Business Visa
สรุปเอกสารประกอบการ ยื่นคำร้อง ขออยู่ต่อในกรณี
1. เพื่อการธุรกิจปีแรกและปีถัดไป
2. อุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย
3. เป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ
4. เป็นครูผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน
5. ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือดูงาน หรือฝึกงาน
6. ศึกษาในสถานศึกษา
7. เพื่อดูแลบุตรศึกษาในสถานศึกษา
8. มาปฏิบัติหน้าที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐ
9. เพื่อปฎิบัติงานให้กับบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
10. เพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่มูลนิธิ และองค์การกุศลสาธารณะ
11. เผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
12. เพื่อค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอน ในสถาบันค้นคว้าหรือสถานบันการศึกษาในราชอาณาจักร
13. ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
14. เจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และ สำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศ
15. เพื่อปฏิบัติงานช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ
16. เพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานนิติบุคคลต่างประเทศ(ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือ สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ)
17. เพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
18. ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
19. เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
20. รับอุปการะจากสามีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ฯ (ภรรยาคนต่างด้าว)
21. เพื่อให้อุปการะแก่บุตรคนสัญชาติไทย (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)
22. เพื่อรับอุปการะจากบุตร (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)
23. เพื่อขอรับการอุปการะจากบิดา มารดา (บุตรคนต่างด้าว)
24. ประเภทนักท่องเที่ยว
25. เนื่องจากเหตุจำเป็นอื่นๆ (ไม่จำกัดประเภทตรวจลงตรา)
หลักเกณฑ์การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อ (รายการเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง)
ยื่นขอรับหรือการขอเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา
การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
การยื่นคำร้องขออยู่ของคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทต่าง ๆ
กรณีทั่วไป
แบบคำร้อง (ตม. 7)
หนังสือเดินทาง
สำเนาหนังสือเดินทาง
หน้าที่มีชื่อ - ชื่อสกุล - รูปถ่าย
หน้าที่มีวันที่ออกหนังสือเดินทาง และวันหมดอายุ
หน้าที่มีตรา VISA และตราประทับขาเข้า
บัตร ตม. 6
รูปถ่าย 4 x 6 ซม (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
ค่าธรรมเนียมขออยู่ต่อ 1,900.- บาท
กรณีมีเหตุจำเป็นในขออยู่ต่อ
ต้องประมวลเรื่องเสนอผู้มีอำนาจเพื่อพิจารณาสั่งการ เจ้าหน้าที่ประทับตรานัดฟังผล ในหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว 14 วัน
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง เช่นเดียวกับกรณีทั่วไปในข้อ 1.1 – 1.5
เพิ่มเติมเอกสารหลักฐานประกอบผลความจำเป็นตามแต่กรณี
กรณีคนต่างด้าวอยู่เกินกำหนด
บุคคลต่างด้าว ต้องนำหนังสือเดินทางมาแสดงด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ ห้อง 205 ชั้น 2 อาคาร 1 เพื่อชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีอยู่เกินกำหนดอนุญาต ในอัตราวันละ 500.- บาท
นำหลักฐานใบเสร็จรับเงินค่าเปรียบเทียบปรับ พร้อมเอกสารหลักฐาน ตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 แล้วแต่กรณี ไปยื่นคำร้องที่ช่องรับคำร้อง หมายเลข 5 ( บริเวณห้องโถงชั้นล่าง อาคาร 1) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกัน
การยื่นคำร้องขออยู่เพื่อการธุรกิจปีแรกและปีถัดไป
แบบคำขอ ตม. 7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม. 1)
สำเนาใบอนุญาตทำงาน
สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน 2 ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
สำเนาแบบรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จ (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร เท่านั้น)
แบบนำส่งงบการเงินฯ (สบช.3) ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากกระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น)
สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง)
สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส. 1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
สำเนาแบบรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด
รูปถ่านสถานประกอบการ
- ภายนอก ให้ปรากฏเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสถานประกอบการ
- ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานขณะปฏิบัติงานอยู่
ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย
กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีอุปการะภรรยาไทย หรือสามีเป็นคนไทย
แบบฟอร์ม ตม. 7
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป
- ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
หลักฐานประกอบการขออยู่ต่อ
กรณีอุปการะภรรยาไทย
ทะเบียนสมรส
สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
สำเนาทะเบียนบ้าน (ของภรรยา)
บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของภรรยา)
