ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 1 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


SMEs ใต้เงาภาษีไทย

 SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (1)

ทุกรัฐบาลต่างชูนโยบาย (หาเสียงว่าจะ) ส่งเสริมสนับสนุนให้ SMEs (ไทย) มีความแข็งแกร่ง เพื่อเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของไทย เช่นเดียวกับที่เป็นไปในอารยประเทศ
 
นโยบายต่างๆ ของหลายรัฐบาลที่ผ่านมาจึงมุ่งเทงบประมาณลงสู่รากหญ้าผ่านสารพัดโครงการ เช่น โครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP) , การตั้งกองทุนหมู่บ้านๆ ละ 1 ล้านบาท , การฝึกอบรมความรู้ต่างๆ แก่ SME ผ่านองค์กรที่รัฐให้เงินสนับสนุน ฯลฯ
ดูๆ ไปก็น่าจะดีและได้ผลกว่านี้ แต่ให้บังเอิญที่ไม่เคยมีการตั้ง “แม่ทัพใหญ่” เพื่อประสานโครงการต่างๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างได้ผลตรงเป้า ตาม Roadmap (ซึ่งก็ยังไม่มีเช่นกัน!)
นอกจากนั้น...ยังมีปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครยอมกล่าวความจริง ก็คือ เรื่องภาระ ‘ภาษีอากร’ ซึ่งเป็นยาขมหม้อใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของเหล่า SMEs ก็ว่าได้!
1. SMEs ... ไม่ยอมทำบัญชี
นับแต่อดีตย้อนไป 40-50 ปี ที่ผ่านมา วิสาหกิจ SMEs (บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล) ในบ้านเรามักทำมาค้าขายกันโดยปราศจากเอกสารและใบสำคัญทางการค้าใดๆ และไม่มีการจัดทำบัญชีการเงิน อย่างเป็นกิจจะลักษณะ ครั้นถึงฤดูเสียภาษีเงินได้ (เดิมปีละครั้ง,ปัจจุบันยื่นแบบภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง) ก็จะยื่นแบบแสดงรายการได้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อเสียภาษีในจำนวนที่เหมาะสมและยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่าย (คือผู้เสียภาษีและฝ่ายกรมสรรพากร)
ในการตรวจสอบภาษีอากร หากกรมสรรพากรต้องการตัวเลขการค้าขายที่แท้จริง ก็สามารถรู้ได้โดยขอข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งซื้อสินค้าของบรรดา SMEs นั่นแหละ
จนกระทั่งก้าวล่วงมา ถึงวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งรัฐบาลไทยได้นำเอาระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีรายรับต่อปีเกิน 1.2 ล้านบาท (ปัจจุบันเป็น 1.8 ล้านบาท) จะต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบ VAT และต้องมีการออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยสามารถขอคืนภาษีซื้อ (input tax) ที่เกี่ยวข้องกับกิจการได้ ทำให้เรื่องของเอกสารหลักฐานเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารหลักฐานของ SMEs ไปได้ทั้งหมด คงมีเพียงผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลขนาดกลางใหญ่ ถึงขนาดใหญ่ ที่มีการปรับระบบบัญชีออกเอกสารและจัดเก็บเอกสารต่างๆ ครบถ้วนพอสมควร
ในทางปฏิบัติแม้ว่ารัฐจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้วิธีการปราบปรามและตรวจสอบภาษีอย่างเข้มงวด เพื่อสืบหารายรับแท้จริง (ฐานภาษี) ของ SMEs ได้ แต่ก็มิใช่วิธีการที่เหมาะสม เพราะทั้ง 2 ฝ่ายจะเกิดการสูญเสียด้วยกัน กล่าวคือ ด้านรัฐจะเกิดต้นทุนในการปราบปรามที่สูงและต้องใช้กำลังคนมาก ซึ่งเป็นแนวทางที่สวนทางกับนโยบายการสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี (tax conciousness)
อีกทั้งเมื่อออกใบประเมินภาษีอากรสูงๆ ก็ใช่ว่าจะสามารถจัดเก็บเม็ดเงินภาษีได้ตามยอดเงินในใบแจ้งการประเมิน เพราะผู้เสียภาษีจะหลบหนีหรือยอมถูกฟ้องล้มละลาย ส่วนทางด้านผู้เสียภาษี (taxpayers) นั้น แน่นอนว่าจะต้องหาช่องทางหลีกเลี่ยงภาษี (tax evasion) เพื่อลดต้นทุนประกอบการของตนเองเพื่อสามารถแข่งขันกับ SMEs รายอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ล้วนเสียภาษีไม่ครบถ้วนเช่นกัน
ดังนั้น วิธีแก้ปัญหากรณีของการไม่ยอมออกบิล/การหลีกเลี่ยงภาษี จึงจำต้องเลือกใช้กลวิธีอื่น กล่าวคือ
๐ แก้ไขบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของวิสาหกิจ SMEs สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี (เช่นเดียวกับกิจการ SMEs ในรูปบุคคลธรรมดา- เจ้าของคนเดียว) คือ
- หักค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง หรือ
