ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 8 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


BPO กับอนาคตของการบัญชีเพื่อการจัดการ

BPO กับอนาคตของการบัญชีเพื่อการจัดการ
โดย ศิริรัฐ โชติเวชการ [2-5-2005]

คราวที่แล้วคุยกันถึงเรื่องของ BPO ก็เลยติดลมบนมาจนถึงฉบับนี้ เพราะเป็นเรื่องที่เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับการจัดการ ยุคใหม่ที่เคยเล่าให้ฟังแล้วว่าทุกธุรกิจจะมุ่งให้ความสำคัญกับ Core business ส่วนเรื่องที่ไม่ถนัดเช่น HR บัญชี CRM จะว่าจ้างคนภายนอกให้จัดการ และแน่นอนงานที่จะเป็นที่นิยม ที่จะส่งออกไปให้บุคคลภายนอกทำเป็นอันดับแรกก็คืองานของแผนกบัญชีและการเงิน

หลายๆ ท่านอาจจะบอกว่าไม่เห็นจะแปลกเลยเพราะทุกวันนี้ก็จ้างสำนักงานบัญชีทำงานบัญชีให้อยู่แล้ว ตรงนี้ต้องมาทำความเข้าใจกันหน่อยเพราะบริการด้านบัญชีฯในความหมายของ BPO คือบัญชีเพื่อการบริหารงาน ที่สามารถรายงานสถานะของกำไรขาดทุน อย่างถูกต้องและทันท่วงทีแบบ วันต่อวันเพื่อที่ธุรกิจที่เป็นลูกค้าจะได้นำข้อมูลนี้มาใช้วิเคราะห์และวางแผนในการพัฒนากิจการ แต่ลักษณะการจ้างทำบัญชีในบ้านเราทุกวันนี้คือการทำบัญชีและยื่นภาษีตามที่กฎหมายบังคับ

โดยตัวเลขที่รายงานอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงและจะมีให้ดูเพียงปีละครั้ง กว่าจะได้รายงานก็จะเป็นประมาณเดือนพฤษภาคมของปีถัดไปเพราะจะต้องยื่นงบกับทางราชการตอนปลายเดือน การจ้างทำบัญชีแบบไทยๆของเราจึงไม่ได้ช่วยอะไรในด้านการบริหารงานเลย

เรื่องของ BPO นั้น เขาบอกว่าต้องมีตัวชี้วัด (KPI) ต่อไปนี้

Business value delivered
การใช้บริการ นั้นต้องสามารถทำให้ลูกค้ามีมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจมากขึ้น

Financial growth
บริการนั้นจะต้องทำให้ลูกค้าService
การบริการนั้นต้องเป็นที่พอใจของลูกค้า

People
ทีมงานของผู้ให้บริการต้องได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดี ทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งใจและมีความสุขกับงาน
หลายๆ ท่าน อาจจะมีคำถามว่า ถ้าเอางานบัญชีไปให้บริษัทภายนอกทำ แล้ว CFO ที่ถูกจ้างมาด้วยเงินเดือนแพงโขอยู่นั้น จะให้ทำงานอะไร คำตอบก็คือ หน้าที่ของ CFO ในอนาคต ที่จะมีเวลามากขึ้นเพราะใช้บริการ BPO นั้น คือจะต้องเน้นในงานด้านต่อไปนี้

  1. บริหารงานด้วยต้นทุนต่ำที่สุดแต่ได้ผลตอบแทนสูงที่สุด
  2. ข้อมูลทางบัญชีต้องโปร่งใสเชื่อถือได้
  3. ต้องสามารถบริหารความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขทางธุรกิจ โดยสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้
  4. ต้องสามารถบริหารกระแสเงินสดให้มีความคล่องตัวสูงสุด
  5. ต้องสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงาน

ดังนั้นอย่าได้ห่วงว่า CFO ของท่านจะต้องนั่งตบยุงเพราะเขาจะยังต้องทำงานหนักอยู่แต่จะเน้นหนักไปในแง่ของงานวิเคราะห์และพัฒนามากกว่างานที่มีแต่ปริมาณ

ก่อนจะจบเรื่องของ BPO ก็ยากจะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า BOI ของเราก็ทันสมัยเหมือนกันเพราะเพิ่งให้มีการส่งเสริมการลงทุน กิจการที่ให้บริการในรูปแบบของ BPO โดยเท่าที่ดูแล้วจะเน้นไปทางด้านนักลงทุนต่างชาติมากกว่าเพราะสิทธิประโยชน์นั้นจะได้แต่การที่จะอนุญาตให้มีชาวต่างชาติถือหุ้นได้ มากกว่า 49% แต่ไม่มีสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีให้ ดังนั้นจะเป็นได้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว

ที่มา: http://www.thaiaccounting.com




ความรู้ด้านบัญชี

ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพบัญชี
เงินลงทุนเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ
สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป !
ไปวางระบบบัญชีบนเกาะเต่า
เลือกสำนักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (1)
เลือกสํานักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (จบ)
แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1)
แผนการตลาดของสํานักงานบัญชียุคใหม่ (จบ)
DBD สัญจร
การสร้างแบรนด์ของธุรกิจที่ปรึกษา
เรียนบัญชีต่างกับทําบัญชีอย่างไร?
วิวัฒนาการของการจัดทําบัญชีในธุรกิจ SMEs
The future of Accounting
ประเทศไทยกับบริการบัญชีเพื่อการส่งออก (BPO-Accounting)