ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 5 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article

 

 

 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

      ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

 

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

      1.  ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

      2.  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

      3.   ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

      4.  ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536

      5.  ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

 

 

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

 

 

      1.  ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ

      2.  ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

      3.   การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน

      4.   การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

      5.  การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

      1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

            แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง

      2.   เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

          (1)   คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ

          (2)   สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว

          (3)   บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

          (4)   สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

          (5)   หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)

          (6)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)

          (7)   บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

          (8)   แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด

          (9)   กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป




กำหนดเวลาจดทะเบียน

 

       1.   ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

       2.   ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี



สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

           

           การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

            1.  กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่

            2.   กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่ที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ที่เคยควบคุมพื้นที่เดิมของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่นั้น

                  กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

            3.   กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้





ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

       เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป

       กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการแต่ละแห่งในสถานที่ที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย

       กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


              กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย

              เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

          1. แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
          2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          3. ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
          4. หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
          5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

       1.   เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

       2.   จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

              (1)   รายงานภาษีซื้อ

              (2)   รายงานภาษีขาย

              (3)   รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

       3.   ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30



รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี

 

    ต้องขอออกตัวก่อนว่าดิฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษี แต่วันนี้ อยากจะนำเกร็ดเกี่ยวกับภาษีที่ได้ประสบมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่าน เพราะตอนนี้ย่างเข้าสู่ฤดูกาลยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการอัดฉีด เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจในปี 2552 ติดลบมากเกินไป วิธีการหนึ่งที่รัฐบาลทำ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินภาษี และมีผู้ให้ข้อสังเกตว่า รัฐบาลใช้วิธีคืนเงินภาษีช้าๆ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบของรัฐ เท็จจริงแค่ไหนไม่ทราบ แต่จนป่านนี้ดิฉันเองก็ยังไม่ได้รับคืนภาษีเงินได้ของปี 2551 ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเกินไป

ผู้คนที่ดิฉันสนทนาด้วยบอกว่า ไม่ได้ว่าอะไรที่กรมสรรพากรจะใช้เวลาตรวจสอบนาน แต่ที่รู้สึกโกรธแค้น คือ ขอเอกสารทีละหน่อย ละหน่อย ทำให้เสียเวลา เวลาขอแจ้งว่าส่งทางโทรสารก็ได้ แต่พอส่งแล้วก็แจ้งมาขอตัวจริงอีก โดยเฉพาะผู้ที่ยื่นเอกสารผ่านอินเทอร์เน็ต ดิฉันรวบรวมข้อควรรู้มาให้ท่านทราบดังนี้

  ยื่นแบบแต่เนิ่นๆ ท่านที่ยื่นแบบในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มี.ค.จะพบว่าทุกช่องทางแน่นไปหมด ยื่นด้วยเอกสารก็มีคิวยาว ไปรอเป็นวันๆ เสียเวลาทำงานอย่างมาก ยื่นด้วยอินเทอร์เน็ตก็เข้าสู่ระบบยาก ค่อนข้างช้า แม้ว่าในปีที่แล้วจะดีขึ้นแล้วก็ตาม

  กรมสรรพากรได้พัฒนาการลงทะเบียนยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และได้ปรับปรุงจนใช้งานค่อนข้างสะดวกแล้ว หากไม่มีรายการมากมาย คือ มีเพียงรายได้จากเงินเดือน และโบนัส ท่านยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตอาจสะดวกกว่าค่ะ

  หากมีเอกสารหรือมีรายการมาก ไม่ควรยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต อันนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรบอกดิฉันเอง

  ทราบหรือไม่ว่า ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบุพการี 30,000 บาทนั้น ไม่สามารถหักลดหย่อนได้หากบุพการีมีรายได้เกิน 30,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นรายได้ประเภทใด ทั้งดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ

