บริษัท เอสเอ็มแอล ออดิท จำกัด เลขทะเบียนนิติบุคคล 0115555017811 -สาขาบางนา,สมุทรปราการ
ที่อยู่ : เลขที่ 599/43 ซอยก่อนตึกแอคเซียม ถนนกิ่งแก้ว-บางพลี หมู่ 7 ตำบล : บางพลี
อำเภอ : บางพลี จังหวัด :สมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ : 10540
มือถือ : 080-553-7088 /080-5537077 โทร :023494340 /02-758-8994 แฟกซ์ : 021020819
อีเมล :sale@smlaudit.com, smlaudit@hotmail.com
เว็บไซต์ : www.smlaudit.com
เงินได้พึงประเมิน
เงินได้พึงประเมิน (1) ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ผู้คำนวณต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน
รวมทั้งหลักการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินอย่างดีพอ จึงจะสามารถคำนวณภาษีเงินได้ได้อย่างถูกต้อง เพราะเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทมีข้อกำหนดในการคำนวณภาษีเงินได้ที่แตกต่างกันทั้งในส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้ และในส่วนของค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเงินได้พึงประเมินยังสามารถนำไปใช้กับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายอีกด้วย จึงขอนำมาประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้
ปุจฉา “เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าอย่างไร ทำไมต้องใช้คำว่า “เงินได้พึงประเมิน”
วิสัชนา จากบทบัญญัติตามมาตรา 39 ประกอบกับมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรอาจสรุปความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” (ASSESSABLE INCOME) ได้ดังนี้
เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร โดยจะต้องเป็นเงินได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทำ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน หรือเนื่องจากกิจการที่ทำ ซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับ (RECEIVED) หรือเสมือนหนึ่งได้รับแล้ว (CONSTRUCTIVE RECEIPT) ในระหว่างปีภาษี ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะเกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย หรือจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศก็ตาม
สาเหตุที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีเงินได้ว่า “เงินได้พึงประเมิน” ก็เนื่องมาแต่เหตุผลดังต่อไปนี้
1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน (ASSESSMENT TAX) ซึ่งกำหนดให้ผู้ต้องเสียภาษีเงินได้มีหน้าที่ยื่นรายการประเมินตนเองว่า มีเงินได้ที่เข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนด ผู้ต้องเสียภาษีเกิดภาระภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าใด และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินความถูกต้องของจำนวนเงินภาษี และการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีอากรของผู้ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น
2.เป็นคำที่แปลตรงตัวหรือทับศัพท์จากคำในภาษาอังกฤษว่า “ASSESSABLE INCOME”
ปุจฉา ช่วยขยายความคำว่า “บ่อเกิดเงินได้พึงประเมิน” ให้ชัดเจนด้วย
วิสัชนา บ่อเกิดของเงินได้พึงประเมินเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามนัยมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
1.บ่อเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงาน หน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียว หรือจากการรับทำงานให้ที่อาจกระทำโดยบุคคลธรรมดาคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
2.บ่อเกิดจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ ลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์ สิทธิบัตร หรือเงินได้ในส่วนที่เป็นผลได้จากทุน (CAPITAL GAIN)
3.บ่อเกิดจากกิจการที่ได้ ได้แก่ เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การให้บริการ หรือการอื่นใดที่มุ่งประสงค์ในทางการค้าหรือการกำไร
ปุจฉา ในทางภาษีอากรกำหนดรูปแบบของเงินได้พึงประเมินไว้อย่างไร
วิสัชนา ในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดรูปแบบของพึงประเมินไว้ดังต่อไปนี้
1.เงินสด เหรียญกษาปณ์ หรือตราสารที่มีค่าใช้แทนเงิน เช่น ธนาณัติ เช็ค ตั๋วเงิน เป็นต้น
2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น ค่าเช่านาที่ได้รับเป็นข้าวเปลือก รางวัลจากการประกวดแข่งขันหรือชิงโชคที่ได้รับเป็นบ้าน รถยนต์ ทองคำ หรือสินค้า เป็นต้น
3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น การได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า ประโยชน์จากการที่นายจ้างเลี้ยงอาหาร ประโยชน์จากการได้ท่องเที่ยวหรือประโยชน์จากการรับประทานอาหารโดยไม่ต้องเสียค่าบริการตามบัตรรางวัล เป็นต้น
4.เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จำนวนเงินภาษีเงินได้ที่กฎหมายให้ถือว่า ผู้มีเงินได้ได้รับเครดิตหรือได้ชำระภาษีเงินได้ไว้แล้วในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย หารด้วยผลต่างของหนึ่งร้อยลบด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวของเงินได้ เนื่องจากผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และได้รับเงินได้ที่เป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร (เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร) จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ต้องนำเครดิตภาษีที่คำนวณได้ดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินด้วย และเมื่อคำนวณภาษีได้เป็นจำนวนเท่าใด ให้นำเครดิตภาษีที่ได้รับมาหักออก ถ้ายังขาดให้ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนที่ขาด แต่ถ้าเกินให้มีสิทธิขอคืนตามจำนวนที่เหลือนั้น
5.ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าค่าภาษีอากรที่ออกแทนให้ดังกล่าวจะเป็นค่าภาษีอากรประเภทใดก็ตาม
ค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใด หรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น (มาตรา 40 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร)
ที่มา:
http://www.nationejobs.com/content/legal/taxclinic/template.php?conno=410 |
หน้า 1/1 1 | [Go to top] |