- หักค่าใช้จ่ายในอัตราเหมา โดยเทียบเคียงกับ พ.ร.ฎ.#11 ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะในความเป็นจริงไม่ว่ากิจการจะจัดตั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็ล้วนเป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียวเหมือนๆ กันจึงไม่ควรมีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน
อนึ่ง อัตราการหักค่าใช้จ่ายเหมาตาม พ.ร.ฎ.#11 ในปัจจุบันซึ่งมีอยู่ 43 ประเภทธุรกิจนั้น ล้วนมีอัตราต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริงและล้าสมัย เช่นกิจการซื้อมาขายไปหักเหมาได้ 80% เป็นต้นนั้น ในโลกความเป็นจริงโดยเฉลี่ยแล้วกิจการซื้อมาขายไปทั่วไปคงไม่สามารถขายสินค้าโดยมีกำไรขั้นต้นสูงถึง 20% ดังนั้น แม้กฎหมายเปิดช่องให้ SMEs (บุคคลธรรมดา) เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาก็ประหนึ่งว่าเป็นการลงโทษ เพราะ SMEs สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง (สำหรับในแง่ของอัตราค่าใช้จ่ายเหมา จำต้องปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และ/หรืออัตราให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยอาจกำหนดสูตรหรือวิธีการคำนวณที่เหมาะสมเป็นต้น)
เชื่อว่าการที่ SMEs (นิติบุคคล) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้แม้ว่าเอกสารหลักฐานไม่สมบูรณ์ ก็จะทำให้ SMEs กล้าลงบัญชีแสดงยอดรายรับที่สูงขึ้นจนใกล้ความเป็นจริง เพื่อสามารถนำงบการเงินไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ทางธุรกิจ เช่น นำไปเป็นหลักฐานประกอบการกู้เงินจากธนาคาร เป็นต้น
(1) ภรรยานำเงินเดือน (มาตรา 40 (1)) ของตนแยกยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ต่างหากจากสามี (2) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียภาษีเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (3) เงินปันผล (มาตรา 40 (4) (ข)) ซึ่งเลือกวิธีเครดิตภาษีเงินปันผลตามมาตรา 47 ทวิ (4) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก / จากการให้โดยเสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไร อาจเลือกวิธีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เพียงไม่เกิน 20% ของเงินได้
2. SMEs & VAT
กฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (tax point) แม้จะอนุโลมให้ผู้ค้าปลีกสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และผ่อนปรนให้กิจการขนาดย่อมซึ่งไม่เคยมีรายรับถึง 200,000 บาทต่อเดือน ไม่ต้องออกใบกำกับภาษีกรณีขายสินค้า/ให้บริการต่อครั้งที่ไม่เกิน 1,000 บาท กรณียังคงเป็นปัญหาอุปสรรคต่อกิจการ SMEs ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสาร/บัญชี
อีกทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกใบกำกับภาษีตามกฎหมายปัจจุบันในหลายกรณีก็มิได้สอดคล้องตรงกับวิธีปฏิบัติทางการค้า/ประเพณีการค้า และวิธีการตามหลักการบัญชี
ดังนั้นการกำหนดให้กิจการ SMEs ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง จึงเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งต่อธุรกิจ SMEs ซึ่งหากปฏิบัติผิดพลาด ก็จะถูกบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ในการนี้หาก SMEs ต้องการปฏบัติให้ถูกต้องก็จำต้องเกิดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างบุคลากรด้านบัญชีที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์เพียงพอ เพราะแม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ๆ เอง ก็ใช่ว่าจะปฏิบัติถูกต้องและเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับระบบเอกสารในระบบ VAT (ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ) แต่อย่างใด
ทางออกของปัญหาดังกล่าว ก็คือทางกรมสรรพากรจะต้องแยกการปฏิบัติระหว่างกิจการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจ SME โดยกรณี SMEs จะต้องอนุโลมให้มีการปฏิบัติที่ง่ายและสะดวก เช่น
SMEs ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่คือ ผู้บริโภค (end user) ซึ่งมิได้นำใบกำกับภาษีไปใช้หรือขอคืนภาษีซื้อแต่อย่างใด
SMEs สามารถใช้ยอดขายทางบัญชีการเงิน เป็นฐานเดียวกับรายรับของ VAT โดยไม่ต้องทำรายงานใดๆ ในระบบ VAT ไม่ว่าจะเป็นรายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ส่วนรายงานภาษีซื้อ หากต้องการ claim VAT ก็อาจเปิดทางเลือกให้จัดทำรายงานภาษีซื้อ หรือใช้บัญชีแยกประเภทเป็นหลักฐาน เป็นต้น