หลักฐานแสดงรายได้ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายรวมกัน ไม่น้อยกว่า 400,000.- บาท
กรณีทำงาน
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
หนังสือรับรองเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 40,000.- บาท
( ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ตำแหน่งและเงินเดือน)
สามีหรือภรรยาทำงานมีรายได้รวมกันขั้นต่ำ เดือนละ 40,000.- บาท
บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
แผนที่บ้าน รูปถ่ายบ้านพักและครอบครัว
อื่นๆ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
กรณีรับอุปการะจากสามีคนไทย
ทะเบียนสมรส
สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
สำเนาทะเบียนบ้าน (ของสามี)
บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ(ของสามี)
บันทึกถ้อยคำของสามีและภรรยา เพื่อยืนยันสถานะภาพความเป็นสามีภรรยา
แผนที่บ้าน
หลักเกณฑ์ การขออยู่ในราชอาณาจักรไทย (ขอวีซ่า) ประเภทบริษัททั่วไป (แบบย่อ รายละเอียดแบบเต็มดูด้านล่าง)
บิดา มารดาเป็นคนสัญชาติไทย
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
บิดา มารดาเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
หลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ของบิดา มารดา (สำเนาหนังสือเดินทาง , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
บันทึกปากคำของผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน อาชีพ และรายได้บิดามารดาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
บุตรต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์) หรือ อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักสูตรระดับ จำนวนปีการศึกษา และยังอยู่ในอุปการะของบิดามารดา หรือพิการจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
* บุตร สามารถเข้ามาและยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ เพื่ออุปการะบิดา-มารดาที่เป็นคนมีถิ่นที่อยู่ฯ ได้เพียงคนเดียว
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน
ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
สัญญาว่าจ้าง
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
ในสถานศึกษาของเอกชนหรือโรงเรียนนานาชาติ
หลักฐานเอกสารประกอบ
ในส่วนกลาง - หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน หรือ
ในส่วนภูมิภาค - หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่สถานศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา ที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
หนังสือรับรองจากสถานศึกษานั้น ๆ
ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
คุณวุฒิการศึกษา
ใบอนุญาตให้เป็นครู ( สช . 11)
ใบอนุญาตให้บรรจุครู ( สช . 18 หรือ 19)
สัญญาว่าจ้าง
ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นครูผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล หรือเอกชน
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีเพื่อทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน
ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2)
สัญญาว่าจ้าง
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ . ง . ด . 91) ในรอบปีที่ผ่านมา
ในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาโดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่สอน ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ( ตท . 2)
สัญญาว่าจ้าง
คุณวุฒิการศึกษา
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานศึกษาและอนุมัติแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดี
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ . ง . ด . 91) ในรอบปีที่ผ่านมา
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือดูงาน หรือฝึกงาน
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อศึกษาใน
สถานอุดมศึกษาของรัฐบาล
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากคณบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ( ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย )
สถานอุดมศึกษาของเอกชน
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นๆ ( ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษาระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย )
หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเอกชน (สกอ.) ( One Stop)
สำเนาใบลงทะเบียนเรียน และสำเนาใบเสร็จรับเงิน
ใบแสดงผลการศึกษา ( Transcript) ในกรณีปีที่ 2 ขึ้นไป
ใบอนุมัติให้แต่งตั้งเป็นอธิการบดี
ใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
กรณีดูงาน
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือ จากสถานทูต หรือสถานกงสุล
กรณีฝึกงาน
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหนังสือจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
หนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เข้ารับการฝึกงาน
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีศึกษาในสถานศึกษา
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อศึกษาใน
สถานศึกษาของรัฐบาล
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ
ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน
และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย
หนังสือรับรองจากผู้อำนวยการโรงเรียนของสถานศึกษานั้น ๆ
สถานศึกษาของเอกชน
ในส่วนกลาง ( กทม .)
