ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 3 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


เงินลงทุนเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ

เงินลงทุนเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ
โดย ศิริรัฐ โชติเวชการ [5-4-2004]

ผู้เขียนมักจะได้รับคำถามจากบรรดานักบัญชีรุ่นใหม่ ที่อยากเป็นเถ้าแก่น้อยอยู่เสมอว่า ถ้าจะลงทุนตั้งสำนักงานบัญชี จะต้องใช้เงินเท่าใด และจะมีแหล่งเงินทุนจากที่ใด

อันที่จริงธุรกิจสำนักงานบัญชีเป็นธุรกิจบริการ ซึ่งไม่ได้ต้องใช้เงินอะไรมากมายเพราะเราขายทรัพย์สินทางปัญญา แต่วันนี้เอามาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดเกี่ยวกับเงินลงทุนเบื้องต้นโดยจะยกตัวอย่างจากธุรกิจสำนักงานบัญชีแต่ธุรกิจอื่นๆ ก็สามารถนำ แนวคิดเดียวกันนี้ไปปรับใช้ได้

เงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเป็นจริง ก่อนเริ่มทำธุรกิจควรรู้ว่าทำธุรกิจต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่ ในเวลานี้เรามีทรัพย์สินอยู่เท่าไหร่ และจะหาเงินมาเพิ่มได้อย่างไร

I. ต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่

เงินลงทุนที่ต้องใช้สำหรับเริ่มต้นธุรกิจ คือ เงินลงทุนในทรัพย์สินต่างๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจอันได้แก่ ค่าเช่าอาคาร ค่าตกแต่งต่อเติมค่าซื้อเครื่องใช้สำนักงานค่าใช้จ่ายเริ่มแรกขณะเริ่มต้นธุรกิจค่าใช้จ่ายสำหรับแผนการตลาด การโฆษณาตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภคและเงินเดือนพนักงาน ด้วยเหตุนี้จึงควรทำแผนงานเปิดกิจการอันประกอบด้วย การประมาณค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่จะเกิดขึ้นและต้นทุนที่จ่ายไปเมื่อเริ่มต้นกิจการ ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพของการใช้เงินลงทุนได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

สมมุติว่าเราได้คำนวณเงินลงทุนในการซื้อเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ได้ตัวเลขออกมาประมาณ 300,000 บาท จากนั้นเราต้องคำนวณดูว่า ในแต่ละเดือนเราจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รวมแล้วเป็นจำนวนเงินเท่าใด

สรุปค่าใช้จ่ายรายเดือน

ค่าใช้จ่ายคงที่
เงินเดือน 30,000
ค่าเช่าสำนักงาน 10,000
ค่าเช่าอุปกรณ์สำนักงาน 5,000
ค่าโฆษณา 5,000
รวมค่าใช้จ่ายคงที่ 50,000

ค่าใช้จ่ายผันแปร
ค่าไฟฟ้า 1,000
ค่าโทรศัพท์ 2,000
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,500
ค่าอินเทอร์เน็ต 500
รวมค่าใช้จ่ายผันแปร 5,000
รวมค่าใช้จ่าย 55,000

ในการหาเงินลงทุนเบื้องต้นนั้น ให้เผื่อไว้ว่าเราจะไม่มีรายได้เลยในระยะเวลา 6 เดือนแรก ดังนั้นเราต้องการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นจำนวนเงิน 330,000 บาท

ดังนั้น เงินลงทุนเบื้องต้นเราจะเป็นประมาณ 650,000.- หรือเรามีทางเลือกอีกทางหนึ่งเพื่อลดจำนวนเงินลงทุนเบื้องต้นลง โดยหาซื้อ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์สำนักงาน จากผู้ขายที่มีข้อเสนอในการให้สินเชื่อโดยคิดดอกเบี้ยหรือเสนอให้จ่ายได้ภายใน หกเดือนเป็นหกงวดโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหากหาทางออกเช่นว่านี้ได้ก็จะทำให้เงินลงทุนเบื้องต้นลดลง

II. จะหาทุนประกอบการได้จากที่ใด (แหล่งที่มาของเงินทุนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ)

วิธีการหาเงินทุนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ มีหลายวิธี แต่ที่สำคัญเราควรรู้แหล่งที่มาของเงินทุนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจว่า มาจากแหล่งใดบ้าง