  เงินบริจาคหากมีชื่อมากกว่า 1 คน ต้องหารเฉลี่ยเท่ากันทุกคนเวลานำมาใช้ลดหย่อน เว้นแต่ระบุลงไปว่าเป็นเงินบริจาคจากใครจำนวนเท่าใด ถ้าจะให้ดี แยกชื่อบริจาคจะสะดวกกว่าค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ทำบุญร่วมกัน

  หากสมรสจดทะเบียน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะกู้ในนามสามีหรือภรรยา สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละครึ่ง

  เบี้ยประกันชีวิต ที่จะนำมาหักลดหย่อน คู่สามีภรรยา สามารถหักลดหย่อนแต่ละคนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคนละ 100,000 บาท

  เงินได้จากรางวัลต้องนำไปคำนวณภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) เพราะฉะนั้นหากท่านเผอิญโชคดีส่งบัตรชิงโชคไปแล้วได้รับรางวัล ทางห้างร้านเขาจะตีมูลค่ารางวัลของท่านเป็นเงิน และหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ 5% และท่านยังมีภาระต้องเสียภาษีส่วนที่เหลือตามฐานภาษีของท่านนะคะ อย่าคิดว่าหัก 5% ก็เรียบร้อยแล้ว และกรณีที่ได้รางวัลเป็นบริการ อาทิเช่น โรงแรมหรือสปา ถึงท่านจะใช้หรือไม่ใช้สิทธิก็ตาม ทางสรรพากรจะถือว่าท่านรับเงินได้ไปแล้วเท่ากับที่ห้างร้านเขาตีราคาเอาไว้ ท่านต้องเสียภาษีบนเงินได้นี้ด้วย เพราะฉะนั้น หากท่านได้รางวัล ให้สอบถามก่อนว่ารางวัลอะไร และถ้าเห็นว่ารางวัลนั้นท่านไม่ได้ใช้แน่ๆ ก็ไม่ควรรับมา มิฉะนั้น จะกลายเป็นทุกขลาภไป

     อยากจะฝากห้างร้านที่ตีมูลค่ารางวัลด้วยว่าอย่าตีแบบเฟ้อค่ะ เข้าใจว่าเวลาโฆษณาดูเท่ดี เหมือนว่ารางวัลใหญ่ แต่มูลค่าจริงไม่ถึงที่ท่านตี และนอกจากนี้ เนื่องจากผู้รับรางวัลมีภาระภาษี 5-37% ของมูลค่าของรางวัล ไม่ได้ได้มาฟรีๆ ดังนั้น ท่านควรจะให้ผู้ได้รางวัลสามารถใช้รางวัลนั้นได้โดยไม่มีกำหนดอายุ มิฉะนั้น ท่านให้รางวัลเป็นเงินสดจะดีกว่าค่ะ ลูกค้าจะได้ไม่เสียความรู้สึก

   ควรพยายามไม่ให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าที่ควรจะเสีย ถ้าจะให้ดี หักไม่ครบและไปจ่ายภายหลังจะดีกว่า เพราะฉะนั้น กรณีเป็นพนักงานบริษัท เวลามีรายการลดหย่อนต่างๆ ต้องแจ้งฝ่ายบุคคลตั้งแต่ต้นปี อาทิเช่น วางแผนว่าจะซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในช่วงปลายปี หรือตลอดทั้งปี ก็แจ้งฝ่ายบุคคลไว้ตั้งแต่ต้นปีเลย เพราะหากไปแจ้งในจุดที่ลงทุน ภาษีที่หักไปแล้วอาจจะเกินที่ควรจะต้องจ่าย ดังนั้น จึงต้องไปขอคืน ซึ่งกว่าจะได้คืนอาจต้องข้ามไปเป็นปี

   ฝากกรมสรรพากรพิจารณาว่า จะดีกว่าหรือไม่ที่บังคับให้ยื่นเอกสารประกอบทุกชิ้นตามไปหลังการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต โดย ทำให้การยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงการทดแทนการไปยืนเข้าคิว เป็นวันๆ เพราะในปัจจุบันท่านผลักภาระการเก็บเอกสารให้เป็นของผู้เสียภาษี และเอาเข้าจริงๆ ท่านก็ตรวจเอกสารทุกชิ้นอยู่ดี เพียงแต่ท่านมีเวลาตรวจยาวขึ้นเป็นปีๆ ถ้าผู้เสียภาษีส่งให้ท่านทั้งหมด อย่างน้อยท่านก็ต้องรีบตรวจเบื้องต้นภายในช่วงเวลาที่ยื่น คือ ภายใน 31 มี.ค.

