ReadyPlanet.com
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 9 คน
dot
dot

dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน


ตะแกรงเหล็กฉีกสตีลเมทัล
http://www.smlaudit.com/SMLaudit.html


หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร article

 

หลักเกณฑ์การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี มาเป็นรายจ่ายทางภาษีอากร     

 

รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นอกจากรายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าหรือบริการ อันจะนำมาสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงทางเศรษฐกิจ รัฐจึงมีนโยบายให้การสนับสนุนแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ที่ทำการวิจัยและพัฒนา โดยให้สิทธิประโยชน์นำไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้สองเท่า นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายที่ได้เพิ่มขึ้นในรูปแบบอื่นอีก อาทิเช่น ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้

 ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี

 วิสัชนา ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร โดยทั่วไปในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษีอากรกำหนดยอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

 1. ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน โดยทั่วไปผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชีและในทางภาษีอากร อย่างไรก็ตามในทางภาษีอากร ยอมให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในทางภาษีอากรได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้

 (1) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร

 (2) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่นับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน

 (3) การนำผลขาดทุนสุทธิไปถือเป็นรายจ่าย ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดขึ้นก่อน ไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิเป็นปีแรกในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีหลังจากปีที่มีผลขาดทุนสุทธิดังกล่าว ตามหลักผลขาดทุนเกิดขึ้นก่อนให้นำมาหักก่อน (First-loss, First-use) ในกรณีที่ยังมีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ ก็ให้นำผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อไป ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น

 (4) ให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาถือเป็นรายจ่ายได้เพียงเท่าที่ไม่เกินกว่ากำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

 2. วิธีคำนวณผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ให้คำนวณตั้งแต่รอบระเวลาบัญชีปีแรกที่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนดังนี้

(1) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำไรสุทธิมาตั้ง แล้วนับย้อนกลับขึ้นไป 5 ปี ก่อนปีที่มีกำไรสุทธิดังกล่าว ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่าย หากยังเหลือเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ มาในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายได้ต่อไป จนกว่าจะปรากฏผลเป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลกำไรสุทธินั้นไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อไป กรณีปรากฏผลเป็นขาดทุนสุทธิ ซึ่งเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่นำผลขาดทุนสุทธิมาคำนวณหักเป็นรายจ่าย ให้หยุดคำนวณ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าว

(2) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อมามาตั้ง แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ (1) ข้างต้น

  ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนปีปัจจุบันอย่างไร

  วิสัชนา ให้ดำเนินการวางแผนเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน

 1. ผลขาดทุนสุทธิที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ต้องใช้ผลขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรที่ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากรแล้ว มิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางบัญชีการเงินตามบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป

 2. การประกอบกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจมีข้อได้เปรียบยิ่งกว่าการประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ในประเด็นที่กำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ หากมีผลขาดทุนสุทธินอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังสามารถยกยอดผลขาดทุนสุทธิไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ ไปได้อีกไม่เกิน 5 ปี

 3. ให้พยายามสร้างรายได้และผลกำไรสุทธิ เพื่อนำผลขาดทุนสุทธิยกมาในรอบบัญชีปีก่อนมาหักเป็นรายจ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยหากิจกรรมที่มีกำไรสูงเข้ามาในกิจการ

 4. ในกรณีที่ผลการประกอบกิจการมีขาดทุนสุทธิมาก แต่ผู้ถือหุ้นต้องการเงินปันผลจากบริษัท อาจใช้วิธีการลดทุน เพื่อลดผลขาดทุนสะสมในทางบัญชี ซึ่งทำให้ไม่มีผลขาดทุนสะสมคงเหลืออีกต่อไป แต่ในทางภาษีอากรยังคงมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน

 5. ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาถือเป็นรายจ่ายได้ และในขณะเดียวกันกิจการก็สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้

ที่มา  : กรุงเทพธุรกิจ 7 กุมภาพันธ์  2550

 




ข่าวภาษี-Tax

แจ้งข่าวการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
มาตรการภาษีบ้านหลังแรก
การยื่นแบบและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน
แบบ บภ.07 คือ แบบแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี article
เลิกห้างหุ้นส่วนกับภาระภาษี article
ปฏิทินภาษีอากร article
บัญชีอัตราภาษีเงินได้ article
เรื่อง การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๔๘ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร article
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีควรทำอย่างไร
การหักลลดหย่อนกรณี บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษา article
กรณีหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา article
สารพันปัญหาใบกำกับภาษี article
สิทธิของผู้เสียภาษี article
ภาษีป้าย article
รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล article
ภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดิน article
ภาษี่บำรุงท้องที่ article
ฤดูนับสต็อกปลายปี article
10 กลโกงภาษี article
เงินได้พึงประเมิน 13 article
เงินได้พึงประเมิน 11 article
เงินได้พึงประเมิน 10 article
เงินได้พึงประเมิน 9 article
เงินได้พึงประเมิน 8 article
เงินได้พึงประเมิน 7 article
เงินได้พึงประเมิน 6 article
เงินได้พึงประเมิน 5 article
เงินได้พึงประเมิน 4 article
เงินได้พึงประเมิน 3 article
เงินได้พึงประเมิน 2 article
เงินได้พึงประเมิน 1 article
ชี้ช่องประหยัดเงิน article
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมุลค่าเพิ่ม article
ปฏิทินการเสียภาษีสำหรับกิจการ article
20 กฏลดภาษีบุคคลธรรมดา article
10 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 article
เบี้ยปรับภาษี article
ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร article
ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 article
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ article
กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย article
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา article
การวางแผนภาษี 5 วิธี article
การแตกหน่ยภาษี - โดยจัดตั้งคณะบุคคล article
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1) !! article
10 กลโกงภาษี *-* article