ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 11 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร

  การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (1)

ในสัปดาห์นี้ขอนำหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ทางภาษีอากร ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร มาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

 

ปุจฉา หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากรกำหนดไว้อย่างไร

วิสัชนา หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากรมีดังนี้

1. การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ซึ่งออกตามความในมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

2. หนี้สูญดังกล่าวที่ได้รับชำระกลับคืนมาในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

3. สำหรับหนี้สูญรายได้ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากได้นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิให้ปรับปรุงบวกกลับมาเป็นรายได้ ต่อมาหากได้รับชำระหนี้สูญนั้นกลับคืนก็ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้อีก

ปุจฉา ลูกหนี้ที่จะนำมาจำหน่ายเป็นหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้มีลักษณะอย่างไร

วิสัชนา ลักษณะของลูกหนี้ที่จะนำมาจำหน่ายเป็นหนี้สูญมีดังนี้

1. ต้องเป็นหนี้จากการประกอบการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการหรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหนี้ที่ผู้เป็น หรือเคยเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ผู้นั้นเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ

2. ต้องเป็นหนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และ

3. ต้องมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้

สำหรับภาษีเงินได้ที่หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้นำไปถือเป็นเครดิตในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย โดยให้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรดังกล่าวภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้นๆ ดังนั้น หากกิจการปล่อยปละละเลย ไม่ขอคืนภายในกำหนดเวลา ก็ย่อมหมดสิทธิขอคืนและไม่อาจนำจำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาถือเป็นหนี้สูญได้

ปุจฉา โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามให้ได้รับชำระหนี้มีกำหนดเวลากี่ปี

วิสัชนา โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้มี 2 ปี เว้นแต่ ลูกหนี้จะได้มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการรับสภาพหนี้ เช่น การชำระหนี้บางส่วน การยืนยันยอดลูกหนี้ (เป็นรายลักษณ์อักษร - เพื่อป้องกันการมีปัญหาการต่อสู้คดีในภายหลัง)

ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับกรณีที่เจ้าหนี้ติดตามทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยตนเอง โดยไม่พึ่งพากระบวนการทางศาล อย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว สำหรับลูกหนี้ไม่ว่าจะมีมูลหนี้เป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม เจ้าหนี้ต้องมีการดำเนินการติดตามทวงถามลูกหนี้ตามสมควรแก่กรณี โดย

1. ต้องมีหลักฐานการติดตามทวงถามอย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ เจ้าหนี้ต้องทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การมีจดหมายหรือโนติส (Notice) ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ติดต่อกันอย่างน้อยสองครั้ง แต่ละครั้งห่างกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งเดือน

หลักฐานการติดตามทวงถามดังกล่าวที่ดี ควรเป็นหลักฐานการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลายได้อีกด้วย และ

2. ไม่ได้รับชำระหนี้โดยปรากฏว่า

(1) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญไปและไม่มีทรัพย์สินใดๆ จะชำระหนี้ได้

(2) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่น มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้

ปุจฉา ในทางภาษีอากรมีการจัดขนาดของลูกหนี้แต่ละรายเพื่อการจำหน่ายหนี้สูญอย่างไร

วิสัชนา ในทางภาษีอากรมีการจัดขนาดของลูกหนี้แต่ละรายไว้เพียงสองระดับคือ

1. ลูกหนี้ที่มีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท และ

2. ลูกหนี้ที่มีจำนวนเกินกว่า 500,000 บาท

อย่างไรก็ตามสำหรับลูกหนี้ที่มีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาทนั้น ยังแยกย่อยเป็นลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท เว้นแต่ กรณีผู้ประกอบกิจการธนาคารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ที่หากฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้ชำระ กับลูกหนี้ที่หากฟ้องลูกหนี้และเจ้าหนี้พึงจะได้รับชำระหนี้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

ปุจฉา มีข้อกำหนดในการจำหน่ายหนี้สูญ สำหรับลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท หรือไม่เกิน 200,000 บาท กรณีเจ้าหนี้เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ ที่หากฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้ชำระ อย่างไร

วิสัชนา ลูกหนี้กรณีดังกล่าว ถ้าปรากฏว่าได้มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และหากฟ้องลูกหนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้ชำระ เช่น

กรณีบริษัทมีหนี้ของลูกหนี้ชาวต่างประเทศจำนวนไม่เกิน 100,000 บาท บริษัทได้พยายามติดตามหาลูกหนี้ แต่ไม่พบจึงไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจ และได้ตรวจสอบไปที่แผนกทะเบียนและสถิติกองตรวจคนเข้าเมือง ปรากฏว่าลูกหนี้ได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว เมื่อบริษัทมีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้บริษัทสามารถจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องลูกหนี้ ทั้งนี้ ตามข้อ 6 วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534)

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

 

ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic



การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (10)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (9)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (8)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (7)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (6)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (5)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (4)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (3)
การจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีอากร (2)
หน้า 1/1
1
[Go to top]