   เชื่อไหมคะว่าของภาษี 2551 ดิฉันยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตก็แล้ว ถูกตามเอกสารก็แล้ว ถูกแจ้งให้ยื่นเป็นกระดาษใหม่ก็แล้ว ถูกตามรอบที่สามก็แล้ว รวมระยะเวลาการยื่น 11 เดือน ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คืนเลยค่ะ

   หากรัฐบาลต้องการให้ผู้เสียภาษีบริจาคเงินภาษีที่จะได้คืนก็ขอกันดีๆ ได้ค่ะ ไม่ต้องยึกยื้อ ให้เสียความรู้สึกและเสียเวลากันเปล่าๆ โลกสมัยนี้พัฒนาไปมากแล้ว ส่งเอกสารกลับไปครั้งหนึ่งใช้เวลาตรวจ 3-5 เดือนแล้วส่งกลับมาขอเพิ่ม ขอใหม่ และขอเสนอว่า เงินภาษีที่ถูกหักเกินไป หากบริจาคให้กรมสรรพากร จะสามารถถือเป็นเงินบริจาคให้กับองค์กรการกุศล สามารถนำไปหักลดหย่อนในปีต่อไปได้ด้วย

ภาษีเบี้ยประกันชีวิต

 

  ได้รับคำถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับกรณีบริษัทจำกัดจ่ายเบี้ยประกันให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมเพื่อเป็นสวัสดิการและการตอบแทน ว่า
   
1.เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ ออกให้ กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯได้หรือไม่ และต้องถือเอาเบี้ยประกันชีวิต ดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินของกรรมการผู้จัดการเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร
   
2.กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร

  เกี่ยวกับเรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคำตอบของกรมสรรพากรตามหนังสือเลขที่กค 0811/408 ลงวันที่ 21 มกราคม 2543 ดังนี้
   
1.เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุม ของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบแล้ว
บริษัทฯมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกในการแสดงหลักฐานให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่า เบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้จ่ายโดยบริษัท...เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ   ออกให้เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่ลูกจ้างได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานที่ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป โดยบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ จ่ายจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวด้วย หากกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป และบริษัทผู้รับประกันประกอบกิจการในประเทศไทย พนักงานมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท  
   
2.เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้

 

มาตรา 27 ตรี วรรคแรก ได้บัญญัติไว้เป็นหลักว่า เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กำหนดระยะเวลาในการขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายและได้มีการนำส่งไว้เป็นจำนวนเงินที่เกินกว่าที่ต้องควรเสีย หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้มีสิทธิขอคืน คือผู้มีเงินได้ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ทำการเป็นตัวแทนในการยื่นคำร้องขอคืนภาษี 

วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี  หมายถึงวันครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ เช่น กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการคือวันที่ 31 มีนาคมของปีปฏิทินถัดไป หรือกรณีเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการคือภายใน 150 วันหลังสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลนั้น มิใช่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี (กลางปี) ล่วงหน้า ในกรณีมีกฎหมายกำหนดให้มีการยื่นชำระภาษีและแบบแสดงรายการล่วงหน้า

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอคืนภาษียื่นแบบแสดงรายการเมื่อพ้นเวลาที่กำหนด หรือได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีให้ขยายหรือเลื่อนออกไป ตามมาตรา 3 อัฎฐ มาตรา 27 ตรีวรรคสอง กำหนดว่าการยื่นคำร้องขอคืนก็สามารถยื่นได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการตามที่ได้ขยายไปนั้น 

หรือในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี ทำการยื่นอุทธรณ์การประเมินหรือเป็นคดีในศาล คำร้องขอคืนก็สามารถยื่นได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือ หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี

อนึ่ง ประมวลรัษฎากรยังได้กำหนดเพิ่มเติมไว้เป็นพิเศษในเรื่องการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้เกินใน มาตรา 63 เป็นต่างหากด้วยว่า

 บุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนแต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่พนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป

ดังนั้น ความในมาตรา 63 จึงถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 27 ตรี ระยะเวลาในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงย่นระยะเวลามาเป็น 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีภาษี ซึ่งถูกหักภาษีเกินไป

ฎ.9911/2539 ได้วินิจฉัยไว้ดังนี้ การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ที่บริษัทถูกหักและนำส่งเกินไป บริษัทต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันสิ้นปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ไม่ใช่นับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี) จะนำมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาบังคับไม่ได้ เมื่อรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์ เริ่ม 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค. ดังนั้นรอบระยะเวลาบัญชี 2531 ซึ่งได้ยื่นคำร้องขอคืนเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2535 ขาดอายุความขอคืนแล้ว (นอกจากนี้ยังมี ฎ. 9912/2539 ฎ. 9913/2539 ฎ. 1810/2540 ฎ. 4688/2540 ก็วินิจฉัยไว้ในลักษณะเดียวกัน)

มีข้อน่าสังเกตว่า แม้มาตรา 63 จะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดาแต่มาตรา 3 เตรส ซึ่งเป็นมาตราที่ว่าด้วยการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกประเภท กำหนดให้นำความมาตรา 63 มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วย จึงมีผลให้ความในมาตรา 63 ครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทุกประเภท ทั้งของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

มาตรา 3 เตรส กำหนดไว้ดังนี้

ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินพึงประเมินตามมาตรา 40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายตามลักษณะ 2 ภาษี ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ในการนี้ ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

นอกจากนี้ ศาลฎีกายังได้มีคำพิพากษาตัดสินไว้ใน  ฎ.9913/2540 ไว้ด้วยดังนี้

มาตรา 3 เตรส นั้นใช้บังคับทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และนำมาตรา 63 มาบังคับแก่การขอคืนเงินไว้แล้ว ดังนั้น จึงนำมาตรา 27 ตรี มาใช้บังคับไม่ได้

ในส่วนของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิได้ขอเครดิตภาษีตามรายเดือนภาษีนั้นมาตรา 84/1 ได้บัญญัติไว้เป็นเอกเทศดังนี้

       กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีภาษีต้องคืน ให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น ซึ่งคือวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป

        กรณีการขายสินค้าหรือให้บริการในกรณีอื่น เช่น คำนวณผิดพลาดชำระซ้ำ ฯลฯ ให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่ที่ได้ชำระภาษี

ส่วนขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะมาตรา 91/11 ได้บัญญัติไว้เป็นเอกเทศเช่นกันโดยให้ยื่นคำร้องภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

      ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

 

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

      1.  ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

      2.  ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย

      3.   ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

      4.  ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536

      5.  ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

 

 

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

 

 

      1.  ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ

      2.  ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

      3.   การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน

      4.   การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

      5.  การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

      1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

            แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง

      2.   เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

          (1)   คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ

          (2)   สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว

          (3)   บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

          (4)   สัญญาเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, สัญญาซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, สัญญาเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

          (5)   หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)

          (6)   หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)

          (7)   บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

          (8)   แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด

          (9)   กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป




กำหนดเวลาจดทะเบียน

 

       1.   ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

       2.   ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี



สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

           

           การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

            1.  กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ที่ สถานประกอบการตั้งอยู่