  1. มรดก เช่น บ้าน ที่ดิน การมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รวมถึงทรัพย์สินที่มีค่าอื่นๆ อาทิ ทองรูปพรรณ และมรดกทุกประเภท เหล่านี้สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินทุนเริ่มแรกในการประกอบธุรกิจได้
  2. แหล่งเงินทุนส่วนบุคคล
  3. แหล่งเงินทุนจากผู้ขายปัจจัยการผลิตทางธุรกิจ และผู้ให้ยืมสินทรัพย์
    -
    สินเชื่อทางการค้า (Trade Credit) หรือเจ้าหนี้การค้า (Account Payable) เป็นการบริหารการเงินด้วยการขายปัจจัยการผลิตโดยมีระยะเวลาการจ่ายสินเชื่อ ซึ่งมีระยะเวลาสั้น ธุรกิจขนาดย่อมมักนิยมใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นแบบนี้กันมาก
    -
    สินเชื่อ และการเช่าซื้ออุปกรณ์ (Equipment loans and leases) สินเชื่อนี้เป็นการขายโดยวิธีผ่อนส่ง ซึ่งผู้ประกอบการอาจต้องจ่ายเงินดาวน์ 25-35% ตามที่ผู้ขายกำหนด ปกติจะเป็นเงินทุนระยะยาว และประมาณ 80% ของบริษัททั้งหมดจะใช้วิธีการเช่าอุปกรณ์บางอย่าง หรือทั้งหมดโดยมีเหตุผล 3 ประการ คือ
  4. เงินของบริษัทยังคงมีอยู่สำหรับทำกิจกรรมอย่างอื่น
  5. วงเงินสินเชื่อยังคงมีอยู่เท่าเดิม
  6. การเช่าเป็นการป้องกันอุปกรณ์ล้าสมัย เพราะสามารถเปลี่ยนได้เมื่อเลิกสัญญาเช่า
    -
    การให้ยืมโดยถือเกณฑ์สินทรัพย์ (Assets-based lending) เป็นการให้ยืมโดยถือเกณฑ์สินทรัพย์เงินทุนหมุนเวียน เช่น อาจดูลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ หรืออาจมีการขายบัญชีลูกหนี้ให้กับธุรกิจอื่น
  7. เงินกู้จากสถาบันการเงิน
    ปัจจุบันสถาบันการเงินมีนโยบายสนับสนุนการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการรายย่อยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ อันก่อให้เกิดประโยชน์กับคุณเป็นอย่างมาก

หากเลือกที่จะจัดหาเงินทุนด้วยวิธีนี้แล้ว เจ้าของกิจการก็ต้องจัดทำแผนธุรกิจเพื่อนำเสนอโครงการขอกู้เงินจากธนาคารต่อไป
ซึ่งเราต้องเตรียมศึกษาและจัดทำข้อมูลเพื่อให้ธนาคารเห็นว่าธุรกิจของเรามีแนวโน้มที่จะจ่ายชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ตามกำหนดเวลา
ตัวแปรในการระบุจำนวนเงินกู้
ขนาดธุรกิจ
จำนวนเงินที่จะนำมาลงทุน
การศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการลงทุน
การศึกษาเรื่องการวางแผนภาษี และกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการของธนาคาร

ธนาคารจะพิจารณาโดยใช้หลัก 5 ประการ (Five C’s of Credit) คือ

  1. ลักษณะของผู้กู้
  2. ขีดความสามารถของผู้กู้ที่จะจ่ายเงินคืน
  3. เงินทุนที่ผู้กู้จะลงทุน
  4. สภาวะของอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ
  5. หลักประกันเพิ่มเติมที่ทำให้เงินกู้ปลอดภัย

สิ่งสำคัญในการพิจารณาของธนาคารทั้งหมด อยู่ที่ความมั่นใจของเราที่ต้องแสดงให้ธนาคารเชื่อมั่นว่า ธุรกิจของเราจะเป็นไปได้ด้วยดีและสามารถที่จะนำเงินที่กู้ยืมไปมาชำระคืนได้ตามกำหนด

ที่มา: http://www.thaiaccounting.com




ความรู้ด้านบัญชี

ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพบัญชี
สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป !
ไปวางระบบบัญชีบนเกาะเต่า
เลือกสำนักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (1)
เลือกสํานักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (จบ)
แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1)
แผนการตลาดของสํานักงานบัญชียุคใหม่ (จบ)
DBD สัญจร
การสร้างแบรนด์ของธุรกิจที่ปรึกษา
เรียนบัญชีต่างกับทําบัญชีอย่างไร?
BPO กับอนาคตของการบัญชีเพื่อการจัดการ
วิวัฒนาการของการจัดทําบัญชีในธุรกิจ SMEs
The future of Accounting
ประเทศไทยกับบริการบัญชีเพื่อการส่งออก (BPO-Accounting)