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับกรมหรือเทียบเท่าที่รับผิดชอบสถานศึกษานั้นๆ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย
หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
ในส่วนภูมิภาค
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่สถานศึกษานั้น ๆ ตั้งอยู่ ทั้งนี้ให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับการศึกษา หลักสูตรหรือทุน และผลการศึกษาของผู้ร้องด้วย
หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ ( สช . 8) หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ ( สช . 5)
ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ( สช . 2)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากโรงเรียนนานาชาติ
ถ้าพำนักอยู่กับบิดามารดาให้นำหลักฐานการเป็นบิดามารดากับบุตรมาแสดงพร้อมทั้งหลักฐานการได้รับอนุญาตของบิดามารดาด้วย หรือถ้ามิได้พำนักอาศัยอยู่กับบิดามารดาต้องระบุว่าอาศัยอยู่กับผู้ใด ที่ใด เกี่ยวข้องเป็นอะไรกัน ปัจจุบันบิดามารดาอยู่ที่ใดและเหตุที่เข้ามาศึกษา
ใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน (สช. 2)
ใบอนุญาตแต่งตั้งเป็นครูใหญ่ (สช. 8) หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ (สช. 5)
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อดูแลบุตรศึกษาในสถานศึกษา
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่ออยู่ติดตาม หรือเพื่อดูแลบุตรซึ่งกำลังศึกษาในสถานศึกษา
หลักฐานเอกสารประกอบ
กรณีที่เคยได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรมานานแล้วด้วยเหตุผลดูแลบุตรมาตลอด ( ก่อน 17 ม.ค. 2543)
อนุญาตเฉพาะมารดา ต้องมี
หนังสือรับรองจากธนาคาร โดยมีเงินฝากในบัญชีไม่ต่ำกว่า 250,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง
สำเนาบัญชีเงินฝากในธนาคารไม่ต่ำกว่า 250,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง และวันนัดฟังผล
กรณีที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก และขออยู่ต่อด้วยเหตุผลเพื่อดูแลบุตร ( หลัง 17 ม.ค. 2543)
อนุญาตเฉพาะ บิดา หรือมารดา ต้องมี
หนังสือรับรองจากธนาคาร โดยมีเงินฝากในบัญชีไม่ต่ำกว่า 800,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง
สำเนาบัญชีเงินฝากในธนาคารไม่ต่ำกว่า 800,000 บาท ในวันยื่นคำร้อง และวันนัดฟังผล
หลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศ
4. หลักฐานการเป็นครอบครัว
( หากมีการแปลจะต้องรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือโดยกระทรวงการต่างประเทศ )
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีมาปฏิบัติหน้าที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐ
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน (ตท. 2)
กรณีมีการว่าจ้าง ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
หลักฐานเอกสารประกอบ
สัญญาว่าจ้าง
กรณีมีรายได้ ต้องมี
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฎิบัติงานให้กับบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อ
ปฏิบัติงานให้กับบริษัทซึ่งเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ต้องระบุว่า
คนต่างด้าวเข้ามาปฏิบัติงานตามโครงการใด
เป็นระยะเวลาเท่าใด และ
บริษัทเอกชนซึ่งเป็นนายจ้างเป็นผู้รับสัมปทาน หรือผู้รับเหมาตามสัญญาใด
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2 )
หนังสือรับรองเงินเดือนจากบริษัทซึ่งคนต่างด้าวปฏิบัติงาน
สัญญาจ้างระหว่างส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญา
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
กรณีมีรายได้ ต้องมี
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
กรณีอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมี
ใบทะเบียนการค้า ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว/ หนังสือรับรองกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์
กรณีอยู่ติดตาม ต้องมี
ทะเบียนสมรส/ สูติบัตร หรือหลักฐานการเป็นครอบครัว ( หากมีการแปลจะต้องรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือกระทรวงการต่างประเทศ) และหนังสือรับรองของผู้ที่ได้รับสิทธิ์
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่มูลนิธิ และองค์การกุศลสาธารณะ
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่
องค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การเอกชนต่างประเทศ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
หนังสือรับรองจากองค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การเอกชนต่างประเทศ
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
ใบอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ( ซึ่งยื่นต่อหน่วยงานของ
รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า)
