ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 2 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article

 

เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี

ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเลือกองค์กรประกอบธุรกิจได้หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเจ้าของคนเดียว คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนและประเภทของธุรกิจ รวมถึงแนวโน้มในอนาคตที่กิจการอาจจะขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น

แต่ก็มีกิจการประเภทเมื่อดำเนินธุรกิจไปได้ในระยะหนึ่งอาจจะประสบความล้มเหลวไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของธุรกิจจากประเภทหนึ่งไปยังอีกประเภทหนึ่ง บางครั้งจะพบว่าห้างหุ้นส่วนเมื่อดำเนินกิจการมาได้ระยะหนึ่งต้องการขยายกิจการให้เติบโตขึ้นก็อาจจะเลิกกิจการเปลี่ยนกิจการเป็นรูปของบริษัทจำกัด ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนมีความประสงค์ที่จะเลิกกิจการจะต้องจัดให้มีการชำระบัญชี ซึ่งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

1) สะสางการงานของห้างฯ ให้เสร็จสิ้นไป

2) ประกาศหนังสือพิมพ์ และบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ภายใน 24 วันนับแต่วันเลิกห้าง

3) ยื่นจดทะเบียนเลิกห้างฯ และชื่อผู้ชำระบัญชีภายใน 14 วัน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ หรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจำกัดจังหวัด ที่ซึ่งสำนักงานแห่งใหญ่ของห้างฯ ตั้งอยู่ก่อนเลิกห้างฯ

4) จัดทำงบดุลและส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ

5) จัดให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่ออนุมัติงบดุล

6) ยื่นรายงานการชำระบัญชีทุก 3 เดือน

7) ทำการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินตลอดจนชำระหนี้สิน

8) ร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลออกคำสั่งว่าห้างหุ้นส่วนล้มละลาย ในกรณีที่ผู้ชำระบัญชีเห็นว่าเมื่อเงินทุนหรือเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จแล้ว สินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน

9) เรียกประชุมใหญ่ผู้เป็นหุ้นส่วนเพื่อเสนอรายงานการชำระบัญชี

10) ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมอนุมัติ

แนวปฏิบัติทางภาษีอากรหากมีการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ห้างฯ ได้แจ้งเลิกประกอบกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อที่จะประกอบกิจการในรูปแบบของบริษัท แต่ไม่ได้ดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) ห้างฯ ยังคงประกอบกิจการเป็นปกติมีการออกใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยยื่นแบบ ภ.พ.30 และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน ต่อมาห้างฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด และได้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องปฏิบัติดังนี้

1. เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเกี่ยวกับการเลิกห้างฯ แล้ว ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบถึงการเลิกห้างฯ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกและให้ถือวันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิกเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 72 แห่งประมวลรัษฎากร

2. ห้างฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไว้แล้ว แต่การชำระบัญชียังไม่เสร็จสิ้น ให้ถือว่าห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ห้างฯ จึงยังมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และแบบ ภ.ง.ด. 51 พร้อมงบการเงินต่อไป จนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีเสร็จ โดยมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก)

3. ห้างฯ แจ้งเลิกกิจการต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ห้างฯ มีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.09) พร้อมคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ ตามมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร

แต่ห้างมิได้ยื่นแบบ ภ.พ.09 และยังคงประกอบกิจการ ออกใบกำกับภาษียื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมทั้งชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นปกติจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ห้างฯ จึงมีความผิดกรณีที่ไม่แจ้งเลิกประกอบกิจการและคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 90 (8) และมาตรา 90/1 (5) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อห้างฯ ยื่นแบบ ภ.พ.09 แล้วห้างฯ ยังคงรับผิดในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไป

โดยยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ. 30 ไม่ว่าจะได้ขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม จนกว่าอธิบดีจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ ห้างฯ ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

ทั้งนี้ ตามมาตรา 83 มาตรา 85/19 (2) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร นับแต่วันที่แจ้งเลิกประกอบกิจการเป็นต้นไป อีกทั้งไม่สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เสียไปในระหว่างวันที่แจ้งเลิกประกอบกิจการถึงวันที่อธิบดีสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

4. ห้างฯ มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ห้างฯ มีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อแจ้งเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 77/1 (8) (ฉ) และมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร

โดยมูลค่าของฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ และไม่ต้องออกใบกำกับภาษีแต่ประการใด ส่วนรายงานเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ห้างฯ ไม่มีหน้าที่จัดทำอีกต่อไป แต่ต้องเก็บและรักษารายงานที่ตนมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาอยู่ในวันเลิกประกอบกิจการต่อไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/3 (5) มาตรา 87/3 (2) แห่งประมวลรัษฎากร


โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550



ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล