ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การสอบทานภาษี และหมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน

 การสอบทานภาษี และหมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน (1)

ฤดูปิดงบการเงิน และเตรียมการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ง.ด.50) ของบริษัทห้างร้านได้เริ่มลั่นกลองรบอีกครั้งหนึ่งแล้ว!
 
หลายๆ บริษัทเริ่มบ่นงึมงำ เพราะเศรษฐกิจการค้าเริ่มแผ่วตั้งแต่กลางปี 2549 ด้วยปัจจัยการเมือง (ในประเทศ) และปัจจัยเศรษฐกิจโลกอันเนื่องจากราคาน้ำมัน การก่อการร้ายสากล และปัญหาเศรษฐกิจของอเมริกา พอมาถึงช่วงปลายปี 2549 ต่อต้นปี 2550 ก็โดนแจ๊คพอตเรื่องการกันสำรองเงินเหรียญ 30% (capital control) และปัญหา norminee ถล่มความเชื่อมั่นให้แกว่งไกวเข้าไปอีก…ก็เลยเหนื่อยกันถ้วนหน้า
แฮ่ๆ…พอเอ่ยคำว่า “ฤดูชำระภาษีมาอีกครั้งแล้วจ้า!” ก็ต้องสะดุ้ง (แรงๆ) อีกครั้ง…แต่ถ้า ‘เถ้าแก่’ น้อยใหญ่ ให้ความสนใจและใส่ใจกับเรื่อง Tax Audit & Review กับ Tax Notes from Tax Expert (หมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน) ซึ่งเป็นเพลงดาบที่ผู้เขียนเพิ่งคิดค้นขึ้นมา…รับรองว่า “เซ็งลี้ฮ้อ & ประหยัดภาษี” ได้แน่นอนครับ!
1. การสอบทานภาษี ก่อนยื่นแบบ ภ.ง.ด.50
การสอบทานและตรวจสอบความถูกต้องก่อนยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 (TAX REVIEW & AUDIT) ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั้งหลาย ด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิเช่น
(1) เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทได้คำนวณกำไรสุทธิทางภาษี (Taxable Profit) ถูกต้องตรงกับหลักเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนด (กฎหมายภาษีของไทย มีกฎหมายลูกและระเบียบกฎเกณฑ์ปฏิบัติต่างๆ มากมาย รวมทั้งแนวคิดกว่าครึ่งหนึ่ง (Concept) ที่แตกต่างจากหลักเกณฑ์ทางบัญชีการเงิน (GAAP) จึงมักทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการยื่นแบบซึ่งต้องถูกประเมินภาษีเพิ่มเติม พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอยู่เนืองๆ) อาทิเช่น
(2) TAX REVIEW & AUDIT เป็นการตรวจแบบเจาะลึก ทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องในวิธีปฏิบัติทางภาษีอากรของบริษัท ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนภาษีที่ถูกต้อง (ประหยัดภาษี) และมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น กรณีบริษัทผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมักแยกสัญญาออกเป็น 2 ฉบับ คือ สัญญาขายที่ดิน (เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ) + สัญญาว่าจ้างรับปลูกสร้างบ้าน (VAT Operation ซึ่งมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อจากค่าวัสดุและค่าจ้าง ฯลฯ) ซึ่งกรมสรรพากรมักจะถือเป็นนิติกรรมอำพรางเพราะเจตนาที่แท้จริงของผู้ซื้อคือต้องการซื้อบ้านพร้อมที่ดิน
ทางออกของกรณีปัญหาก็คือบริษัทผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์จะต้องพิจารณาวางแผนภาษีใหม่โดยอาจเลือกนำรายรับจากการขายบ้านพร้อมที่ดินทั้งจำนวนมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตรา 3.3% หรืออาจพิจารณา แยกเป็น 2 บริษัท (ค้าอสังหาริมทรัพย์/รับจ้างสร้างบ้าน) เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกหมายเรียกตรวจสอบภาษี ฯลฯ
(3) ในกระบวนการของ TAX REVIEW & AUDIT จะทำให้ทราบถึงประเด็นภาษี (tax issues) ต่างๆ ทั้งในรูปของประเด็นหลัก (major issues) เช่น ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ของบริษัทถือเป็นธุรกรรม VAT หรือ NON - VAT ฯลฯ และประเด็นปลีกย่อย (transaction issues) เช่น รายการส่งเสริมการขาย (promotion campaign) ของบริษัทมีภาระภาษีหรือยกเว้นภาษีอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถวางแผน/จัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ (supporting documents) ให้สมบูรณ์/ครบถ้วน/ถูกต้อง ก่อนที่จะถูกเจ้าพนักงานออกหมายเรียก