            2.   กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ และกรณีสถานประกอบการตั้งในท้องที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่ที่กรมสรรพากรมิได้จัดอัตรากำลังไว้ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ที่เคยควบคุมพื้นที่เดิมของอำเภอหรือกิ่งอำเภอตั้งใหม่นั้น

                  กรณีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ในท้องที่ที่สถานประกอบการอันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่เพียงแห่งเดียว

            3.   กรณีสถานประกอบการที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ยื่น ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้





ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

       เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.01 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะมีการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) ให้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้นไป

       กรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เพียงแห่งเดียว แต่กรมสรรพากรจะออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ให้แก่สถานประกอบการทุกแห่ง โดยผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องนำใบทะเบียนดังกล่าวไปแสดงไว้ ณ สถานประกอบการแต่ละแห่งในสถานที่ที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย

       กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ซึ่งใบแทนดังกล่าวถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม


              กรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบการ จดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาหรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่แล้วแต่กรณี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลาย

              เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

          1. แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.04) จำนวน 3 ฉบับ
          2. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ที่ชำรุด (ถ้ามี) พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
          3. ใบแจ้งความกรณีสูญหาย
          4. หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทนปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
          5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

       1.   เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

       2.   จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

              (1)   รายงานภาษีซื้อ

              (2)   รายงานภาษีขาย

              (3)   รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

       3.   ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30



รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี

 

    ต้องขอออกตัวก่อนว่าดิฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษี แต่วันนี้ อยากจะนำเกร็ดเกี่ยวกับภาษีที่ได้ประสบมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่าน เพราะตอนนี้ย่างเข้าสู่ฤดูกาลยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการอัดฉีด เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจในปี 2552 ติดลบมากเกินไป วิธีการหนึ่งที่รัฐบาลทำ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินภาษี และมีผู้ให้ข้อสังเกตว่า รัฐบาลใช้วิธีคืนเงินภาษีช้าๆ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบของรัฐ เท็จจริงแค่ไหนไม่ทราบ แต่จนป่านนี้ดิฉันเองก็ยังไม่ได้รับคืนภาษีเงินได้ของปี 2551 ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเกินไป

ผู้คนที่ดิฉันสนทนาด้วยบอกว่า ไม่ได้ว่าอะไรที่กรมสรรพากรจะใช้เวลาตรวจสอบนาน แต่ที่รู้สึกโกรธแค้น คือ ขอเอกสารทีละหน่อย ละหน่อย ทำให้เสียเวลา เวลาขอแจ้งว่าส่งทางโทรสารก็ได้ แต่พอส่งแล้วก็แจ้งมาขอตัวจริงอีก โดยเฉพาะผู้ที่ยื่นเอกสารผ่านอินเทอร์เน็ต ดิฉันรวบรวมข้อควรรู้มาให้ท่านทราบดังนี้

  ยื่นแบบแต่เนิ่นๆ ท่านที่ยื่นแบบในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มี.ค.จะพบว่าทุกช่องทางแน่นไปหมด ยื่นด้วยเอกสารก็มีคิวยาว ไปรอเป็นวันๆ เสียเวลาทำงานอย่างมาก ยื่นด้วยอินเทอร์เน็ตก็เข้าสู่ระบบยาก ค่อนข้างช้า แม้ว่าในปีที่แล้วจะดีขึ้นแล้วก็ตาม

  กรมสรรพากรได้พัฒนาการลงทะเบียนยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และได้ปรับปรุงจนใช้งานค่อนข้างสะดวกแล้ว หากไม่มีรายการมากมาย คือ มีเพียงรายได้จากเงินเดือน และโบนัส ท่านยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตอาจสะดวกกว่าค่ะ

  หากมีเอกสารหรือมีรายการมาก ไม่ควรยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต อันนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรบอกดิฉันเอง

  ทราบหรือไม่ว่า ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบุพการี 30,000 บาทนั้น ไม่สามารถหักลดหย่อนได้หากบุพการีมีรายได้เกิน 30,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นรายได้ประเภทใด ทั้งดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ

