ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 9 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพบัญชี

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิชาชีพบัญชี
โดย ศรรัฐ โชติเวชการ [12-3-2004]

เราคุ้นเคยกันมานานว่า งานในวิชาชีพบัญชี นั้น แบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ

ส่วนของผู้ทำบัญชี กับ ส่วนของผู้สอบบัญชี เฉพาะส่วนของผู้สอบบัญชี ก็มีกฎหมายตัวหนึ่งที่เรียกว่า

พ.ร.บ. ผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 คอยควบคุมเขาอยู่

ทั้งสองส่วนนี้ เมื่อก่อนก็ถูกกำกับดูแล โดยกรมทะเบียนการค้า หลังจากปรับโครงสร้างฯ ก็เปลี่ยนชื่อและบทบาทมาเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มกำหนดกฎเกณฑ์มากขึ้น สำหรับส่วนของผู้ทำบัญชี เช่น ต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีและลงทะเบียนว่าใครเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการใด

เท่านั้นยังไม่พอ ในเร็วๆ นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในวงการวิชาชีพบัญชี นั่นก็คือ ต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชีหรือผู้ทำบัญชีจะถูกควบคุมโดยกฎหมายฉบับใหม่ ที่เรียกว่า พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ซึ่งพรบ.นี้ถูกร่างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 แต่คาดกันว่าจะได้ฤกษ์ประกาศใช้ภายในปีนี้

หลักการคร่าวๆ ก็คือจะมีการถ่ายโอนอำนาจจากภาครัฐหรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไปยังสภาวิชาชีพบัญชีซึ่งจะเป็นองค์กรของเอกชนที่จะถูกตั้งขึ้นหลังจาก พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2543 ประกาศใช้ นั่นก็หมายถึงว่าจะมีการโอนอำนาจการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้แก่ ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี ให้กับ สภาวิชาชีพบัญชีและต่อไปนี้นักบัญชีทุกคนต้องไปขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีเพราะเขากำหนดให้วิชาชีพด้านการทำบัญชีเป็นวิชาชีพควบคุมด้วยจากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะการสอบบัญชีเท่านั้น

สรุปแล้วสาระสำคัญของสภาวิชาชีพบัญชีก็คือ

  1. กำหนดคำนิยาม วิชาชีพบัญชีให้ให้ครอบคลุมวิชาชีพบัญชีทุกด้าน
  2. โอน อำนาจการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของภาครัฐ ไปให้แก่ภาคเอกชน
  3. ให้สภาวิชาชีพเป็นศูนย์รวมผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ถ้าเรามาพิจารณาดูด้านผลกระทบ

ผลกระทบต่อภาคราชการ จะมีการโอนส่วนอำนาจหน้าที่ของ ก.บช. เดิมไปให้กับสภาวิชาชีพบัญชี เช่น รับขึ้นทะเบียนออกใบอนุญาต พักใช้เพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น

ผลกระทบต่อกิจการทั่วไป สิ่งที่จะมีผลกระทบกับผู้ทำธุรกิจก็คือต่อไปนี้การกำกับดูแลทางด้านการทำบัญชีจะมีความเข้มข้นยิ่งขึ้นเพราะเขาจะเพิ่มบทลงโทษกับนักบัญชีที่ไม่มีจรรยาบรรณ ถึงขนาดถอนทะเบียนจากสภานักบัญชี

ดังนั้นท่านพอจะคาดหวังได้ว่า นักบัญชีซึ่งมีนิสัยระมัดระวังอยู่อย่างสุดกู่อยู่แล้ว จะยิ่งมีความระมัดระวังยิ่งขึ้น เพราะความกลัวจะถูกถอนใบอนุญาต พวกเขาจะไม่ยอมขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีให้กับกิจการที่ทำให้เขารู้สึกว่ามีความเสี่ยง

เพราะฉะนั้น กิจการต่างๆ ก็ต้องพลอยปรับตัวไปกับเขาด้วยการทำบัญชีให้มีความโปร่งใส ไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีใครยอมทำบัญชีให้

ถ้าท่านเป็นเจ้าของกิจการที่ยังไม่แน่ใจในความโปร่งใส ในระบบบัญชีของท่าน วันนี้ท่านต้องเรียกนักบัญชีของท่านมาช่วยวางแผน เพื่อปรับตัวให้เร็วที่สุด เพราะพ.ร.บ.ฯ นี้ใกล้จะคลอดแล้ว มิเช่นนั้น ท่านจะต้องเดือดร้อน

เพราะในอนาคต ท่านจะหาคนที่จะยอมเป็นนักบัญชีให้ได้ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร

ที่มา: http://www.thaiaccounting.com




ความรู้ด้านบัญชี

ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
เงินลงทุนเบื้องต้นในการเริ่มต้นธุรกิจ
สำนักงานบัญชี เปลี่ยนไป !
ไปวางระบบบัญชีบนเกาะเต่า
เลือกสำนักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (1)
เลือกสํานักงานบัญชีผิด ไม่ต้องคิดจนตัวตาย (จบ)
แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1)
แผนการตลาดของสํานักงานบัญชียุคใหม่ (จบ)
DBD สัญจร
การสร้างแบรนด์ของธุรกิจที่ปรึกษา
เรียนบัญชีต่างกับทําบัญชีอย่างไร?
BPO กับอนาคตของการบัญชีเพื่อการจัดการ
วิวัฒนาการของการจัดทําบัญชีในธุรกิจ SMEs
The future of Accounting
ประเทศไทยกับบริการบัญชีเพื่อการส่งออก (BPO-Accounting)