30% เว้นแต่กรณีไปจัดตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) ก็อาจได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในระยะแรกๆ (Tax Holiday) เหลือ 15% (เช่น Hainan, Shenzhen,Xiamen,Zhuhai) เป็นต้น นอกจากนี้จีนยังมีนโยบายคืนภาษีนิติบุคคล 40%-100% ในกรณีบริษัทต่างชาตินำผลกำไรที่เกิดขึ้นมาลงทุนซ้ำในจีนอีกด้วย กรณีจึงถือเป็นนโยบายภาษีที่จูงใจกว่าไทย
(4) รายการค้าระหว่างกัน ..
กรณีของ related parties transaction นั้นจะเป็นประเด็นภาษีเสมอไม่ว่าจะเป็นการค้าขายในประเทศหรือระหว่างประเทศ จึงต้องยึดแนวทางมาตรฐานมาจาก Transfer Pricing Guidelines ของ OECD (ปี 1995) เป็นเกณฑ์
สำหรับกรณีของ OISHI ได้อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินว่าใช้วิธี “ราคาทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม” (Cost Plus Method) วิธีการคือ ต้องคำนวณหาต้นทุนผลิตและต้นทุนอื่นๆ + อัตรากำไรมาตรฐาน ซึ่งสามารถเทียบเคียงให้เห็นว่าราคาขายระหว่างกัน มิได้แตกต่างจากราคาที่ซื้อขายกับบุคคลภายนอก
เพื่อลดข้อโต้แย้งกับกรมสรรพากร ผู้เขียนมักแนะนำให้บริษัทต่างๆ นำระบบ Advance Pricing Arrangement มาใช้ โดยเป็นราคาที่เกิดจากการทำความตกลงระหว่างกรมสรรพากรกับผู้เสียภาษีเฉพาะราย
ในกรณีของการค้าระหว่างประเทศ หากผู้เสียภาษีได้ทำข้อตกลงกับประเทศใดประเทศหนึ่งจะเรียกว่า Unilateral APA แต่ถ้าเป็นการลงนามร่วมระหว่างผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปจะเรียกว่า Bilateral APA ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการบริหารภาษีอากรระหว่างประเทศ มิให้เกิดข้อโต้แย้งและลดภาระซ้ำซ้อนของภาษีอากรลงมาได้อีกทางหนึ่ง
 
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์
 
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic


หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (6)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (5)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (4)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (3)
หมายเหตุภาษี ในงบการเงิน (2)
หน้า 1/1
1
[Go to top]