ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 4 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


วิวัฒนาการของการจัดทําบัญชีในธุรกิจ SMEs

วิวัฒนาการของการจัดทําบัญชีในธุรกิจ SMEs
โดย ศิริรัฐ โชติเวชการ [20-7-2005]

เป็นที่ทราบกันดีว่ากว่า 80% ของธุรกิจในบ้านเรานั้นเป็นธุรกิจ SMEs และเกือบ 100% ของธุรกิจ SMEs นั้นใช้บริการของสำนักงานบัญชีในการจัดทำบัญชีและภาษีเพียงเพื่อให้มีการนำส่งรายงานและแบบฟอร์มต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด

ที่ต้องเน้นคำว่า เพียงเพื่อนั้นก็เพราะว่าในความเป็นจริงแล้วข้อมูลเหล่านั้นไม่ใช่ข้อมูลที่สะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริงแต่เป็นข้อมูลเท่าที่อยากจะเปิดเผยดังนั้น SMEs จึงมองสำนักงานบัญชีเป็นเพียงผู้มีหน้าที่จัดทำภาษีและนำส่งงบการเงินให้รัฐแทนเขาเท่านั้นทั้งๆ ที่สำนักงานบัญชีมีศักยภาพมากกว่านั้น ขณะเดียวกัน SMEs ก็จะมีระบบบัญชีภายในที่จะเน้นการเก็บยอดขายและลูกหนี้เพื่อเอาไว้ดูให้อุ่นใจเท่านั้นและแทบจะไม่เคยมีงบกำไรขาดทุนหรืองบดุลที่เต็มรูปที่ใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้เพราะการที่มีบัญชีหลายชุดนั้นทำให้ข้อมูลตีกันเองจนไม่รู้ว่าของจริงคืออะไร

ที่เกริ่นมายืดยาวนั้นเพื่อที่จะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ว่าอนาคตของการจัดทำบัญชีของSMEs น่าจะปรับตัวไปในทิศทางใด เพื่อให้ SMEs ในบ้านเราได้ตระหนักและปรับตัวให้ได้กับอนาคตที่จะเปลี่ยนไปเรื่องก็มีอยู่ว่าเมื่อเดือนที่แล้วผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าของสำนักงานบัญชีในประเทศญี่ปุ่นคนที่นั่นเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนในญี่ปุ่นก็มีปัญหาคล้ายๆกันกับในไทยดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่เมื่อสามสิบปีก่อนมีผู้กล้าจากสำนักงานบัญชีแห่งหนึ่ง ทำการปฏิวัติระบบเดิมด้วยการพัฒนาระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้งที่สำนักงานของลูกค้าและสอนให้ลูกค้ารู้จักบันทึกบัญชีด้วยตนเอง โดยเน้นการลงบัญชีชุดเดียวแล้วเอาผลการดำเนินงานที่ได้จากรายงานทางการเงินนั้นมาใช้ในเชิงบัญชีบริหารเพื่อเปรียบเทียบกับแผนธุรกิจที่ได้ช่วยลูกค้าจัดทำไว้ในแต่ละปีโดยเป้าหมายของสำนักงานบัญชีก็คือช่วยแนะนำให้ลูกค้าสามารถนำตัวเลขทางบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจเชิงธุรกิจเพื่อให้ดำเนินกิจการอย่างมั่นคงและมีกำไรจะเห็นได้ว่าบทบาทของสำนักงานบัญชีนั้นได้เปลี่ยนไปจากการที่เป็นเพียงผู้บันทึกรายการมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาในระบบนี้เขาจะเน้นว่าสำนักงานบัญชีต้องส่งพนักงานไปพบลูกค้าอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อตรวจงานที่ลูกค้าได้บันทึกไว้และให้คำปรึกษาแนะนำจากผลการดำเนินงานที่ออกมาในรูปของรายงานทางการเงิน

ปัจจุบันสำนักงานบัญชีแห่งนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วและผันตัวเองมาเป็นผู้ให้เช่าระบบและจัดการอบรมแก่สำนักงานบัญชีกว่าสองพันแห่งที่เป็นสมาชิกว่ากันว่าเครือข่ายของสำนักงานบัญชีแห่งนี้มีลูกค้าอยู่ในมือรวมกันแล้วกว่าสองแสนรายผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือสำนักงานแห่งนี้มีข้อมูลมากพอที่จะสามารถจัดทำดัชนีทางการเงินเป็นรายอุตสาหกรรมที่แม้แต่รัฐก็ยังนำไปใช้ประโยชน์และ SMEs เองก็สามารถใช้เป็น Benchmark ในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของตนในอุตสาหกรรมนั้นๆได้

สิ่งที่ดียิ่งไปกว่านั้นก็คืองบการเงินของSMEs ที่ใช้บริการจากเครือข่ายที่ว่านี้จะได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากสรรพากรของเขารวมไปถึงสถาบันการเงินก็จะปล่อยกู้ให้อย่างง่ายดายและรวดเร็วอีกด้วย

ดังนั้นเมื่อเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของโลกกำลังจะไปทางใด SMEs ในบ้านเราก็น่าจะเริ่มปรับตัวได้แล้วโดยต้องหันมาให้ความสำคัญในการจัดการทางบัญชีและนำตัวเลขทางบัญชีไปใช้ในการบริหารงานเราอาจจะยังต้องใช้เวลากว่าจะสามารถมีเครือข่ายสำนักงานบัญชีที่ใหญ่โตและทันสมัยเหมือนเขาแต่ในวันนี้เราสามารถเริ่มต้นคุยเรื่องนี้กับสำนักงานบัญชีที่ใช้บริการอยู่ได้ก่อนเพราะเขามีศักยภาพที่จะให้คำปรึกษาแก่ท่านอยุ่แล้วเพียงแต่ท่านเองที่มองข้ามความสำคัญของเขาไปเองต่างหาก

ที่มา: http://www.thaiaccounting.com




ความรู้ด้านบัญชี

ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพบัญชี
เงินลงทุนเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ
สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป !
ไปวางระบบบัญชีบนเกาะเต่า
เลือกสำนักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (1)
เลือกสํานักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (จบ)
แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1)
แผนการตลาดของสํานักงานบัญชียุคใหม่ (จบ)
DBD สัญจร
การสร้างแบรนด์ของธุรกิจที่ปรึกษา
เรียนบัญชีต่างกับทําบัญชีอย่างไร?
BPO กับอนาคตของการบัญชีเพื่อการจัดการ
The future of Accounting
ประเทศไทยกับบริการบัญชีเพื่อการส่งออก (BPO-Accounting)