(4) กรณี ขอคืนภาษี การตรวจสอบความถูกต้องของระบบบัญชีภาษีอากร/ระบบเอกสาร/สัญญาหรือข้อตกลงต่างๆ จะทำให้เกิดความมั่นใจว่ามีโอกาสจะถูกประเมินภาษีเพิ่มหรือได้คืนภาษีมากน้อยเพียงใด เพราะกรณี ดังกล่าว มักถูกเจ้าพนักงานทำการตรวจสอบอย่างเข้มข้นกว่าปกติ จึงมักมีความเสี่ยงสูง (high tax exposure)
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้รับเชิญไปบรรยายในงานสัมมนาพิเศษแก่ผู้บริหารของบริษัทยักษ์ใหญ่ รายหนึ่ง ซึ่งมีบริษัทในเครือถึง 20 บริษัท ในหัวข้อ ‘TAX REVIEW / AUDIT & PLANNING’ ทำให้ได้ทราบข้อเท็จจริงว่ากลุ่มบริษัทเหล่านี้ ได้ฝากความหวังเรื่อง ภาษีอากร ไว้ในมือของ ผู้สอบบัญชี (CPA หรือ Accounting Auditor) โดยสำคัญผิดว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของ Auditor (CPA) และเข้าใจผิดว่า CPA ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษีอากรด้วย!
ผลจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยนำแบบ ภ.ง.ด.50 ที่บริษัทยื่นไว้ในปีก่อนๆ มาทดลองสุ่มตรวจเป็นกรณีศึกษา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งมีข้อผิดพลาดต่างๆ อย่างน่าตกใจ ซึ่งมีทั้งประเด็นความผิดพลาดทั้งในแง่ข้อกฎหมาย การใช้ชื่อบัญชีที่สับสน ซึ่งจะมีผลต่อการเสียภาษีที่แตกต่างกัน (เช่น ค่ารับรอง / หรือรายจ่ายส่วนตัว / หรือค่าส่งเสริมการขาย) เอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน / ไม่ครอบคลุม เสียภาษีผิดประเภท ไม่รู้ว่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เกินอัตราหรือหักทั้งๆ ที่กฎหมายมิได้กำหนด คำนวณฐานภาษีผิดพลาดเป็นต้น…อามิตพุทธ!
บทความมินิซีรีส์ชุดนี้ จะนำเสนอแนวทางของ TAX REVIEW & AUDIT ที่ถูกต้องซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปิดงบการเงิน + ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ที่มีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยง (tax exposure) ลงมาได้ตามสมควร!
2. แนวทางในการสอบทาน/ตรวจสอบภาษี
TAX REVIEW / AUDIT PROCESS มีลำดับขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
(1) ศึกษา Nature ของธุรกิจ โดยพิจารณาจากระบบบัญชีและเอกสาร, Company Profile, และข้อมูลจากบุคลากรสำคัญ อาทิเช่น กรรมการผู้จัดการ, Controller, หรือ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี เป็นต้น
(2) ศึกษาระบบภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อันได้แก่ ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติศุลกากร และกฎหมายอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมาย BOI / การนิคมอุตสาหกรรม / EPZ เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจถึงภาระภาษีต่างๆ อันพึงมีหรือพึงต้องชำระ
(3) วางแนวทางการตรวจสอบ / สอบทานภาษี (Tax Audit Guidelines) จะแตกต่างจากแนวการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีทั่วไป ทั้งในแง่รูปแบบ มุมมองและเนื้อหาสาระ ตัวอย่างเช่น
๐ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณกำไรสุทธิ (Taxable Profit) ตามมาตรา 65 อาทิเช่น เกณฑ์การคำนวณรายรับ การขายผ่อนชำระและเช่าซื้อ การรับรู้รายได้ของธุรกิจบริการ เป็นต้น
ตรวจสอบเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ (1) - (14) อาทิเช่น การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ (พ.ร.ฎ.#145) การคำนวณหนี้สูญหนี้เสีย (กฎกระทรวง #186) การปฏิบัติเกี่ยวกับ Promotion Campaign ต่างๆ และสินค้าคงเหลือ ฯลฯ