3. SME& Software บัญชี
ตามที่สภาวิชาชีพบัญชี ได้จัดทำ Software ทางบัญชี โดยครอบคลุมกิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต และกิจการให้บริการ แจกจ่ายแก่ SMEs ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น แม้ขณะนี้ Software ดังกล่าวยังไม่สมบูรณ์ และไม่ครอบคลุมเพียงพอ
แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดี และแสดงถึงแนวโน้มในอนาคตว่ากิจการ SMEs จะได้ใช้ (ต้องใช้) Software บัญชีเพื่อช่วยในการจัดทำบัญชีการค้าของตน ซึ่งในอนาคตไม่ว่า SMEs จะเลือกใช้ Software บัญชีชนิดใดหรือ Software house ใดก็ตาม หากบัญชีการเงินที่จัดทำดังกล่าว สามารถใช้เป็นหลักฐานตรงกับการเสียภาษีเงินได้ และ VAT ทุกประการ โดยมิต้องปรับปรุง (หรือปรับปรุงน้อยที่สุด) ก็จะทำให้เกิดความง่าย สะดวก และประหยัดรายจ่ายทางธุรกิจแก่ SMEs ได้มาก
เพราะการที่ต้นทุนการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี (compliance costs) ของ SMEs ลดลงย่อมมีส่วนทำให้ระดับความสมัครใจในการเสียภาษี (tax conciousness) เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อกรมสรรพากรในระยะยาว หรือแม้แต่ระยะสั้นก็อาจทำให้ยอดจัดเก็บภาษีสูงขึ้นด้วยซ้ำ (เพราะ SMEs จะต้องโชว์รายได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง)
4. การปฏิรูปประมวลรัษฎากร (Tax Reform)
จากปัญหาตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1-3 ข้างต้น ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ประมวลรัษฎากรเสียใหม่ (Tax Reform) โดยมีแนวคิดและหลักการดังนี้
(1) ต้องแยกการปฏิบัติ (treatment) ระหว่างวิสาหกิจขนาดใหญ่ และวิสาหกิจ SMEs ให้แตกต่างกันตามสภาพของข้อเท็จจริงและสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจของทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งมีความแตกต่างกันในหลายมิติ
(2) หลักการและแนวคิด (Concept) ในการจัดเก็บภาษีของวิสาหกิจ SMEs จะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานที่ว่า “สะดวกและง่ายต่อผู้ปฏิบัติ (SMEs) โดยรัฐยังคงสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย” เช่น
ให้ SMEs (นิติบุคคล) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง
วิธีเสียภาษีอาจเลือกจัดเก็บจากการคำนวณกำไรสุทธิ หรือจัดเก็บภาษีในอัตราเหมาโดยคำนวณจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย (fixed percentage on gross revenue)
ผ่อนปรนการจัดทำเอกสารหลักฐานระบบ VAT ให้สะดวกและง่ายที่สุด เพื่อมิต้องเป็นภาระและเกิดต้นทุนทางบัญชีโดยไม่จำเป็น
ฯลฯ
สำหรับข้อโต้แย้งที่ว่ารัฐจะสามารถควบคุมการจัดเก็บให้ทั่วถึงได้อย่างไร เพราะการผ่อนปรนเรื่องการออกใบกำกับภาษีจะทำให้ SMEs มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ขอเรียนว่ารัฐสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หลายวิธี เช่น การวิเคราะห์ทางการเงิน, การโยงใยข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องหรืออาจใช้เทคนิคการตรวจสอบภาษีตามนัยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร (Net Worth Approach) เป็นต้น ซึ่งชัดเจนว่าสามารถตรวจสอบ/ตรวจยันได้อย่างแน่นอน
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 
 
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic/template.php?conno=380


ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไรให้ได้คืนเร็ว
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (4)
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (3)
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (2)
รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น (1)
หลักเกณฑ์รายจ่ายทางภาษีอากร
รายจ่ายในการดำเนินกิจการ
รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (จบ)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (2)
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1)
SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (จบ)
SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (3)
SMEs ใต้เงาภาษีไทย. (2)
หน้า 1/1
1
[Go to top]