ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เลือกสํานักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (จบ)

เลือกสํานักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (จบ)
โดย ศิริรัฐ โชติเวชการ [24-6-2004]

2.การรับข้อมูลจากลูกค้าการรับข้อมูลจากลูกค้า
ควรมีการกำหนดวันที่ที่แน่นอนโดยคำนวณช่วงเวลาที่เราจะสามารถทำงานได้ทันตามกำหนด ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเรากับลูกค้านั้น ควรมีใบสรุปรายละเอียดและจำนวนเอกสารที่ลูกค้าส่งมาเพื่อให้มีการตรวจสอบและเซ็นรับไว้เป็นหลักฐาน และเมื่อเราส่งเอกสารนั้นคืนลูกค้า ก็ต้องมีใบสรุปและให้ลูกค้าเซ็นรับเพื่อนำมาเข้าแฟ้มไว้เป็นหลักฐานเช่นกัน เพราะมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าเอกสารหายเพราะยังไม่ได้รับคืนจากสำนักงานบัญชี หากมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ก็จะทำให้ตรวจสอบที่มาที่ไปได้ง่าย

3.
การประมวลผล
หลังจากได้รับข้อมูลจากลูกค้าแล้ว เราก็ต้องนำมาตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเอกสาร จากนั้นจึงนำมาลงรหัสบัญชีและบันทึกข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลแล้ว ควรมีการเรียกรายงานออกมาตรวจสอบความถูกต้องของรหัสบัญชีและจำนวนเงินที่ได้บันทึกไว้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อตรวจสอบและแก้ไขจนถูกต้องแล้วจึงทำการประมวลผลเพื่อเรียกรายงานต่างๆ ออกมาใช้ต่อไป

4.
การจัดทำรายงานภาษี
โดยทั่วไป รายงานภาษีที่จัดทำ ก็จะมี รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย(ภงด. 1/3/53/54) รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) รายงานประกันสังคม สิ่งที่สำคัญก็คือ การตรวจสอบความถูกต้องของการจัดทำแบบฟอร์มฯ ส่งแบบฟอร์มฯ ให้ลูกค้าลงนามและจัดทำเช็คเพื่อจ่ายภาษี ยื่นแบบฟอร์มพร้อมชำระเงินให้ทันตามกำหนด ในยุคปัจจุบัน กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้มีการยื่นเสียภาษีทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องศึกษาขั้นตอนและสอบถามความสมัครใจของลูกค้าเป็นหลัก

5.
การจัดทำงบการเงิน
การจัดทำงบการเงิน จะต้องมีการตกลงกับลูกค้าว่าเขาต้องการงบการเงินภายในวันที่เท่าใดของเดือน และต้องเป็นวันที่ ที่เราสามารถทำเสร็จได้ทัน รายงานทางบัญชีที่ลูกค้าสนใจที่จะดูทุกเดือนก็คือ งบกำไรขาดทุนและงบดุล ควรมีการตรวจสอบรายงานเหล่านี้ก่อนที่จะส่งไปยังลูกค้า

6.
การให้คำปรึกษาและบริการ
ในการให้บริการของสำนักงานบัญชีนั้น สิ่งที่จะทำให้เขาเห็นคุณค่าของการให้บริการของเราได้ก็คือ การให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าในด้านบัญชีภาษี ในแง่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. เอกสารจ่ายรูปแบบใดจึงจะมีความสมบูรณ์พอที่สรรพากรยอมรับ
  2. ค่าใช้จ่ายชนิดใด หักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้
  3. มีหนทางใดที่จะประหยัดภาษีได้มากขึ้น แต่ถูกต้องตามกฎหมาย
  4. กิจการควรจะมีการปรับปรุงการจัดการด้านใดเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บริการด้วยหัวใจ

ตัวชี้วัดที่สำคัญของบริการของสำนักงานบัญชีคือ คือคุณภาพของงาน ความรับผิดชอบต่อลูกค้า การทำงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด การรักษาความลับ ความจริงใจ และการดูแลเอาใจใส่เสมือนหนึ่งเป็นที่ปรึกษาคู่ใจ หากทำเช่นนี้ได้ก็จะสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และเกิดการบอกต่อและแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการของเรา และถ้าเราสามารถรักษาระดับความพอใจเช่นนี้กับลูกค้าทุกคนไว้ได้ เราก็จะได้ลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดแต่อย่างใด

ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้ที่อยากจะเปลี่ยนสำนักงานบัญชี และผู้ที่ทำกิจการสำนักงานบัญชีที่ต้องการปรับปรุงมาตรฐานของตัวเองเพราะแนวทางที่ว่านี้คือ ส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าใช้อบรม เพื่อให้สำนักงานบัญชีไทยสามารถยกระดับตัวเองสู่สากลนั่นเอง และไม่ต้องกลัวว่าจะหาสำนักงานบัญชีที่ทำงานมีมาตรฐานแบบนี้ไม่ได้ เพราะมีสำนักงานบัญชีเกือบสองร้อยรายที่ได้จบหลักสูตรนี้ไปแล้ว

และถ้าท่านเป็นสำนักงานบัญชีที่ต้องการสมัครเข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าว เขาเปิดรับสมัครอีกรุ่นหนึ่งแล้ว ให้โทร.ไปถามได้ที่กรมฯ โทร. 02 547 5954-7 หรือที่ www.dbd.go.th ขอให้โชคดีค่ะ

ที่มา: http://www.thaiaccounting.com




ความรู้ด้านบัญชี

ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพบัญชี
เงินลงทุนเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ
สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป !
ไปวางระบบบัญชีบนเกาะเต่า
เลือกสำนักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (1)
แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1)
แผนการตลาดของสํานักงานบัญชียุคใหม่ (จบ)
DBD สัญจร
การสร้างแบรนด์ของธุรกิจที่ปรึกษา
เรียนบัญชีต่างกับทําบัญชีอย่างไร?
BPO กับอนาคตของการบัญชีเพื่อการจัดการ
วิวัฒนาการของการจัดทําบัญชีในธุรกิจ SMEs
The future of Accounting
ประเทศไทยกับบริการบัญชีเพื่อการส่งออก (BPO-Accounting)