หนังสือชี้แจงการทำงานของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การ
เอกชนต่างประเทศตามรูปแบบที่ สตม . กำหนด
บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงาน
กรณีมีรายได้ ต้องมี
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
สมาคมหรือมูลนิธิ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า (กรณี ONE STOP )
หนังสือรับรองจากสมาคม หรือมูลนิธิ
สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม หรือมูลนิธิ
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
หนังสือชี้แจงการทำงานของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะตามรูปแบบที่ สตม . กำหนด
บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงาน
กรณีมีรายได้ ต้องมี
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีต่อไป)
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อ
เข้ามาเผยแพร่ศาสนา
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากรมการศาสนา หรือกระทรวงวัฒนธรรม
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
หนังสือรับรองจากคณะ หรือสำนักที่คนต่างด้าวเข้ามาประจำ
บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ข้ามาเผยแพร่ศาสนาประจำคณะ หรือสำนัก แยกประเภทคนมีถิ่นที่อยู่และคนอยู่ชั่วคราว
กรณีมีรายได้ ต้องแสดง
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ.ง. ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
เพื่อศึกษาพุทธศาสนา หรือปฏิบัติศาสนกิจ
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
หนังสือรับรองจากเจ้าอาวาสที่คนต่างด้าวเข้ามาศึกษา
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอน ในสถาบันค้นคว้าหรือสถานบันการศึกษาในราชอาณาจักร
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
กรณีขออยู่ต่อเพื่อ
ค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร
หลักฐานเอกสารประกอบ
หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า ( กรณีทำการวิจัย ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ภาครัฐ ) หรือ หนังสือรับรองจากสถานทูต สถานกงสุล ( กรณีระยะสั้นไม่เกิน 90 วัน)
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2) จากกรมการจัดหางาน
กรณีมีรายได้ ต้องแสดง
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด (ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีต่อไป)
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน (ตท. 2)
หนังสือรับรองจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
บัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว
หนังสือรับรองการมีรายได้ หรือสัญญาว่าจ้าง
กรณีมีรายได้ ต้องมี
รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และ สำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศ
แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
หนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย
สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2) จากกรมการจัดหางาน
แบบหนังสือรับรองการจ้างงาน
หนังสือชี้แจงขออนุมัติให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรพร้อมรับรองเงินเดือน
หลักฐานการชำระภาษีของคนต่างด้าวและพนักงานคนไทยเดือนล่าสุด (ภ.ง.ด. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงิน
รายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในธนาคาร
หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือหนังสือมอบอำนาจซึ่งได้รับการรับรองจาก NOTARY PUBLIC
ใบจดทะเบียนพาณิชย์
ใบรับรองอนุญาตจัดตั้งสาขาธนาคารต่างประเทศ/ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ/ สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ
ใบอนุญาตให้ประกอบธนาคารพาณิชย์
ใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ. 20)
แบบแสดงรายงานเสียภาษีเงินได้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50 ปีล่าสุด)
งบและบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด
แผนภูมิ
แผนที่ตั้งธนาคาร
กรณีขออยู่ต่อปีต่อไป
ต้องแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด (ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน
กรณีอยู่ติดตาม ต้องมี
ทะเบียนสมรส/ สูติบัตร หรือหลักฐานการเป็นครอบครัว ( หากมีการแปลจะต้องรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือกระทรวงการต่างประเทศ) และหนังสือรับรองของผู้ที่ได้รับสิทธิ์
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการ
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า
หลักฐานแสดงความรู้ความสามารถ การผ่านงาน
ใบอนุญาตทำงานหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 1) การยื่นคำร้องในปีต่อไปให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ในรอบปีผ่านมาแสดง
กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้องประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ด้วย โดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
เพื่อปฏิบัติงานให้กับส่วนเอกชน
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หนังสือชี้แจงรายละเอียดจากบริษัท ห้าง ร้าน หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล
ใบอนุญาตทำงานหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
หลักฐานการนำเข้าเครื่องจักร
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานนิติบุคคลต่างประเทศ(ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือ สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ)
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของผู้ยื่นคำร้องรวมทั้งคนต่างด้าวอื่นๆที่ปฏิบัติงานว่า มีหน้าที่อะไรบ้าง มีเหตุผลใดต้องใช้คนต่างด้าวทำหน้าที่ นั้นๆ
ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
หนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์
ใบขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
หนังสือมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่
หลักฐานการนำเงินเข้ามาในราชอาณาจักรตามเงื่อนไข (ธ.ต. 03 หรือ ธ.ต. 04)
เอกสารสัญญาประกอบธุรกิจ (ถ้ามี)
หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานคนไทยและคนต่างด้าว(ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด กรณียื่นคำร้องขอยู่ต่อปีต่อไป ให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวใน รอบปีที่ผ่านมา
กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้อง ประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ด้วยโดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
* ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สำนักงานผู้แทน) หมายถึง ธุรกิจที่บริการ
เกี่ยวกับการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนหรือผู้ใช้สินค้า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ
** สำนักงานภูมิภาค หมายถึง สำนักงานของบริษัทข้ามชาติที่ตั้งในประเทศอื่น นอกจากประทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้งเพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ การให้คำปรึกษาและบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิจัยและพัฒนา โดยมีรายได้จากการบริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศ
ที่เข้าไปตั้ง ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
*** บริษัทข้ามชาติ (สำนักงานสาขา) หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของผู้ยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ รวมทั้งคนต่างด้าวอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานนั้น ว่ามีหน้าที่อะไรและมีเหตุผลใดที่ต้องจ้างคนต่างด้าวทำหน้าที่นั้นๆ
ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท จำกัด , ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ. 20) บัญชีผู้ถือหุ้นบริษัท หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานคนไทยและคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด ถ้าเป็นการยื่นคำร้องขออยู่ต่อปีต่อไปให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้อง ประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ด้วย โดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
** หลักเกณฑ์การพิจารณาทั่วไปต้องเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญเป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชน และมีการลงทุนสูง **
การยื่นคำร้องขออยู่กรณีผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
หลักฐานรับรองการโอนเงินเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท โดยคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้สั่งโอนเงินจากต้นทางในต่างประเทศหรือเป็นผู้รับเงินปลายทางในประเทศ
หลักฐานการนำเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทไปลงทุน หลังจากวันที่โอนเงินเข้ามาแล้ว
กรณีใดกรณีหนึ่งหรือในหลายกรณีรวมกันดังต่อไปนี้
ฝากเงินประเภทฝากประจำกับธนาคารของรัฐ( ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ )
ซื้อพันธบัตร ซึ่งออกโดยส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจทั้งนี้ต้องซื้อจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือซื้อจากตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจนั้น
ซื้อห้องชุดในอาคารชุด จากเจ้าของโครงการตามราคาที่ได้จดทะเบียนกับส่วนราชการกรมที่ดิน
การลงทุนซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
เงื่อนไขการอนุญาต