ตรวจสอบด้านรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) - (20) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินบริจาคสาธารณกุศล, ค่ารับรอง, รายจ่ายที่ไม่มีบิล, รายจ่ายที่เกิดในต่างประเทศ, Reimburesement Costs ฯลฯ
๐ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อาทิเช่น การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 กรณีการจ่ายค่าบริการ ค่าส่งเสริมการขาย ค่าจ้างทำของ ค่าลิขสิทธิ์ (มาตรา 70) ซึ่งจะเกี่ยวโยงถึง อนุสัญญาภาษีซ้อน ซึ่งมักพบข้อผิดพลาดอยู่เสมอๆ
๐ ภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิเช่น ตรวจสอบความถูกต้องของการออกใบกำกับภาษี ภาษีขาย ภาษีซื้อ การจัดทำรายงานภาษีขาย / รายงานภาษีซื้อ / รายงานสินค้าและวัตถุดิบ (Stock Books) ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีโอกาสผิดพลาดสูง การออกใบลดหนี้ (Credit Note) และใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ความถูกต้องของการคำนวณภาษี และการยื่นแบบ / กรอกแบบ ภ.พ.30 ฯลฯ
๐ ภาษีธุรกิจเฉพาะ อาทิเช่น กรณีมีรายได้ดอกเบี้ยรับจากการให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือ เงินกู้ยืมพนักงาน หรือกรณีตีโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ กรณีใดต้องเสีย / ไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น
๐ การจัดทำกระดาษทำการและเอกสารประกอบรายการทางภาษีอากร (Working Sheets and Related Supporting Documents) ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กับ Requirement ในการตรวจสอบภาษีของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
(4) สรุปผลการตรวจสอบ/สอบทาน เพื่อให้ผู้บริหารของกิจการทราบเพื่อแก้ไขปัญหา และวางแผนการเสียภาษีที่ถูกต้อง/ หรือให้เกิดการประหยัดภาษี (การวางแผนภาษี) ต่อไป
จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่าไม่มีบริษัทใดที่สามารถยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี โดยไม่มีข้อผิดพลาด ไม่ว่าองค์กรนั้นๆ จะมีขนาดใหญ่เพียงใด สาเหตุคงเกิดจากการไม่เข้าใจในแนวคิด (Concept) และข้อกฎหมายภาษี ซึ่งอาจเกิดจากการไม่มีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสารจึงไม่ทราบถึงแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ทำให้แบบภาษีที่ยื่นไว้ของบริษัทต่างๆ ต้องถูกหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์และออกหมายเรียก และถูกประเมินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอยู่เนืองๆ ซึ่งแท้จริงแล้วปัญหาดังกล่าวสามารถวางแผนป้องกันและแก้ไขได้ล่วงหน้า
โดยขบวนการของ TAX REVIEW & AUDIT ซึ่งอาจทำได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงปิดงบ / ช่วงก่อนยื่นแบบ ภ.ง.ด.50, ภ.พ.30, ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.54 / หรือกรณียื่นคำร้องขอคืนภาษี / หรือกรณีต้องการวางระบบภาษีหรือวางแผนภาษี เป็นต้น
โค๊ด "ไม่มีบริษัทใดที่สามารถยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี โดยไม่มีข้อผิดพลาด ไม่ว่าองค์กรนั้นๆ จะมีขนาดใหญ่เพียงใด"
เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์
 
 
ที่มา  http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic


การสอบทานภาษี และหมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน (จบ)
การสอบทานภาษี และหมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน (3)
การสอบทานภาษี และหมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน (1)
การสอบทานภาษี และหมายเหตุ (ภาษี) ประกอบงบการเงิน (2)
หน้า 1/1
1
[Go to top]