  เงินบริจาคหากมีชื่อมากกว่า 1 คน ต้องหารเฉลี่ยเท่ากันทุกคนเวลานำมาใช้ลดหย่อน เว้นแต่ระบุลงไปว่าเป็นเงินบริจาคจากใครจำนวนเท่าใด ถ้าจะให้ดี แยกชื่อบริจาคจะสะดวกกว่าค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ทำบุญร่วมกัน

  หากสมรสจดทะเบียน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะกู้ในนามสามีหรือภรรยา สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละครึ่ง

  เบี้ยประกันชีวิต ที่จะนำมาหักลดหย่อน คู่สามีภรรยา สามารถหักลดหย่อนแต่ละคนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคนละ 100,000 บาท

  เงินได้จากรางวัลต้องนำไปคำนวณภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) เพราะฉะนั้นหากท่านเผอิญโชคดีส่งบัตรชิงโชคไปแล้วได้รับรางวัล ทางห้างร้านเขาจะตีมูลค่ารางวัลของท่านเป็นเงิน และหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ 5% และท่านยังมีภาระต้องเสียภาษีส่วนที่เหลือตามฐานภาษีของท่านนะคะ อย่าคิดว่าหัก 5% ก็เรียบร้อยแล้ว และกรณีที่ได้รางวัลเป็นบริการ อาทิเช่น โรงแรมหรือสปา ถึงท่านจะใช้หรือไม่ใช้สิทธิก็ตาม ทางสรรพากรจะถือว่าท่านรับเงินได้ไปแล้วเท่ากับที่ห้างร้านเขาตีราคาเอาไว้ ท่านต้องเสียภาษีบนเงินได้นี้ด้วย เพราะฉะนั้น หากท่านได้รางวัล ให้สอบถามก่อนว่ารางวัลอะไร และถ้าเห็นว่ารางวัลนั้นท่านไม่ได้ใช้แน่ๆ ก็ไม่ควรรับมา มิฉะนั้น จะกลายเป็นทุกขลาภไป

     อยากจะฝากห้างร้านที่ตีมูลค่ารางวัลด้วยว่าอย่าตีแบบเฟ้อค่ะ เข้าใจว่าเวลาโฆษณาดูเท่ดี เหมือนว่ารางวัลใหญ่ แต่มูลค่าจริงไม่ถึงที่ท่านตี และนอกจากนี้ เนื่องจากผู้รับรางวัลมีภาระภาษี 5-37% ของมูลค่าของรางวัล ไม่ได้ได้มาฟรีๆ ดังนั้น ท่านควรจะให้ผู้ได้รางวัลสามารถใช้รางวัลนั้นได้โดยไม่มีกำหนดอายุ มิฉะนั้น ท่านให้รางวัลเป็นเงินสดจะดีกว่าค่ะ ลูกค้าจะได้ไม่เสียความรู้สึก

   ควรพยายามไม่ให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าที่ควรจะเสีย ถ้าจะให้ดี หักไม่ครบและไปจ่ายภายหลังจะดีกว่า เพราะฉะนั้น กรณีเป็นพนักงานบริษัท เวลามีรายการลดหย่อนต่างๆ ต้องแจ้งฝ่ายบุคคลตั้งแต่ต้นปี อาทิเช่น วางแผนว่าจะซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในช่วงปลายปี หรือตลอดทั้งปี ก็แจ้งฝ่ายบุคคลไว้ตั้งแต่ต้นปีเลย เพราะหากไปแจ้งในจุดที่ลงทุน ภาษีที่หักไปแล้วอาจจะเกินที่ควรจะต้องจ่าย ดังนั้น จึงต้องไปขอคืน ซึ่งกว่าจะได้คืนอาจต้องข้ามไปเป็นปี