คนต่างด้าวต้องถือครองการลงทุนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา หากประสงค์จะเปลี่ยนช่องทางการลงทุนต้องมีหนังสือแจ้งขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเปลี่ยนช่องทางการลงทุนได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนช่องทางการลงทุนตามที่ได้รับอนุญาตต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
แบบฟอร์ม ตม. 7
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
- ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
หลักเกณฑ์การประกอบการขออยู่ต่อ กรณีเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลาย
- เป็นคนต่างด้าวสูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเข้าประเทศ
- มีหลักฐานการเงินแสดงข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
กรณีมีเงินฝากธนาคาร ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
- หลักฐานบัญชีเงินฝากและหนังสือรับรองของธนาคาร ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท ( แสดงบัญชีเงินฝากย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 เดือน )
กรณีมีรายได้จากเงินบำนาญไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท
- หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ยื่นคำร้อง แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญหรือเงินประกันสังคมไม่น้อยกว่าเดือนละ 65,000 บาท
กรณีมีเงินฝาก และเงินรายได้จากบำนาญต่อเดือนคูณ 12 เดือน รวมกันไม่น้อยกว่า 800,000 บาท
- สำเนาบัญชีธนาคาร และหนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคาร
- หนังสือรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ยื่นคำร้อง แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญ
การยื่นคำร้องขอยู่ต่อฯเพื่อรับอุปการะจากสามีสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ฯ (ภรรยาคนต่างด้าว)
สามีคนสัญชาติไทย
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
ใบสำคัญการสมรส
สำเนาทะเบียนบ้าน , บัตรประชาชนสามี
สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้องและสามี
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
สามีเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
ใบสำคัญการสมรส
สำเนาหนังสือเดินทางสามี , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของสามี , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ของสามี
สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้องและสามี
หลักฐานการมีเงินได้ของสามีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น
- สมุดบัญชีเงินฝาก
- หนังสือรับรองจากธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝาก
- หลักฐานการทำงาน , รายได้ ฯลฯ
หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ (ถ้ามี)
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อให้อุปการะแก่บุตรคนสัญชาติไทย (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร สูติบัตร หรือคำสั่งศาลให้เป็นผู้ปกครองดูแลบุตร
หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน ดังนี้
- บัญชีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย , หนังสือรับรองจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี รับรองการโอนเงินมาจากต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 400,000 บาทหรือ
- หนังสือรับรองการทำงาน ใบอนุญาตทำงานและหลักฐานการรชำระภาษีเงินได้(ภ.ง.ด. 1 เดือนล่าสุด และ ภ.ง.ด. 91 ในรอบปีที่ผ่านมา)ไม่ต่ำกว่า 40,000 บาทหรือหากมีรายได้อื่นๆ เช่นเงินบำนาญ หรือเงินประกันสังคม ให้นำหนังสือรับรองการมีบำนาญจากสถานฑูต และหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาผ่านธนาคารโดยนำเข้าบัญชีเงินฝากในประมาณอันสมควรและสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท
บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
* บิดามารดาคนต่างด้าวให้ความอุปการะบุตรบุญธรรมคนสัญชาติไทย ให้พิจารณาไม่อนุญาต
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อรับอุปการะจากบุตร (บิดา/มารดาคนต่างด้าว)
บุตรเป็นคนสัญชาติไทย
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้องและบุตร
หลักฐานฐานะทางการเงิน อาชีพ รายได้ของบุตร หรือ ของผู้รับอุปการะ
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อขอรับการอุปการะจากบิดา มารดา (บุตรคนต่างด้าว)
บิดา มารดาเป็นคนสัญชาติไทย
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
บันทึกปากคำผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
บิดา มารดาเป็นคนมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
หลักฐานแสดงการเป็น บิดา มารดา บุตร หรือสูติบัตร ทะเบียนสมรส ของบิดามารดา
หลักฐานแสดงการมีถิ่นที่อยู่ของบิดา มารดา (สำเนาหนังสือเดินทาง , ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ , ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
