ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 2 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article

 

 การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

                 ช่วงนี้ก็เริ่มเป็นเทศกาลเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วนะคะ ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี สำหรับผู้ที่มีเงินได้แล้วสูงกว่า 150,000 บาทต่อปี ซึ่งสามารถกรอกแบบฟอร์มภาษีได้ด้วยตนเอง การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเสียภาษีทางอินเทอร์เน็ตก็เป็นวิธีหนึ่งที่ค่อนข้างสะดวก สบายเพราะมีโปรแกรมภาษีให้กรอกข้อมูลและคำนวณภาษีให้โดยอัตโนมัติที่เว็บ  www.rd.go.th แต่สำหรับผู้ที่มีเงินได้หลายประเภทที่มีความซับซ้อน ก็อาจต้องใช้บริการผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านภาษีช่วยกรอกแบบฟอร์มภาษีให้  ดังนั้นในช่วงนี้จึงจะขอพูดถึงส่วนของการหักเงินลดหย่อนในการประเมินภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อให้ทราบสิทธิของตัวเองนะคะว่า จะสามารถนำเอารายจ่ายประเภทไหนบ้างมาหักลดหย่อนภาษีได้

           ประการแรกก็คือ ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เข้าข่ายในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ จะมีสิทธิได้รับการลดหย่อนอะไรบ้าง ก็แยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป และส่วนที่เป็นเงินที่ใช้เพื่อการลงทุน 
   
 

(1) การหักลดหย่อนทั่วไป ผู้มีเงินได้สามารถหักได้ 30,000 บาทต่อปี ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ก็ตาม  และคู่สมรสของผู้มีเงินได้อีก 30,000 บาท
   
(2)
การหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าเป็นบุตรที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. 2522 หรือเป็นบุตรบุญธรรมก่อน พ.ศ. 2522 จะนำไปหักค่าลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท หากเป็นบุตรที่เกิดหลังปี 2522 คนละ 15,000 บาทแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 คน
   
(3) การหักค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปีและยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือ ชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศได้คนละ 2,000 บาท
   
(4) ค่าลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดูบุพการี  กรณีที่ผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่มีเงินได้รวมค่าภาษีหรือคู่สมรสที่เงินได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสจะมีสิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดา
   
(
5) เงินค่าสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้แก่ เงินใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ
   
(6) เงินบริจาค เงินบริจาคที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ต้องเป็นเงินบริจาคให้การสาธารณกุศลโดยหักได้ตามจำนวนจ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้อง ดูรายชื่อองค์กรและนามองค์กรสาธารณกุศลที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้
   
(7) การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อ หรือสร้างเป็นการประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
   
 
สำหรับเงินหักลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอื่น ๆ จะนำมาขยายความต่อในสัปดาห์หน้า เหลือเวลาไม่มากแล้วก็อยากให้รวบรวมเอกสารข้อมูลให้พร้อมและยื่นแบบฟอร์มภาษีแต่เนิ่น ๆ นะคะ เพราะหากยื่นแบบภาษีเร็ว จะได้รับเงินคืนเร็วด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

    เนื่องจากเป็นช่วงการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ผู้มีเงินได้ที่มีรายได้สูงกว่า 150,000 บาท จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี   และในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พูดถึงการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายของผู้มีเงินได้ไปแล้ว ใน สัปดาห์นี้จะเพิ่มในส่วนการหักลดหย่อน

 ต่อนะคะ  
   
(1) ในส่วนเงินสะสมที่ถูกหักเข้าไว้ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำหรับข้าราชการและสมัครเป็นสมาชิกของ กบข. เงินสะสมของสมาชิก กบข. สามารถหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
   
(2) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) เงินสะสมในส่วนของลูกจ้างจ่ายเข้า กสล. สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
   
(3) กองทุนประกันสังคม เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
   
(4) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ซึ่งเงินจ่ายสมทบเข้ากองทุนครูสามารถหักลดหย่อนทางภาษีได้ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
   
(5) เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่รัฐสนับสนุนการออมระยะยาวแบบผูกพันและให้ได้รับผลตอบแทนเมื่อสูงอายุ  สามารถหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี (ทั้งนี้ไม่นับรวมเงินส่วนที่จ่ายเข้ากองทุน กบข. กองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)  
   
(6)
เงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) ที่รัฐให้การสนับสนุนให้ผู้ลงทุนรายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดาให้ลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ไม่รวมส่วนเงินลงทุนใน กบข. กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
   
(7) การประกันชีวิต เงินเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์ อายุเกิน 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนทางภาษี ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี
   
ทั้งนี้กรมธรรม์ที่มีส่วนขยายของ กรมธรรม์สุขภาพผู้ทำประกันจะได้สิทธิหักส่วนลดหย่อนได้เฉพาะค่าเบี้ยประกันชีวิตที่แยกออกจากเบี้ยประกันสุขภาพทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี 2552 เป็นต้นไป 
   
(8) เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2552 เป็นปีที่มีมาตรการพิเศษสำหรับเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (บ้านหรือที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่) โดยเงินได้ที่จะนำไปคำนวณเพื่อหักลดหย่อนนั้นยึดถือเอาตามจำนวนเงินที่ผู้ขายได้รับ เป็นสำคัญ (ตามราคาบ้าน/คอนโดฯ ที่ซื้อ) ในกรณีที่เป็นการซื้อแบบผ่อนดาวน์จึงหมายรวมทั้งเงินค่าดาวน์ที่เราจ่ายและเงินส่วนที่เหลือที่เรากู้จากธนาคารมาจ่ายให้โครงการ แต่ทั้งหมดรวมกันแล้วไม่เกิน 300,000 บาท
   
ส่วนกรณีซื้อสดก็จะหมายถึงเงินทั้งหมดที่เราได้จ่ายให้โครงการ แต่นำไปคำนวณเพื่อหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 300,000 บาทเช่นกัน และจะต้องถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ดังกล่าวต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และนอกจากนี้ยังต้องมีการจะโอนให้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม ปี 2552 นี้
    
 
ท่านยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือยังคะ ขอเชิญยื่นแบบฟอร์มผ่านอินเทอร์เน็ตได้ที่ www.rd.go.th

ที่มา : คอลัมภ์ เข็มทิศลงทุน  นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 6 และ 13 กุมภาพันธ์  2553

 

 

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article