   ฝากกรมสรรพากรพิจารณาว่า จะดีกว่าหรือไม่ที่บังคับให้ยื่นเอกสารประกอบทุกชิ้นตามไปหลังการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต โดย ทำให้การยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงการทดแทนการไปยืนเข้าคิว เป็นวันๆ เพราะในปัจจุบันท่านผลักภาระการเก็บเอกสารให้เป็นของผู้เสียภาษี และเอาเข้าจริงๆ ท่านก็ตรวจเอกสารทุกชิ้นอยู่ดี เพียงแต่ท่านมีเวลาตรวจยาวขึ้นเป็นปีๆ ถ้าผู้เสียภาษีส่งให้ท่านทั้งหมด อย่างน้อยท่านก็ต้องรีบตรวจเบื้องต้นภายในช่วงเวลาที่ยื่น คือ ภายใน 31 มี.ค.

   เชื่อไหมคะว่าของภาษี 2551 ดิฉันยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตก็แล้ว ถูกตามเอกสารก็แล้ว ถูกแจ้งให้ยื่นเป็นกระดาษใหม่ก็แล้ว ถูกตามรอบที่สามก็แล้ว รวมระยะเวลาการยื่น 11 เดือน ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คืนเลยค่ะ

   หากรัฐบาลต้องการให้ผู้เสียภาษีบริจาคเงินภาษีที่จะได้คืนก็ขอกันดีๆ ได้ค่ะ ไม่ต้องยึกยื้อ ให้เสียความรู้สึกและเสียเวลากันเปล่าๆ โลกสมัยนี้พัฒนาไปมากแล้ว ส่งเอกสารกลับไปครั้งหนึ่งใช้เวลาตรวจ 3-5 เดือนแล้วส่งกลับมาขอเพิ่ม ขอใหม่ และขอเสนอว่า เงินภาษีที่ถูกหักเกินไป หากบริจาคให้กรมสรรพากร จะสามารถถือเป็นเงินบริจาคให้กับองค์กรการกุศล สามารถนำไปหักลดหย่อนในปีต่อไปได้ด้วย

ภาษีเบี้ยประกันชีวิต

 

  ได้รับคำถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับกรณีบริษัทจำกัดจ่ายเบี้ยประกันให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมเพื่อเป็นสวัสดิการและการตอบแทน ว่า
   
1.เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ ออกให้ กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของบริษัทฯได้หรือไม่ และต้องถือเอาเบี้ยประกันชีวิต ดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินของกรรมการผู้จัดการเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร
   
2.กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร

  เกี่ยวกับเรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคำตอบของกรมสรรพากรตามหนังสือเลขที่กค 0811/408 ลงวันที่ 21 มกราคม 2543 ดังนี้
   
1.เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุม ของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบแล้วบริษัทฯมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกในการแสดงหลักฐานให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่า เบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้จ่ายโดยบริษัท...เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ   ออกให้เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่ลูกจ้างได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานที่ต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อไป โดยบริษัทฯ มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ จ่ายจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวด้วย หากกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลา 10 ปีขึ้นไป และบริษัทผู้รับประกันประกอบกิจการในประเทศไทย พนักงานมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท  
   
2.เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้

 

มาตรา 27 ตรี วรรคแรก ได้บัญญัติไว้เป็นหลักว่า เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น กำหนดระยะเวลาในการขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายและได้มีการนำส่งไว้เป็นจำนวนเงินที่เกินกว่าที่ต้องควรเสีย หรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ให้ผู้มีสิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้มีสิทธิขอคืน คือผู้มีเงินได้ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ทำการเป็นตัวแทนในการยื่นคำร้องขอคืนภาษี 

วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี  หมายถึงวันครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการ เช่น กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการคือวันที่ 31 มีนาคมของปีปฏิทินถัดไป หรือกรณีเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลวันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการคือภายใน 150 วันหลังสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลนั้น มิใช่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี (กลางปี) ล่วงหน้า ในกรณีมีกฎหมายกำหนดให้มีการยื่นชำระภาษีและแบบแสดงรายการล่วงหน้า