บันทึกปากคำของผู้ยื่นคำร้อง และบุตร
หลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน อาชีพ และรายได้บิดามารดาพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
บุตรต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ (ไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์) หรือ อยู่ระหว่างการศึกษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ หลักสูตรระดับ จำนวนปีการศึกษา และยังอยู่ในอุปการะของบิดามารดา หรือพิการจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
* บุตร สามารถเข้ามาและยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ เพื่ออุปการะบิดา-มารดาที่เป็นคนมีถิ่นที่อยู่ฯ ได้เพียงคนเดียว
การยื่นคำร้องขออยู่ประเภทนักท่องเที่ยว
เอกสารทั่วไป... ตม. 7( คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
เอกสารเฉพาะกรณี
กรณีเจ็บป่วย
หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้
เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร
เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร
ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป
การประทับตราในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
กรณีคนต่างด้าวยื่นคำร้องขออยู่ต่อในครั้งแรกจะประทับตราอนุญาตให้อยู่ต่อ 30 วัน นับแต่วันที่การได้รับอนุญาตสิ้นสุดลง ยกเว้นบุคคลสัญชาติ ศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน บังคัลาเทศ เนปาล ไนจีเรีย โตโก และอูกานดา เมื่อยื่นคำร้องขออยู่ต่อในครั้งแรกให้ประทับตราแจ้งให้คนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักรภายใน 7 วัน และพิจารณาเสนอในทางไม่อนุญาต
กรณีคนต่างด้าวยื่นคำร้องขออยู่ต่อไปอีกในครั้งที่สอง เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรมาครบ 90 วันแล้ว
กรณีมีเหตุจำเป็นและหลักฐานแสดง พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับตรานัดให้คนต่างด้าว มารายงานตัวเพื่อฟังผลการพิจารณาเป็นเวลา 15 – 30 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง ( ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จะได้รับอนุญาต) ในระหว่างรอฟังผลการพิจารณา ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยุ่ในราชอาณาจักรไปพลางก่อนได้
กรณีที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ประทับตรานัดคนต่างด้าว มารายงานตัว เพื่อฟังผลการพิจารณาเป็นเวลา 15 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง ในระหว่างรอฟังผลการพิจารณา ให้คนต่างด้าวผู้นั้นอยุ่ในราชอาณาจักรไปพลางก่อนได้
การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเนื่องจากเหตุจำเป็นอื่นๆ (ไม่จำกัดประเภทตรวจลงตรา)
กรณีทั่วไป
ตม. 7
สำเนาหนังสือเดินทาง
รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
กรณีเจ็บป่วย
หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้ *
เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร
เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร
ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป
กรณีหนังสือเดินทาง หรือทรัพย์สินที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเดินทางสูญหาย
สำเนาประจำวันรับแจ้งเหตุ
เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองจากสถานทูตที่มีสำเนาหลักฐานการเดินทางเข้ามาและได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร(กรณี หนังสือเดินทางสูญหาย)
กรณีเป็นผู้กล่าวหา หรือผู้เสียหาย ผุ้ต้องหา จำเลย หรือพยาน
หนังสือรับรองจากศาล อัยการ หรือ หัวหน้าส่วนราชการตำรวจที่มีอำนาจในการสอบสวน
กรณีมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับคนสัญชาติไทย
หลักฐานแสดงการเป็นบุตรคนสัญชาติไทย หรือความเคยเป็นคนสัญชาติไทย
เป็นการยื่นคำร้องขอยู่ต่อฯ เพื่อ
อยู่ในความอุปการะของบิดามารดา หรือญาติคนสัญชาติไทย
เยื่ยมญาติ
กลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
ตารางเงินได้ท้ายคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 606/2549
ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ตามหลักเกณฑ์ข้อ 7.1 (2)
สัญชาติ
รายได้ขั้นต่ำ
1. ประเทศในทวีปยุโรป และทวีปออสเตรเลีย, ประเทศแคนาดา, ประเทศญี่ปุ่น, และประเทศสหรัฐอเมริกา
50,000 บาท/เดือน
2. ประเทศเกาหลีใต้, ประเทศสิงคโปร์, ใต้หวัน, และฮ่องกง
45,000 บาท/เดือน
3. ประเทศในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาใต้, ประเทศในเขตยุโรปตะวันออก, ประเทศในเขตอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก, ประเทศตุรกี, ประเทศรัสเซีย, และประเทศแอฟริกาใต้
35,000 บาท/เดือน
4. ประเทศในทวีปแอฟริกา, ประเทศกัมพูชา, ประเทศพม่า, ประเทศลาว, และประเทศเวียดนาม
25,000 บาท/เดือน