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอคืนภาษียื่นแบบแสดงรายการเมื่อพ้นเวลาที่กำหนด หรือได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่รัฐมนตรีหรืออธิบดีให้ขยายหรือเลื่อนออกไป ตามมาตรา 3 อัฎฐ มาตรา 27 ตรีวรรคสอง กำหนดว่าการยื่นคำร้องขอคืนก็สามารถยื่นได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการตามที่ได้ขยายไปนั้น 

หรือในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอคืนภาษี ทำการยื่นอุทธรณ์การประเมินหรือเป็นคดีในศาล คำร้องขอคืนก็สามารถยื่นได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือ หรือนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่กรณี

อนึ่ง ประมวลรัษฎากรยังได้กำหนดเพิ่มเติมไว้เป็นพิเศษในเรื่องการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไว้เกินใน มาตรา 63 เป็นต่างหากด้วยว่า

 บุคคลใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนแต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่พนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกหักภาษีเกินไป

ดังนั้น ความในมาตรา 63 จึงถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 27 ตรี ระยะเวลาในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงย่นระยะเวลามาเป็น 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีภาษี ซึ่งถูกหักภาษีเกินไป

ฎ.9911/2539 ได้วินิจฉัยไว้ดังนี้ การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ที่บริษัทถูกหักและนำส่งเกินไป บริษัทต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันสิ้นปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ไม่ใช่นับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี) จะนำมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาบังคับไม่ได้ เมื่อรอบระยะเวลาบัญชีของโจทก์ เริ่ม 1 ม.ค. ถึง 31 ธ.ค. ดังนั้นรอบระยะเวลาบัญชี 2531 ซึ่งได้ยื่นคำร้องขอคืนเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2535 ขาดอายุความขอคืนแล้ว (นอกจากนี้ยังมี ฎ. 9912/2539 ฎ. 9913/2539 ฎ. 1810/2540 ฎ. 4688/2540 ก็วินิจฉัยไว้ในลักษณะเดียวกัน)

มีข้อน่าสังเกตว่า แม้มาตรา 63 จะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยภาษีเงินได้ที่เก็บจากบุคคลธรรมดาแต่มาตรา 3 เตรส ซึ่งเป็นมาตราที่ว่าด้วยการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกประเภท กำหนดให้นำความมาตรา 63 มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วย จึงมีผลให้ความในมาตรา 63 ครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทุกประเภท ทั้งของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

มาตรา 3 เตรส กำหนดไว้ดังนี้

ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี ให้อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้จ่ายเงินพึงประเมินตามมาตรา 40 ซึ่งไม่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายตามลักษณะ 2 ภาษี ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ในการนี้ ให้นำมาตรา 52 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 60 และมาตรา 63 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

นอกจากนี้ ศาลฎีกายังได้มีคำพิพากษาตัดสินไว้ใน  ฎ.9913/2540 ไว้ด้วยดังนี้

มาตรา 3 เตรส นั้นใช้บังคับทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และนำมาตรา 63 มาบังคับแก่การขอคืนเงินไว้แล้ว ดังนั้น จึงนำมาตรา 27 ตรี มาใช้บังคับไม่ได้

ในส่วนของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิได้ขอเครดิตภาษีตามรายเดือนภาษีนั้นมาตรา 84/1 ได้บัญญัติไว้เป็นเอกเทศดังนี้

       กรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่มีภาษีต้องคืน ให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น ซึ่งคือวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป

        กรณีการขายสินค้าหรือให้บริการในกรณีอื่น เช่น คำนวณผิดพลาดชำระซ้ำ ฯลฯ ให้ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่ที่ได้ชำระภาษี

ส่วนขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะมาตรา 91/11 ได้บัญญัติไว้เป็นเอกเทศเช่นกันโดยให้ยื่นคำร้องภายใน 3 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article